ประชุมบริหารจัดการยาต้านสูตรใหม่ วันที่ 2-3 พค. 2565

0 0
Read Time:1 Minute, 42 Second

ประชุมชี้แจงการบริหารจัดการยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่

  • เวลา 08.30 – 08.40 น. บรรยายวัตถุประสงค์การปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี โดย พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยะสุวัฒน์ ผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เวลา 08.40 – 09.30 น. บรรยายแนวทางการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวีในผู้ใหญ่ เด็ก/วัยรุ่น และ หญิง ตั้งครรภ์ โดย ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย
  • เวลา 09.30 – 10.30 น. บรรยาย การบริหารจัดการการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี ของ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานประกันสังคม โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานประกันสังคม
  • เวลา 10.30 – 11.00 น. บรรยาย การกระจายยา/จัดส่งยา และการติดต่อประสานงาน โดย องค์การเภสัชกรรม
  • เวลา 11.00 – 12.00 น. ถาม-ตอบ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน
  • เวลา 13.00 – 13.10 น. บรรยายวัตถุประสงค์การปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี โดย พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยะสุวัฒน์ ผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เวลา 13.10 – 14.00 น. บรรยายแนวทางการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวีในผู้ใหญ่ เด็ก/วัยรุ่น และ หญิง ตั้งครรภ์ โดย ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย
  • เวลา 14.00 – 15.00 น. บรรยาย การบริหารจัดการการปรับเปลี่ยนสูตรยาต้านเอชไอวี ของ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานประกันสังคม โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , สำนักงานประกันสังคม
  • เวลา 15.00 – 15.30 น. บรรยาย การกระจายยา/จัดส่งยา และการติดต่อประสานงาน โดย องค์การเภสัชกรรม
  • เวลา 15.30 – 16.30 น. ถาม-ตอบ ปัญหาที่พบจากการดำเนินงาน
ประชุมชี้แจงการบริหารจัดการยาต้านเอชไอวีสูตรใหม่-เช้า
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

0 0
Read Time:1 Minute, 25 Second

การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ – การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

  • วัตถุประสงค์ สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่เข้ารับการบริการให้การปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ ได้รับการบริการการดูแลรักษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
  • กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิว่าง หรือประชาชนกลุ่มเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 (Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017) หรือที่มีประกาศเพิ่มเติม
  • ขอบเขตบริการ สำหรับการพัฒนาคุณภาพระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โดยเป็นการจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพแก่หน่วยบริการที่ให้บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

แนวทางการบริหารการจ่ายค่าใช้จ่ายบริการ
เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยบริหาร
วงเงินที่ส่วนกลาง และพิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการตามผลงานบริการและตัวชี้วัด ดังนี้

  1. จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสภายในวันเดียวกับการวินิจฉัย (Same day ART)
  2. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่ได้รับยาต้านไวรัส

คุณสมบัติหน่วยบริการที่ให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์
หน่วยบริการที่สามารถขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จะต้องเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านการขึ้นทะเบียน หรือผ่านการประเมินศักยภาพตามที่ สปสช. กำหนด

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

0 0
Read Time:4 Minute, 0 Second

บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี -การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

  • วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และชักนำให้เข้าสู่ระบบบริการของกลุ่มประชากรหลัก (Key Population) ลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มประชากรหลัก กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อฯ ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ รวมการนำร่องบริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP)
  • กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ และอยู่ในกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มประชากรหลัก (Key Population) เช่น กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย สตรีข้ามเพศ พนักงานบริการหญิง พนักงานบริการชาย ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด และกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงที่เกิดการกระจายและแพร่เชื้อ หรือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น ผู้ต้องขัง หญิงตั้งครรภ์ เยาวชน พนักงานในสถานประกอบการ ประชาชนในชุมชนที่มีความเสี่ยง (พ่อบ้านแม่บ้าน) เป็นต้น ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย โดยคณะทำงานร่วมระหว่าง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิจัย โรคเอดส์ สภากาชาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การกำหนดชุดบริการเป็นไปตามบริบทของพื้นที่ จำนวนกลุ่มประชากรเป้าหมาย และความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหา

ขอบเขตบริการ ประกอบด้วย

  1. บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เป็นการบริการเพื่อให้มีการเข้าถึงและชักนำประชากรหลัก (Key Population) ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงให้เข้ารับบริการ การสร้างความต้องการในการรับบริการผ่านเครือข่ายสังคมและเครือข่ายสุขภาพ การขยายบริการเชิงรุกการตรวจเอชไอวี และบริการถุงยาง อนามัยสำหรับใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี มีกิจกรรม หลัก ดังนี้
    • 1.1 บริการค้นหากลุ่มเสี่ยง (Reach)
    • 1.2 บริการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่ระบบบริการ VCT (Recruit)
    • 1.3 บริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (Test)
    • 1.4 บริการส่งต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระบบบริการ (Treat)
    • 1.5 บริการติดตามผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มเสี่ยง (Retain)
  2. บริการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี เป็นบริการสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับคู่ของผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงอื่น การติดตามผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี เช่น การให้คำปรึกษา การคัดกรอง การค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง การใช้ยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง การเยี่ยมบ้าน การพบปะประชุมกลุ่มย่อยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น โดยกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ ปฏิบัติงานในศูนย์องค์รวมร่วมกับหน่วยบริการ
  3. นำร่องบริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP) ครอบคลุมการให้คำปรึกษาการให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเพื่อรับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยนำร่องบริการในกลุ่มเสี่ยงสูงทุกกลุ่มในพื้นที่ที่มีความพร้อม ทั้งนี้ ควรมีการรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสนับสนุนให้มีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างกว้างขวางรวมถึงและการตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควบคู่ไปกับการรณรงค์สร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อประสิทธิภาพของการป้องกัน และไม่ทำให้พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยลดลง หรือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเพิ่มขึ้น

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการ

  • การจ่ายค่าใช้จ่ายให้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด และตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับเงิน การจ่ายเงินการรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ตามคำสั่ง คสช.) โดยประกอบด้วย 3 รายการ ดังนี้
    1. บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการ/หน่วยงาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามคำสั่ง คสช.คู่สัญญาที่รับดำเนินงานตามข้อตกลง/สัญญาดำเนินงานตามโครงการ/โครงการ
    2. บริการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี จัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการ/หน่วยงานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามคำสั่ง คสช.คู่สัญญาที่รับดำเนินงานตามข้อตกลง/สัญญาดำเนินงานตามโครงการ
    3. นำร่องบริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) สปสช. พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการที่ผ่านการประเมินความพร้อมการให้บริการตามที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สปสช.กำหนด

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง

0 0
Read Time:2 Minute, 47 Second

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ – บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง

  • วัตถุประสงค์ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อให้แก่ผู้อื่น
  • กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิว่าง หรือประชาชนกลุ่มเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 (Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017) หรือที่มีประกาศเพิ่มเติม

ขอบเขตบริการ ประกอบด้วย

  1. บริการการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส และยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานยาต้านไวรัส สำหรับบริการดังนี้
    • 1.1 ยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา
    • 1.2 ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก (Prevention of Mother to Child Transmission: PMTCT)
    • 1.3 ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีภายหลังสัมผัสโรคในกรณีสัมผัสเชื้อเอชไอวีจากการทำงานการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV occupational Post-Exposure Prophylaxis:HIV oPEP)
    • 1.4 ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสที่ไม่ใช่จากการทำงานเฉพาะกรณีเป็นผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (HIV non-occupational Post-Exposure Prophylaxis: HIV nPEP)
    • 1.5 ยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานยาต้านไวรัส
    • 1.6 บริการการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยหรือติดตามการรักษา เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 (Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017) หรือที่มีประกาศเพิ่มเติมรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการเจาะเลือด และค่าขนส่งเพื่อส่งตัวอย่างตรวจ
  2. บริการให้คำปรึกษา และตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (Voluntary counseling and testing: VCT) สำหรับบริการ ดังนี้
    • 2.1 การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV antibody testing)
    • 2.2 การให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มาขอรับบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (Voluntary counseling)
  3. สนับสนุนการให้บริการรักษาและให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการติดตามการรักษาที่หน่วยบริการ
  4. สนับสนุนถุงยางอนามัยแก่ผู้ที่เข้ารับบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการติดตามการรักษาที่หน่วยบริการ
  5. บริการตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่มารับบริการ VCT ทั้งนี้ การจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการ

  1. แนวทางการรับยาและเวชภัณฑ์ กรณีรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหาฯ ให้หน่วยบริการได้รับจากเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ ยกเว้น หน่วยบริการที่ไม่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ ได้รับเป็นค่าชดเชยค่ายาและเวชภัณฑ์ ตามอัตราที่ สปสช. กำหนด สำหรับรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหาฯ ให้หลักเกณฑ์การจ่าย เป็นไปตามบทที่ 8
  2. แนวทางการจ่ายค่าบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (Voluntary counseling and testing: VCT) การตรวจทางห้องปฏิบัติการเอชไอวี ไวรัส ตับอักเสบซี จ่ายเป็นค่าบริการตามผลงานการให้บริการ อัตราการชดเชย ตามที่ สปสช.กำหนด หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

0 0
Read Time:1 Minute, 36 Second

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปี 2564

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์
  2. ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่
  3. ลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก
  4. ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ เพิ่มการเข้าถึงการบริการของกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง และการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มคุณภาพการรักษาและป้องกันการแพร่เชื้อโรคให้กับผู้อื่น

วงเงินงบที่ได้รับ

งบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นงบประมาณที่ได้รับแยกจากระบบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรเป็นงบประมาณเพื่อบริการ ประเภทบริการต่างๆ ดังนี้

ประเภทบริการ จำนวนเงิน (ล้านบาท)
1.บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง 3,405.5113
2.บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี250.8394
3.การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์20.0000
รวม 3,676.3507

ทั้งนี้ ให้ สปสช. สามารถเกลี่ยเงินระหว่างประเภทบริการได้ตามศักยภาพของระบบบริการ

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

ตัวชี้วัดในการกำกับติดตามและประเมินผล มีดังนี้

  1. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสภายในวันเดียวกับการวินิจฉัย (Same day ART)
  2. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่ที่ได้รับยาต้านไวรัส
  3. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่สามารถกดปริมาณไวรัสลงได้ ≤1,000 copies/ml
  4. ค่ามัธยฐานของ CD4 ครั้งแรกของผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลังได้รับการวินิจฉัย
  5. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เสียชีวิตภายในปีแรกหลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
  6. ร้อยละของผู้รับประทานยาต้านไวรัสที่ขาดการติดตามการรักษา
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version