กรมบัญชีกลางปรับหลักเกณ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

0 0
Read Time:3 Minute, 25 Second

ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๖๒
ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖

อ้างอิงถึง

๑. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๓ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๒. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๔ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๓. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๘๕ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
๔. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๑๒๒ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒

สิ่งที่ส่งมาด้วย

๑. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๒. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๓. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma
๔. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย
๕. รายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา

ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑ – ๔ กรมบัญชีกลางได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง และดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง นั้น
กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม จำเป็น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างสมเหตุผล ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล .ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

  • ๑. ปรับปรุงรายการยาและเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาในโครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา (ระบบ OCPA) ดังนี้
    • ๑.๑ ปรับปรุงเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย รายละเอียดปรากฎตาม สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ ๒
    • ๑.๒ กำหนดเพิ่มรายการยา Lenvatinib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ ระยะแพร่กระจาย พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ และ ๔ โดยสถานพยาบาลจะต้องดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทำการรักษา และผู้ป่วย และส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ OCPA เพื่อขออนุมัติเบิกค่ายา หรือขอต่ออายุการเบิกค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยาตามแนวทางที่หน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมบัญขีกลางกำหนด และให้เบิกจ่ายค่ายาในระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น รวมทั้งการใช้ยาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบ่งขี้ที่กำหนด จึงจะสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้
  • ๒. ผู้มีสิทธิไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib ทุกรูปแบบ ขนาดและความแรง มายื่นเบิกเงินกับส่วนราชการต้นสังกัดได้ หากสถานพยาบาสมีการออกใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าวให้แจงรายละเอียดชื่อรายการยา โดยระบุเป็น “ค่ายาที่เบิกไม่ได้” และไม่ให้มีการออกใบรับรองในการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ๓. กำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๕ โดยให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราที่กำหนด และให้ใช้กับการรักษาทุกข้อบ่งซี้ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป อนึ่ง สามารถดาวน์โหลดหลักเกณฑ์ แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา รวมทั้งรายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ – ๕ ได้ที่เว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล/รายการยาที่กรมบัญชีกลางกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวปฏิบัติการเบิกค่ายากลับบ้านแยกต่างหากจากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs

0 0
Read Time:5 Minute, 0 Second

แนวปฏิบัติการเบิกค่ายากลับบ้านแยกต่างหากจากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs สำหรับหน่วยบริการที่เบิกผ่าน สกส.

ตามประกาศกรมบัญชีกลางเลขที่ กค 0431.4/ว.182 วันที่ 29 เมษายน 2559 เรื่อง การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ซึ่งกำหนดให้การส่งเบิกค่า “ยากลับบ้าน” ในระบบผู้ป่วยนอก โดยวิธีการส่งข้อมูลให้เป็นไปตามที่สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ(สกส.) กำหนด เพื่อให้สถานพยาบาลปรับปรุงวิธีการเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในด้วยระบบ DRGs ในการเบิกค่ายาส่วนนำกลับได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สกส. จึงกำหนดแนวปฏิบัติการส่งเบิกค่ายากลับบ้านตามประกาศข้างต้น ดังต่อไปนี้

ข้อมูลส่งเบิกค่ายากลับบ้าน

  1. เลขอนุมัติผู้ป่วยในที่ขอได้จากระบบขอเลขอนุมัติผู้ป่วยในจะถูกใช้เป็นเลขอ้างอิง การขอเลขอนุมัติฯ ตั้งแต่รับผู้ป่วยในไว้และเก็บแบบพิมพ์ไว้อ้างอิง จะช่วยให้บันทึกข้อมูลเบิกได้สะดวกและไม่ผิดพลาด
  2. แพทย์ผู้สั่งยาเป็นผู้พิจารณาว่ารายการยาใดเป็นยากลับบ้านตามเงื่อนไขในประกาศฯ
  3. เฉพาะรายการที่ถูกระบุว่าเป็นยากลับบ้านให้ส่งเบิกด้วยแนวปฏิบัตินี้ ยาอื่นให้ระบุค่ายาผู้ป่วยในซึ่งเบิกในระบบ DRG โดยค่ายาผู้ป่วยในต้องไม่ซ้าซ้อนกับค่ายากลับบ้านนี้
  4. ข้อมูลธุรกรรมเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกของการเบิกนี้ประกอบด้วย
    • 4.1. รายการในส่วน billtran 1 รายการต่อการจำหน่ายครั้งหนึ่งเท่านั้น
    • 4.2. รายการ billtran นี้ระบุเลขอนุมัติผู้ป่วยในครั้งนี้ไว้ในฟิลด์ authcode (ตามภาพที่ 1)
    • 4.3. รายการ opbill 1 รายการอันเป็นรายละเอียดของ billtran ข้างต้น ระบุเป็น หมวด 4 (ค่ายากลับบ้าน) และมูลค่ายา
    • 4.4. รายการ billdisps ที่เป็นข้อมูลใบสั่งยากลับบ้านแต่ละใบ กรณีที่มีใบสั่งยากลับบ้านมากกว่า 1 ใบในการจำหน่ายครั้งนั้น ให้ทำรายการ billdisps ตามจำนวนใบสั่งยาแล้วรวบส่งใน billtran เดียวกัน
ภาพที่ 1 ระบุเลขอนุมัติผู้ป่วยในครั้งนี้ไว้ในฟิลด์ authcode ในข้อ 4.2

ระยะเวลาในการส่งข้อมูล

การเบิกค่ายากลับบ้านถือเป็นการเบิกในระบบผู้ป่วยนอกประเภทหนึ่ง เพื่อให้การเบิกจ่ายมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดรายละเอียดระยะเวลาในการส่งข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้

  1. กำหนดระยะเวลาการส่งเบิกค่ายากลับบ้านสัมพันธ์กับการส่งเบิกผู้ป่วยในดังนี้
    • 5.1. กรณีส่งเบิกค่ายากลับบ้านก่อนส่งเบิกผู้ป่วยใน สถานพยาบาลจะต้องส่งเบิกผู้ป่วยในภายใน 90 วันนับจากวันที่การเบิกค่ายากลับบ้านผ่าน
    • 5.2. กรณีส่งเบิกผู้ป่วยในก่อนส่งเบิกค่ายากลับบ้าน สถานพยาบาลจะต้องส่งเบิกค่ายากลับบ้านภายใน 15 วันนับจากวันที่การเบิกผู้ป่วยในผ่าน

เงื่อนไขในการตรวจสอบข้อมูลเบิก

เงื่อนไขการตรวจรับข้อมูลการเบิกค่ายากลับบ้านที่เพิ่มเติมจากการตรวจสอบข้อมูลเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกปกติคือ

  1. วันที่ของการจ่ายยากลับบ้านที่สอดคล้องกับวันที่จาหน่ายผู้ป่วยในรายที่เบิก
  2. วันที่การส่งเบิกอยู่ในระยะที่ข้อ 5.1 และ 5.2 กำหนด วันที่ส่งเบิกนับจากวันที่ธุรกรรมผ่านการตรวจรับ
  3. รายการยากลับบ้านที่ตรวจผ่านแล้ว จะถูกนำมาตรวจว่าตรงกับเงื่อนไขยากลับบ้านตามประกาศอีกครั้งทุก 3 เดือน รายการยาที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขจะถูกระงับการจ่ายย้อนหลัง โดยแจ้งเป็นรายการที่ถูกระงับพร้อมแสดงยอดปรับปรุงหักออกจากยอดเบิกใน statement สถานพยาบาลสามารถแจ้งขออุทธรณ์โดยส่งข้อมูลเพิ่มเติมเข้าระบบเบิกจ่ายตรงอีกครั้งภายใน 30 วันนับจากวันออก statement

การรายงานผลในตอบรับรายวัน บัญชีรายการเบิกค่ารักษา(Statement) และคำขอเบิก

การตอบรับยากลับบ้าน ตอบในเอกสารตอบรับรายวันตามรอบระยะเวลาเช่นเดียวกับการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกปกติ

กรณีผู้ใช้สิทธิไม่สามารถหรือยังไม่ได้ลงทะเบียนจ่ายตรงกับสถานพยาบาล

โดยที่ระบบจ่ายตรงผู้ป่วยนอกใช้ทะเบียนจ่ายตรงของแต่ละสถานพยาบาลอ้างอิง กรณีผู้ใช้สิทธิไม่มีข้อมูลในฐานทะเบียนบุคลากรภาครัฐจะไม่สามารถลงทะเบียนได้ จำเป็นต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วเบิกจากต้นสังกัดภายหลัง เพื่อให้สถานพยาบาลทราบปัญหานี้ ขอแนะนำให้ดาเนินการดังนี้

  1. สถานพยาบาลขอเลขอนุมัติผู้ป่วยในให้กับผู้ป่วยในที่ใช้สิทธิสวัสดิการฯทุกรายตั้งแต่แรกรับ
  2. ระบบจะแจ้งสถานะผู้ขอว่าเป็นผู้มีสิทธิและอยู่ในฐานทะเบียนบุคลากรภาครัฐหรือไม่
  3. ผู้ป่วยในที่ลงทะเบียนจ่ายตรงกับสถานพยาบาลที่รับเป็นผู้ป่วยในแล้ว ให้เบิกจ่ายตรงได้เลย
  4. ผู้ป่วยในที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนจ่ายตรงกับสถานพยาบาล
    • 12.1. ถ้าอยู่ในฐานทะเบียนบุคลากรฯ ให้ลงทะเบียนกับสถานพยาบาลด้วยกรณี“ฉุกเฉิน” แล้วนำเลขอนุมัติที่ได้มาใช้ในขั้นตอนการเบิก โดยระบุในฟิลด์ MemberNo (ตามภาพที่2)
    • 12.2. ถ้าไม่อยู่ในฐานทะเบียนบุคลากรฯ ให้บันทึกสถานะนี้ไว้ในเอกสารผู้ป่วยในเพื่อให้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสถานพยาบาลรับรู้ เมื่อมีการจ่ายยากลับบ้าน ให้เก็บค่ายาส่วนนี้จากผู้ใช้สิทธิ และให้ผู้ใช้สิทธิขอเบิกจากต้นสังกัดของตนต่อไป (ตามภาพที่ 3)
ภาพที่ 2 ระบุเลขอนุมัติฉุกเฉินในฟิลด์ MemberNo ในข้อ 12.1
ภาพที่ 3 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่อยู่ในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ในข้อ 12.2

การเบิกค่ายากลับบ้านกรณีที่ได้ส่งเบิกผู้ป่วยในไปก่อนหน้าแล้ว

สำหรับผู้ป่วยในที่มียากลับบ้านตามเงื่อนไขในประกาศข้างต้น ที่ไม่ได้ส่งเบิกตามแนวปฏิบัตินี้แต่ได้ส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในด้วยระบบ DRG ไปก่อนหน้าแล้ว สกส. กำหนดวิธีการเบิกค่ายาส่วนนี้แยกต่างหากจากการเบิกข้างต้น ขอให้สถานพยาบาลที่ประสงค์จะเบิกส่งเบิกค่ายากรณีย้อนหลังนี้ภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ซึ่งจะจ่ายในบัญชีผู้ป่วยนอกงวดสิ้นเดือนสิงหาคม 2559 (เลขงวด statement 160802) เท่านั้น เพื่อให้การเบิกส่วนนี้เป็นไปอย่างถูกต้องและรัดกุม ขอให้ทางสถานพยาบาลติดต่อเจ้าหน้าที่ของ สกส ที่จะให้รายละเอียดและแนะนำการส่งเบิกเพิ่มเติมได้ โดยติดต่อโทร. 02-298-0413 ต่อ 106 หรือ e-mail: csmbs-edit@cs.chi.or.th หัวเรื่อง: “ขอส่งเบิกยากลับบ้านย้อนหลัง”

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version