CPGเบาหวาน-2566

0 0
Read Time:1 Minute, 22 Second

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน2566
Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (non-communication diseases, NCDs) ที่พบบ่อยและเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศมติหมายเลขที่ 66/2 จากที่ประชุมสมัชชาฯ ด้วยนัยทางการเมือง (Political Declaration of High-level Meeting ให้แต่ละประเทศสมาชิก มีการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดนโยบายการป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไม่ติดต่ออย่างจริงจัง โดยมีองค์การอนามัยโลกทำหน้าที่กำกับ กระตุ้น และติดตามการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นเป้าหมายแรกที่ต้องเร่งดำเนินการ

โรคเบาหวานต้องรับการดูแลรักษาต่อเนื่อง การรักษามีจุดประสงค์และเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันให้บริการดูแลรักษา เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษา การสร้างทักษะการกินการอยู่ที่ถูกต้อง โน้มน้าวสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยปฏิบัติได้จริง กิจกรรมเหล่านี้นอกจากได้ประโยชน์ในการรักษาโรคเบาหวานแล้ว ยังเกิดประโยชน์ในการป้องกันโรคเบาหวานและการส่งเสริมสุขภาพด้วย

การคัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มแรก มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมและทันกาล มีโอกาสให้โรคเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบ (diabetes remission) หวังว่าแนวทางเวชปฏิบัตินี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการโรคเบาหวานสำหรับทีมดูแลรักษาโรคเบาหวานทุกระดับ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือชุดเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ

0 0
Read Time:1 Minute, 30 Second

คู่มือชุดเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเล่มนี้ เป็นคู่มือที่บูรณาการงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อสำหรับผู้นำท้องถิ่น นำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยการรวบรวมความรู้และระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ คณะทำงานหลักสูตรและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาหลักสูตรและคู่มือชุดเครื่องมือการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเพื่อให้ผู้นำท้องถิ่นเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อภาพรวมประเทศและพื้นที่ และริเริ่มออกแบบโครงการ / กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในพื้นที่

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือชุดเครื่องมือฯ นี้ จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการยกระดับการให้บริการกับประชาชนได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อไป

  • ชุดเครื่องมือที่ 1 ชุดเครื่องมือในการวิเคราะห์สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในชุมชน
  • ชุดเครื่องมือที่ 2 ชุดเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงในชุมชน
  • ชุดเครื่องมือที่ 3 ชุดเครื่องมือในการประเมินและการดัดแปลงสูตรอาหารเพื่อสุขภาพ
  • ชุดเครื่องมือที่ 4 ชุดเครื่องมือการออกกำลังกายลดโรคไม่ติดต่อในชุมชน
  • ชุดเครื่องมือที่ 5 ชุดเครื่องมือการประเมินและเฝ้าระวังยาสูบในชุมชน
  • ชุดเครื่องมือที่ 6 ชุดเครื่องมือการประเมินการติดสุรารายบุคคล
  • ชุดเครื่องมือที่ 7 ชุดเครื่องมือแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองและแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า
  • ชุดเครื่องมือที่ 8 ชุดเครื่องมือการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
  • ชุดเครื่องมือที่ 9 ชุดเครื่องมือการติดตามประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version