สถานการณ์เรียกเก็บรายได้รพ.สต.2566

0 0
Read Time:22 Second

สถานการณ์การเรียกเก็บเงินรายได้ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น สังกัด อบจ.ขอนแก่น ปี 2566 ประกอบการประชุมร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ข่าย ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปรับอัตราจ่าย ปกส.กรณีAdjRW มากกว่า2

0 0
Read Time:6 Minute, 12 Second

แนวปฏิบัติในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลหรือผู้ประกันตนประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)

ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนหรือผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลที่ทำการรักษาซึ่งได้ทำความตกลงกับสำนักงาน โดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน(Adjusted Relative weight : AdRW มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ในอัตราไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight : AdjRW) ทั้งนี้ ภายใต้กรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปีในอัตราเจ็ดร้อยสี่สิบหกบาทต่อผู้ประกันตนหนึ่งคนภายในระยะเวลาหนึ่งปี

  1. อัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคมกำหนดอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2) ดังนี้
    • 1.1 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ที่รักษาเองหรือส่งไปยังสถานพยาบาลอื่น ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือหรือไม่เพียงพอให้เฉลี่ยจ่ายให้กับสถานพยาบาลแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 1.2 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่นที่ไมใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงิน กรณีที่มีส่วนเกินผู้ประกันตนรับผิดชอบเอง
  2. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ
    • 2.1 สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ รายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในผ่านรูปแบบโครงสร้าง Al In-patient Claim Data File Specification : AIPN แทนการใช้โปรแกรมSIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะต้องส่งข้อมูลฯ ภายใน 2 เดือนถัดจากเดือนที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาล (เช่น จำหน่ายเดือนเมษายน ต้องส่ งข้อมูลภายในเดือนมิถุนายน)
      กรณีสถนพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ส่งไปยังสถานพยาบาลอื่นต้องส่งข้อมูลฯ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาลให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และจัดทำสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเก็บไว้ ณ สถานพยาบาลเพื่อการตรวจสอบ
    • 2.2 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพจะต้องตรวจสอบข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ตามแนวปฏิบัติในการรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ให้ถูกต้องก่อนส่งให้สำนักงานประกันสังคมโดยจัดทำข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนมากกว่าหรือเท่ากับ 2 (AdjRW มากกว่า2) ซึ่งต้องตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่สำคัญคือ การเป็นผู้ประกันตนและการวิเคราะห์การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรค พร้อมทั้งรูปแบบข้อมูลตามที่กำหนด ถ้าหากข้อมูลไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด จะประสานสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เพื่อตรวจสอบอีกครั้งถ้าข้อมูลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะไม่นำส่งข้อมูลให้กับสำนักงานประกันสังคม
    • 2.3 สำนักงานประกันสังคมรับข้อมูลจากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพและตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.1
    • 2.4 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมตรวจสอบพบว่ามีการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ซ้ำซ้อน สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการเรียกเงินคืนจากสถานพยาบาลโดยการหักกลบหรือปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์
    • 2.5 การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)จะประมวลผลข้อมูลเป็นงวดตาม Statement ที่สถานพยาบาลส่งให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพโดยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะข้อมูลที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา
    • 2.6 กรณีงบประมาณคงเหลือไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในอัตราที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการนำเงินงบประมาณคงเหลือมาหารด้วยจำนวนค่า AdjRW มากกว่า2 ที่ค้างจ่าย เพื่อคำนวณอัตราจ่ายให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ทั้งนี้ อาจมีผลให้การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ล่าช้ากว่าปกติ
    • 2.7 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงครบทุกรายการแล้ว หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยนำน้ำหนักสัมพัทธ์ที่สถานพยาบาลให้บริการตลอดทั้งปีหารด้วยกรอบวงเงินที่กำหนดแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRW
    • 2.8 เมื่อสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืนจากการตรวจสอบข้อมูลจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยคำนวณภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่มีอยู่แต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 2.9 กรณีสถานพยาบาลขอแก้ไขข้อมูลผ่านโปรแกรม SSePAC จะเป็นการแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง ทางสำนักงานประกันสังคมจะไม่ได้นำมาพิจารณาจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยวงเงินงบประมาณของแต่ละปี โดยสำนักงานประกันสังคมจะต้องดำเนินการตามข้อ 2.5 – 2.8
  3. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน กรณีผู้ประกันตนประสงค์เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่น
    • 3.1 ผู้ประกันตนยื่นเอกสารขอรับประโยชน์ทดแทน ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น เวชระเบียน ใบเสร็จค่ารักษาต้นฉบับ ฯลฯ
    • 3.2 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ดำเนินการตรวจสอบสิทธิการเป็นผู้ประกันตน พิจารณาข้อเท็จจริงหากพบว่าผู้ประกันตนประสงค์เข้ารักษาสถานพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ และไม่ใช่กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ให้ส่งเรื่องหารือสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์
    • 3.3 สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ส่งเรื่องให้แพทย์ในโครงการของสำนักงานประกันสังคม ดำเนินการตรวจเวชระเบียนและพิจารณาคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW)ซึ่งหากมีค่า AdjRW มากกว่า2 จะนำมาคำนวณเพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.2 แต่หากคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนแล้ว มีค่า AdjRw<2 ปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
    • 3.4 หากพบว่ารายการใดที่ต้องเบิกจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์เพื่อพิจารณาดำเนินการจ่ายค่าอวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ ตามประกาศกำหนด
    • 3.5 เมื่อสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ดำเนินการขออนุมัติจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์ทำการบันทึกข้อมูลในระบบ Sapiens เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา สามารถเข้าไปตรวจสอบในหน้าประวัติการขอรับประโยชน์ทดแทนโดยดูจากเลขที่รับแจ้งล่าสุดของสำนักสิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนรายใดมีการจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ตามข้อ 3.4 สำนักสิทธิประโยชน์จะทำการบันทึกและสามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน

กลุ่มงานพิจารณาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม

ณ วันที่ 23 มกราคม 2566
โทร 0 2956 2516 – 7
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจง AIPN วันที่3ก.พ.66

0 0
Read Time:21 Second

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ All In-patient Claim Data File Specification: AIPN

AIPN เป็นโครงสร้างที่กำหนดให้สถานพยาบาลรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน แทนการใช้โปรแกรม SIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่ 1 ม.ค.66 เป็นต้นไป ซึ่งโครงสร้างรูปแบบใหม่ พัฒนามาจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการ (CIPN)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกรรมการการแพทย์กรณี Covid-19

0 0
Read Time:20 Second

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการจัดทำ Drug Catalog สกส.

0 0
Read Time:3 Minute, 6 Second

แนวทางในการจัดทำบัญชีรายการยาอ้างอิง drug catalog และช่องทางการส่งรายการที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้แก่ สกส. เพื่อใช้กับระบบเบิกจ่ายตรงของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

กรมบัญชีกลางได้กำหนดให้สถานพยาบาล 34 แห่งในปี 2554 และอีก 134 แห่งในปี 2555 ส่งข้อมูลการเบิกระบบจ่ายตรงผู้ป่วยนอกสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดของยาแต่ละตัว บัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาล (drug catalog) เป็นรายการยาทั้งหลายที่สถานพยาบาลมีใช้และสั่งจ่ายให้แก่ผู้ป่วย สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ขอให้สถานพยาบาลจัดส่ง drug catalog นี้ให้แก่ สกส. ซึ่งใช้บัญชีรายการยานี้เป็นชุดข้อมูลอ้างอิงสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบิกของแต่ละสถานพยาบาล และเนื่องจากรายการยาและราคายามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ จึงมีความสำคัญยิ่งที่สถานพยาบาลจะต้องปรับปรุงบัญชีนี้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และจัดส่งรายการที่มีการปรับปรุงไปยัง สกส. อย่างสม่าเสมอ เนื่องจากการตรวจสอบข้อมูลเบิกจะใช้รายละเอียดของยาแต่ละรายการในบัญชี ทั้งตัวยา, ราคาและวันที่กำหนดใช้ราคา, และเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการเบิกจาก drug catalog ของแต่ละสถานพยาบาลเป็นเกณฑ์
ในปี 2556 กรมบัญชีกลางประกาศใช้รหัสยาและข้อมูลยาจาก TMT เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ใช้กับระบบเบิกค่ารักษาพยาบาลของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในปี 2557 กรมบัญชีกลางมีแผนปรับปรุงข้อมูลยาที่ส่งเบิกให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน สามารถใช้ติดตาม, วิเคราะห์และกำกับมาตรการที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมที่มีแผนดำเนินการในปีนี้ และมาตรการอื่นที่จะมีตามมาตามความพร้อมของระบบงานของสถานพยาบาล โดย ศมสท ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด สวรส. ได้พัฒนา TMT

  • ให้ครอบคลุมรายการยาที่ใช้ในระบบเบิกจ่ายตรงให้ได้มากที่สุด และออกแบบให้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานรองรับการใช้อ้างอิงกับกรณีการจัดจ่ายยากรณีต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลได้
  • มีความครอบคลุมเกินกว่าร้อยละ 95 ของยาที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ และได้จัดระบบให้สถานพยาบาลแจ้งขอเพิ่มรายการยาได้อย่างสะดวกในกรณีสถานพยาบาลมียาที่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ใน TMT
  • รองรับการเพิ่มเติมและปรับปรุงรายการที่มีกาหนดระยะเวลาที่แน่นอน ปัจจุบันมีการ release update ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่สามของทุกเดือน

สถานพยาบาลอื่นที่ไม่อยู่ในกลุ่ม 168 แห่ง

สำหรับสถานพยาบาลของทางราชการอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อสถานพยาบาล 168 แห่งข้างต้น กรมบัญชีกลางมีแผนที่จะให้สถานพยาบาลต้องส่งข้อมูลยาที่เบิกในระบบจ่ายตรงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดเช่นเดียวกัน โดยในระยะแรกของต้นปี 2557 จึงเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลโดยกำหนดให้สถานพยาบาลของทางราชการนอกกลุ่ม 168 แห่งจัดทา drug catalog ในรูปแบบที่กาหนดในเอกสารนี้และจัดส่ง drug catalog ให้แก่ สกส. ด้วย ในระยะต่อไป drug catalog ที่จัดทำคู่กับการศึกษาฐานข้อมูล TMT ของสถานพยาบาลกลุ่มนี้ จะถูกใช้ประโยชน์ในระบบเบิกยาด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยสถานพยาบาลไม่ต้องมีการทางานส่วนนี้อีก

เอกสารบัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาลฉบับนี้เป็นการปรับปรุงครั้งแรกหลังประกาศใช้เมื่อ เม.ย. 2556 เป็นการปรับปรุงให้รองรับการใช้งานกับ Thai Medical Terminology (TMT) ที่เป็นฐานข้อมูลยามาตรฐานที่ ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.) พัฒนาและบำรุงรักษาอยู่ และเพิ่มรายละเอียดให้พร้อมใช้กับแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกี่ยวกับยา ตามประกาศ ว. 472 ของกรมบัญชีกลาง

สำหรับสถานพยาบาลรัฐ

สำหรับสถานพยาบาลเอกชน

เพิ่มเติม

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกกรณีผู้ป่วยโควิดสิทธิประกันสังคม

0 0
Read Time:16 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID
ตามประกาศฯ สำนักงานประกันสังคม ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม 2565
โดย สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) วันที่ 22 สิงหาคม 2565

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ (AIPN)

0 0
Read Time:1 Minute, 30 Second

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่
All In-patient Claim Data File Specification : AIPN

AIPN เป็นโครงสร้างที่กำหนดให้สถานพยาบาลรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ ประเภทผู้ป่วยใน แทนการใช้โปรแกรม SIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 เป็นต้นไป ซึ่งโครงสร้างรูปแบบใหม่ พัฒนามาจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการ (CIPN) ระยะแรกใช้กับสิทธิประกันสังคม ระยะต่อไปจะใช้กับสิทธิอื่นๆ ด้วยข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน รูปแบบใหม่ (AIPN)

ข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ใช้คำนวณค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาล ดังนี้

  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW) มากกว่าหรือเท่ากับ 2
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS)
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลรัฐ
  • ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS)

เพื่อให้สถานพยาบาลดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของสถานพยาบาลที่ทำงานและบันทึกข้อมูลการให้บริการที่มีอยู่ในระบบแล้ว (HIS) จัดเตรียมเป็นข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับ สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจำเป็นต้องให้ผู้ทำงานด้านไอที ทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารงานเบิกจ่ายของสถานพยาบาล ทำความเข้าใจในเนื้อหา และความหมายของข้อมูลที่ถูกต้อง อนาคตสถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกประเภทผู้ป่วยในทุกสิทธิเป็น AIPN โครงสร้างเดียว

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP)สำหรับสถานพยาบาลรัฐ

0 0
Read Time:1 Minute, 0 Second

การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP) สำหรับสถานพยาบาลรัฐ ประกอบการประชุมชี้แจงโดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) เนื้อหาประกอบไปด้วย

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)
  1. หลักเกณฑ์/แนวทางการบันทึกข้อมูล
  2. โปรแกรมที่ใช้ในระบบ
  3. การปรับปรุงฐานข้อมูลอ้างอิง
  4. การขอรหัส รพ.สนาม/Hospitel
  5. Flow การทางาน และขั้นตอนการบันทึกข้อมูล
  6. การบันทึกข้อมูล COVID-19
Happy
1 50 %
Sad
1 50 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมจัดเก็บรายได้ ปี65

0 0
Read Time:3 Minute, 8 Second

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ ปีงบประมาณ 2565 ในวันที่ 20-22 เมษายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าจากโรงพยาบาลทุกขนาด/สสอ./รพ.สต. ในเขตสุขภาพที่ 7 ผ่านระบบ Video Conference ระบบ Cisco WebEX เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ของหน่วยบริการ ในการนี้จึงขอเชิญเจ้าหน้าที่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่ลิงค์ https://moph.cc/cmzKumPY5

    วิทยากรบรรยาย โดย…

  • น.ส. อุมาพร แสงชา       ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • นายศุภวัตร นิลรักษา      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • นายคณวัชร คำชัย         ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

วาระประชุม

วัน-เวลาวาระ
20เม.ย.65-เช้า-ระบบจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการ
-สิทธิการรักษา การให้สิทธิ การ MAP สิทธิการรักษาตามผังบัญชี
-การตรวจสอบสิทธิการรักษาแบบ REAL TIME จาก DATA AUDIT
-การติดตั้งโปรแกรม DataAudit และการใช้งานเบื้องต้น
20เม.ย.65-บ่าย-การใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น
-การตั้งค่าหมวดค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง (20 หมวดล่าสุด) และ Map รหัส ADP CODEให้ตรงตามหมวดต่างๆ
-ปรับฐานข้อมูลเพื่อการส่งออก
-การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M)
21เม.ย.65-เช้า-การตั้งค่าข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้รองรับการส่งข้อมูลเบิกชดเชย กองทุนต่างๆ
-การตั้งค่าสิทธิ์การรักษาให้ครบ ถูกต้องและง่ายต่อระบบเคลมต่างๆ
-Drug Catalog / Lab Catalog
-การกำหนดค่า X-ray ให้ถูกต้อง
-การกำหนดค่าใช้จ่ายหลายราคา ตามสิทธิ์ที่ต้องการ
-การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M)
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ SSOP ประกันสังคมผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ COPD กทม. พัทยา ผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ CSOP จ่ายตรง ผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ CIPN เบิกจ่ายตรง ผู้ป่วยใน
21เม.ย.65-บ่าย-การส่งออก/แก้ไข ระบบ SIP09M ประกันสังคม ผู้ป่วยใน/ Covid
-การส่งเบิกค่ารถ AMBTR กทม./ประกันสังคม Covid
-การขอ Authen Code / การทำ QR Code ให้รองรับระบบเคลมปี 2565
-ระบบส่งออกรองรับ Eclaim2008 / การส่งออกแบบ 16 แฟ้ม
-ระบบเคลม UCS
-ระบบเคลม อปท.
-ระบบเคลม เบิกจ่ายตรง
-ระบบเคลม UCAE
-ระบบเคลม OP-Refer (รับ Refer)
-ระบบเคลม UCS WALKIN ทั่วประเทศ
-ระบบเคลม ย้ายหน่วยบริการเกิดสิทธิ์ทันที
-ระบบเคลม COVID2019 , ATK และอื่นๆ
-ระบบเคลม พรบ.
-ระบบมีปัญหาสถานะสิทธิ์
-ระบบสิทธิ์ต่างด้าว
-ระบบเคลมฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
-ระบบเบิกฟอกไตทางหน้าท้อง
22เม.ย.65-เช้า-ระบบเคลม ฝังเข็ม IMC
-ระบบเคลม Instrument
-ระบบเคลม คุมกำเนิดกึ่งถาวร <=20 ปี และ >=20 ปี
-ระบบเคลม ยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
-ระบบเคลม ODS/MIS
-ระบบเคลม มะเร็งทั่วไป
-ระบบเคลม ยา Clopidogrel ยา STROKE ยา STEMI
-ระบบเคลม Palliative Care
22เม.ย.65-บ่าย-ระบบเคลม ทันตกรรมในวัยเรียน
-ระบบเคลม ทันตรรม ANC / Ultra Sound / PAP ปี 2565
-ระบบนำเข้า REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. เพื่อปรับปรุงบัญชีลูกหนี้
-การกระทบยอดลูกหนี้ด้วย REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. และ
การ Keyin
วาระประชุมโปรแกรม DataAudit และการใช้งานเบื้องต้น

หนังสือเชิญ

ไฟล์ประกอบการประชุม

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายโรคโควิด 19 วันที่ 24 มีนาคม 2565

0 0
Read Time:41 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 วันที่ 24 มีนาคม 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version