แจ้งปรับอัตราการสำหรับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation

0 0
Read Time:1 Minute, 15 Second

แจ้งปรับอัตราHICI หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๖.๗๐ / ว.๕๓๐๕ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔

สปสช.ขอแจ้งปรับปรุงอัตราจ่ายการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 โดยขอยกเลิกอัตราจ่าย ค่าดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation (ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑.หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๒.๕๗ /ว.๓๘๗๖ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ และ๒.หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๖.๗๐ /ว.๔๓๒๒ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔) โดยอัตราจ่าย ดังต่อไปนี้แทน

  • ๑) ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา ๖๐๐ บาทต่อวัน (ไม่รวมค่าอาหาร ๓ มื้อ) จำนวนไม่เกิน ๑๔ วัน
  • ๒) ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน รวมค่าอาหาร ๓ มื้อ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา ๑,๐๐๐ บาทต่อวัน จำนวนไม่เกิน ๑๔ วัน

ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่บริการวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป สำหรับวิธีการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีดังกล่าวสามารถศึกษา ได้จาก https://eclaim.nhso.go.th หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดได้เพิ่มเติมที่เบอร์โทรศัพท์ ๐๒-๕๕๔-๐๕๐๕

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการชี้แจงแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายกรณี Hi Ci วันที่20ส.ค.64

0 0
Read Time:56 Second

เอกสารประกอบการชี้แจงแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายกรณี Hi Ci

วาระประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการ Home Isolationและ Community Isolation
สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • กล่าวเปิด และแจ้งวัตถุประสงค์การประชุมโดย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • Update แนวทางจ่ายชดเชยบริการ Home Isolation และCommunity Isolation สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • การพิสูจน์ตัวตนในการขอ Authentication Code และการบันทึกขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e Claim ทำอย่างไรให้ถูกต้อง รวดเร็ว โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการตรวจสอบการให้บริการ Home Isolation และประเด็น ปัญหาาที่ตรวจพบโดย ฝ่ายตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อภิปราย ซักถาม ปิดการประชุม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ซักซ้อมการขอรับค่าใช้จ่าย Home Isolation และ Community Isolation

0 0
Read Time:1 Minute, 36 Second

วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation ตามหนังสือที่ สปสช ๖.๗๐ / ว.๑๖๖๘๙ ลงวันที่ 6ส.ค.64

ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปรับวิธีการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 กรณีดูแลใน Home Isolation และ Community Isolation ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ตามหนังสือ ที่ สปสช ๖.๗๐/ว.๔๖๑๕ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยจ่ายชดเชยงวดแรก แบบเหมาจ่าย ในอัตรา ๓,๐๐๐ บาทต่อราย เมื่อหน่วยบริการรับดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 และทำ Authentication ด้วยบัตรประชาชนแบบ Smart card หรือตามแนวทางที่ สปสช.กำหนด สปสช.ขอซักซ้อมแนวทางการจ่ายกรณีบริการ Home Isolation และ Community Isolation เมื่อหน่วยบริการรับผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ไว้ในการดูแล มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้

  • ๑) หน่วยบริการพิสูจน์การเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิ โดยการขอ Authentication Code ตามแนวทางที่ สปสช.กำหนด
  • ๒) สปสช.นำข้อมูลการขอ Authentication Code สำหรับบริการ Home Isolation และ Community Isolation มาประมวลผลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนด เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาทต่อราย ให้กับหน่วยบริการ
  • ๓) สปสช.จะมีระบบติดตามการให้บริการภายหลังการจ่ายตามอัตราเหมาจ่าย
  • ๔) เมื่อสิ้นสุดการดูแลตามระยะเวลาที่กำหนด หน่วยบริการต้องส่งข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim มายัง สปสช. ภายใน ๓๐ วันหลังให้บริการ
  • ๕) สปสช.ประมวลผลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนด หากพบว่า ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข สปสช.จะปฏิเสธการจ่าย หากหน่วยบริการไม่เห็นด้วยสามารถขออุทธรณ์ พร้อมส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมายัง สปสช.เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
  • ๖) กรณีที่มีการขอ Authentication Code และได้รับการจ่ายในอัตราเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาทต่อราย แล้วหน่วยบริการไม่มีการส่งข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายมาในโปรแกรม e-Claim ภายในระยะเวลา ๙๐ วัน หากไม่พบการให้บริการ จะเรียกเงินคืนค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาท
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม วันที่ 6 ส.ค.2564

0 0
Read Time:3 Minute, 37 Second

ตามหนังสือที่ สปสช ๖.๗๐ / ว.๑๖๖๘๙

หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่กำหนดเพิ่มเติม โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคโควิด 19 ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพิ่มเติม ดังนี้

๑. ค่าออกซิเจน สำหรับการดูแลรักษาใน Home Isolation หรือ Community Isolation

  • ๑.๑ นิยาม “ค่าออกซิเจน” หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการให้ออกซิเจนแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการดูแลแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ที่มีอาการเปลี่ยนแปลง หรือที่มีความจำเป็นต้องให้ออกซิเจนตามดุลยพินิจของแพทย์
  • ๑.๒ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
    • ๑) เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • ๒) สำหรับบริการตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
  • ๑.๓ อัตราจ่าย จ่ายตามจริงไม่เกิน ๔๕๐ บาทต่อวัน

๒. ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19

  • ๒.๑ นิยาม “ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 สำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิต” หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ บุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยถือว่าเป็นบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19
  • ๒.๒ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่าย
    • ๑) เป็นค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิต เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ บุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๒) สำหรับบริการตั้งแต่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
  • ๒.๓ อัตราจ่าย จ่ายในอัตราเหมาจ่าย ๒,๕๐๐ บาทต่อผู้เสียชีวิต

๓. ค่าห้องรวมค่าอาหาร กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน สำหรับวันรับบริการตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔

  • ๓.๑ ค่าห้องดูแลรักษารวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาทต่อวัน
  • ๓.๒ ค่าห้องดูแลรักษารวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการปานกลาง (สีเหลือง) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาทต่อวัน
  • ๓.๓ ค่าห้องดูแลรักษารวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง (สีแดง) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๗,๕๐๐ บาทต่อวัน

๔. ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน สำหรับวันรับบริการตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔

  • ๔.๑ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๓๐๐ บาทต่อวัน
  • ๔.๒ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการปานกลาง (สีเหลือง) จ่ายในอัตราชุดละ ๗๔๐ บาท ตามจริงไม่เกิน ๑๕ ชุดต่อวัน หรือไม่เกิน ๑๑,๑๐๐ บาทต่อวัน
  • ๔.๓ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง (สีแดง) จ่ายในอัตราชุดละ ๗๔๐ บาท ตามจริงไม่เกิน ๓๐ ชุดต่อวัน หรือไม่เกิน ๒๒,๒๐๐ บาทต่อวัน

วิธีการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย สามารถดาวน์โหลดได้จาก

https://eclaim.nhso.go.th/ เมนูดาวน์โหลด
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายฯ เพิ่มเติม6 ส.ค.2564

0 0
Read Time:1 Minute, 57 Second

ตามหนังสือที่ สปสช ๖.๗๐ / ว.๑๖๖๘๙

สิ่งที่ส่งมาด้วย

๑. หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ที่กำหนดรายการจ่ายเพิ่มเติม และรายการจ่ายที่ปรับอัตรา
๒. วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation

ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ตามรายละเอียดที่ทราบแล้วนั้น ในการนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

  • ๑) ปรับแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขอยกเลิกข้อความตามหนังสือ สปสช ๖.๗๐/ว.๔๗๕๙ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ โดยใช้ข้อความตามนี้แทน
    • ๑.๑ กรณีการออกตรวจนอกพื้นที่ Active Case Finding (ACF) ให้ใช้ ATK ในการตรวจเป็นหลัก เนื่องจากทราบผลได้ทันที หากจำเป็นต้องใช้การตรวจด้วยวิธี RT-PCR ให้เป็นไปตามแนวทางของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
    • ๑.๒ กรณีการมาขอรับบริการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในสถานพยาบาล/หน่วยบริการ สามารถใช้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลรักษาตรวจด้วยวิธี RT-PCR ได้ และขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.
  • ๒) หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ที่กำหนดเพิ่มเติม มีรายการดังนี้
    • ๒.๑ ค่าออกซิเจน สำหรับการดูแลแบบ Home Isolation และ Community Isolation
    • ๒.๒ ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19
    • ๒.๓ ค่าห้องรวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน
    • ๒.๔ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน
  • ๓. วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงแนวทางการกระจายชุดตรวจ ATK

0 0
Read Time:1 Minute, 16 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการกระจายชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพื่อแจกประชาชนและประด็นการจ่ายชดเชยค่าบริการ Covid-19 เปลี่ยนแปลง วันพุธที่ 4 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30-16.30 น. ผ่านระบบประชุมออนไลน์ โดยมีวาระประกอบด้วย

  • ๑๓.๓๐ – ๑๓.๔๕ น. กล่าวเปิดการประชุม และให้นโยบายโดย นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ๑๓.๔๕ – ๑๔.๑๕ น. แนวปฏิบัติการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) การดูแลรักษา และระบบการรับชุด Antigen Test Kit (ATK) ประเภท Self-test สำหรับประชาชน โดย ผู้แทนกรมควบคุมโรคติดต่อ
  • ๑๔.๑๕ – ๑๔.๔๕ น. แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ กรณี Antigen Test Kit (ATK) ประเภท Self-test สำหรับประชาชน และวิธีการอ่านผล โดย นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ๑๔.๔๕ – ๑๕.๑๕ น. แนวทางการกระจายชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ประเภท Self-test เพื่อแจกประชาชนในพื้นที่ โดย ผู้อำนวยกองบริหารการสาธารณสุข
  • ๑๕.๑๕ – ๑๖.๐๐ น. ภาพรวมระบบการจ่ายชดเชย Covid-19 ที่เปลี่ยนแปลง และการชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพื่อแจกประชาชน โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • การจ่ายชดเชย Covid-19 ที่เปลี่ยนแปลง
    • แนวทางจ่ายชดเชย Antigen Test Kit (ATK) และการดำเนินการของหน่วยบริการ
    • ระบบ Authen code และระบบรายงาน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปรับปรุงแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ในระบบUC

0 0
Read Time:2 Minute, 35 Second

อ้างถึง

๑) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว.๒๐๑๔ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔
๒) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว.๓๘๗๖ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔
๓) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๖.๗๐/ว.๔๓๒๒ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีการตรวจคัดกรองและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามรายละเอียดที่ทราบแล้วนั้น ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองของประชาชนไทยทุกคน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีข้อแนะนำแนวทางการใช้ Antigen Test Kit (ATK) สำหรับการตรวจการติดเชื้อโควิด 19 และ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้รับทราบ และเห็นชอบให้นำไปดำเนินการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ดังนี้

  • ๑) กรณีการออกตรวจนอกพื้นที่ ให้ใช้ ATK เป็นหลักในการตรวจเนื่องจากทราบผลได้ทันที ให้ยกเลิกการทำ Active Case Finding (ACF) โดย RT-PCR และให้ใช้ ATK ในการคัดกรองเบื้องต้นแทน
  • ๒) กรณีการมาขอรับบริการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่สถานพยาบาล หากที่ไม่เข้าข่ายของ ARI Clinic ให้ดำเนินการตรวจด้วย ATK ทั้งหมด
  • ๓) เมื่อทราบผล ATK จึงเข้าสู่กระบวนการตามแนวทางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนี้
    • ๓.๑) กรณีผล ATK เป็นลบ แนะนำให้สังเกตอาการ และป้องกันตนเองโดยหลัก DMHTT อย่างเคร่งครัด เนื่องจากอาจมีผลลบปลอม (false negative) แต่หากมั่นใจว่าสัมผัสใกล้ชิด หรือเสี่ยงชัดเจนให้ตรวจซ้ำหลังจากนั้น 3 – 5 วัน หรือทันทีที่มีอาการ
    • ๓.๒) กรณีผล ATK เป็นบวก ให้ประเมินอาการผู้รับบริการ และให้บริการตามแนวทาง คือ ระดับสีเขียว จัดบริการ Home Isolation (HI) กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ แต่ถ้าจะนำเข้า Community Isolation (CI) ขอให้ยืนยันผลอีกครั้งด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกลุ่ม CI กรณีประเมินแล้วมีอาการ ระดับสีเหลืองหรือสีแดง ให้เข้าสู่ระบบบริการในโรงพยาบาล และตรวจซ้ำด้วย หากพบผล Negative อาจไม่ใช่การติดเชื้อ COVID-19 แต่ก็สามารถให้การดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ กรณี Positive ให้รายงานยืนยันการป่วย และรักษาตามแนวทางการรักษาที่กรมการแพทย์กำหนด

ในการนี้ สปสช.ขอซักซ้อมแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถานบริการอื่น ให้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ กรณีแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วมีความจำเป็น ต้องตรวจยืนยันการติดเชื้อ ด้วยวิธี RT-PCR สามารถส่งสิ่งส่งตรวจไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ขึ้นทะเบียนเป็นของหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเทคนิคการแพทย์ หรือสถานบริการอื่น ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยขอรับค่าใช้จ่ายการตรวจ RT-PCR มายัง สปสช.ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กำหนด

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทาง HI CI วันที่ 21 ก.ค.64

0 0
Read Time:45 Second

เอกสารประกอบการประชุม สำหรับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564

  • วาระประกอบด้วย
  • (>)แนวทางการจัดระบบบริการสำหรับการดูแล
  • (>)มาตรฐานการบริการดูแลผู้ป่วย สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ
  • (>)แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ กรณี Antigen test kit
  • (>)หลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าตรวจคัดกรองและการบริการ
  • (>)การพิสูจน์ตัวตนเพื่อเข้ารับบริการ และการบันทึกโปรแกรมการเบิกจ่ายชดเชยบริการฯ
Happy
13 87 %
Sad
1 7 %
Excited
1 7 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมแนวทางเบิกจ่ายcovid19 16-07-2564

0 0
Read Time:1 Minute, 57 Second

เอกสารประกอบการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามสถานการณ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 7 ขอนแก่น (อาจจะมีไฟล์ที่ซ้ำกับประชุมรอบที่แล้ว)

สไลด์

การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม e-Claim สปสช.

ข้อมูล การเบิก Update 27 มิ.ย.64

หลังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงฯ วันที่9ก.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 42 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น วันที่ 9 ก.ค. 2564 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ วาระประกอบด้วย

  • แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (เพิ่มเติม)
  • แนวทางการบันทึกข้อมูล ผ่านโปรแกรม e-claim

ข้อมูลการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ข้อมูลการจ่าย 9 เมษายน 2563 ถึง 27 มิถุนายน 2564)

หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกเบิกจ่ายในโปรแกรม e-Claim กรณี COVID-19

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version