ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ ปี 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 23 Second

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการทุกสิทธิ
ประจำปี 2566
ในวันที่ 6-7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมศรีจันทร์ (ชั้น4)
โรงแรมเจริญธานี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

วาระประชุมประกอบด้วย

  • กล่าวเปิดโครงการ และบรรยายพิเศษนโยบายการดำเนินงานด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการจังหวัดขอนแก่น โดย นายแพทย์อภิชัย ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง การจัดทำแผนเงินบำรุงและระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ สำหรับผู้บริหาร”
  • อภิปราย เรื่อง “การจัดทำแผนเงินบำรุงและใช้งานแผนเงินบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมแผนเงินบำรุงสำหรับผู้บริหาร และระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronic Internal Audit : EIA)”
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพ Total Performance Score และการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ”
  • อภิปราย เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง” ในการบริหารจัดการด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รวมแบบสอบทานระบบควบคุมภายใน 39 เรื่อง ปี 2566

0 0
Read Time:3 Minute, 58 Second

แบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปีงบประมาณ 2566 โดย กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • ๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบการควบคุมภายใน
  • ๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ติดตามการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ
  • ๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน บริหารความเสี่ยง
  • ๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินบริจาคและเงินเรี่ยไร
  • ๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินตามโครงการเงินกู้ โควิด 19
  • ๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินยืมราชการ
  • ๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินทดรองราชการ
  • ๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการ
  • ๑๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
  • ๑๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าสาธารณูปโภค
  • ๑๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ฉ.๕
  • ๑๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วย บริการ P4P
  • ๑๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข (พ.ต.ส.)
  • ๑๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเงิน
  • ๑๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
  • ๑๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน e-payment
  • ๑๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เจ้าหนี้
  • ๑๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุง
  • ๒๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร
  • ๒๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
  • ๒๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบ GFMIS
  • ๒๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง
  • ๒๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายประจำของหน่วยบริการ OP IP PP
  • ๒๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  • ๒๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินต่างด้าว
  • ๒๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินกองทุนประกันสังคม
  • ๒๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน จัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล
  • ๒๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
  • ๓๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยเงินบริจาค
  • ๓๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน งบลงทุน (UC)
  • ๓๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-Market
  • ๓๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-bidding
  • ๓๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-bidding (๕๐๐ ล้านบาทขึ้นไป)
  • ๓๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารพัสดุ
  • ๓๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีคัดเลือก
  • ๓๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง
  • ๓๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ๓๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน แผนเงินบำรุง

ไฟล์แบบสอบทานรายด้าน

อ้างอิงจาก

คู่มือ/แนวทางการตรวจสอบภายใน สำหรับคณะกรรมการตรวจสอบภายในภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือแนวทางตรวจสอบภายในปี2566

0 0
Read Time:1 Minute, 9 Second

การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือที่สำคัญของฝ่ายบริหาร ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายในขององค์กร ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานตรวจสอบภายในประสบความสำเร็จ คือ ผู้บริหารสามารถนำผลการตรวจสอบภายในไปใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มและความสำคัญแก่องค์กร ฉะนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ตรวจสอบภายใน และคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายใน ควรมีความเข้าใจถึงภาพรวมเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในความรู้ในองค์กร ความรู้ในหลักการและวิธีการตรวจสอบรวมทั้งต้องปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานการตรวจสอบ ที่ยอมรับโดยทั่วไป

ในการจัดทำคู่มือการตรวจสอบภายในสำหรับพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เกิดจากการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน ขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบ การจัดทำกระดาษทำการตรวจสอบ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การรายงานผลการตรวจสอบที่มีอยู่ให้เกิดเป็นรูปธรรม ผู้จัดทำจึงได้รวบรวมความรู้และนำประสบการณ์ที่ได้จากการตรวจสอบมาจัดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในและคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ควรรู้และต้องปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตรวจสอบซึ่งผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเกิดประโยชน์แก่ผู้ตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน และคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำหลักการปฏิบัติงานไปใช้ในการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมให้ระบบการตรวจสอบภายในเข้มแข็งเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ 2566

0 0
Read Time:3 Minute, 17 Second

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อให้ข้อมูลรายงานทางการเงินมีความน่าเชื่อถือ พัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ด้วยการประเมินระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงาน ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เกิดการกำกับดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ

จากนโยบายดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของหน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการ ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ให้ครอบคลุมทุกระดับของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ระดับจังหวัด ระดับเขต และพัฒนาแนวทาง การตรวจสอบสำหรับภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน โดยสร้างระบบการตรวจสอบและพัฒนาผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายใน ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจแนวทางปฏิบัติงานของภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจการตรวจสอบภายในตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ และเป็นการพัฒนาสมรรถนะภาคีเครือข่าย ให้มีประสบการณ์ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำไปปรับใช้ภายในหน่วยงานตนเองได้ และเพื่อยกระดับ การตรวจสอบขยายขอบเขตการตรวจสอบภายในให้ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลผลิต และผลลัพธ์ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน
ในการดำเนินการดังกล่าว จึงได้มีการจัดทำแนวทางการตรวจสอบภายใน และแบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปี 2566 ไว้เป็นคู่มือปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน สำหรับภาคีเครือข่ายหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เอกสารประกอบการประชุม

แบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปี 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คณะกรรมการ พปง.ตรวจเยี่ยมรพ.เปือยน้อย

0 0
Read Time:1 Minute, 24 Second

คณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ได้ออกติดตามการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2566 ณ โรงพยาบาลเปือยน้อย

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. นายแพทย์อดุลย์ บำรุง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านไผ่ รักษาการในตำแหน่งนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) ประธานคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ได้ออกติดตามการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2566 ณ โรงพยาบาลเปือยน้อย โดยมีคณะกรรมการฯ ที่ร่วมในการออกติดตามฯ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองสองห้อง สาธารณสุขอำเภอหนองเรือ สนง.เขตสุขภาพที่ 7 คณะกรรมการฯ จากโรงพยาบาลหนองเรือ บ้านไผ่ แวงน้อย แวงใหญ่ และกลุ่มงานบริหารฯ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ และกลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

โดยมีเป้าหมายการออกติดตามผลการดำเนินงานฯ หน่วยบริการที่มีสถานการณ์ทางการเงินภาวะวิกฤติระดับ 1-3 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นปัญหา ตลอดจนช่วยวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตามกรอบการประเมินด้านสถานการณ์ทางการเงิน (Risk Score) ,7+ Efficency Score, ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง 5 มิติ (EIA) มิติด้านการจัดเก็บรายได้ และ ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังตามเกณฑ์การให้คะแนน Total Performance Score (TPS) ทั้งนี้โรงพยาบาลเปือยน้อย ได้วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบดังกล่าวได้ครบถ้วนและมีแผนพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง

แผนเปือยน้อยพันภัย เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย หาจุดขาย

ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ จัดทำระบบบัญชีให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง การจัดเก็บรายได้ให้ครบทุกสิทธิ การจัดบริการที่เพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง เขตสุขสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565

0 0
Read Time:35 Second

เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเขตสุขภาพที่ ๗

ปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ในวันที่ ๒๖ – ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

ณ ห้องประชุมสาเกต ขั้น ๗ อาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แผนการตรวจสอบภายใน ปี 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 36 Second

ที่ไปที่มาการตรวจสอบภายใน

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกของการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูสรายงานทางการเงินน่าเชื่อถือ สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดการดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ ตามพระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๙ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสียง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด และตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ส่วนที่ ๒ มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน รหัส ๒๐๐๐ การบริหารงานตรวจสอบภายใน และหลักกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง จึงให้ผู้ตรวจสอบภายในที่ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราขการและเพื่อกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน

กำหนดการตรวจสอบ ปี 2565

ลำดับวัน เดือน ปีหน่วยรับตรวจ
1๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โรงพยาบาลแวงใหญ่
2๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลชนบท
3๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลโนนศิลา
4๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลเปือยน้อย
5๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลบ้านไผ่
6๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
7๕ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย
8๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลมัญจาคีรี
9๒๑ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลพระยืน
10๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลสีชมพู
11๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕โรงพยาบาลหนองนาคำ
12ด๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕โรงพยาบาลภูเวียง

เกณฑ์ในการคัดเลือกหน่วยรับตรวจ

  1. คะแนนจากระบบตรวจสอบอัตโนมัติ (ElA)
    • ไม่ผ่านเกณฑ์ ๔0% ด้านใดด้านหนึ่ง (สิรินธร/บ้านฝาง/อุบลรัตน์/เวียงเก่า/โคกโพธิ์ไขย)
    • รวมเฉลี่ย < ๗๐% (บ้านฝาง/อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/โนนศิลา)
    • การเงิน < ๗0% (โคกโพธิ์ไชย/บ้านฝาง/เวียงเก่า)
    • งบการเงิน < ๗๐% (บ้านฝาง/โนนศิลา/เปีอยน้อยโคกโพธิ์ไชย/ชุมแพ/มัญจาคีรี)
    • จัดเก็บรายได้ < ๗๐% (บ้านฝางโคกโพธิ์ไขย/ เวียงเก่า)
    • พัสดุ < ๗๐% (อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/หนองนาคำ/บ้านไผ่/ภูเวียง/สีชมพู/ชนบท/พระยืน)
    • ควบคุมภายใน < ๗๐% (โนนศิลา/บ้านไผ่/สิรินธร/อุบลรัตน์/เวียงเก่า)
  2. จากผลการจัดส่งแผนรับ-จ่ายเงินบำรุง ประจำปี ๒๕๖๕
    • โรงพยาบาลแวงใหญ่
  3. หน่วยที่ได้รับตรวจแล้วจากเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๕
    • โรงพยาบาลอุบลรัตน์
    • โรงพยาบาลบ้านฝาง

ขอบเขตการตรวจสอบ

  1. ด้านการเงิน : (นางมลิวรรณ มะลิต้น , นางชวรีย์ ศิริพินิตนันท์)
    • แผนรับ-จ่ายเงินบำรุง : (นางสาวสมจิตร เดซาเสถียร , นางสาวณิศา เพ็ญศิริ)
    • เงินบริจาคและเงินเรื่ยไร
    • เงินยืมราชการ
    • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
    • ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ
    • ค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ
    • การจ่ายเงินค่าตอบแทนโควิด
  2. ด้านระบบบัญชี บัญชีเกณฑ์คงค้าง : (นางสาวดารุณี พิมพ์ลี , นางขนิษฐา นนทะสิงห์)
    • งบทดลอง ณ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • เดือนสุดท้ายก่อนเข้าตรวจ
    • เอกสารประกอบ
  3. ด้านการพัสดุ : (นางสุมาลี บุญญรัตน์ , นางนงลักษณ์ ควรคำ)
    • การจัดซื้อจัดจ้าง (แผนจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามหมวดรายจ่าย แผนเงินบำรุง)
    • การบริหารพัสดุ
      • วัสดุ บัญชีวัสดุตามแบบกรมบัญชีกลาง ทุกคลัง
      • รายงานวัสดุคงคลัง ประจำเดือน
      • ครุภัณฑ์ ทะเบียนทรัพย์สิน ตามแบบกรมบัญชีกลาง
      • รายงานค่าเสื่อมสะสม ประจำเดือน
    • การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา : (นางศศิธร เอื้ออนันต์ , นางสาวอิสรีย์ พละสินธุ์เดชา)
    • การตรวจสอบพัสดุประจำปี ๒๕๖๔
      • รายงานการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุประจำปี ภายใน ๓๐ วันทำการ
      • ส่งรายงานการตรวจสอบต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดชอนแก่น / สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดขอนแก่น /สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  4. ด้านการจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล สิทธิที่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน : (นายชัชวาลย์ มุ่งแสง , นางสาวพรรทิภา ทองเกลียว)
    • ข้าราชการ
    • ประกันสังคม
    • พรบ.
    • จ่ายตรง อปท.
    • สิทธิเบิกจ่ายต้นสังกัด (รัฐวิสาหกิจ , ธนาคาร)
  5. ด้านการควบคุมภายใน ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์การควบคุมภายในที่กระทรวงการคลังกำหนด : (นายรังสรรค์ พลหล้า , นางสาวจารุวรรณ รัศมาวี)
    • คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
    • โครงสร้างการบริหารงาน
    • Flow Chart กระบวนงานหลัก ส่วนงานย่อย
    • แบบติดตาม ปค. ๕

เอกสารประกอบ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปผลการประเมินEIA จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564

0 0
Read Time:5 Minute, 54 Second

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

รายงานผลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : ElA)

ตามแผนการตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้กำหนดแผนการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ทุกหน่วย บริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นั้น
การปฏิบัติงานกลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการ
ตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งสรุปผลการตรวจสอบภายในภาพรวมจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

เชิงปริมาณ

ผลการประเมินการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังโดยระบบ (Electronics Internal Audit : EIA)จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๒๖ แห่ง

สรุปผลการประเมินภาพรวม ผลการดำเนินงานในภาพรวมของระดับจังหวัด ผลคะแนนร้อยละ ๘๐.๓๕ อยู่ในเกณฑ์ดี จากการตรวจสอบในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) พบว่าในแต่ละมิติมีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ มิติด้านการเงิน ร้อยละ ๘๓.๕๓ มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ ๘๐.๕๒ มิติด้านงบการเงิน ร้อยละ ๗๗.๓๘ มิติด้านบริหารพัสดุ ร้อยละ ๗๔.๐๒ และมิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ ๘๕.๖๘

เชิงคุณภาพ

ประเด็นความเสี่ยงที่ตรวจพบ (condition) ดังนี้

  • ๑) มิติด้านการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ มีการเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานมีวงเงินเก็บรักษาเกินกว่าที่กำหนดตามประกาศสำนักงานบ่ลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS หน่วยบริการไม่ได้นำเงินฝากคลังและไม่ได้จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากคลัง การเบิกจ่ายค่าตอนแทนนอกเวลาราชการ (ฉ๕) และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ได้แนบคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานรับ – จ่ายเงินบริจาคของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อส่งรายงานให้หน่วยงานคลังของส่วนราชการต้นสังกัดภายใน ๖0 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
  • ๒) มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่มีการนำส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับการโอนเงินจากหน่วยงานหรือกองทุนต่าง ๆ ระหว่างงานการเงินกับงานประกันสุขภาพไม่มีการเซ็นรับ – ส่งเอกสารระหว่างกัน การเร่รัดติดตามการชำระหนี้หน่วยงานมีเพียงหนังสือแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่มีหนังสือเร่งรัดติดตามการชำระหนี้ (หนังสือฉบับที่ ๒ ติดตามการจ่ายชำระหนี้กรณียังไม่ได้รับชำระเงินหลังจากแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาลครั้งที่ ๑ แล้ว) กระบวนการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ไม่มีทะเบียนคุมข้อมูลการสังคมสงเคราะห์ และหลักฐานเอกสารเสนอผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ และหน่วยบริการไม่ได้สอบทานยืนยันยอดความมีอยู่จริงของลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นปีงบประมาณกับกองทุนต่าง ๆ หรือส่วนราชการ
  • ๓) มิติด้านงบการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำทะเบียนคุมบัญชีเงินฝากคลังและบัญชีเงินหลักประกันสัญญา การบันทึกบัญชีด้านรับ ด้านจ่าย และด้านทั่วไปหน่วยบริการไม่แนบหลักฐานประกอบการบันทึกบัญที ไม่มีการสอบทานยืนยันยอดคงเหลือระหว่างทะเบียนคุมหรือรายงานกับงบทดลอง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่ไม่ปรับปรุงรายการรายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้าและค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ณ วันสิ้นปีงบประมาณตามนโยบายปัญชีที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและหน่วยบริการไม่แนบหนังสือนำส่งรายงานการรับ – จ่ายเงินบำรุง ที่หัวหน้าหน่วยงานรับรอง
  • ๔) มิติด้านบริหารพัสดุ จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำโครงสร้างสายการบังคับบัญชางานพัสดุ หรือบางแห่งมีการจัดทำแต่สายการบังคับบัญชายังไม่ถูกต้อง การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เอกสารประกอบในแต่ละชุดไม่มีเอกสารมอบหมายหรือแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๑) รายละเอียดคุณสักษณะเฉพาะของหัสดุ และรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ ซึ่งบางแห่งมีการจัดทำรายงานการตรวจรับพัสดุจากระบบ e – GP กับรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเป็นฉบับเดียวกัน แต่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ตรวจสอบทราบ บัญชีวัสดุและทะเบียนคุมทรัพย์สินรายละเอียดและแนวทางไม่เป็นไข่ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และใบเบิกพัสดุผู้อนุมัติสั่งจ่ายไม่ใช่หัวหน้าหน่วยพัสดุตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
  • ๕) มิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง จากการตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่มีการเซ็นรับรองรายงานการประชุมจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล รายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.๔) และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน(แบบ ปค.๕) ระดับส่วนงานย่อยไม่มีการเซ็นรับรองจากหัวหน้าส่วนงานย่อย ไม่จัดทำร้ายงานการติดตามผลการปรับปรุงการควบคุมภายใน และแผนบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะแผนความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (S) หน่วยงานแนบหนังสือนำส่งแผนแต่ไม่มีรายละเอียดของความเสี่ยงผู้ตรวจสอบจึงไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานในแต่ละด้านได้

สาเหตุ (Cause)

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกฏ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงทักษะในการปฏิบัติงานไม่ซัดเจนเพียงพอ ส่งผลให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในบางประเด็นทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีการสอบทานยืนยันยอดระหว่างกัน และขาดความระมัดระวังรอบคอบในการปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่มีการจัดวางระบบในการส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน และไม่มีการตรวจสอบชุดเอกสารก่อนจัดส่งไปยังส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ผลกระทบ (Effect)

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเอกสารสูญหายหน่วยงานจะไม่สามารถตรวจสอบติดตามเอกสารนั้นได้ เพราะไม่มีข้อมูลการส่งต่อเอกสารระหว่างกัน ขาดการกำกับ ติดตาม อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของหน่วยงานไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องรับภาระความเสี่ยงจากระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุม และการเบิกจ่ายที่ชุดเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องตามระเบียบ เนื่องจากขาดเอกสารในบางส่วน อาจส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบด้วยเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ (Recommendation)

  1. การเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานจะต้องมีวงเงินเก็บรักษาตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ชักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS
  2. ผู้รับผิดชอบตามคำสั่งมอบหมายงานและบุคลากรทุกส่วนงานจะต้องศึกษากระบวนการทำงานของตนเองให้มีความแม่นยำในการปฏิบัติงาน
  3. หน่วยบริการควรกำกับ ดูแล และกำชับเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้องก่อนจัดส่งเอกสารไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
  4. ควรทบทวนกระบวนการทำงานของแต่ละส่วนงานเพื่อให้ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรแยกความรับผิดชอบในการทำงานของแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการปฏิบัติงานช้ำซ้อน
  5. การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อย่างเคร่งครัด
ผู้ประเมิน
นางสาวสุชานาถ ทินวงศ์
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ผู้ตรวจสอบประจำเขตสุขภาพที่ ๗
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

กำหนดการตรวจสอบภายในหน่วยรับตรวจ ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ประจำปี งบประมาณ 2564

0 0
Read Time:1 Minute, 37 Second

22 ธันวาคม 2563 รพ.ภูผาม่าน
23 ธันวาคม 2563 รพ.สต.วังสวาบ อ.ภูผาม่าน
24 ธันวาคม 2563 สสอ.ภูผาม่าน
6 มกราคม 2564 รพ.สต.หนองแดง อำเภอสีชมพู
7 มกราคม 2564 รพ.สต.บริบูรณ์ อำเภอสีชมพู
13 มกราคม 2564 รพ.สต.โนนหัน อ.ชุมแพ
14 มกราคม 2564 รพ.สต.ขัวเรียง(สัมพันธ์) อ.ชุมแพ
20 มกราคม 2564 สสอ.ชุมแพ
21 มกราคม 2564 รพ.เวียงเก่า
27 มกราคม 2564 รพ.สต.เขาน้อย อำเภอเวียงเก่า
28 มกราคม 2564 รพ.สต.กุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ
3 กุมภาพันธ์ 2564 รพ.สต.ทุ่งชมพู อำเภอภูเวียง
4 กุมภาพันธ์ 2564 รพ.สต.โนนสวรรค์ อำเภอหนองเรือ
11 กุมภาพันธ์ 2564 สสอ.หนองสองห้อง
10 กุมภาพันธ์ รพ.สต.โนนธาตุ อำเภอหนองสองห้อง
17 มีนาคม 2564 รพ.สต.เพ็กใหญ่ อำเภอพล
24 มีนาคม 2564 รพ.แวงน้อย
18 มีนาคม 2564 รพ.สต.ท่าวัด อำเภอแวงน้อย
25 มีนาคม 2564 รพ.สต.โนทอง อำเภอแวงใหญ่
24 มีนาคม 2564รพ.สต.ขามป้อม อำเภอเปือยน้อย
30 มีนาคม 2564 รพ.สต.คูคำ อำเภอซำสูง
1 เมษายน 2564 รพ.สต.ป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง
8 เมษายน 2564 รพ.สต.บ้านขาม อำเภอน้ำพอง
28 เมษายน 2564 รพ.สต.ทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์
5 พฤษภาคม 2564 รพ.สต.ดงเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง
13 พฤษภาคม 2564 รพ.สต.ทุ่งใหญ่ อำเภอกระนวน
18 พฤษภาคม 2564 รพ.บ้านไผ่
19 พฤษภาคม 2564 รพ.สต.เมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่
27 พฤษภาคม 2564 รพ.สต.หนองปลาหมอ อำเภอโนนศิลา
8 มิถุนายน 2564 รพ.สต.นาแพง อำเภอโคกโพธิ์ไชย
20 พฤษภาคม 2564 สสอ.มัญจาคีรี
9 มิถุนายน 2564 รพ.สต.โพนเพ็ก อำเภอมัญจาคีรี
10 มิถุนายน 2564 รพ.สต.ศรีบุญเรือง อำเภอชนบท
16 มิถุนายน 2564 รพ.สต.หนองแวง อำเภอพระยืน
17 มิถุนายน 2564 รพ.สต.สำราญ อำเภอเมือง
24 มิถุนายน 2564 รพ.สิรินธร จังหวัดขอนแก่น
23 มิถุนายน 2564 รพ.สต.บ้านดง อำเภอบ้านแฮด

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version