Read Time:19 Second
การจัดทำบัญชีรายการวิเคราะห์ต้นทุนบริการ
Read Time:19 Second
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ทำงานในเรื่องชีวิตทางเพศและสิทธิในการทำงานที่บุคคลควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งยังขัดขวางโอกาสต่าง ๆ ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ แม้ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายที่มุ่งส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และกำหนดโทษ สำหรับผู้กระทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหลายฉบับแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ของการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะส่งผลให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกคน ได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี ปราศจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน มีความตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานที่เกิดขึ้นให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่ เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราค่าบริการในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ
อาศัยอำนาจตามความในบหนิยามของคำว่า “เงินบำรุง” (๒) ๒.๘ ในข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อ ๖ วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ชื่อตำแหน่งในภาษาอังกฤษของกระทรวงสาธารณสุข
ลำดับ | ประเภท | ชื่อตำแหน่งในสายงาน | ชื่อตำแหน่งในสายงานภาษาอังกฤษ |
1 | บริหาร | นักบริหาร | Executive |
2 | อำนวยการ | ผู้อำนวยการ | Director |
3 | อำนวยการ | ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน(แพทย์) | Director (Physician) |
4 | วิชาการ | นักจัดการงานทั่วไป | General Administration Officer |
5 | วิชาการ | นักทรัพยากรบุคคล | Human Resource Officer |
6 | วิชาการ | นิติกร | Legal Officer |
7 | วิชาการ | นักวิเคราะห์นโยบายและแผน | Plan and Policy Analyst |
8 | วิชาการ | นักวิชาการพัสดุ | Supply Analyst |
9 | วิชาการ | นักวิชาการสถิติ | Statistician |
10 | วิชาการ | นักวิเทศสัมพันธ์ | Foreign Relations Officer |
11 | วิชาการ | นักวิชาการเงินและบัญชี | Finance and Accounting Analyst |
12 | วิชาการ | นักวิชาการตรวจสอบภายใน | Internal Auditor |
13 | วิชาการ | นักประชาสัมพันธ์ | Public Relations Officer |
14 | วิชาการ | นักวิชาการเผยแพร่ | Dissemination Technical Officer |
15 | วิชาการ | นักกายภาพบำบัด | Physiotherapist |
16 | วิชาการ | นักจิตวิทยา | Psychologist |
17 | วิชาการ | ทันตแพทย์ | Dentist |
18 | วิชาการ | นักเทคนิคการแพทย์ | Medical Technologist |
19 | วิชาการ | นายสัตวแพทย์ | Veterinarian |
20 | วิชาการ | พยาบาลวิชาชีพ | Registered Nurse |
21 | วิชาการ | นายแพทย์ | Medical Physician |
22 | วิชาการ | เภสัชกร | Pharmacist |
23 | วิชาการ | นักโภชนาการ | Nutritionist |
24 | วิชาการ | นักรังสีการแพทย์ | Radiological Technologist |
25 | วิชาการ | นักวิชาการสาธารณสุข | Public Health Technical Officer |
26 | วิชาการ | นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ | Medical Scientist |
27 | วิชาการ | ช่างภาพการแพทย์ | Medical Photographer |
28 | วิชาการ | บรรณารักษ์ | Librarian |
29 | วิชาการ | นักสังคมสงเคราะห์ | Social Worker |
30 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานธุรการ | General Service Officer หรือ Office Clerk |
31 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานพัสดุ | Supply Officer |
32 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานเวชสถิติ | Medical Statistics Technician |
33 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานสถิติ | Statistical Officer |
34 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี | Finance and Accounting Officer |
35 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา | Audio-Visual Officer |
36 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข | Dental Assistant |
37 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานเภสัชกรรม | Pharmaceutical Assistant หรือ Pharmacy Technician |
38 | ทั่วไป | โภชนากร | Nutrition Officer |
39 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ | Radiographer Technician |
40 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ | Medical Technician Assistant หรือ Medical Science Technician |
41 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานสาธารณสุข | Public Health Officer |
42 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานอาชีวบำบัด | Vocational Therapy Technician |
43 | ทั่วไป | พยาบาลเทคนิค | Technical Nurse |
44 | ทั่วไป | นายช่างศิลป์ | Graphic Designer |
45 | ทั่วไป | ช่างกายอุปกรณ์ | Prosthetic and Orthotic Technician |
46 | ทั่วไป | นายช่างเครื่องกล | Mechanic |
47 | ทั่วไป | นายช่างเทคนิค | Technician |
48 | ทั่วไป | นายช่างไฟฟ้า | Electrician |
49 | ทั่วไป | นายช่างโยธา | Civil Works Technician |
50 | ทั่วไป | เจ้าพนักงานห้องสมุด | Library Service Officer |
1. ตำแหน่งประเภทบริหาร (Executive Positions) (S)
ก. ระดับต้น (Primary Level) (S1)
ข. ระดับสูง (Higher Level) (S2)
2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (Managerial Positions) (M)
ก. ระดับต้น (Primary Level) (M1)
ข. ระดับสูง (Higher Level) (M2)
3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ (Knowledge Worker Positions) (K)
ก. ระดับปฏิบัติการ (Practitioner Level) (K1)
ข. ระดับชำนาญการ (Professional Level) (K2)
ค. ระดับชำนาญการพิเศษ (Senior Professional Level) (K3)
ง. ระดับเชี่ยวชาญ (Expert Level) (K4)
จ. ระดับทรงคุณวุฒิ (Advisory Level) (K5)
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป (General Positions) (O)
ก. ระดับปฏิบัติงาน (Operational Level) (O1)
ข. ระดับชำนาญงาน (Experienced Level) (O2)
ค. ระดับอาวุโส (Senior Level) (O3)
ง. ระดับทักษะพิเศษ (Highly Skilled Level) (O4)
ตัวอย่าง ตำแหน่งประเภทบริหาร (Executive Positions)
ตัวอย่าง ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (Managerial Positions)
ตัวอย่าง ตำแหน่งประเภทวิชาการ (Knowledge Worker Positions)
ตัวอย่าง ตำแหน่งประเภททั่วไป (General Positions)