แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อรถยนต์ราชการเกิดอุบัติเหตุ
นิยาม ข้อ 3 ตามระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้ การเก็บรักษา การซ่อมบำรุงรถส่วนกลางและรถรับรอง พ.ศ. 2526
- “พนักงานขับรถ” หมายความรวมถึง ผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถ ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากหัวหน้าหน่วยงาน ให้เป็นผู้ขับรถเป็นครั้งคราว
- “ผู้ใช้รถ” หมายถึง ผู้ที่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถตามระเบียบนี้
- “หน่วยงาน” หมายถึง (วรรค 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานส่งเสริมวิซาการและบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์การแพหย์และอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย
- “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายถึง (วรรค 2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและบริการสาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์และอนามัย สาธารณสุขอำเภอ และหัวหน้าสถานีอนามัย
- “ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถ” หมายถึง หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยทำเป็นหนังสือ
- “ผู้ควบคุมการใช้รถ” หมายถึง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจากหัวหน้าหน่วยงาน ให้มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถ และเป็นผู้รับผิดชอบจัดหารถและพนักงานขับรถให้กับผู้ใช้รถ
- “ผู้ควบคุมรถ” หมายถึง ผู้ใช้รถกรณีที่ผู้ใช้รถเดินทางไปกับรถผู้เดียว และผู้อาวุโสที่สุดกรณีที่การใช้รถมีผู้ร่วมเดินทางไปหลายคน
- ข้อ 4 (วรรค 2) การนำรถออกไปใช้จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถตามระเบียบนี้ก่อนทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ผู้ควบคุมรถเป็นผู้ควบคุมและดูแลให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรหรีอกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ขั้นตอนที่ 1 ณ จุดเกิดเหตุ
- แจ้งผู้บังคับบัญชาทราบด่วน
- แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ)
- ถ่ายภาพ ณ จุดเกิดเหตุ รถของทางราชการ และคู่กรณี( ถ้ามี) ให้เห็นหมายเลขทะเบียนรถชัดเจน และได้รายละเอียดอื่นมากที่สุด
- ประเมินความเสียหายรถของทางราชการ และคู่กรณี (ถ้ามี)
ขั้นตอนที่ 2 หลังเกิดเหตุ
ให้รายงานเหตุและความเสียหายต่อผู้บังคับบัญซาโดยเร็ว เมื่อเกิดความเสียหายแก่รถของทางราชการ พนักงานชับรถยนต์ ผู้ควบคุมรถ ผู้ควบคุมการใช้รถ ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบ โดยทำบันทึกข้อความรายงานความเสียหายต่อผู้บังคับบัญขา หร้อมทั้งบอกเล่าเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และภายหลังการเกิดเหตุ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ผ่านหัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแนบเอกสารประกอบการรายงาน ดังนี้
รายการ | พนักงานขับรถยนต์ | ผู้ควบคุมรถ | ผู้ความคุมการใช้รถ |
---|---|---|---|
1.หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการ | |||
2.ใบขออนุญาตใช้รถยนต์ราชการ แบบ 3 | |||
3.ภาพถ่าย ณ สถานที่เกิดเหตุ | |||
4.ภาพถ่ายจุดที่เสียหายของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ราชการ และรูปถ่ายรถทั้งคันที่สามารถมองเห็นทะเบียนรถได้ชัดเจน ทั้งสองฝ่าย (มีคู่กรณี) | |||
5.แผนที่สังเขป จุดเกิดเหตุ | |||
6.บันทึกประจำวันของตำรวจ (กรณีเกิดอุบัติเหตุ) | |||
7.ประมาณการค่าเสียหาย หรือค่าซ่อม/ใบเสนอราคาค่าซ่อม ทั้งสองฝ่าย (มีคู่กรณี) |
ขั้นตอนที่ 3 หัวหน้ากลุ่มงวนบริหารทั่วไป รายงานอุบัติเหตุรถยนต์
หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป เมื่อได้รับรายงานอุบัติเหตุรถยนต์จากพนักงานขับรถยนต์ ผู้ควบคุมรถ และผู้ควบคุมการใช้รถ ให้รวบรวมข้อมูลแล้วจัดทำรายงานอุบัติเหตุรถยนต์ราชการตามแบบ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมเอกสารประกอบเสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น หราบและพิจารณาสั่งการ แล้วมอบให้กลุ่มกฎหมายดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 4 กลุ่มกฎหมาย ดำเนินการ
กลุ่มกฎหมายรับเรื่องไว้แล้วพิจารณาดำเนินการตามกระบวนการสอบข้อเท็จจริง ตามรายงานกรณีรถยนต์ของทางราชการเสียหาย ต้องมีผู้รับผิดทางแพ่ง และหรือ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539