Read Time:3 Minute, 36 Second
หลักเกณฑ์และแนวทางบริหารจัดการกองทุนปีงบประมาณ 2564 มีการเปลี่ยนแปลง ในประเด็นที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้
รายการบริการ | รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของแต่ละรายการ |
---|---|
1. บริการผู้ป่วยนอก | 1.1 รวมค่าวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในงบเหมาจ่ายรายหัว (ย้ายจากรายการบริการกรณีเฉพาะ) 1.2 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Health Care(BHC โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ |
2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป | 2.1 เพิ่มให้เขต กทม.สามารถกำหนดเงื่อนข และอัตราจ่ายหรือราคาจ่ายตามรายบริการ สำหรับบริการที่เคยเป็นบริการแบบผู้ป่วยในแล้วปรับเป็นบริการผู้ป่วยนอก (Non OP Non IP: NONI) หรือผู้ป่วยในที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติที่ค่ารักษาพยาบาลกับเงินชดเชยตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมแตกต่างกันมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรืออาจจ่ายตามหลักการ VBHC โดยบูรณาการจ่ายกับงบอื่นๆ ได้ 2.2 เพิ่มให้ สปสช.สามารถปรับอัตราจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในแบบในเขต กรณีบริการ ODS MIS ในระหว่างปีได้ตามผลงานบริการ 2.3 เพิ่มรายการโรคที่จ่ายแบบ ODS MIS (รวม Home Chemo) ภายใต้งบที่ได้รับโดยให้ผ่านความเห็นชอบจากอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตบริการฯ |
3. บริการกรณีเฉพาะ (CR) | 3.1 รวมบริการสาธารณสุขนอกเวลาราชการกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง กรณีที่มีเหตุสมควร และกรณีเจ็บป่วยทั่วไปที่เป็นความจำเป็นของประชาชนและปรับให้ สปสช. กำหนดรายชื่อหน่วยบริการและอัตราตามที่ สปสช.กำหนด 3.2 กรณีบริการยาสำหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย รวมโรควอนวิลลิแบรนด์ชนิดรุนแรงมาก 3.3 กรณี Rare disease อาจเพิ่มกลุ่มโรคได้ตามสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น |
4. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค | 4.1 เพิ่มวัคซีน MMR สำหรับเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน 4.2 เพิ่มมาตรการไม่สมทบเงินสำหรับกองทุนท้องถิ่นเขต กทม.ที่มีเงินคงเหลือตามเกณฑ์ที่กำหนด และปรับปรุงประกาศกองทุนฯ กทม.รองรับ 4.3 เพิ่มบริการคัดกรองภาวะ Dawn syndrome ไปยังหญิงตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุ 4.4 รวมบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้แบบ Fit test ในงบนี้ซึ่งทำให้ครอบคลุมประชากรไทยทุกสิทธิ (ย้ายมาจากบริการ OP) 4.5 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Heatth Care (VBHC) โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ |
5. ฟื้นฟูฯ | 5.1 ปรับการจ่ายสำหรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลาง(Intermedieat Care: IMC ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)กรณีสมองบาดเจ็บ (Traumatic brain injuy) และ การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง(Spinal cord injury) |
6. แผนไทย | 6.1 เพิ่มบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ |
7. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ให้บริการ | 7.1 เพิ่มอัตราชดเชยกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการ COVID เป็น 2 เท่าตามมติคณะรัฐมนตรี |
8. จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพ ผลงานบริการ | 8.1 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Health Care (BHC โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ 8.2 กรณีเขตอื่นๆ ที่ต้องการนำร่องศึกษาการจ่ายตามหลักการ VBHC ดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่ายงบ QOF เดิม |
9. บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง | 9.1 ดำเนินการบริการ APD และพัฒนาระบบการบริหารจัดการรองรับหากไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องอัตโนมัติที่จะทำให้ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้น |
10. บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง | 10.1 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Health Care (VBHC) โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ |
11. ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน | 11.1 ปรับเป็นเหมาจ่ายราย Case ผ่านกองทุนท้องถิ่น ตามเงื่อนไขที่กำหนด |
12. บริการระดับปฐมภูมิ PHC | 12.1 สอดคล้องกับ รธน.และ พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ น้นการจัดบริการนอกหน่วยบริการและในชุมชนเพื่อสนับสนุนนโยบาย Social distancing และลดความแออัดในหน่วยบริการ โดยหน่วยบริการ และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 12.2 PHC ทั่วไป ขยายให้ เขต กทม.อาจจ่ายตามหลักการ VBHC โดยบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ 12.3 รวมบริการรองรับนโยบาย Social distancing ได้แก่ – บริการร้านยาสุขภาพชุมชน Model 1-3 โดยร้านยา Model 1-2 ปรับการจ่ายให้หน่วยบริการและร้านยาตามจำนวนครั้งบริการ ส่วน Model 3 จ่ายเพิ่มเติมเป็นค่ายาให้ร้านยา – บริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน – บริการ Telehealth, Telemedicine – บริการโดยหน่วยร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด |