แบบประเมินศูนย์จัดเก็บรายได้คุณภาพ 4S4C

0 0
Read Time:20 Second

แบบประเมินศูนย์จัดเก็บรายได้คุณภาพ 4S4C สำหรับการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (รอบที่ ๒) ประเด็นที่ 5 ระบบธรรมาภิบาล หัวข้อการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ : ศูนย์จัดเก็บรายได้คุณภาพ

ลิงค์ประเมิน สำหรับหัวหน้างานประกันโรงพยาบาล/ศูนย์จัดเก็บรายได้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง เขตสุขสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565

0 0
Read Time:35 Second

เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเขตสุขภาพที่ ๗

ปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ในวันที่ ๒๖ – ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

ณ ห้องประชุมสาเกต ขั้น ๗ อาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “รู้ทันการปฏิบัติงานด้านการควบคุมภายใน การเงิน บัญชี พัสดุ และจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล”

0 0
Read Time:55 Second

หนังสือเชิญประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

วันที่ 1 (วันที่ 13 มิ.ย. 2565)

วันที่ 2 (วันที่ 14 มิ.ย. 2565)

วันที่ 3 (วันที่ 15 มิ.ย. 2565)

Happy
17 89 %
Sad
0 0 %
Excited
1 5 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 5 %

Bright Spot Hospital ปี 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 56 Second

หลักเกณฑ์การพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น (Bright Spot Hospital) ประจำปีงบประมาณ 2565

หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมิน :แบ่งระดับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan

บประมาณ : จากเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 10 ล้านบาท

  • ระดับบริการ M2 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
  • ระดับบริการ F1 F2 (วงเงิน 5 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,250,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 1,000.000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 875,000 บาท
    • ลำตับที่ 4 จำนวน 625,000 บาท
    • ลำดับที่ 5 จำนวน 500,000 บาท
    • รางวัลชมเชย จำนวน 375,000 บาท จำนวน 2 รางวัล
  • ระดับบริการ F3 (วงเงิน 3 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,500,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 900,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 600,000 บาท

หลักเกณฑ์การประเมิน : กรอบในการประเมินมี 3 ด้าน ประกอบด้วย

  1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟต์แวร์   (10 คะแนน)
  2. กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator)   (60 คะแนน)
  3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   (30 คะแนน)

สูตรการคำนวณ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย

คะแนนที่ได้ = (คะแนนที่ได้ในข้อ 1 + คะแนนที่ได้ในข้อ 2 + คะแนนที่ได้ในข้อ 3)
เกณฑ์การให้คะแนน : เมื่อคำนวณคะแนนที่ได้แล้ว จะนำมาเรียงลำดับคะแนนเพื่อมอบรางวัลต่อไป

วิธีการคัดเลือก : ให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกหน่วยบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan ดังนี้

  1. ระดับบริการ A S M1   ทุกแห่ง (เข้ารับการประเมินและมอบใบประกาศนียบัตรเท่านั้น)
  2. ระดับบริการ M2   จังหวัดละ 1 แห่ง
  3. ระดับบริการ F1 F2   จังหวัดละ 2 แห่ง
  4. ระดับบริการ F3   จังหวัดละ 1 แห่ง

โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (Chief Financial Officer. CFO) เขตสุขภาพที่ 7 ในเดือนมิถุนายน 2565 โดยให้หน่วยบริการนำเสนอข้อมูล แห่งละ 10 นาที และให้คณะกรรมการฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แห่งละ 10 นาที

กรอบและรายละเอียดการประเมิน

1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟแวร์ 10 คะแนน

แหล่งข้อมูลคะแนน
แผนการดำเนินงานที่ระบุกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เป็นรายกิจกรรม และมีแผนธุรกิจ(Business Plan)2 คะแนน
รายงานการประชุมคณะกรรมการ CFO อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง(ไตรมาส 4/64 – ไตรมาส 2/65) เนื้อหาต้องประกอบด้วยสถานการณ์การเงิน/ประเด็นที่เป็นปัญหา/แนวทางการแก้ไข/รายงานผลการแก้ปัญหาที่มีการติดตามในไตรมาสถัดๆไป เป็นระยะ 2 คะแนน
มีการใช้นวัตกรรม/ซอฟแวร์ ในการดำเนินงาน (มีการระบุกิจกรรม/เป้าหมาย/รายงานผลงานที่ชัดเจน) 2 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยา 2 คะแนน

2.กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) 60 คะแนน (ใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2565 ในการประเมินผล)

รายละเอียดการประเมินคะแนน
1. การบริหารแผน Planfin10 คะแนน
1.1 Planfin รายได้ +5 % ขึ้นไป5 คะแนน
1.2 Planfin ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน + 5 %5 คะแนน
2. การบริหารต้นทุนบริการไม่เกินค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล20 คะแนน
2.1 Unit Cost OP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.2 Unit Cost IP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.3 LC ค่าแรงบุคลากร (Mean)2.5 คะแนน
2.4 MC ค่ายา (Mean) 2.5 คะแนน
2.5 MC ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
2.6 MC ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
3. การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน20 คะแนน
3.1 ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา3 คะแนน
3.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ UC3 คะแนน
3.3 ระยะเวลาถั่วเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ CS3 คะแนน
3.4 การบริหารสินค้าคงคลัง3 คะแนน
3.5 คะแนนตรวจบัญชีงบทดลองเบื้องต้น3 คะแนน
3.6 ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronics Internal Audit : EIA)5 คะแนน
4. Productivity ที่ยอมรับได้10 คะแนน
4.1 อัตราครองเตียง  มากกว่าหรือเท่ากับ 80 % หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน
4.2 Sum of AdjRw เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน

3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   30 คะแนน

รายละเอียดการประเมิน คะแนน
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operation Margin) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
2. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
3. เงินทุนสำรองสุทธิ (NWC)  เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 7.5 คะแนน
4. ผลต่างรายได้และค่าใช้จ่าย (EBITDA) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 7.5 คะแนน
5.Cash Ratio เท่ากับหรือมากกว่า 0.8 5 คะแนน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การวิเคราะห์โรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน

0 0
Read Time:2 Minute, 39 Second

หน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน

คำนิยาม หน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน หมายถึง หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีวิกฤติทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์การคิดวิกฤติทางการเงิน ระดับ 7 (Risk Scoring) โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการ ประกอบด้วย

อ้างอิงจาก แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและกองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข
  1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio : CR) = สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  2. อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio : QR) = (สินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วย สินค้าคงเหลือ หักด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  3. อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio : Cash Ratio) (เงินสด บวกกับ รายการเทียบเท่าเงินสด บวกกับ เงินฝากประจำ) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  4. ทุนสำรองสุทธิ (Net Working Capital : NWC) = สินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  5. รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (Net Income : NI) = รวมรายได้ หักด้วย รวมค่าใช้จ่าย

อัตราส่วนทางการเงินทั้ง 5 รายการข้างต้นถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สถานการณ์ ทางการเงินของหน่วยบริการโดยกำหนดเกณฑ์สำหรับการประเมินโดยมีค่ากลางของแต่ละหน่วยบริการ มาเปรียบเทียบกับค่ากลางของอุตสาหกรรม ดังนี้

  1. กลุ่มแสดงความคล่องตามสภาพสินทรัพย์
    • 1.1 CR < 1.5
    • 1.2 QR < 1.0
    • 1.3 Cash < 0.8
  2. กลุ่มแสดงความมั่นคงทางการเงิน
    • 2.1 แสดงฐานะทางการเงิน ทุนหมุนเวียน (NWC) < 0
    • 2.2 แสดงฐานะจากผลประกอบการ (กำไรสุทธิ) (กำไรสุทธิรวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย Net Income NI) NI < 0
  3. กลุ่มแสดงระยะเวลาเข้าสู่ปัญหาการเงินรุนแรง
    • 3.1 NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 3 เดือน*
    • 3.2 NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 6 เดือน
*โดยให้น้ำหนักของ NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 3 เดือน มากกว่าตัวแปรอื่น 2 เท่า ทั้งนี้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้นำเงื่อนไข มาใช้ในการจัดกลุ่มโรงพยาบาลที่ประสบวิกฤตทางการเงินเป็น 7 ระดับ ดังนี้
  • ระดับ 0 – 1 ปกติ
  • ระดับ 2 คาดว่าจะดีขึ้นภายใน 3 เดือน
  • ระดับ 3 คาดว่าจะดีขึ้นภายหลัง 3 เดือน
  • ระดับ 4 คาดว่าจะประสบปัญหาภายหลัง 6 เดือน
  • ระดับ 5 คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 6 เดือน
  • ระดับ 6 คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 3 เดือน
  • ระดับ 7 มีภาวะวิกฤตทางการเงินขั้นรุนแรง

การประเมินหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะประเมินทุกสิ้นไตรมาส โดยกำหนดให้หน่วยบริการที่ได้ระดับ 7 ซึ่งมีภาวะวิกฤตทางการเงินขั้นรุนแรง และระดับ 6 ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ ระบบข้อมูลบัญชีของหน่วยบริการที่ดีมีคุณภาพมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการประเมินสถานะทางการเงินที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นได้

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อบรมนักบัญชีรุ่นใหม่ 2565

0 0
Read Time:26 Second

อบรมนักบัญชีรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 วันที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 8.30 – 16.30 น. ห้องประชุม 1 กศภ.
Hosted by กองเศรษฐกิจสุขภาพฯ กศภ.

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมจัดเก็บรายได้ ปี65

0 0
Read Time:3 Minute, 8 Second

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ ปีงบประมาณ 2565 ในวันที่ 20-22 เมษายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าจากโรงพยาบาลทุกขนาด/สสอ./รพ.สต. ในเขตสุขภาพที่ 7 ผ่านระบบ Video Conference ระบบ Cisco WebEX เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ของหน่วยบริการ ในการนี้จึงขอเชิญเจ้าหน้าที่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่ลิงค์ https://moph.cc/cmzKumPY5

    วิทยากรบรรยาย โดย…

  • น.ส. อุมาพร แสงชา       ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • นายศุภวัตร นิลรักษา      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • นายคณวัชร คำชัย         ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

วาระประชุม

วัน-เวลาวาระ
20เม.ย.65-เช้า-ระบบจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการ
-สิทธิการรักษา การให้สิทธิ การ MAP สิทธิการรักษาตามผังบัญชี
-การตรวจสอบสิทธิการรักษาแบบ REAL TIME จาก DATA AUDIT
-การติดตั้งโปรแกรม DataAudit และการใช้งานเบื้องต้น
20เม.ย.65-บ่าย-การใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น
-การตั้งค่าหมวดค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง (20 หมวดล่าสุด) และ Map รหัส ADP CODEให้ตรงตามหมวดต่างๆ
-ปรับฐานข้อมูลเพื่อการส่งออก
-การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M)
21เม.ย.65-เช้า-การตั้งค่าข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้รองรับการส่งข้อมูลเบิกชดเชย กองทุนต่างๆ
-การตั้งค่าสิทธิ์การรักษาให้ครบ ถูกต้องและง่ายต่อระบบเคลมต่างๆ
-Drug Catalog / Lab Catalog
-การกำหนดค่า X-ray ให้ถูกต้อง
-การกำหนดค่าใช้จ่ายหลายราคา ตามสิทธิ์ที่ต้องการ
-การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M)
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ SSOP ประกันสังคมผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ COPD กทม. พัทยา ผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ CSOP จ่ายตรง ผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ CIPN เบิกจ่ายตรง ผู้ป่วยใน
21เม.ย.65-บ่าย-การส่งออก/แก้ไข ระบบ SIP09M ประกันสังคม ผู้ป่วยใน/ Covid
-การส่งเบิกค่ารถ AMBTR กทม./ประกันสังคม Covid
-การขอ Authen Code / การทำ QR Code ให้รองรับระบบเคลมปี 2565
-ระบบส่งออกรองรับ Eclaim2008 / การส่งออกแบบ 16 แฟ้ม
-ระบบเคลม UCS
-ระบบเคลม อปท.
-ระบบเคลม เบิกจ่ายตรง
-ระบบเคลม UCAE
-ระบบเคลม OP-Refer (รับ Refer)
-ระบบเคลม UCS WALKIN ทั่วประเทศ
-ระบบเคลม ย้ายหน่วยบริการเกิดสิทธิ์ทันที
-ระบบเคลม COVID2019 , ATK และอื่นๆ
-ระบบเคลม พรบ.
-ระบบมีปัญหาสถานะสิทธิ์
-ระบบสิทธิ์ต่างด้าว
-ระบบเคลมฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
-ระบบเบิกฟอกไตทางหน้าท้อง
22เม.ย.65-เช้า-ระบบเคลม ฝังเข็ม IMC
-ระบบเคลม Instrument
-ระบบเคลม คุมกำเนิดกึ่งถาวร <=20 ปี และ >=20 ปี
-ระบบเคลม ยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
-ระบบเคลม ODS/MIS
-ระบบเคลม มะเร็งทั่วไป
-ระบบเคลม ยา Clopidogrel ยา STROKE ยา STEMI
-ระบบเคลม Palliative Care
22เม.ย.65-บ่าย-ระบบเคลม ทันตกรรมในวัยเรียน
-ระบบเคลม ทันตรรม ANC / Ultra Sound / PAP ปี 2565
-ระบบนำเข้า REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. เพื่อปรับปรุงบัญชีลูกหนี้
-การกระทบยอดลูกหนี้ด้วย REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. และ
การ Keyin
วาระประชุมโปรแกรม DataAudit และการใช้งานเบื้องต้น

หนังสือเชิญ

ไฟล์ประกอบการประชุม

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

พิจารณาวงเงิน Fixed cost สสอ.

0 0
Read Time:1 Minute, 3 Second

สรุปมติการประชุมคณะทำงานพิจารณาวงเงิน Fixed cost ให้แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเพิ่มเติม จากเงินบำรุงของโรงพยาบาล
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13:30 – 16:30น. ณ ห้องประชุมก่องข้าว ชั้น3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น เพื่อหารือแนวทางบริหารจัดการงบประมาณที่โรงพยาบาล (CUP) ต้องสนับสนุนงบค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกำกับติดตามประเมินผล และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณสุข ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ตามนโยบายและตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 14 ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา 13.3๐-๑6.๓๐ น. ณ ห้องประชุมก่องข้าว (ห้องประชุม VDO Conference ตึกใหม่ ชั้น 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปมติและข้อสั่งการCFO-9ก.ย.64

0 0
Read Time:8 Minute, 39 Second

สรุปมติ และข้อสั่งการ
ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO)
หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.

(ภาพและวาระการประชุม)

ประเด็น :

สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนสิงหาคม 2564

แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการปรับเกลี่ย….

  • การปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด
  • กันเงินไว้บริหารระดับเขต เพื่อปรับเกลี่ยภายใน ไตรมาส 3/65 จำนวน 42,000,000 บาท
  • จังหวัดขอนแก่น ได้รับจัดสรรรวมทั้งสิ้น 94,024,615.87 บาท

แนวทางการปรับเกลี่ย ระดับจังหวัด ให้กับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น

  • จัดสรรตามสัดส่วน NWC ที่ติดลบ
  • จัดสรรตามสัดส่วนจำนวน รพ. M1, M2, F1
  • จัดสรรตามส่วนต่าง เงิน OP PP IP ปี 2564 และ 2565 ที่ลดลง
  • จัดสรรตามประมาณการรายรับเงิน OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปี 2565
  • กันเงิน CF ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14,000,000 บาท
    1. ไว้จัดสรรเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในไตรมาส 3/2565 จำนวน 9,000,000 บาท
    2. จัดสรรเพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนตามนโยบายด้านสาธารณสุข ปี 2565 จำนวน 5,000,000 บาท

จัดสรรเงินสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ปีงบประมาณ 2565

วงเงิน 52,427,222.19 บาท ตามจัดสรรตามสัดส่วนประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ณ 1 เมษายน 2564 โดยจัดสรรให้หน่วยบริการนอกสังกัด จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.ศรีนครินทร์ มข. และ รพ.ค่ายศรีพัชรินทร รวม 1,573,432.61 บาท คงเหลือจัดสรรให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. จำนวน 50,853,789.58 บาท

การกันเงิน OP Virtual Account เพื่อตามจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แทน CUP กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินในจังหวัด และส่งต่อนอกจังหวัด ปีงบประมาณ 2565

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตามจ่าย OP Refer นอกจังหวัด 20 ล้านบาท และ ตามจ่าย OP Refer/OP AE ในจังหวัด 120 ล้านบาท

จัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย ประเภท รพท./รพศ.ระดับ ก (งบ Hardship) ปีงบประมาณ 2565

โรงพยาบาลชุมแพ ได้รับจัดสรรงบ จำนวน 5,178,140.02 บาท

สรุปแผนการโอนเงินเหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2565

การปรับเกลี่ยเงินกัน UC ที่บริหารระดับประเทศ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

  • จังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,653,879.20 บาท ผลการจัดสรร…
    • ครั้งที่ 1 จำนวน 3,777,400 บาท พิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ทุกแห่ง ตามสัดส่วนประมาณการรายรับงบ OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปีงบประมาณ 2564
    • ครั้งที่ 2 จำนวน 1,876,479.20 บาท พิจารณาจัดสรรให้ รพ.พล เต็มจำนวน เพื่อสนับสนุนชดเชยค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ที่โรงพยาบาลในโซนใต้ค้างชำระ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,969,180 บาท ณ 31 สิงหาคม 2564 สรุปค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
      • ค่าเวชภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 840,215 บาท
      • ค่าสิ่งส่งตรวจ จำนวน 1,128,965 บาท
  • * รพ.ชนบท ได้รับจัดสรรตามเกณฑ์ กรณีช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในไตรมาส 4/2564 จำนวน 1,457,900 บาท (สป.แจ้งโอนตรงให้หน่วยบริการ)

การปรับเกลี่ยงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564 ที่เหลือจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ คงเหลือเงินกันผู้ป่วยนอกในจังหวัด จำนวน 34,057,364.57 บาท

  1. จัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน โรงพยาบาลที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังดีเด่น และพัฒนางานที่เกี่ยวข้องตามนโยบาย จำนวน 9,000,000 บาท เงื่อนไขจัดสรร ดังนี้ เอกสารหมายเลข 4
    • การพัฒนาตามเกณฑ์ TPS V.3 ไตรมาส 3 ปี 2564
    • TPS เกรด A และ B
    • ข้อมูลโรงพยาบาลที่มี NWC ติดลบ ณ สิงหาคม 2564
    • ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
    • จัดสรรตามสัดส่วนประมาณการรายรับหลังหักเงินค่าแรง OP PP IP ปี 2564
  2. จัดสรรเพื่อบริหารจัดการภาระค่าใช้จ่ายค่ายา (ยาที่ รพ.ขอนแก่นผลิต และยาสำเร็จรูปไม่รวมยา Refer) ค่าเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ค่า lab และค่าจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง รพช./ รพท. ในจังหวัดขอนแก่น กับ รพ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นข้อมูลขอรับการสนับสนุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – 2564 (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2564) จำนวน 25,057,364.57 บาท

แนวทางการบริหารจัดการขอรับการสนับสนุนยา/ วชย./ Lab ที่ รพท./รพช.ในจังหวัดขอนแก่น จากโรงพยาบาลขอนแก่น

  • แต่งตั้งคณะทำงานย่อย (พบส.ที่เกี่ยวข้อง) กำหนดหน้าที่และบทบาท
  • ให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบรายการยา/วชย./lab ที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่น
  • กำหนดหลักการ/เงื่อนไข กรอบรายการประเภทวัสดุที่จะขอรับการสนับสนุน และจ่ายคืนอย่างไร ?
  • พบส. ที่เกี่ยวข้องทบทวน&เสนอกรอบรายการที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่นได้/ เงื่อนไขที่จะตามจ่าย ภายในต้นปีงบประมาณ 2565 ได้แก่
    • ระบุรายการที่จะให้เบิก/จ่ายได้
  • เงื่อนไขการสั่งจ่ายของผู้สั่งจ่าย รพ.ขอนแก่น
  • กรอบปริมาณที่จะจ่ายแต่ละคราว

การกำกับติดตามและเฝ้าระวังทางการเงินการคลังของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565

ขอให้หน่วยบริการทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการกำกับติดตามในเรื่องของสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้

  1. สรุปวิเคราะห์เสนอในที่ประชุม กวป. โดยมีการวิเคราะห์เป็นรายหน่วยบริการ
    • หน่วยบริการมีปัญหาประเด็นปัญหาในเรื่องใด โดยเฉพาะตามดัชนีชี้วัด จากผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเกณฑ์ Total Performance Score
  2. ขับเคลื่อนการดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น และคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) ซึ่งจะให้เน้นย้ำประเด็นดังต่อไปนี้
    • แผนเงินบำรุงสำหรับในทุกหน่วยบริการ (รพ./รพ.สต.) ซึ่งต้องวางแผนการทำแผนบำรุงให้สอดคล้องกับการดำเนินจริง สามารถปรับแผนได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หน่วยบริการไม่มีแผนที่ทันสมัย และมีการใช้จ่ายเกินกว่าแผนเงินบำรุงที่ขออนุมัติไว้
    • หน่วยบริการต้องดำเนินการตามระบบควบคุมภายใน ซึ่งงานตรวจสอบภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเป็นผู้ประเมินโดยใช้เครื่องมือการตรวจประเมินภายใน 5 มิติ (EIA) ขอให้หน่วยบริการให้ความสำคัญ และดำเนินการตามเกณฑ์การตรวจประเมินผลที่กำหนด
  3. งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) ของ สปสช. ให้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และกำกับติดตามหน่วยบริการที่ได้รับสนับสนุนงบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จตามกรอบและห้วงเวลาที่กำหนด เนื่องจาก สปสช.จะให้คืนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเงินของหน่วยบริการนั้นๆ

โรงพยาบาลพล เสนอขออนุมัติใช้เงินกองทุน OP Virtual จังหวัดขอนแก่น เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ (CT Scan) กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น

  • ด้วย โรงพยาบาลพล ได้พัฒนาศักยภาพการในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Service Plan Stroke จังหวัดขอนแก่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการด้านโรคหลอดเลือดสมอง ของ Node Stroke Fast Track จังหวัดขอนแก่น คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอพล และอำเภอใกล้เคียง ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ทั้งนี้ โรงพยาบาลพลได้ดำเนินการเปิดศูนย์ CT Scan และเริ่มให้บริการตรวจพิเศษ CT Scan แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา
  • เสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุนผู้ป่วยนอก จังหวัดขอนแก่น (OP Virtual Account) เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจพิเศษ CT Scan กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น สำหรับผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการประจำ สังกัด สป.สธ. ในจังหวัดขอนแก่น ตามที่แพทย์ของโรงพยาบาลขอนแก่นสั่งตรวจวินิจฉัย และมีนัดติดตามผลการรักษา เพื่อลดการรอคอยคิวในการตรวจ CT โดยขอรับชดเชยค่าบริการตรวจในอัตราจ่ายค่าตรวจ CT ตามแนวทางข้อตกลงของจังหวัดที่กำหนด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

แนวทางการสนับสนุนงบ Fixed Cost สำหรับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2565

คณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เสนอขอให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ขอให้แจ้งวงเงินจัดสรรรายปี งบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่จะต้องใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และงบประมาณงบดำเนินงาน (หมวด 300) ที่ สสอ.ได้รับจัดสรร ประจำปี เพื่อโรงพยาบาลจะได้ทราบจำนวนเงินส่วนต่างที่ต้องโอนเงินเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  2. ขอให้ทบทวนวงเงินจัดสรรงบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอใหม่ สืบเนื่องจากมีการกำหนดวงเงินจัดสรรในภาพรวม 7,800,000 บาท นี้ มาเป็นเวลา 3 ปี แล้ว
  3. ขอให้แจ้งแนวทางการการสนับสนุนงบ Fixed Cost ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขแนวทางใดๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความสับสนในการปฏิบัติ
  • มอบกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข แจ้งจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ สสอ. ประจำปีงบประมาณ 2565 และให้ทบทวนปรับปรุงวงเงินสนับสนุน Fixed Cost
  • มอบกลุ่มงานประกันสุขภาพ แจ้งแนวทางการจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ รพ.สต.ให้โรงพยาบาลทราบ และดำเนินการเป็นปีๆ ไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางจัดทำแผนทางการเงินปีงบ65

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

กลุ่มงานประกันสุขภาพ ร่วมกับงานการเงิน งานตรวจสอบภายใน กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ ร่วมประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีนายแพทย์อุรส สิงห์งาม ผอ.รพ.น้ำพอง ในนามตัวแทนคณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในการร่วมรับฟัง

ตามที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เสร็จเรียบร้อยจึงมีความประสงค์ จะจัดประชุมขี้แจงแนวทางการจัดทำรายงานดังกล่าวในการนี้ เพื่อให้การจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงขอเชิญคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) จำนวน ๑ ท่าน เข้าร่วมประชุมในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๒ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ชั้น ๔ อาคาร ๗ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version