สปส. ประกาศหลักเกณฑ์ช่วยเหลือกรณีความเสียหายจากการฉีดวัคซีนcovid-19

0 0
Read Time:4 Minute, 15 Second

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

โดยที่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 20 19 (COVID- 19) เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน คณะกรรมการการแพทย์จึงมีมติเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น สำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๒) และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการการแพทย์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
  • ข้อ ๒ ในประกาศนี้

“คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการการแพทย์ให้วินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

“เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” หมายความว่า เงินที่จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด

  • ข้อ ๓ เงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนหรือกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตให้เฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีหรือภริยา บิดามารดา บุตร ทั้งนี้ ผู้ประกันตนดังกล่าวจะต้องไมได้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอื่น
  • ข้อ ๔ ความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ที่จะเป็นเหตุให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศนี้จะต้องเป็นการเข้ารับวัคซีนตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการป้องกันและขจัดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID- 19) จากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจากการรับวัคซีนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยสถานบริการของเอกชนซึ่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ประกันตน
  • ข้อ ๕ ประเภทของความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แบ่งเป็น
    • (๑) เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
    • (๒) สูญเสียอวัยวะ หรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท
    • (๓) บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 100,000 บาท
กรณีที่ความเสียหายไม่อาจจัดเป็นประเภทใดประเภทหนึ่งตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ได้ ให้เป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการที่จะพิจารณาเทียบเคียงกับประเภทความเสียหายที่กำหนดไว้ได้ ตามความเหมาะสม
การพิจารณาความเสียหายและอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา

ข้อ ๖ ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิที่อ้างว่าผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ยื่นคำขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา และให้หน่วยงานดังกล่าวส่งคำขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขาที่ได้รับคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมติของคณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการแพทย์

ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปรับปรุงแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ในระบบUC

0 0
Read Time:2 Minute, 35 Second

อ้างถึง

๑) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว.๒๐๑๔ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔
๒) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว.๓๘๗๖ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔
๓) หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๖.๗๐/ว.๔๓๒๒ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีการตรวจคัดกรองและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามรายละเอียดที่ทราบแล้วนั้น ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองของประชาชนไทยทุกคน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีข้อแนะนำแนวทางการใช้ Antigen Test Kit (ATK) สำหรับการตรวจการติดเชื้อโควิด 19 และ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้รับทราบ และเห็นชอบให้นำไปดำเนินการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ดังนี้

  • ๑) กรณีการออกตรวจนอกพื้นที่ ให้ใช้ ATK เป็นหลักในการตรวจเนื่องจากทราบผลได้ทันที ให้ยกเลิกการทำ Active Case Finding (ACF) โดย RT-PCR และให้ใช้ ATK ในการคัดกรองเบื้องต้นแทน
  • ๒) กรณีการมาขอรับบริการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่สถานพยาบาล หากที่ไม่เข้าข่ายของ ARI Clinic ให้ดำเนินการตรวจด้วย ATK ทั้งหมด
  • ๓) เมื่อทราบผล ATK จึงเข้าสู่กระบวนการตามแนวทางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนี้
    • ๓.๑) กรณีผล ATK เป็นลบ แนะนำให้สังเกตอาการ และป้องกันตนเองโดยหลัก DMHTT อย่างเคร่งครัด เนื่องจากอาจมีผลลบปลอม (false negative) แต่หากมั่นใจว่าสัมผัสใกล้ชิด หรือเสี่ยงชัดเจนให้ตรวจซ้ำหลังจากนั้น 3 – 5 วัน หรือทันทีที่มีอาการ
    • ๓.๒) กรณีผล ATK เป็นบวก ให้ประเมินอาการผู้รับบริการ และให้บริการตามแนวทาง คือ ระดับสีเขียว จัดบริการ Home Isolation (HI) กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ แต่ถ้าจะนำเข้า Community Isolation (CI) ขอให้ยืนยันผลอีกครั้งด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกลุ่ม CI กรณีประเมินแล้วมีอาการ ระดับสีเหลืองหรือสีแดง ให้เข้าสู่ระบบบริการในโรงพยาบาล และตรวจซ้ำด้วย หากพบผล Negative อาจไม่ใช่การติดเชื้อ COVID-19 แต่ก็สามารถให้การดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ กรณี Positive ให้รายงานยืนยันการป่วย และรักษาตามแนวทางการรักษาที่กรมการแพทย์กำหนด

ในการนี้ สปสช.ขอซักซ้อมแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถานบริการอื่น ให้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ กรณีแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วมีความจำเป็น ต้องตรวจยืนยันการติดเชื้อ ด้วยวิธี RT-PCR สามารถส่งสิ่งส่งตรวจไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ขึ้นทะเบียนเป็นของหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเทคนิคการแพทย์ หรือสถานบริการอื่น ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยขอรับค่าใช้จ่ายการตรวจ RT-PCR มายัง สปสช.ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กำหนด

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศแนวทาง HI CI สิทธิประกันสังคม

0 0
Read Time:21 Second

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษา แบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทาง HI CI วันที่ 21 ก.ค.64

0 0
Read Time:45 Second

เอกสารประกอบการประชุม สำหรับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564

  • วาระประกอบด้วย
  • (>)แนวทางการจัดระบบบริการสำหรับการดูแล
  • (>)มาตรฐานการบริการดูแลผู้ป่วย สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ
  • (>)แนวทางการเก็บสิ่งส่งตรวจ กรณี Antigen test kit
  • (>)หลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าตรวจคัดกรองและการบริการ
  • (>)การพิสูจน์ตัวตนเพื่อเข้ารับบริการ และการบันทึกโปรแกรมการเบิกจ่ายชดเชยบริการฯ
Happy
13 87 %
Sad
1 7 %
Excited
1 7 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลCOVID-19ของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล

0 0
Read Time:5 Minute, 3 Second

หลักเกณฑ์และแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค .๔๐๒.๕/ว๑๐๘๑๖

ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค .๔๐๒.๕/ว๑๐๘๑๖ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง ขอตกลงการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด – 19 (COVID-19) และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไปด้วย
เพื่อให้การเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางการเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ประกอบด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้

กลุ่มเป้าหมาย

ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ บุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน หมายถึง บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแต่ไม่มีรายการในทะเบียนบ้าน หรือเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่นที่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก หรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ประกอบด้วยสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม บุคคลไร้สัญชาติ หรือบุคคลสัญชาติอื่นที่เป็นผู้ป่วยและตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน (IPD)

หน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง

หน่วยบริการภาครัฐที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่คนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาลหรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD)

หลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาล

จ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้กับหน่วยบริการที่ได้ให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาล หรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
หน่วยบริการที่ได้ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย ขอให้เก็บเอกสาร/หลักฐานการให้บริการทางแพทย์ไว้ที่หน่วยบริการสำหรับการตรวจสอบภายหลัง ยกเว้น การขอตรวจสอบเป็นกรณีเฉพาะราย และส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกชดเชยค่ารักษาพยาบาล ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state. cfo.in.th/ ตามวิธีการและขั้นตอนการส่งข้อมูลที่กำหนด โดยเลือกรหัสรายการ (Claim Code) IPDCOVID – 19 รายการผู้ป่วยในกรณีรับการรักษา COVID – 19 สำหรับขอค่ารักษาพยาบาล

แนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ให้หน่วยบริการที่ได้ให้การรักษาแก่กลุ่มเป้าหมายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาล หรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ส่งข้อมูลขอเบิกชดเชยค่ารักษาพยาบาลคนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ข้อมูลการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ที่ระบุรหัสโรค (ICD10) สอดคล้องกับการรักษา ภายใน ๓0 วัน นับจากวันที่จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge) และจะสิ้นสุดการส่งข้อมูลเรียกเก็บโดยถือ วันส่งข้อมูล (Sent date) ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และจะทำการปิดรับข้อมูลในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ โดยจะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายเดือนตามเดือนที่ส่งข้อมูล หรือเมื่องบประมาณหมดสิ้น ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่อยู่ในช่วงการรักษาเดียวกันส่งเบิกได้เพียงครั้งเดียว
กรณีหน่วยบริการได้รับการจ่ายหรือได้รับการสนับสนุนค่ารักษาพยาบาล ยา favipiravir สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 20 19 (COVID-19))และชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) จากงบประมาณของรัฐแล้ว ไม่ให้นำข้อมูลมาเบิกซ้ำซ้อน หากตรวจสอบพบว่า มีการเบิกซ้ำซ้อนจะดำเนินการเรียกเงินคืน

ผังขั้นตอนการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลคนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD)

การตรวจสอบผลการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล

หน่วยบริการที่ส่งข้อมูลเข้าระบบแล้วสามารถตรวจสอบผลการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ และดาวน์โหลดหนังสือแจ้งการโอนเงินทางไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th/ หน้าหลัก ข้อ ๕ แจ้งผลการโอนเงินค่ารักษาพยาบาล กรณีชาวต่างชาติ ที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID – 19)

หนังสือและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 100 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมแนวทางเบิกจ่ายcovid19 16-07-2564

0 0
Read Time:1 Minute, 57 Second

เอกสารประกอบการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามสถานการณ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 7 ขอนแก่น (อาจจะมีไฟล์ที่ซ้ำกับประชุมรอบที่แล้ว)

สไลด์

การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม e-Claim สปสช.

ข้อมูล การเบิก Update 27 มิ.ย.64

หลังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงฯ วันที่9ก.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 42 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น วันที่ 9 ก.ค. 2564 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ วาระประกอบด้วย

  • แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (เพิ่มเติม)
  • แนวทางการบันทึกข้อมูล ผ่านโปรแกรม e-claim

ข้อมูลการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ข้อมูลการจ่าย 9 เมษายน 2563 ถึง 27 มิถุนายน 2564)

หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกเบิกจ่ายในโปรแกรม e-Claim กรณี COVID-19

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบันทึกเบิกกรณี COVID กรณีแรงงานต่างด้าว สิทธิประกันสังคม

0 0
Read Time:4 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์ HI CI สิทธิข้าราชการ

0 0
Read Time:1 Minute, 16 Second

กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ที่สถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานที่อื่นที่สถานพยาบาลของทางราชการได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างมาก กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ จึงได้กำหนดแนวทางการให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ที่บ้าน (Home Isolation) หรือในสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation) ระหว่างรอเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ประกอบกับได้มีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีน (Vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VT) เพื่อพิจารณาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมการรักษาพยาบาลกรณีดังกล่าว

ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๘ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา วิธีการ และเงื่อนไข การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒0๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (ฉบับที่ ๓) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ติดเชื้อโควิด-19 กักตัวที่บ้าน หรือที่ชุมชน ต้องทำอย่างไร

0 0
Read Time:40 Second

จาก Facebook Live จาก สปสช.

“ติดเชื้อโควิด-19 กักตัวที่บ้าน หรือที่ชุมชน ต้องทำอย่างไร”


หากอยากกลับไปรักษาที่ต่างจังหวัดต้องติดต่อใคร ?

เคลียร์กันชัดๆ ติดเชื้อโควิด-19 แบบไหนที่ต้องกักตัวที่บ้าน (home isolation) แบบไหนชุมชนร่วมดูแลได้ (Community Isolation) ผู้ป่วยต้องทำอย่างไร มี รพ.ไหนเข้าร่วมบ้าง สปสช.สนับสนุนค่าใช้จ่ายอะไร แล้วถ้าอยากกลับไปรักษาที่ต่างจังหวัดต้องทำอย่างไร
ฟังคำตอบจากกรมการแพทย์ และ สปสช. ได้ ผ่าน Facebook Live วันพฤหัสบดี 8 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.00 น.
พบกับ

  • นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์
  • นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช.
  • รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร บอร์ด สปสช.
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version