แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาล ที่เบิกผ่าน สกส.
ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว102, , ว130 , ว565 (หลักเกณฑ์การเบิก ในสถานการณ์ COVID-19 )
สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ
21 ธันวาคม 2563
แนวทางการบันทึกข้อมูลนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศ ของกรมบัญชีกลาง เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 หรือ โควิด19 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส. ในฐานะหน่วยงานที่รับงานการเบิกจ่ายขอกำหนดแนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกดังนี้
1.รายการที่ให้เบิกตามประกาศฯ ข้อ4 และข้อ 5
ใช้รหัสรายการกรตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ชุด, ค่าห้องและค่ายาตามรายการและอัตราที่กำหนดในตาราง
กลุ่ม | CSCODE | คำอธิบาย | อัตรา |
---|---|---|---|
1 | 21401 | ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย ต่อวัน | ตามจริงไม่เกิน 2,500 |
2.1 | 045001 | ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (เฉพาะธุรกรรมก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2563) | ตามจริงไม่เกิน 540 |
2.2 | 045002 | ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรดูแลผู้ป่วย | ตามจริงไม่เกิน 740 |
3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 3.9 3.10 3.X | รหัส TPUID ในระบบ TMT | choloquine hydroxycholoquine darunavir favipiravir lopinavir + ritonavir oseltamivir remdesivir ritonavir tocilizumab azithromycin (ยาอื่นที่ใช้กับกรณีนี้ได้ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ) | ตามจริงไม่เกิน 7,200 |
4.1 | 36590 | SARS coronavirus 2, qualitative RT-PCR | ตามจริงไม่เกิน 2,200* |
4.2 | 36591 | SARS coronavirus 2 N gene, qualitative RT-PCR | ตามจริงไม่เกิน 2,200* |
4.3 | 36592 | SARS coronavirus 2 RdRp gene, qualitative RT-PCR | ตามจริงไม่เกิน 2,200* |
4.4 | 36593 | SARS coronavirus 2 IgG Ab [+1-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassay | ตามจริงไม่เกิน 1,200 |
4.5 | 36594 | SARS coronavirus 2 IgM Ab [+/-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassay | ตามจริงไม่เกิน 1,200 |
4.6 | 36595 | SARS coronavirus 2 IgG+IgM Ab [ +1-] in Serum or Plasma by Immunoassay | ตามจริงไม่เกิน 1,200 |
4.7 | 36596 | SARS coronavirus 2 Ag [+1-] in Respiratory specimen by Rapid immunoassay | ตามจริงไม่เกิน 1,200 |
4.X | – | (Lab อื่นที่พัฒนาขึ้นใหม่ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ) | ตามจริงไม่เกิน 1,200 |
5 | ไม่กำหนด | ค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื่อบนรถส่งต่อ | ตามจริงไม่เกิน 3,700 |
หมายเหตุ:รายการในกลุ่ม 4 ได้รวมค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการแล้ว
*ปรับราคาลดลงจากตามจริงไม่เกิน 3,000 เหลือตามจริงไม่เกิน 2,200 และได้รวมค่าชุด PPE สำหรับเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างไว้ด้วย ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 เป็นต้นไป
2.เงื่อนไขและข้อมูลการวินิจฉัยที่ต้องที่ระบุไว้ในธุรกรรม
2.1 รหัสเงื่อนไขที่ระบุว่าเป็น COVID
เงื่อนไขที่ใช้ระบุว่าเป็น COVID-19 คือ “COV-19”
2.2 รหัสวินิจฉัย (ICD-10)
กรณีรักษาแบบ OPD สงสัยเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่แสดงอาการหรืออาการไม่รุนแรง
Z115: Special screening examination for other viral disease
เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease
การวินิจฉัยโรคอื่นที่พบในผู้ป่วยในครั้งเดียวกันนี้ก็บันทึกการวินิจฉัยตามปกติ ทั้งนี้อาการที่ให้รหัสเพิ่มอาจเกี่ยวข้องกับการดิดเชื่อ COVID หรือไม่ก็ได้ เช่น ไข้,คอแดง, ปวดเมื่อย เป็นต้น
กรณีรักษาแบบ OPD ตรวจติดตามหลังการรักษา
- Z098: Follow-up examination after other treatment for other conditions
- เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
- หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
- หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease
กรณีรับเป็นผู้ป่วยใน
- มีอาการปอดติดเชื้อเป็นอาการสำคัญ
- J12.8: Other virus pneumonia
- ถ้ามีอาการอื่นๆ
- รหัส ICD 10 ของโรค/อาการนั้นๆ
- ผลการตรวจ COVID เป็นการชี้ชัดเหตุของอาการ
- หากผลเป็นลบ ไม่มีหัสเพิ่มเติม
- หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส
- U07.1: 2019 nCoV virus disease
- B97.2: Coronavirus as the cause of diseases classified to other chapters
- หากมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ให้เพิ่มรหัส J96.0x: Acute respiratory failure
3.การบันทึกข้อมูลเบิกในธุรกรรมเบิก
3.1 การรักษา กรณี OPD
- การบันทึกธุรกรรมเบิกผู้ป่วยนอกใช้ระบบ CSOP รุ่น 0.93
- ระบุรายการเบิกค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (กลุ่ม2.1) (เฉพาะธุรกรรมก่อน 1 ธ.ค.2563/ และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ใน
- ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน BilTran.AuthCode
- ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
- หมายเหตุ กรณีได้ส่งเบิกผ่านไปแล้วก่อนประกาศนี้ สถานพยาบาลสามารถส่งรายการเบิกเพิ่มได้ โดยสร้างธุรกรรมเบิกใหม่ ใช้ Invno ใหม่ และอ้างอิง Approval Code ของธุรกรรมที่เบิกผ่านไปแล้ว
3.2 การรับเป็นผู้ป่วยใน
- 3.2.1 กรณีรักษาในสถานพยาบาล
- 3.2.1.1 โปรแกรม CSMBS
- ต้องปรับปรุงแฟ้ม MedEquipdev และบันทึกธุรกรรมเบิกหมวดค่าใช้ต่างๆ ดังนี้
- ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย(กลุ่ม1) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 1
- ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
- ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
- ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
- ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
- 3.2.1.2 ระบบ CIPN
- ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
- ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
- ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน
- ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
- 3.2.2 กรณีรักษาในสถานที่พักฟื้นเพื่อรอจำหน่าย
- 3.2.2.1 โปรแกรม CSMBS
- การเบิกค่ารักษาในกรณีอยู่ในสถานที่พักฟื้นรอการจำหน่าย
- สถานพยาบาลต้องจำหน่ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลในข้อ 3.2.1
- ในสถานที่พักฟื้น ให้รับเป้นผู้ป่วยใน โดยใช้ HN เดิม และ AN ใหม่ จากข้อ 3.2.1
- ให้เลือกเบิกเป็น ประเภทบริการ/รักษา เลือก “อื่น ๆ” ช่อง type ระบุ “CO”
- ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
- ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
- ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
- ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ในหน้า วินิจฉัย/ห้ตถการ ช่อง จากward เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”
- ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
- 3.2.2.2 ระบบ CIPN
- ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
- ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
- ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน ClaimAuth.ProjectCode
- ระบุ “CO” ใน ClaimAuth.ServiceType
- ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
- ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ใน IPADT.dischWard เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”
3.3การเบิกค่ารถส่งต่อ
- 3.3.1 การเบิกค่ารถส่งต่อ ค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
- เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ตามปกติ โดยระบุข้อมูลเพิ่มเดิมดังนี้
- ให้เลือก (คลิก )กรณี “อุบัติเหตุหรือฉุกเฉินในภาวะวิกฤติ”
- เหตุผลที่ส่งต่อที่ 1. ระบุเป็น “COVID-19”
- เหตุผลที่ส่งต่อที่ 2. ระบุจำนวนเงินที่ขอเบิกค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
- 3.3.2 การเบิกค่ารถ กรณีส่งต่อเพื่อไปสถานที่พักฟื้น
- เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ปกติตามข้อ 3.3.1 ซึ่งรวมกรณีส่งต่อจากสถานที่พักฟื้นไปสถานพยาบาลด้วย โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
- สกส. ออกรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวสำหรับสถานที่พักฟื้นเป็นการเฉพาะ สถานพยาบาลแจ้งขอ/ตรวจสอบรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวได้ที่ www.chi.or.th
- ให้ใช้รหัสชั่วคราว เป็นรหัสถานพยาบาลต้นทาง หรือปลายทางแล้วแต่กรณี
- สถานพยาบาลที่เป็นเจ้าของรถส่งต่อ ไม่ใช่หัสสถานพยาบาลชั่วคราว
- สำหรับขั้นตอนส่งข้อมูล,เอกสารตอบรับ,Statement และคำขอเบิก เป็นแนวทางเดียวกันกับแต่ละระบบใช้อยู่เป็นปกติ
4.การเบิกค่ายา กรณีส่งยาให้ผู้ใช้สิทธิทางไปรษณีย์
- การส่งยาทางไปรษณีย์หรือการรับยานอกสถานพยาบาล เป็นมาตรการลดการแพร่กระจายของโรคในสถานการณ์โรคติดต่อร้ายแรง ไม่ได้เจาะจงกับโรค COVID19 นี้
- แนวทางนี้ใช้เฉพาะกิจตามข้อ 8 ในประกาศฯ กับผู้ป่วยที่ไม่ได้มาสถานพยาบาลเท่านั้น เมื่อมีการพัฒนาแนวทางการนยันการรับยาใหม่ขึ้นมา ก็จะมีการประกาศปรับเปลี่ยนให้ทราบเพื่อใช้แทน
- แนวทางการทำธุรกรรม
- ส่งข้อมูลเบิกผ่านระบบ CSOP รุ่น 0.93
- ธุรกรรมที่เบิก เป็นค่าใช้จ่ายค่ายาตามระบบปกติ เท่านั้น
- Approval Code ให้ดำเนินการผ่านระบบ KTB Corporate Online โดยบันทึกเหตุผลว่า “ส่งยา”
- ให้ใส่ Tracking Number ในช่อง BillTran.VerCode ต่อท้าย Approval Code โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย “:”
5.การเบิกกรณีที่เข้าข่าย ORS
- สกส.จะประมวลผลข้อมูลกรณีเข้าข่าย ORS ตามวิธีการและแนวปฏิบัติดาม ว187 (17 พ.ค. 2556) โดยจะปรับค่า Outlier Loss Threshold (OLT) ของแต่ละสถานพยาบาลให้ลดลงร้อยละ 70 ของค่า OLT เดิม ทั้งนี้เฉพาะกรณีการรักษาผู้ป่วยในที่จำหน่ายดั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.63 และมีการวินิจฉัยเป็น COVID-19
- เมื่อสถานพยาบาลได้รับแจ้งกรณีที่เข้าข่าย ORS จาก สกส. ให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2. ของ ว187 (17 พ.ค. 2556 ) ขั้นตอนการพิจาณา ORS และการจ่ายชดเชย จะเป็นไปดามกระบวนการ ORS