ประกาศ Home Ward 2566

0 0
Read Time:50 Second

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้านพ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ผู้ป่วยในที่ บ้านได้รับบริการสาธารณสุขที่ มีมาตรฐานและครอบคลุมกลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๒๐.๑๐.๘ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim ร่วมกับการใช้โปรแกรมรายงานข้อมูลติดตามสุขภาพประจำวัน (โปรแกรม AMED) กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ 2566

วาระประชุม

  • ๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๕ น. – ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และกล่าวเปิดการประชุม โดย นายธวัชชัย เรืองโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๑๕ – ๑๓.๓๐ น. – หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน โดย นางสาวมนัสนีย์ รัตนเมธีนนท์ นักบริหารงาน ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. – แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ กรณีบริการดูแลแบบ ผู้ป่วยในที่บ้าน โดย ฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • ๑๔.๐๐ – ๑๔.๒๐ น. – การบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-Claim เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วย ในที่บ้าน โดย นางเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • ๑๔.๒๐ – ๑๕.๓๐ น. – การใช้งานระบบบริการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน (DMS Home ward) โดย ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ และทีม รก.ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความมั่นคง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. – อภิปราย ซักถาม และปิดการประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

0 0
Read Time:2 Minute, 26 Second

การปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการจัดทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยสาระสำคัญที่ประชาชนจะได้รับ คือ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ การเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ ติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เตียงรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงมีนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based Medical Services) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient)

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

การดำเนินการให้บริการในรูปแบบผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ การดูแลเสมือนโรงพยาบาลที่บ้าน (Hospital care at home) เป็นการให้บริการการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่ใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลเทียบเคียงผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษา
กรมการแพทย์ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำ “แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)” โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและหน่วยบริการทุกระดับสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษา มีสภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสมดั่งปณิธานของกรมการแพทย์ “ทำดีที่สุด เพื่อทุกชีวิต”

สารบัญ

  • บทที่ 1 บทนำ
    • คำนิยาม
    • วัตถุประสงค์
    • รูปแบบการให้บริการ
    • การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาล
    • การประเมินความพร้อมของผู้ป่วย ผู้ดูแล และที่พักอาศัยระหว่างการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน
    • เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วยเข้าระบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน
  • บทที่ 2 การประเมินความพร้อมของ ผู้ป่วย ครอบครัว สภาพที่พักอาศัย และทีมดูแลที่บ้าน
    • ขั้นตอนดำเนินการ
    • แนวทางปฏิบัติในการให้การบริการ home ward
    • องค์ประกอบของทีมดูแลต่อเนื่อง
  • บทที่ 3 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะ แบบ Home ward
  • บทที่ 4 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบ แบบ Home ward
  • บทที่ 5 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแผลกดทับ (pressure ulcer management) แบบ Home ward
  • บทที่ 6 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไส้ติ่ง แบบผ่าตัดวันเดียวกลับ แบบ Home ward
  • บทที่ 7 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน
  • บทที่ 8 การดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
  • บทที่ 9 แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการ ผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version