Read Time:22 Second
ประชุมชี้แจงการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2565
Read Time:22 Second
เป็นค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขสำหรับประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีบริการผู้ป่วยในทุกรายการ ยกเว้นที่กำหนดให้จ่ายจากประเภทบริการอื่น
ค่าบริการผู้ป่วยในทั่วไป ได้รับจำนวน 1,440.03 บาทต่อผู้มีสิทธิ สำหรับผู้มีสิทธิ 47.6440 ล้านคนกำหนดให้มีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเป็น 2 ระดับ ได้แก่ กันเงินไว้บริหารจัดการระดับประเทศ และจัดสรรเงินเป็น Global budget เพื่อบริหารจัดการระดับเขต (รวมทั้งผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนกับกรมแพทย์ทหารเรือและกรมแพทย์ทหารอากาศ) เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการผู้ป่วยในทั่วไป รวมบริการตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ลงทะเบียนกับหน่วยบริการประจำที่ตั้งอยู่ในแต่ละพื้นที่ของสปสช.เขต และบริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยยาเคมีบำบัดสำหรับที่บ้าน (Home Chemotherapy for CA Colon)
การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในทั่วไป แบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ
สาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปทุกรายการ ยกเว้นที่กำหนดให้จ่ายจากประเภทบริการอื่น โดยในปีงบประมาณ 2564 รวมค่าวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า(ย้ายจากรายการบริการกรณีเฉพาะ) และย้ายบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย Fit test ไปรวมที่รายการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อให้ครอบคลุมทุกสิทธิประกันสุขภาพ
ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป ได้รับจำนวน 1,279.31 บาทต่อผู้มีสิทธิ สำหรับผู้มีสิทธิ 47.6440 ล้านคนโดยแบ่งการบริหารจัดการเป็นประเภทบริการย่อย 2 รายการ ได้แก่
สำหรับ สปสช. เขต 13 กรุงเทพมหานคร การจ่ายตาม ข้อ 1 และอาจปรับอัตราจ่ายได้ในระดับหน่วยบริการประจำ (CUP) ตามโครงสร้างอายุและหรือปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งกำหนดการจ่ายตามรายการบริการและหรือตามผลงานบริการได้ หรือ อาจปรับการจ่ายเป็นไปตามหลักการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (Value-based Health Care) และอาจบูรณาการไปกับการจ่ายค่าใช้จ่ายในรายการบริการประเภทต่างๆ ได้ โดยต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. และอาจกันเงินค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปไว้จำนวนหนึ่งแบบบัญชีเสมือน (Virtual account) สำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป โดยผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. และให้ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่หักชำระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนหน่วยบริการประจำ
โดยการจัดทำชุดข้อมูลบริการผู้ป่วยนอก เพื่อคืนข้อมูลกลับให้หน่วยบริการใช้ในการกำกับ ติดตามตรวจสอบ และพัฒนาระบบการจัดบริการภายในเขตร่วมกัน
หลักเกณฑ์และแนวทางบริหารจัดการกองทุนปีงบประมาณ 2564 มีการเปลี่ยนแปลง ในประเด็นที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้
รายการบริการ | รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของแต่ละรายการ |
---|---|
1. บริการผู้ป่วยนอก | 1.1 รวมค่าวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในงบเหมาจ่ายรายหัว (ย้ายจากรายการบริการกรณีเฉพาะ) 1.2 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Health Care(BHC โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ |
2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป | 2.1 เพิ่มให้เขต กทม.สามารถกำหนดเงื่อนข และอัตราจ่ายหรือราคาจ่ายตามรายบริการ สำหรับบริการที่เคยเป็นบริการแบบผู้ป่วยในแล้วปรับเป็นบริการผู้ป่วยนอก (Non OP Non IP: NONI) หรือผู้ป่วยในที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติที่ค่ารักษาพยาบาลกับเงินชดเชยตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมแตกต่างกันมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรืออาจจ่ายตามหลักการ VBHC โดยบูรณาการจ่ายกับงบอื่นๆ ได้ 2.2 เพิ่มให้ สปสช.สามารถปรับอัตราจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในแบบในเขต กรณีบริการ ODS MIS ในระหว่างปีได้ตามผลงานบริการ 2.3 เพิ่มรายการโรคที่จ่ายแบบ ODS MIS (รวม Home Chemo) ภายใต้งบที่ได้รับโดยให้ผ่านความเห็นชอบจากอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตบริการฯ |
3. บริการกรณีเฉพาะ (CR) | 3.1 รวมบริการสาธารณสุขนอกเวลาราชการกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง กรณีที่มีเหตุสมควร และกรณีเจ็บป่วยทั่วไปที่เป็นความจำเป็นของประชาชนและปรับให้ สปสช. กำหนดรายชื่อหน่วยบริการและอัตราตามที่ สปสช.กำหนด 3.2 กรณีบริการยาสำหรับผู้ป่วยโรคเลือดออกง่าย รวมโรควอนวิลลิแบรนด์ชนิดรุนแรงมาก 3.3 กรณี Rare disease อาจเพิ่มกลุ่มโรคได้ตามสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น |
4. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค | 4.1 เพิ่มวัคซีน MMR สำหรับเด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน 4.2 เพิ่มมาตรการไม่สมทบเงินสำหรับกองทุนท้องถิ่นเขต กทม.ที่มีเงินคงเหลือตามเกณฑ์ที่กำหนด และปรับปรุงประกาศกองทุนฯ กทม.รองรับ 4.3 เพิ่มบริการคัดกรองภาวะ Dawn syndrome ไปยังหญิงตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุ 4.4 รวมบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้แบบ Fit test ในงบนี้ซึ่งทำให้ครอบคลุมประชากรไทยทุกสิทธิ (ย้ายมาจากบริการ OP) 4.5 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Heatth Care (VBHC) โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ |
5. ฟื้นฟูฯ | 5.1 ปรับการจ่ายสำหรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ระยะกลาง(Intermedieat Care: IMC ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)กรณีสมองบาดเจ็บ (Traumatic brain injuy) และ การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง(Spinal cord injury) |
6. แผนไทย | 6.1 เพิ่มบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ |
7. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ให้บริการ | 7.1 เพิ่มอัตราชดเชยกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการ COVID เป็น 2 เท่าตามมติคณะรัฐมนตรี |
8. จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพ ผลงานบริการ | 8.1 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Health Care (BHC โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ 8.2 กรณีเขตอื่นๆ ที่ต้องการนำร่องศึกษาการจ่ายตามหลักการ VBHC ดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่ายงบ QOF เดิม |
9. บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง | 9.1 ดำเนินการบริการ APD และพัฒนาระบบการบริหารจัดการรองรับหากไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องอัตโนมัติที่จะทำให้ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้น |
10. บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง | 10.1 เพิ่มให้ สปสช.เขต 13 กทม.อาจจ่ายตามหลักการ Value Based Health Care (VBHC) โดยสามารถบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ |
11. ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน | 11.1 ปรับเป็นเหมาจ่ายราย Case ผ่านกองทุนท้องถิ่น ตามเงื่อนไขที่กำหนด |
12. บริการระดับปฐมภูมิ PHC | 12.1 สอดคล้องกับ รธน.และ พ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ น้นการจัดบริการนอกหน่วยบริการและในชุมชนเพื่อสนับสนุนนโยบาย Social distancing และลดความแออัดในหน่วยบริการ โดยหน่วยบริการ และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 12.2 PHC ทั่วไป ขยายให้ เขต กทม.อาจจ่ายตามหลักการ VBHC โดยบูรณาการจ่ายกับงบรายการอื่นๆ ได้ 12.3 รวมบริการรองรับนโยบาย Social distancing ได้แก่ – บริการร้านยาสุขภาพชุมชน Model 1-3 โดยร้านยา Model 1-2 ปรับการจ่ายให้หน่วยบริการและร้านยาตามจำนวนครั้งบริการ ส่วน Model 3 จ่ายเพิ่มเติมเป็นค่ายาให้ร้านยา – บริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน – บริการ Telehealth, Telemedicine – บริการโดยหน่วยร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด |
อ้างอิงจาก คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564
1. บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข รายการบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว เป็นงบประมาณสำหรับการบริการตามประเภทและขอบเขตบริการ (สิทธิประโยชน์) ด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว การบริการกรณีเฉพาะ การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ บริการการแพทย์แผนไทย ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนเป็นค่าเสื่อมราคาของหน่วยบริการ) เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตั้งแต่เริ่มการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับคนไทยทั้งประเทศโดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการจัดสรรเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในอัตราเหมาจ่าย 3,719.23 บาทต่อผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้มีสิทธิ) สำหรับผู้มีสิทธิ จำนวน 47.6440 ล้านคน โดยค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2564 แบ่งเป็น 9 ประเภทบริการ ดังนี้
ประเภทบริการ | จำนวนบาท/ผู้มีสิทธิ |
---|---|
1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป | 1,279.31 |
2.บริการผู้ป่วยในทั่วไป | 1,440.03 |
3.บริการกรณีเฉพาะ | 373.67 |
4.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค | 455.39 |
5.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ | 18.40 |
6.บริการการแพทย์แผนไทย | 17.90 |
7.ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าบริการทางการแพทย์ สำหรับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนเป็นค่าเสื่อมราคา ของหน่วยบริการ) | 128.69 |
8.เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการและผู้ให้บริการ | 3.84 |
9.บริการจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ | 2.00 |
รวม (บาทต่อผู้มีสิทธิ) | 3,719.23 |
หมายเหตุ: ประเภทบริการที่ 4 จำนวนเงินจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนคนไทยทุกคน
2. บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรายการบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ เป็นงบประมาณที่เพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประชาชนกลุ่มเฉพาะตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด โดยครอบคลุมบริการการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และบริการที่เกี่ยวข้อง บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรเป็นประเภทบริการต่างๆ ดังนี้
3. บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรายการบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นงบประมาณเพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายค่ายาและบริการที่เกี่ยวข้องในการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมการปลูกถ่ายไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และเริ่มบริการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated peritoneal dialysis: APD) หากไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องอัตโนมัติที่จะทำให้ค่าบริการเพิ่มขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรเป็นประเภทบริการต่างๆ ดังนี้
4. บริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรายการบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง เป็นงบประมาณที่เพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อการเข้าถึงบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตามมาตรฐาน โดยปีงบประมาณ 2564 ยังคงเน้นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง และ ครอบคลุมบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนที่เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท(Schizophrenia) โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มการเข้าถึงบริการให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน โดยจัดสรรเป็นประเภทบริการต่างๆ ดังนี้
5. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขที่จำเป็นต้องให้บริการประชาชนในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นหน่วยบริการในสังกัดสป.สธ. โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณจำนวน 1,490.2880 ล้านบาท
6. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เป็นงบประมาณที่เพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสำหรับประชาชนไทยทุกคนและทุกกลุ่มวัย ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถเข้าถึงด้านสาธารณสุขที่เชื่อมโยงบริการทางสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างบ้าน ชุมชน หน่วยบริการ/สถานบริการ/ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างเป็นระบบ
โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณจำนวน 838.0260 ล้านบาท
7. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ เป็นค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ข้อ ช.(5) “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” และตาม พ.ร.บ. ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 โดยจะทำให้เกิดการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้นในหน่วยบริการและในชุมชนทั้งในเขตและ
นอกเขตกรุงเทพมหานคร จากหน่วยบริการ และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และลดความแออัดในหน่วยบริการ ในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณจำนวน 421.6400 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2564 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีแนวคิดและหลักการ ดังนี้
สปสช.กำหนดแนวทางปฏิบัติ สำหรับการบันทึกและส่งข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายค่า Lab ในโปรแกรม e-Claim โดยใช้กับ e-Claim version 2.10 ขึ้นไป
สำหรับสถานพยาบาลที่บันทึกข้อมูลเบิกจ่ายสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการในระบบโปรแกรมของ สปสช.