แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลตามประกาศสำนักงานประกันสังคม 31 มีนาคม 2563

0 0
Read Time:53 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลตามประกาศสำนักงานประกันสังคม 31 มีนาคม 2563 (หลักเกณฑ์การเบิก ในสถานการณ์ Covid-19)

โดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ 22 เมษายน 2563

แนวทางการบันทีกข้อมูลนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศ ของสำนักงานประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด19 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในการรับส่งข้อมูลบริการทางการแพทย์ จึงกำหนดวิธีการบันทึกข้อมูลเบิกในกรณีดังนี้

  1. รายการที่ให้เบิกตามประกาศฯ ข้อ 3
  2. เงื่อนไขและข้อมูลการวินิจฉัยที่ต้องที่ระบุไว้ในธุรกรรม
  3. การบันทึกข้อมูลเบิกในธุรกรรมเบิก
    • 3.1 การรักษา กรณี OPD
    • 3.2 การรับเป็นผู้ป่วยใน
      • 3.2.1 กรณีรักษาในสถานพยาบาล
      • 3.2.2 กรณีรักษาในสถานที่พักฟื้นเฉพาะกิจ
    • 3.3 การเบิกค่ารถส่งต่อ
  4. ขั้นตอนการส่งข้อมูล เอกสารตอบรับ Statement และคำขอเบิก
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

0 0
Read Time:53 Second

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ (ฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม) โดยได้กำหนดค่าใช้จ่ายกรณีพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ รับส่งต่อผู้ป่วยระหว่างบ้าน ด่านท่าอากาศยาน ด่านพรมแดน ด่านท่าเรือ สถานที่กักกันโรคโรงพยาบาลสนาม และหน่วยบริการ ตามรายละเอียดที่ทราบแล้วนั้นจากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อโควิด-19 มีการแพร่ระบาดจำนวนมากในพื้นที่ต่างๆ มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีความจำเป็นต้องไปรักษาในภูมิลำเนา หรือต่างพื้นที่ โดยมีหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับผู้ป่วยรักษาต่อแบบผู้ป่วยใน สปสช.ขอเรียนว่าหน่วยบริการที่ดำเนินการจัดให้มีรถพยาบาล หรือพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยมารักษาต่อ สามารถขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.ได้ รายละเอียดดังไฟล์แนบ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลับมารักษา

0 0
Read Time:2 Minute, 30 Second

สปสช.แจ้งแนวทางโรงพยาบาลที่ประกาศรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลับมารักษาที่ภูมิลำเนา เบิกค่ารถรับส่งต่อผู้ป่วย-ค่าชุด PPE-ค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ได้ตามหลักเกณฑ์ ย้ำผู้ป่วยประสานงาน รพ.ก่อน-ไม่ควรเดินทางเอง

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ขณะนี้มีจำนวนผู้ป่วยปริมาณมาก จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายกับที่เข้ามาใหม่ไม่สมดุลกันทำให้เตียงว่างมีไม่พอ การเพิ่มโรงพยาบาลสนามไม่ทันกับการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยในช่วงนี้ ทำให้มีผู้ป่วยรอเตียงอยู่จำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีหลายจังหวัด รวมทั้งโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ประกาศรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา ให้กลับมารักษาตามภูมิลำเนาของตน หรือต่างพื้นที่ได้ โดยโรงพยาบาลจะรับผู้ป่วยเหล่านี้รักษาต่อแบบผู้ป่วยใน

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ในวันที่ 2 ก.ค. 2564 สปสช.จึงได้ทำหนังสือแจ้งเวียนถึงโรงพยาบาลทุกแห่งว่า โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่ดำเนินการจัดให้มีรถพยาบาลหรือพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยมารักษาต่อ สามารถขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.ได้

หนังสือแจ้งเวียน

รพ.ที่รับผู้ป่วย โควิด-19 กลับมารักษาที่ภูมิลำเนา สามารถขอรับค่าใช้จ่ายดังนี้

  1. ค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วย อัตราจ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของสำนักงาน โดยกรณีใช้รถยนต์ จ่ายชดเชยตามระยะทางกรมทางหลวงไป-กลับ โดยจ่ายชดเชยที่คำนวณได้แต่ไม่เกินที่เรียกเก็บ ได้แก่
    • 1.1 ระยะทางไปกลับ ไม่เกิน 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยตามจริงไม่เกิน 500 บาท
    • 1.2 ระยะทางไปกลับ มากกว่า 500 กิโลเมตร จ่ายชดเชยเริ่มต้น 500 บาท และจ่ายชดเชยเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท
  2. ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้งที่มีการรับส่งต่อผู้ป่วย

โรงพยาบาลที่พร้อมรับผู้ป่วยโควิด-19 กลับไปรักษาตามภูมิลำเนา ท่านสามารถจัดรถมารับผู้ป่วยได้ทันที และเบิกจ่ายค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วย รวมถึงค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อมาที่ สปสช.ได้ ในส่วนของผู้ป่วยนั้นท่านสามารถติดต่อโรงพยาบาลตามภูมิลำเนาของท่านได้เลย เพื่อประสานการรับส่งต่อกลับมารักษาที่โรงพยาบาลแห่งนั้น เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

เลขาธิการ สปสช. กล่าว

นพ.จเด็จ กล่าวอีกว่า ขอย้ำว่าไม่ควรเดินทางโดยพลการหรือเดินทางมาเอง เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากโรงพยาบาลไม่สามารถนำรถมารับผู้ป่วย สามารถใช้รถอาสาสมัคร รถมูลนิธิ ที่มีความแข็งแรง ปลอดภัย และ รพ.เบิกค่ารับส่งต่อกับ สปสช.ได้เช่นเดียวกัน ส่วนผู้ป่วยที่ต้องการกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา สามารถประสานได้ที่หมายเลข

สายด่วน สปสช.1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทาง Home Isolation

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

ประกาศ !! แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขฯ ปีงประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

สปสช.ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ฯ ปีงบประมาณ 2564 (ฉบับเพิ่มเติม)

  1. ค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย)
  2. ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray) เพื่อการคัดแยกระดับความรุนแรงของโรค และภาวะปอดอักเสบของผู้ป่วยโควิด-19 ครอบคลุมสำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) และก่อนเข้ารับไว้รักษาในหน่วยบริการ

ดาวน์โหลดแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขฯ ปีงประมาณ ๒๕๖๔ (เพิ่มเติม) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

ดาวน์โหลดเอกสารประชุมชี้แจงวันที่ 29 มิถุนายน 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารคำแนะนำในการให้รหัส COVID

0 0
Read Time:35 Second

สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย เครือสถาบันของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาเครื่องมือจ่ายชดเชยด้วยระบบ CaseMix โดยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.3 กับการให้รหัส กรณี COVID-19 และวัคซีน COVID-19 รายละเอียดประกอบไปด้วย

  • ก. รายละเอียดของแต่ละรหัส (ตาม ICD-10 Version: 2019 จาก Web site ของ WHO)
  • ข. การรองรับรหัส ICD-10 ในกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับที่มีการใช้ในปัจจุบัน
  • ค. ข้อแนะนำการให้รหัส ICD-10 เพื่อให้ไม่เกิดการจัดกลุ่มไม่ได้ (Ungroupable)

*หมายเหตุ : เอกสารฉบับนี้เป็นการใช้ชั่วคราวหากมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง จะแจ้งให้ทราบต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version