โภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 19 Second

ฮิปโปเครติส ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ให้กำเนิดวิชาแพทย์” หรือ“บิดาแห่งการแพทย์” (The Father of Medicine) ได้บัญญัติไว้ในการรักษาเมื่อประมาณ2,500 ปีที่แล้วว่า “จงใช้อาหารเป็นยาในการรักษาโรค” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาในการรักษาโรคในยุคต่อ ๆ มา ปัจจุบันโรคที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases : NCDs) เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือด เป็นต้น เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รสจัดการสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งกลุ่มโรค NCDs เหล่านี้นับเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชากรโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ประเทศไทยนับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่ในภูมิประเทศที่อำนวยความสะดวกให้พืชพรรณธัญญาหารเติบโตได้อย่างดี มีคุณค่าทางโภชนาการและอาหารเหล่านี้ยังเป็นยาที่ช่วยป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า“อาหารเป็นยา” จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่อวดอ้างเกินจริง ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ใช้ประโยชน์จากพืชที่อยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการทำอาหาร และทำเป็นยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นองค์ความรู้ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใฝ่รู้และหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจัง เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้เป็นอย่างดี

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนศาสตร์ผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครือข่าย ได้เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร จึงได้จัดทำหนังสือโภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทยขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย ภูมิปัญญาไทย ในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนหันมารับประทานอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงเยาวชนรุ่น ใหม่ได้เรียนรู้การทำอาหารไทยที่ถูกต้อง และตระหนักรับรู้ว่าอาหารไทยมีค่าดุจตำรับยาไทย ตลอดจนเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการอาหารไทย และผลิตภัณฑ์อาหารไทย นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่งต่อไป

โดย คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนาศาสตร์พักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แพนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครื่อข่าย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เนื้อหาประกอบด้วย

บทที่ 1 อาหารกับโบราณโรค
บทที่ 2 กินให้เป็น
บทที่ 3 อาหารไทย อาหารแห่งสายลม
บทที่ 4 การบริโภคที่เหมาะควร จากพระโอษฐ์พระศาสดา
บทที่ 5 ตำรับอาหารเป็นยา
บทที่ 6 เครื่องแนม เครื่องเคียง ศิลปะการกินของคนไทย
บทที่ 7 วิถีอาหารไทย Thai Food Wellness
บทที่ 8 หลักในการรับทานอาหารในโภชนาการไทย
บทที่ 9 น้ำพริก นวัตกรรมชะลอวัย
บทที่ 10 อาหารไทย = วัคซีน
บทที่ 11 น้ำกระสายยา = น้ำสมุนไพร

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

CPG-Intermediate Careด้านแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 43 Second

คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และชมรมหัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เห็นความสำคัญและโอกาสในการที่จะนำการแพทย์แผนไทย เข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ซึ่งเป็นอาการที่การแพทย์แผนไทย มีศักยภาพสามารถดำเนินการได้อย่างโดดเด่น โดยในระยะเริ่มต้นมีแนวคิดที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มุมปากตก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ฯลฯ จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้แพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงบริการแพทย์แผนไทยกับสหวิชาชีพในการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กในสถานพยาบาลและในชุมชน มีการเชื่อมโยงการให้บริการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงชุมชน สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลาในเครือข่าย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดบริการแพทย์แผนไทยในชุมชนแก่ทีมสุขภาพอื่น ๆ เช่น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุข หมอพื้นบ้าน เป็นต้น
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป้วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยกองทุนย่อย 9 ธ.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 28 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้กับหน่วยบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จึงขอผู้รับผิดชอบงานเข้าร่วมประชุมฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น https://www.facebook.com/nhso7kkn ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ครับ วาระประกอบไปด้วย

  • ชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ สำหรับรายการใหม่หรือรายการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
    • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    • บริการการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
    • บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
    • บริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสําหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลประกอบการประชุมชี้แจงกองทุนUCปี65 ที่จำเป็นต้องทราบมีดังนี้นะครับ
  • ประกาศกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-65/
  • แนวทางการปรับเกลี่ยรายรับเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-2565-adjust/
  • เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65 http://www.uckkpho.com/uc/1600/
  • รายการเบิกจ่ายที่ต้องขอ Authen code http://www.uckkpho.com/uc/1608/
  • คู่มือการขอAuthen Codeใหม่ http://www.uckkpho.com/download/1594/
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 37 Second

ตามหนังสืออ้างถึง สปสช.2.57/ว.0032 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ในการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย ด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายเบื้องต้นในไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563) จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ บริการนวด บริการประคบ บริการนวดและประคบ และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด พบข้อมูลที่หน่วยบริการบันทึกเบิกเข้ามาในระบบโปรแกรม OP/PP Individual มีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผลงานการเบิกจ่ายสูงกว่าปกติ หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ http://gg.gg/unrbv นั้น

หมายเหตุ : อ้างอิงการให้บริการผู้มารับบริการเป็นตามกรมแพทย์แผนไทยกำหนด โดย “ผู้ทำหัตถการ 1 คน สามารถรักษาผู้เข้ารับการรักษา ในเวลา 08.00-16.00 น. ไม่เกิน 5 คน/วัน นอกเวลาราชการ 16.00 – 20.00 น. ไม่เกิน 2 คน/วัน”

ในการนี้ หากหน่วยบริการต้องการอุทธรณ์การประมวลผลฯ ขอให้หน่วยบริการแจ้งรายละเอียด ผลงานบริการการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่ายและประสงค์จะขออุทธรณ์ ตามรายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วย 2) และคำสั่งบรรจุ หรือคำสั่งจ้าง บุคลากรด้านแพทย์แผนไทย พร้อมด้วยใบประกอบวิชาชีพ และสำเนาคำสั่งหรือแผนที่เปิดให้บริการนอกเวลาราชการ (รับรองสำเนา) ในปีงบประมาณ 2564 ในหน่วยบริการที่จะอุทธณณ์ ส่งไปยัง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ที่เมล์คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ e-mail : thunnnithi.w@nhso.go.th ภายในไม่เกินวันที่ 4 มิถุนายน 2564 เพื่อทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะได้ดำเนินการประมวลผลและจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่หน่วยบริการต่อไป

การขออุทธรณ์ผลงานบริการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่าย ปี 2564 ไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563)

  1. กรณีข้อมูลมีความถูกต้อง และประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานการขึ้นทะเบียนด้านศักยภาพแพทย์แผนไทย แนวทางดังนี้
    (เอกสารแนบประกอบ)
    • สำเนาคำสั่งบรรจุ /หรือ สำเนาสั่งจ้าง บุคลากรผู้ให้ทางการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2564 (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาใบประกอบวิชาชีพผู้ให้บริการแพทย์แผนไทย (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาคำสั่งเปิดให้บริการ นอกเวลาราชการ (ใครรับรองก็ได้)
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม Check) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล
  2. กรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลและหรือต้องการยกเลิกเพื่อไม่รับจัดสรรงบประมาณ
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม ไม่ต้องการรับงบประมาณ) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล ลำดับการส่งเอกสาร
      • จัดทำหนังสือนำส่ง นายแพทย์ สสจ.จังหวัด ของท่าน (สำเนาเรียน ท่าน สสอ. ด้วย)
      • ผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทย สสจ. แต่ละจังหวัด ทำหนังสือนำส่ง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น
      • หน่วยที่ถูก Pending ให้ Scan Files to *.PDF และไฟล์ Ms Excel ฟอร์มอุทธรณ์/และหรือแก้ไขยกเลิก ส่งมาที่เมล์ thunnithi.w@nhso.go.th
    • สปสช.จะตรวจสอบเอกสาร ให้ครบถ้วน ขาดอันใดอันหนึ่งจะไม่ขออุทธรณ์ให้

ปล. Download Form ได้ที่เว็ปไซต์ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น https://khonkaen.nhso.go.th >> เมนูบริการข้อมูล>>บริการแพทย์แผนไทย หรือทางกลุ่มไลน์ TTM เขต

ผู้ประสานงาน สปสช.เขต7 ขอนแก่น คุณธัญญ์นิธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version