ราคาค่าบริการกรณีCovid-19

0 0
Read Time:17 Second

อัตราค่าบริการ Covid-19 ปรับใหม่ เริ่ม 1 ธันวาคม 2564 ตามหนังสือเวียนสปสช. ที่ 6.70-ว.7625_ลว.29 พฤศจิกายน 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation

0 0
Read Time:20 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่าใช้จ่ายการรักษาCovid19-คนไร้สิทธิ

0 0
Read Time:11 Minute, 40 Second

แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ ๐๒๑๐.๐๕/ว๓๐๐๐ ลงวันที่ ๒๐ ก.ค. ๒๕๖๔ และหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ ๐๒๑๐.๐๕/ว๔๒๓๙ ลงวันที่ ๑ ต.ค.๒๕๖๔

เพื่อให้การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินไป ด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบให้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้สถานพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทยปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว รวมทั้งฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ในฐานะหน่วยงานที่ต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและขออนุมัติเบิกจ่ายการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (ที่ไร้สิทธิการรักษาพยาบาล) ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ที่เกิดขึ้น ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

นิยาม

“ผู้ป่วย” หมายถึง ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้หมายความรวมถึงบุคคลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (CoronavirusDisease 2019 (COVID-19)) โดยการฉีดวัคซีนจากสถานพยาบาล ที่ภาครัฐกำหนดและเกิดอาการแพ้วัคซีน หรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน

“ผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล” หมายถึง คนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือผู้ไร้สัญชาติ หรือ ผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวเนื่องจากสิทธิประโยชน์ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

“โรงพยาบาล” หมายถึง หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทย

๑. เงื่อนไขการให้การรักษาพยาบาลและการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๑.๑ การแบ่งกลุ่มการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สำหรับผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ดังนี้
    • ๑.๑.๑ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ เป็นผู้ป่วยที่จำหน่าย ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๑.๑.๒ กลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๔ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๑.๑.๓ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ หรือกลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔
  • ๑.๒ การรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ให้ดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • ๑.๓ เมื่อสิ้นสุดการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลสามารถขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยมิให้เรียกเก็บจากผู้ป่วยเพิ่มเติม
    • (๑) ยา Favipiravir หรือ ยา remdesivir ให้เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข
    • (๒) ค่าชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE ) หากเบิกจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มิให้นำมาเบิกซ้ำซ้อน หากตรวจพบภายหลังจะดำเนินการเรียกเงินคืน
  • ๑.๔ กรณีส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลอื่น โรงพยาบาลต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยอาจส่งต่อได้ในกรณี ดังนี้
    • ๑.๔.๑ โรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวในเครือข่ายโรงพยาบาลที่จัดส่งไว้สำหรับผู้ป่วย
    • ๑.๔.๒ โรงพยาบาลมีศักยภาพไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วย
    • ๑.๔.๓ ผู้ป่วยหรือญาติมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นกรณีโรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรับการดูแลรักษายังโรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๑ หากผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยปฏิเสธไม่ขอให้ส่งต่อ หรือ กรณีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยประสงค์จะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๓. ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
  • ๑.๕ การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
    • ๑.๕.๑ ครอบคลุมการเข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งประเภทผู้ป่วยนอก และประเภทผู้ป่วยใน
    • ๑.๕.๒ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (ผลเป็นบวก) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยใน จนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและให้หมายความรวมถึงกรณีที่โรงพยาบาลส่งตัวผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งอื่นด้วย ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๑.๕.๓ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าผู้ป่วยไม่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (กรณีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under investigation: PUI) แต่พบว่าผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นลบ) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยในเพื่อตรวจจนถึงวันที่ผู้ป่วยได้รับแจ้งผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • ๑.๖ อัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นไปตามบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ๑.๗ ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่อยู่ในช่วงการรักษาเดียวกัน สามารถขอรับค่าใช้จ่ายได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และมิให้ขอรับค่าใช้จ่ายในรายการที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่นแล้ว
  • ๑.๘ โรงพยาบาลต้องเก็บรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบต่อไป

๒. เอกสารประกอบการพิจารณาในการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๒.๑ เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล (ทั้งนี้ กรณีเป็นสำเนาเอกสาร ทุกฉบับต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ) ได้แก่
    • ๒.๑.๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย (Patient’s profile)
    • ๒.๑.๒ ภาพถ่ายผู้ป่วย
      • (๑) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ถ้ามี)
      • (๒) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลภายหลังวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (ต้องมี)
    • ๒.๑.๓ สำเนาเอกสารแสดงตัวบุคคลที่ออกโดยทางราชการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นต้น (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๔ เอกสารผลตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ด้วยวิธี RT-PCR หรือ วิธีอื่น ๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๒.๑.๕ รหัสสงสัยผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (SAT CODE) (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๖ แบบสอบสวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ (Novel Coronavirus 2019) (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๗ แบบสรุปเวชระเบียนผู้ป่วย
  • ๒.๒ เอกสารสรุปข้อมูลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยรายบุคคล ให้ใช้ตามแบบใบสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายบุคคล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  • ๒.๓ เอกสารสรุปข้อมูลใบสรุปค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ให้ใช้ตามแบบรายงานสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  • ๒.๔. โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เก็บเอกสาร/หลักฐานการให้การรักษาพยาบาลตามข้อ ๒.๑ ไว้ที่โรงพยาบาลเพื่อการตรวจสอบภายหลัง ยกเว้น การขอตรวจสอบเป็นกรณีเฉพาะราย

๓. วิธีการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๓.๑ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
    • ๓.๑.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ให้ส่งในรูปแบบเอกสาร
    • ๓.๑.๒ การส่งข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ให้ส่งผ่านโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิhttps://state.cfo.in.th/ ตามวิธีการ และขั้นตอนการส่งข้อมูลที่กำ หนดตามเอกสารแนบ “ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนบุคคลไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID-19) สำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข”
    • ๓.๑.๓ การเลือกส่งข้อมูล ให้เลือกส่งข้อมูลตามประเภทผู้ป่วยที่สอดคล้องกับการให้บริการที่ระบุรหัสโรค (ICD10) สอดคล้องกับการรักษา ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ให้บริการกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) หรือ วันที่จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge) กรณีผู้ป่วยใน (IPD) และจะสิ้นสุดการส่งข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย โดยถือวันส่งข้อมูล (Sent date) ภายในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ และจะทำการปิดรับข้อมูลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๓.๑.๔ การตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีโรงพยาบาลที่ส่งข้อมูลเข้าระบบแล้ว สามารถตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และดาวน์โหลดหนังสือแจ้งการโอนเงินทางเวบไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th/ หน้าหลัก ข้อ ๕ แจ้งผลการโอนเงินค่ารักษาพยาบาล บุคคลที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID – 19)
    • ๓.๑.๕ การกำหนดจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนตามเดือนที่ส่งข้อมูล หรือเมื่องบประมาณหมดสิ้น โดยจะตัดยอดข้อมูลเพื่อประมวลผลจ่ายทุกวันสิ้นเดือน โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป
  • ๓.๒ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
    • ๓.๒.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง ให้ส่งข้อมูลในรูปแบบเอกสารภายใน ๓๐ วัน หลังการจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตำบล ตลาดขวัญ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โดยแบ่งข้อมูลดำเนินการเป็น ๒ ช่วงเวลา ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
      • (๑) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
      • (๒) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๓.๒.๒ การดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสรุปค่าใช้จ่าย เมื่อกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาลถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กำหนดแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง สรุปค่าใช้จ่าย และขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป ภายในระยะเวลา ๑๕ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ เวลา ที่ได้รับข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่กำหนด

๔. การขอทบทวนผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้โรงพยาบาลดำเนินการดังนี้

  • ๔.๑ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถขอทบทวน เป็นหนังสือภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการโอนเงิน
  • ๔.๒ หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถขอทบทวนเข้ามาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากทราบผลการพิจารณาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน ๕ วันทำการ

ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นที่สุด

Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ขั้นตอนขอรับ ATK ตรวจโควิดด้วยตนเองผ่านแอปเป๋าตัง

0 0
Read Time:1 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การขอรับชุดตรวจ ATK ฟรี

0 0
Read Time:2 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางแจกชุดตรวจ ATK ฟรี

0 0
Read Time:3 Minute, 35 Second

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจกชุดตรวจ ATK ฟรี กระจาย 8.5 ล้านชิ้น ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา (สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ) ตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อป้องกันควบคุมโรค รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดการระบาดโควิด-19 แจกคนละ 2 ชุด ห่างกัน 5 วัน ดีเดย์ 16 ก.ย.2564 เป็นต้นไป

การแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 แจก ATK ณ ชุมชนแออัดและตลาด รวมถึง ขนส่งสาธารณะ ร้านเสริมสวย ร้านนวด สปา ผู้ประสานงานที่ชุมชนกำหนด หรือ อสม., อสส. ลงทะเบียนรับ ATK กับศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) กรณีอยู่ในพื้นที่ กทม. ส่วนต่างจังหวัด ผู้นำชุมชนลงทะเบียนรับ ATK กับหน่วยบริการในพื้นที่ เช่น รพ.สต. หรือ รพ.ใกล้ชุมชน

ใครบ้างที่จะได้รับชุดตรวจ ATK ฟรี

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค (ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด)
  2. ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อ (มีไข้ ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจหอบ หายใจลำบาก)
  3. ผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ติดเชื้อโควิด
  4. ผู้ที่ทำงานประสานงานในชุมชน

ขั้นตอน

  1. ผู้ประสานงานที่ชุมชนกำหนดฯ แจก ATK ให้กลุ่มเป้าหมายคนละ 2 ชุด
  2. ประชาชนที่ได้รับแจก ยืนยันตัวตนผ่านแอปเป๋าตัง กรณีไม่มีสมาร์ทโฟน ทางผู้ประสานงานฯ จะยืนยันตัวตนให้
  3. กลับไปตรวจโควิดด้วยตนเองที่บ้าน
  4. แจ้งผลตรวจให้ผู้ประสานงานฯ รับทราบ หากผลเป็นลบ แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 และตรวจซ้ำอีกครั้งห่างกันครั้งละ 5 วัน
  5. หากผลเป็นบวก (ติดเชื้อโควิด-19) ผู้ประสานงานจะลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน ผู้ติดเชื้อจะได้รับการจับคู่กับหน่วยบริการใกล้บ้านเพื่อดูแลรักษาที่บ้านตามมาตรฐาน กรณีจังหวัดนั้นยังไม่มีระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน จะเข้าสู่ระบบการรักษากับหน่วยบริการต่อไป
  6. กรณีมีอาการ แพทย์พิจารณาสั่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ประสานงานฯ นำไปส่งให้ผู้ติดเชื้อในชุมชน

รูปแบบที่ 2 แจกที่หน่วยบริการ (รพ. รพ.สต. รวมถึง คลินิก และร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ) ในพื้นที่สีแดง

ขั้นตอน

  1. ประชาชนที่ต้องการได้รับแจกชุดตรวจ ต้องกรอกแบบคัดกรองในแอปเป๋าตัง โดยเข้าไปที่เมนู รับชุดตรวจโควิด-19 ฟรี
  2. ทำแบบประเมินก่อนรับชุดตรวจโควิด-19 ตอบคำถาม 3 ข้อ
    • มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
    • มีประวัติพักอาศัยหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาดหรือสถานที่ที่พบผู้ติดเชื้อในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
    • มีสมาชิกในครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือเดินทางร่วมยานพาหนะกับผู้ติดเชื้อโควิด
  3. หากผลประเมินพบว่า คุณสามารถรับชุดตรวจโควิด-19 ได้ ให้คลิกที่เมนู หน่วยบริการใกล้ฉัน เลือกหน่วยบริการที่จะไปรับชุดตรวจ โทรประสานเพื่อไปขอรับหรือให้ผู้อื่นไปรับที่หน่วยบริการ หน่วยบริการจะจ่ายชุดตรวจ ATK ให้จำนวน 2 ชุด สำหรับการตรวจ 2 ครั้ง กรณีผลเป็นลบ ตรวจซ้ำอีกครั้งห่างกันครั้งละ 5 วัน
  4. ก่อนรับชุดตรวจ ATK ต้องยืนยันตัวตนด้วยการสแกน QR Code ที่หน่วยบริการส่งให้ ผ่านแอปเป๋าตัง เมนู สแกน QR เพื่อรับชุดตรวจ
  5. ตรวจโควิดด้วยตนเองที่บ้าน พร้อมบันทึกผลตรวจผ่านแอปเป๋าตัง เลือกเมนูบันทึกผลตรวจ หากผลเป็นบวก เลือกเมนูลงทะเบียนเข้ารับการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนต่อไป กรณีจังหวัดนั้นยังไม่มีระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน จะเข้าสู่ระบบการรักษากับหน่วยบริการต่อไป

กรณีไม่มีมือถือสมาร์ทโฟน สามารถไปขอรับได้ที่ รพ., รพ.สต. ทางเจ้าหน้าที่จะทำการคัดกรองและยืนยันตัวตนให้
กรณีไปขอรับที่คลินิกและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น

วิธีการใช้ATKด้วยตนเอง
เมื่อตรวจATKแล้วผลเป็นบวก-ติดเชื่อต้องทำอย่างไร
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงแนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen test kit (ATK)

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) และการจ่ายชดเชยค่าบริการ สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เพื่อสร้างความเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของหน่วยบริการที่เข้าร่วมดำเนินการแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้กับประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง สปสช. จึงขอเชิญ ท่าน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพื่อแจกประชาชน และการจ่ายชดเชยค่าบริการ สำหรับ หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของ สปสช.

  • กล่าวเปิดการประชุม และให้นโยบายการดำเนินการ โดย นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • นโยบายการจัดระบบบริการ สำหรับรองรับการให้บริการกรณีประชาชนเมื่อผลตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เป็นผลบวก โดย นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • แนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และรูปแบบการดำเนินการเพื่อแจกสำหรับประชาชน โดย นายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการ สปสช.
  • ภาพรวมระบบพิสูจน์การรับชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ของประชาชนผ่าน Application เป๋าตัง และระบบรายงานสำหรับหน่วยบริการ โดย ธนาคารกรุงไทย
  • เงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • หลักเกณฑ์ และแนวทางการตรวจสอบก่อนจ่าย สำหรับการแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่ารักษาตามประกาศกรมบัญชีกลาง กรณีโควิด

0 0
Read Time:8 Minute, 2 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาล ที่เบิกผ่าน สกส.
ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว102, , ว130 , ว565 (หลักเกณฑ์การเบิก ในสถานการณ์ COVID-19 )

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ
21 ธันวาคม 2563

แนวทางการบันทึกข้อมูลนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศ ของกรมบัญชีกลาง เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 หรือ โควิด19 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส. ในฐานะหน่วยงานที่รับงานการเบิกจ่ายขอกำหนดแนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกดังนี้

1.รายการที่ให้เบิกตามประกาศฯ ข้อ4 และข้อ 5

ใช้รหัสรายการกรตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ชุด, ค่าห้องและค่ายาตามรายการและอัตราที่กำหนดในตาราง

กลุ่มCSCODEคำอธิบายอัตรา
121401ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย ต่อวันตามจริงไม่เกิน 2,500
2.1045001ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (เฉพาะธุรกรรมก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2563)ตามจริงไม่เกิน 540
2.2045002ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรดูแลผู้ป่วยตามจริงไม่เกิน 740
3.1
3.2
3.3
3.4
3.5
3.6
3.7
3.8
3.9
3.10
3.X
รหัส TPUID ในระบบ TMTcholoquine
hydroxycholoquine
darunavir
favipiravir
lopinavir + ritonavir
oseltamivir
remdesivir
ritonavir
tocilizumab
azithromycin
(ยาอื่นที่ใช้กับกรณีนี้ได้ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ)
ตามจริงไม่เกิน 7,200
4.136590SARS coronavirus 2, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.236591SARS coronavirus 2 N gene, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.336592SARS coronavirus 2 RdRp gene, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.436593SARS coronavirus 2 IgG Ab [+1-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.536594SARS coronavirus 2 IgM Ab [+/-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.636595SARS coronavirus 2 IgG+IgM Ab [ +1-] in Serum or Plasma by Immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.736596SARS coronavirus 2 Ag [+1-] in Respiratory specimen by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.X(Lab อื่นที่พัฒนาขึ้นใหม่ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ)ตามจริงไม่เกิน 1,200
5ไม่กำหนดค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื่อบนรถส่งต่อตามจริงไม่เกิน 3,700

หมายเหตุ:รายการในกลุ่ม 4 ได้รวมค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการแล้ว
*ปรับราคาลดลงจากตามจริงไม่เกิน 3,000 เหลือตามจริงไม่เกิน 2,200 และได้รวมค่าชุด PPE สำหรับเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างไว้ด้วย ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 เป็นต้นไป

2.เงื่อนไขและข้อมูลการวินิจฉัยที่ต้องที่ระบุไว้ในธุรกรรม

2.1 รหัสเงื่อนไขที่ระบุว่าเป็น COVID
เงื่อนไขที่ใช้ระบุว่าเป็น COVID-19 คือ “COV-19”
2.2 รหัสวินิจฉัย (ICD-10)
กรณีรักษาแบบ OPD สงสัยเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่แสดงอาการหรืออาการไม่รุนแรง
Z115: Special screening examination for other viral disease
เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease
การวินิจฉัยโรคอื่นที่พบในผู้ป่วยในครั้งเดียวกันนี้ก็บันทึกการวินิจฉัยตามปกติ ทั้งนี้อาการที่ให้รหัสเพิ่มอาจเกี่ยวข้องกับการดิดเชื่อ COVID หรือไม่ก็ได้ เช่น ไข้,คอแดง, ปวดเมื่อย เป็นต้น

กรณีรักษาแบบ OPD ตรวจติดตามหลังการรักษา

  • Z098: Follow-up examination after other treatment for other conditions
  • เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
  • หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
  • หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease

กรณีรับเป็นผู้ป่วยใน

  • มีอาการปอดติดเชื้อเป็นอาการสำคัญ
  • J12.8: Other virus pneumonia
  • ถ้ามีอาการอื่นๆ
  • รหัส ICD 10 ของโรค/อาการนั้นๆ
  • ผลการตรวจ COVID เป็นการชี้ชัดเหตุของอาการ
  • หากผลเป็นลบ ไม่มีหัสเพิ่มเติม
  • หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส
    • U07.1: 2019 nCoV virus disease
    • B97.2: Coronavirus as the cause of diseases classified to other chapters
  • หากมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ให้เพิ่มรหัส J96.0x: Acute respiratory failure

3.การบันทึกข้อมูลเบิกในธุรกรรมเบิก

3.1 การรักษา กรณี OPD

  • การบันทึกธุรกรรมเบิกผู้ป่วยนอกใช้ระบบ CSOP รุ่น 0.93
  • ระบุรายการเบิกค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (กลุ่ม2.1) (เฉพาะธุรกรรมก่อน 1 ธ.ค.2563/ และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ใน
  • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน BilTran.AuthCode
  • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
  • หมายเหตุ กรณีได้ส่งเบิกผ่านไปแล้วก่อนประกาศนี้ สถานพยาบาลสามารถส่งรายการเบิกเพิ่มได้ โดยสร้างธุรกรรมเบิกใหม่ ใช้ Invno ใหม่ และอ้างอิง Approval Code ของธุรกรรมที่เบิกผ่านไปแล้ว

3.2 การรับเป็นผู้ป่วยใน

  • 3.2.1 กรณีรักษาในสถานพยาบาล
  • 3.2.1.1 โปรแกรม CSMBS
    • ต้องปรับปรุงแฟ้ม MedEquipdev และบันทึกธุรกรรมเบิกหมวดค่าใช้ต่างๆ ดังนี้
    • ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย(กลุ่ม1) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 1
    • ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
    • ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
    • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
  • 3.2.1.2 ระบบ CIPN
    • ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
    • ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
  • 3.2.2 กรณีรักษาในสถานที่พักฟื้นเพื่อรอจำหน่าย
  • 3.2.2.1 โปรแกรม CSMBS
    • การเบิกค่ารักษาในกรณีอยู่ในสถานที่พักฟื้นรอการจำหน่าย
    • สถานพยาบาลต้องจำหน่ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลในข้อ 3.2.1
    • ในสถานที่พักฟื้น ให้รับเป้นผู้ป่วยใน โดยใช้ HN เดิม และ AN ใหม่ จากข้อ 3.2.1
    • ให้เลือกเบิกเป็น ประเภทบริการ/รักษา เลือก “อื่น ๆ” ช่อง type ระบุ “CO”
    • ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
    • ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
    • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
    • ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ในหน้า วินิจฉัย/ห้ตถการ ช่อง จากward เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
  • 3.2.2.2 ระบบ CIPN
    • ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
    • ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน ClaimAuth.ProjectCode
    • ระบุ “CO” ใน ClaimAuth.ServiceType
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
    • ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ใน IPADT.dischWard เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”

3.3การเบิกค่ารถส่งต่อ

  • 3.3.1 การเบิกค่ารถส่งต่อ ค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
    • เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ตามปกติ โดยระบุข้อมูลเพิ่มเดิมดังนี้
    • ให้เลือก (คลิก )กรณี “อุบัติเหตุหรือฉุกเฉินในภาวะวิกฤติ”
    • เหตุผลที่ส่งต่อที่ 1. ระบุเป็น “COVID-19”
    • เหตุผลที่ส่งต่อที่ 2. ระบุจำนวนเงินที่ขอเบิกค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
  • 3.3.2 การเบิกค่ารถ กรณีส่งต่อเพื่อไปสถานที่พักฟื้น
    • เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ปกติตามข้อ 3.3.1 ซึ่งรวมกรณีส่งต่อจากสถานที่พักฟื้นไปสถานพยาบาลด้วย โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
    • สกส. ออกรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวสำหรับสถานที่พักฟื้นเป็นการเฉพาะ สถานพยาบาลแจ้งขอ/ตรวจสอบรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวได้ที่ www.chi.or.th
    • ให้ใช้รหัสชั่วคราว เป็นรหัสถานพยาบาลต้นทาง หรือปลายทางแล้วแต่กรณี
    • สถานพยาบาลที่เป็นเจ้าของรถส่งต่อ ไม่ใช่หัสสถานพยาบาลชั่วคราว
    • สำหรับขั้นตอนส่งข้อมูล,เอกสารตอบรับ,Statement และคำขอเบิก เป็นแนวทางเดียวกันกับแต่ละระบบใช้อยู่เป็นปกติ

4.การเบิกค่ายา กรณีส่งยาให้ผู้ใช้สิทธิทางไปรษณีย์

  • การส่งยาทางไปรษณีย์หรือการรับยานอกสถานพยาบาล เป็นมาตรการลดการแพร่กระจายของโรคในสถานการณ์โรคติดต่อร้ายแรง ไม่ได้เจาะจงกับโรค COVID19 นี้
  • แนวทางนี้ใช้เฉพาะกิจตามข้อ 8 ในประกาศฯ กับผู้ป่วยที่ไม่ได้มาสถานพยาบาลเท่านั้น เมื่อมีการพัฒนาแนวทางการนยันการรับยาใหม่ขึ้นมา ก็จะมีการประกาศปรับเปลี่ยนให้ทราบเพื่อใช้แทน
  • แนวทางการทำธุรกรรม
  • ส่งข้อมูลเบิกผ่านระบบ CSOP รุ่น 0.93
  • ธุรกรรมที่เบิก เป็นค่าใช้จ่ายค่ายาตามระบบปกติ เท่านั้น
  • Approval Code ให้ดำเนินการผ่านระบบ KTB Corporate Online โดยบันทึกเหตุผลว่า “ส่งยา”
  • ให้ใส่ Tracking Number ในช่อง BillTran.VerCode ต่อท้าย Approval Code โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย “:”

5.การเบิกกรณีที่เข้าข่าย ORS

  • สกส.จะประมวลผลข้อมูลกรณีเข้าข่าย ORS ตามวิธีการและแนวปฏิบัติดาม ว187 (17 พ.ค. 2556) โดยจะปรับค่า Outlier Loss Threshold (OLT) ของแต่ละสถานพยาบาลให้ลดลงร้อยละ 70 ของค่า OLT เดิม ทั้งนี้เฉพาะกรณีการรักษาผู้ป่วยในที่จำหน่ายดั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.63 และมีการวินิจฉัยเป็น COVID-19
  • เมื่อสถานพยาบาลได้รับแจ้งกรณีที่เข้าข่าย ORS จาก สกส. ให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2. ของ ว187 (17 พ.ค. 2556 ) ขั้นตอนการพิจาณา ORS และการจ่ายชดเชย จะเป็นไปดามกระบวนการ ORS

ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Happy
4 80 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 20 %
Surprise
0 0 %

cpg-covid19 อัพเดต09ก.ย.64

0 0
Read Time:15 Second

แนวทางเวชปฏิบัติ cpg การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แจ้งปรับอัตราการสำหรับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation

0 0
Read Time:1 Minute, 15 Second

แจ้งปรับอัตราHICI หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๖.๗๐ / ว.๕๓๐๕ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔

สปสช.ขอแจ้งปรับปรุงอัตราจ่ายการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 โดยขอยกเลิกอัตราจ่าย ค่าดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation (ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑.หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๒.๕๗ /ว.๓๘๗๖ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ และ๒.หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๖.๗๐ /ว.๔๓๒๒ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔) โดยอัตราจ่าย ดังต่อไปนี้แทน

  • ๑) ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา ๖๐๐ บาทต่อวัน (ไม่รวมค่าอาหาร ๓ มื้อ) จำนวนไม่เกิน ๑๔ วัน
  • ๒) ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน รวมค่าอาหาร ๓ มื้อ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา ๑,๐๐๐ บาทต่อวัน จำนวนไม่เกิน ๑๔ วัน

ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่บริการวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป สำหรับวิธีการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีดังกล่าวสามารถศึกษา ได้จาก https://eclaim.nhso.go.th หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดได้เพิ่มเติมที่เบอร์โทรศัพท์ ๐๒-๕๕๔-๐๕๐๕

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version