คู่มือการจัดทำ Drug Catalog สกส.

0 0
Read Time:3 Minute, 6 Second

แนวทางในการจัดทำบัญชีรายการยาอ้างอิง drug catalog และช่องทางการส่งรายการที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้แก่ สกส. เพื่อใช้กับระบบเบิกจ่ายตรงของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

กรมบัญชีกลางได้กำหนดให้สถานพยาบาล 34 แห่งในปี 2554 และอีก 134 แห่งในปี 2555 ส่งข้อมูลการเบิกระบบจ่ายตรงผู้ป่วยนอกสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดของยาแต่ละตัว บัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาล (drug catalog) เป็นรายการยาทั้งหลายที่สถานพยาบาลมีใช้และสั่งจ่ายให้แก่ผู้ป่วย สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ขอให้สถานพยาบาลจัดส่ง drug catalog นี้ให้แก่ สกส. ซึ่งใช้บัญชีรายการยานี้เป็นชุดข้อมูลอ้างอิงสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบิกของแต่ละสถานพยาบาล และเนื่องจากรายการยาและราคายามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ จึงมีความสำคัญยิ่งที่สถานพยาบาลจะต้องปรับปรุงบัญชีนี้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และจัดส่งรายการที่มีการปรับปรุงไปยัง สกส. อย่างสม่าเสมอ เนื่องจากการตรวจสอบข้อมูลเบิกจะใช้รายละเอียดของยาแต่ละรายการในบัญชี ทั้งตัวยา, ราคาและวันที่กำหนดใช้ราคา, และเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการเบิกจาก drug catalog ของแต่ละสถานพยาบาลเป็นเกณฑ์
ในปี 2556 กรมบัญชีกลางประกาศใช้รหัสยาและข้อมูลยาจาก TMT เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ใช้กับระบบเบิกค่ารักษาพยาบาลของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในปี 2557 กรมบัญชีกลางมีแผนปรับปรุงข้อมูลยาที่ส่งเบิกให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน สามารถใช้ติดตาม, วิเคราะห์และกำกับมาตรการที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมที่มีแผนดำเนินการในปีนี้ และมาตรการอื่นที่จะมีตามมาตามความพร้อมของระบบงานของสถานพยาบาล โดย ศมสท ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด สวรส. ได้พัฒนา TMT

  • ให้ครอบคลุมรายการยาที่ใช้ในระบบเบิกจ่ายตรงให้ได้มากที่สุด และออกแบบให้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานรองรับการใช้อ้างอิงกับกรณีการจัดจ่ายยากรณีต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลได้
  • มีความครอบคลุมเกินกว่าร้อยละ 95 ของยาที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ และได้จัดระบบให้สถานพยาบาลแจ้งขอเพิ่มรายการยาได้อย่างสะดวกในกรณีสถานพยาบาลมียาที่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ใน TMT
  • รองรับการเพิ่มเติมและปรับปรุงรายการที่มีกาหนดระยะเวลาที่แน่นอน ปัจจุบันมีการ release update ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่สามของทุกเดือน

สถานพยาบาลอื่นที่ไม่อยู่ในกลุ่ม 168 แห่ง

สำหรับสถานพยาบาลของทางราชการอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อสถานพยาบาล 168 แห่งข้างต้น กรมบัญชีกลางมีแผนที่จะให้สถานพยาบาลต้องส่งข้อมูลยาที่เบิกในระบบจ่ายตรงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดเช่นเดียวกัน โดยในระยะแรกของต้นปี 2557 จึงเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลโดยกำหนดให้สถานพยาบาลของทางราชการนอกกลุ่ม 168 แห่งจัดทา drug catalog ในรูปแบบที่กาหนดในเอกสารนี้และจัดส่ง drug catalog ให้แก่ สกส. ด้วย ในระยะต่อไป drug catalog ที่จัดทำคู่กับการศึกษาฐานข้อมูล TMT ของสถานพยาบาลกลุ่มนี้ จะถูกใช้ประโยชน์ในระบบเบิกยาด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยสถานพยาบาลไม่ต้องมีการทางานส่วนนี้อีก

เอกสารบัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาลฉบับนี้เป็นการปรับปรุงครั้งแรกหลังประกาศใช้เมื่อ เม.ย. 2556 เป็นการปรับปรุงให้รองรับการใช้งานกับ Thai Medical Terminology (TMT) ที่เป็นฐานข้อมูลยามาตรฐานที่ ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.) พัฒนาและบำรุงรักษาอยู่ และเพิ่มรายละเอียดให้พร้อมใช้กับแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกี่ยวกับยา ตามประกาศ ว. 472 ของกรมบัญชีกลาง

สำหรับสถานพยาบาลรัฐ

สำหรับสถานพยาบาลเอกชน

เพิ่มเติม

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

CSOP: วิธีการหาค่า MD5 ระบบ CSOP

0 0
Read Time:4 Second

CSOP: วิธีการหาค่า MD5 ระบบ CSOP

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โครงสร้างและรูปแบบข้อมูลผู้ป่วยนอก สวัสดิการข้าราชการ CSOP

0 0
Read Time:23 Second

CSOP เป็นการจัดทำข้อมูลเพื่อส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก สิทธิกรมบัญชีกลาง, กทม, กสทช.,กกต.. เมืองพัทยา และ สผผ.

จุดประสงค์ เพื่อให้สถานพยาบาลดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของสถานพยาบาลที่มีอยู่ในระบบแล้ว (HIS) จัดเตรียมเป็นข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับ สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) รุ่นของโครงสร้าง ที่ใช้ปัจจุบันเป็น Version 0.93

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ (AIPN)

0 0
Read Time:1 Minute, 30 Second

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่
All In-patient Claim Data File Specification : AIPN

AIPN เป็นโครงสร้างที่กำหนดให้สถานพยาบาลรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ ประเภทผู้ป่วยใน แทนการใช้โปรแกรม SIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 เป็นต้นไป ซึ่งโครงสร้างรูปแบบใหม่ พัฒนามาจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการ (CIPN) ระยะแรกใช้กับสิทธิประกันสังคม ระยะต่อไปจะใช้กับสิทธิอื่นๆ ด้วยข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน รูปแบบใหม่ (AIPN)

ข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ใช้คำนวณค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาล ดังนี้

  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW) มากกว่าหรือเท่ากับ 2
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS)
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลรัฐ
  • ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS)

เพื่อให้สถานพยาบาลดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของสถานพยาบาลที่ทำงานและบันทึกข้อมูลการให้บริการที่มีอยู่ในระบบแล้ว (HIS) จัดเตรียมเป็นข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับ สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจำเป็นต้องให้ผู้ทำงานด้านไอที ทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารงานเบิกจ่ายของสถานพยาบาล ทำความเข้าใจในเนื้อหา และความหมายของข้อมูลที่ถูกต้อง อนาคตสถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกประเภทผู้ป่วยในทุกสิทธิเป็น AIPN โครงสร้างเดียว

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP)สำหรับสถานพยาบาลรัฐ

0 0
Read Time:1 Minute, 0 Second

การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP) สำหรับสถานพยาบาลรัฐ ประกอบการประชุมชี้แจงโดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) เนื้อหาประกอบไปด้วย

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)
  1. หลักเกณฑ์/แนวทางการบันทึกข้อมูล
  2. โปรแกรมที่ใช้ในระบบ
  3. การปรับปรุงฐานข้อมูลอ้างอิง
  4. การขอรหัส รพ.สนาม/Hospitel
  5. Flow การทางาน และขั้นตอนการบันทึกข้อมูล
  6. การบันทึกข้อมูล COVID-19
Happy
1 50 %
Sad
1 50 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การยืนยันโรคเรื้อรัง สิทธิประกันสังคม

0 0
Read Time:21 Second
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีโรคเรื้อรัง

แจ้งการเปลี่ยนแปลงวิธีการ ผู้ป่วยยืนยันโรคเรื้อรัง 26 โรค ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นตอนการจัดทำบัญชีโรคเรื้อรัง
  • การค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • การแจ้ง cases ที่เข้าข่ายโรคเรื้อรัง
  • การยืนยันบัญชีโรคเรื้อรัง
  • การทักท้วงบัญชีโรคเรื้อรัง
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรณี การเบิกค่ายากลับบ้าน

0 0
Read Time:37 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรณี การเบิกค่ายากลับบ้านแยกต่างหาก จากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว1202 (2 ธ.ค. 64)

แนวทางการบันทึกข้อมูลนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศ ของกรมบัญชีกลางเรื่องหลักกณฑ์การเบิเงินค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่กำหนดให้การเบิกยากลับบ้าน ให้เบิกแยกต่างหากจากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs ซึ่งในระยะแรกกรมบัญชีกลางได้กำหนดให้เบิกในผู้ป่วยนอกตาม ว182 (29 เม.ย. 59) นั้น และได้มีประกาศ ว1202 ให้ยกเลิกการส่งข้อมูลในผู้ป่วยนอก

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ

3 ธันวาคม 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่ารักษาตามประกาศกรมบัญชีกลาง กรณีโควิด

0 0
Read Time:8 Minute, 2 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาล ที่เบิกผ่าน สกส.
ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว102, , ว130 , ว565 (หลักเกณฑ์การเบิก ในสถานการณ์ COVID-19 )

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ
21 ธันวาคม 2563

แนวทางการบันทึกข้อมูลนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศ ของกรมบัญชีกลาง เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 หรือ โควิด19 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส. ในฐานะหน่วยงานที่รับงานการเบิกจ่ายขอกำหนดแนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกดังนี้

1.รายการที่ให้เบิกตามประกาศฯ ข้อ4 และข้อ 5

ใช้รหัสรายการกรตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ชุด, ค่าห้องและค่ายาตามรายการและอัตราที่กำหนดในตาราง

กลุ่มCSCODEคำอธิบายอัตรา
121401ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย ต่อวันตามจริงไม่เกิน 2,500
2.1045001ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (เฉพาะธุรกรรมก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2563)ตามจริงไม่เกิน 540
2.2045002ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรดูแลผู้ป่วยตามจริงไม่เกิน 740
3.1
3.2
3.3
3.4
3.5
3.6
3.7
3.8
3.9
3.10
3.X
รหัส TPUID ในระบบ TMTcholoquine
hydroxycholoquine
darunavir
favipiravir
lopinavir + ritonavir
oseltamivir
remdesivir
ritonavir
tocilizumab
azithromycin
(ยาอื่นที่ใช้กับกรณีนี้ได้ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ)
ตามจริงไม่เกิน 7,200
4.136590SARS coronavirus 2, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.236591SARS coronavirus 2 N gene, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.336592SARS coronavirus 2 RdRp gene, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.436593SARS coronavirus 2 IgG Ab [+1-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.536594SARS coronavirus 2 IgM Ab [+/-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.636595SARS coronavirus 2 IgG+IgM Ab [ +1-] in Serum or Plasma by Immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.736596SARS coronavirus 2 Ag [+1-] in Respiratory specimen by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.X(Lab อื่นที่พัฒนาขึ้นใหม่ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ)ตามจริงไม่เกิน 1,200
5ไม่กำหนดค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื่อบนรถส่งต่อตามจริงไม่เกิน 3,700

หมายเหตุ:รายการในกลุ่ม 4 ได้รวมค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการแล้ว
*ปรับราคาลดลงจากตามจริงไม่เกิน 3,000 เหลือตามจริงไม่เกิน 2,200 และได้รวมค่าชุด PPE สำหรับเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างไว้ด้วย ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 เป็นต้นไป

2.เงื่อนไขและข้อมูลการวินิจฉัยที่ต้องที่ระบุไว้ในธุรกรรม

2.1 รหัสเงื่อนไขที่ระบุว่าเป็น COVID
เงื่อนไขที่ใช้ระบุว่าเป็น COVID-19 คือ “COV-19”
2.2 รหัสวินิจฉัย (ICD-10)
กรณีรักษาแบบ OPD สงสัยเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่แสดงอาการหรืออาการไม่รุนแรง
Z115: Special screening examination for other viral disease
เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease
การวินิจฉัยโรคอื่นที่พบในผู้ป่วยในครั้งเดียวกันนี้ก็บันทึกการวินิจฉัยตามปกติ ทั้งนี้อาการที่ให้รหัสเพิ่มอาจเกี่ยวข้องกับการดิดเชื่อ COVID หรือไม่ก็ได้ เช่น ไข้,คอแดง, ปวดเมื่อย เป็นต้น

กรณีรักษาแบบ OPD ตรวจติดตามหลังการรักษา

  • Z098: Follow-up examination after other treatment for other conditions
  • เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
  • หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
  • หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease

กรณีรับเป็นผู้ป่วยใน

  • มีอาการปอดติดเชื้อเป็นอาการสำคัญ
  • J12.8: Other virus pneumonia
  • ถ้ามีอาการอื่นๆ
  • รหัส ICD 10 ของโรค/อาการนั้นๆ
  • ผลการตรวจ COVID เป็นการชี้ชัดเหตุของอาการ
  • หากผลเป็นลบ ไม่มีหัสเพิ่มเติม
  • หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส
    • U07.1: 2019 nCoV virus disease
    • B97.2: Coronavirus as the cause of diseases classified to other chapters
  • หากมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ให้เพิ่มรหัส J96.0x: Acute respiratory failure

3.การบันทึกข้อมูลเบิกในธุรกรรมเบิก

3.1 การรักษา กรณี OPD

  • การบันทึกธุรกรรมเบิกผู้ป่วยนอกใช้ระบบ CSOP รุ่น 0.93
  • ระบุรายการเบิกค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (กลุ่ม2.1) (เฉพาะธุรกรรมก่อน 1 ธ.ค.2563/ และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ใน
  • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน BilTran.AuthCode
  • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
  • หมายเหตุ กรณีได้ส่งเบิกผ่านไปแล้วก่อนประกาศนี้ สถานพยาบาลสามารถส่งรายการเบิกเพิ่มได้ โดยสร้างธุรกรรมเบิกใหม่ ใช้ Invno ใหม่ และอ้างอิง Approval Code ของธุรกรรมที่เบิกผ่านไปแล้ว

3.2 การรับเป็นผู้ป่วยใน

  • 3.2.1 กรณีรักษาในสถานพยาบาล
  • 3.2.1.1 โปรแกรม CSMBS
    • ต้องปรับปรุงแฟ้ม MedEquipdev และบันทึกธุรกรรมเบิกหมวดค่าใช้ต่างๆ ดังนี้
    • ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย(กลุ่ม1) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 1
    • ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
    • ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
    • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
  • 3.2.1.2 ระบบ CIPN
    • ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
    • ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
  • 3.2.2 กรณีรักษาในสถานที่พักฟื้นเพื่อรอจำหน่าย
  • 3.2.2.1 โปรแกรม CSMBS
    • การเบิกค่ารักษาในกรณีอยู่ในสถานที่พักฟื้นรอการจำหน่าย
    • สถานพยาบาลต้องจำหน่ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลในข้อ 3.2.1
    • ในสถานที่พักฟื้น ให้รับเป้นผู้ป่วยใน โดยใช้ HN เดิม และ AN ใหม่ จากข้อ 3.2.1
    • ให้เลือกเบิกเป็น ประเภทบริการ/รักษา เลือก “อื่น ๆ” ช่อง type ระบุ “CO”
    • ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
    • ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
    • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
    • ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ในหน้า วินิจฉัย/ห้ตถการ ช่อง จากward เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
  • 3.2.2.2 ระบบ CIPN
    • ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
    • ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน ClaimAuth.ProjectCode
    • ระบุ “CO” ใน ClaimAuth.ServiceType
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
    • ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ใน IPADT.dischWard เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”

3.3การเบิกค่ารถส่งต่อ

  • 3.3.1 การเบิกค่ารถส่งต่อ ค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
    • เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ตามปกติ โดยระบุข้อมูลเพิ่มเดิมดังนี้
    • ให้เลือก (คลิก )กรณี “อุบัติเหตุหรือฉุกเฉินในภาวะวิกฤติ”
    • เหตุผลที่ส่งต่อที่ 1. ระบุเป็น “COVID-19”
    • เหตุผลที่ส่งต่อที่ 2. ระบุจำนวนเงินที่ขอเบิกค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
  • 3.3.2 การเบิกค่ารถ กรณีส่งต่อเพื่อไปสถานที่พักฟื้น
    • เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ปกติตามข้อ 3.3.1 ซึ่งรวมกรณีส่งต่อจากสถานที่พักฟื้นไปสถานพยาบาลด้วย โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
    • สกส. ออกรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวสำหรับสถานที่พักฟื้นเป็นการเฉพาะ สถานพยาบาลแจ้งขอ/ตรวจสอบรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวได้ที่ www.chi.or.th
    • ให้ใช้รหัสชั่วคราว เป็นรหัสถานพยาบาลต้นทาง หรือปลายทางแล้วแต่กรณี
    • สถานพยาบาลที่เป็นเจ้าของรถส่งต่อ ไม่ใช่หัสสถานพยาบาลชั่วคราว
    • สำหรับขั้นตอนส่งข้อมูล,เอกสารตอบรับ,Statement และคำขอเบิก เป็นแนวทางเดียวกันกับแต่ละระบบใช้อยู่เป็นปกติ

4.การเบิกค่ายา กรณีส่งยาให้ผู้ใช้สิทธิทางไปรษณีย์

  • การส่งยาทางไปรษณีย์หรือการรับยานอกสถานพยาบาล เป็นมาตรการลดการแพร่กระจายของโรคในสถานการณ์โรคติดต่อร้ายแรง ไม่ได้เจาะจงกับโรค COVID19 นี้
  • แนวทางนี้ใช้เฉพาะกิจตามข้อ 8 ในประกาศฯ กับผู้ป่วยที่ไม่ได้มาสถานพยาบาลเท่านั้น เมื่อมีการพัฒนาแนวทางการนยันการรับยาใหม่ขึ้นมา ก็จะมีการประกาศปรับเปลี่ยนให้ทราบเพื่อใช้แทน
  • แนวทางการทำธุรกรรม
  • ส่งข้อมูลเบิกผ่านระบบ CSOP รุ่น 0.93
  • ธุรกรรมที่เบิก เป็นค่าใช้จ่ายค่ายาตามระบบปกติ เท่านั้น
  • Approval Code ให้ดำเนินการผ่านระบบ KTB Corporate Online โดยบันทึกเหตุผลว่า “ส่งยา”
  • ให้ใส่ Tracking Number ในช่อง BillTran.VerCode ต่อท้าย Approval Code โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย “:”

5.การเบิกกรณีที่เข้าข่าย ORS

  • สกส.จะประมวลผลข้อมูลกรณีเข้าข่าย ORS ตามวิธีการและแนวปฏิบัติดาม ว187 (17 พ.ค. 2556) โดยจะปรับค่า Outlier Loss Threshold (OLT) ของแต่ละสถานพยาบาลให้ลดลงร้อยละ 70 ของค่า OLT เดิม ทั้งนี้เฉพาะกรณีการรักษาผู้ป่วยในที่จำหน่ายดั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.63 และมีการวินิจฉัยเป็น COVID-19
  • เมื่อสถานพยาบาลได้รับแจ้งกรณีที่เข้าข่าย ORS จาก สกส. ให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2. ของ ว187 (17 พ.ค. 2556 ) ขั้นตอนการพิจาณา ORS และการจ่ายชดเชย จะเป็นไปดามกระบวนการ ORS

ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Happy
4 80 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 20 %
Surprise
0 0 %

แนวปฏิบัติการเบิกค่ายากลับบ้านแยกต่างหากจากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs

0 0
Read Time:5 Minute, 0 Second

แนวปฏิบัติการเบิกค่ายากลับบ้านแยกต่างหากจากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs สำหรับหน่วยบริการที่เบิกผ่าน สกส.

ตามประกาศกรมบัญชีกลางเลขที่ กค 0431.4/ว.182 วันที่ 29 เมษายน 2559 เรื่อง การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ซึ่งกำหนดให้การส่งเบิกค่า “ยากลับบ้าน” ในระบบผู้ป่วยนอก โดยวิธีการส่งข้อมูลให้เป็นไปตามที่สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ(สกส.) กำหนด เพื่อให้สถานพยาบาลปรับปรุงวิธีการเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในด้วยระบบ DRGs ในการเบิกค่ายาส่วนนำกลับได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สกส. จึงกำหนดแนวปฏิบัติการส่งเบิกค่ายากลับบ้านตามประกาศข้างต้น ดังต่อไปนี้

ข้อมูลส่งเบิกค่ายากลับบ้าน

  1. เลขอนุมัติผู้ป่วยในที่ขอได้จากระบบขอเลขอนุมัติผู้ป่วยในจะถูกใช้เป็นเลขอ้างอิง การขอเลขอนุมัติฯ ตั้งแต่รับผู้ป่วยในไว้และเก็บแบบพิมพ์ไว้อ้างอิง จะช่วยให้บันทึกข้อมูลเบิกได้สะดวกและไม่ผิดพลาด
  2. แพทย์ผู้สั่งยาเป็นผู้พิจารณาว่ารายการยาใดเป็นยากลับบ้านตามเงื่อนไขในประกาศฯ
  3. เฉพาะรายการที่ถูกระบุว่าเป็นยากลับบ้านให้ส่งเบิกด้วยแนวปฏิบัตินี้ ยาอื่นให้ระบุค่ายาผู้ป่วยในซึ่งเบิกในระบบ DRG โดยค่ายาผู้ป่วยในต้องไม่ซ้าซ้อนกับค่ายากลับบ้านนี้
  4. ข้อมูลธุรกรรมเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกของการเบิกนี้ประกอบด้วย
    • 4.1. รายการในส่วน billtran 1 รายการต่อการจำหน่ายครั้งหนึ่งเท่านั้น
    • 4.2. รายการ billtran นี้ระบุเลขอนุมัติผู้ป่วยในครั้งนี้ไว้ในฟิลด์ authcode (ตามภาพที่ 1)
    • 4.3. รายการ opbill 1 รายการอันเป็นรายละเอียดของ billtran ข้างต้น ระบุเป็น หมวด 4 (ค่ายากลับบ้าน) และมูลค่ายา
    • 4.4. รายการ billdisps ที่เป็นข้อมูลใบสั่งยากลับบ้านแต่ละใบ กรณีที่มีใบสั่งยากลับบ้านมากกว่า 1 ใบในการจำหน่ายครั้งนั้น ให้ทำรายการ billdisps ตามจำนวนใบสั่งยาแล้วรวบส่งใน billtran เดียวกัน
ภาพที่ 1 ระบุเลขอนุมัติผู้ป่วยในครั้งนี้ไว้ในฟิลด์ authcode ในข้อ 4.2

ระยะเวลาในการส่งข้อมูล

การเบิกค่ายากลับบ้านถือเป็นการเบิกในระบบผู้ป่วยนอกประเภทหนึ่ง เพื่อให้การเบิกจ่ายมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดรายละเอียดระยะเวลาในการส่งข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้

  1. กำหนดระยะเวลาการส่งเบิกค่ายากลับบ้านสัมพันธ์กับการส่งเบิกผู้ป่วยในดังนี้
    • 5.1. กรณีส่งเบิกค่ายากลับบ้านก่อนส่งเบิกผู้ป่วยใน สถานพยาบาลจะต้องส่งเบิกผู้ป่วยในภายใน 90 วันนับจากวันที่การเบิกค่ายากลับบ้านผ่าน
    • 5.2. กรณีส่งเบิกผู้ป่วยในก่อนส่งเบิกค่ายากลับบ้าน สถานพยาบาลจะต้องส่งเบิกค่ายากลับบ้านภายใน 15 วันนับจากวันที่การเบิกผู้ป่วยในผ่าน

เงื่อนไขในการตรวจสอบข้อมูลเบิก

เงื่อนไขการตรวจรับข้อมูลการเบิกค่ายากลับบ้านที่เพิ่มเติมจากการตรวจสอบข้อมูลเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกปกติคือ

  1. วันที่ของการจ่ายยากลับบ้านที่สอดคล้องกับวันที่จาหน่ายผู้ป่วยในรายที่เบิก
  2. วันที่การส่งเบิกอยู่ในระยะที่ข้อ 5.1 และ 5.2 กำหนด วันที่ส่งเบิกนับจากวันที่ธุรกรรมผ่านการตรวจรับ
  3. รายการยากลับบ้านที่ตรวจผ่านแล้ว จะถูกนำมาตรวจว่าตรงกับเงื่อนไขยากลับบ้านตามประกาศอีกครั้งทุก 3 เดือน รายการยาที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขจะถูกระงับการจ่ายย้อนหลัง โดยแจ้งเป็นรายการที่ถูกระงับพร้อมแสดงยอดปรับปรุงหักออกจากยอดเบิกใน statement สถานพยาบาลสามารถแจ้งขออุทธรณ์โดยส่งข้อมูลเพิ่มเติมเข้าระบบเบิกจ่ายตรงอีกครั้งภายใน 30 วันนับจากวันออก statement

การรายงานผลในตอบรับรายวัน บัญชีรายการเบิกค่ารักษา(Statement) และคำขอเบิก

การตอบรับยากลับบ้าน ตอบในเอกสารตอบรับรายวันตามรอบระยะเวลาเช่นเดียวกับการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกปกติ

กรณีผู้ใช้สิทธิไม่สามารถหรือยังไม่ได้ลงทะเบียนจ่ายตรงกับสถานพยาบาล

โดยที่ระบบจ่ายตรงผู้ป่วยนอกใช้ทะเบียนจ่ายตรงของแต่ละสถานพยาบาลอ้างอิง กรณีผู้ใช้สิทธิไม่มีข้อมูลในฐานทะเบียนบุคลากรภาครัฐจะไม่สามารถลงทะเบียนได้ จำเป็นต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วเบิกจากต้นสังกัดภายหลัง เพื่อให้สถานพยาบาลทราบปัญหานี้ ขอแนะนำให้ดาเนินการดังนี้

  1. สถานพยาบาลขอเลขอนุมัติผู้ป่วยในให้กับผู้ป่วยในที่ใช้สิทธิสวัสดิการฯทุกรายตั้งแต่แรกรับ
  2. ระบบจะแจ้งสถานะผู้ขอว่าเป็นผู้มีสิทธิและอยู่ในฐานทะเบียนบุคลากรภาครัฐหรือไม่
  3. ผู้ป่วยในที่ลงทะเบียนจ่ายตรงกับสถานพยาบาลที่รับเป็นผู้ป่วยในแล้ว ให้เบิกจ่ายตรงได้เลย
  4. ผู้ป่วยในที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนจ่ายตรงกับสถานพยาบาล
    • 12.1. ถ้าอยู่ในฐานทะเบียนบุคลากรฯ ให้ลงทะเบียนกับสถานพยาบาลด้วยกรณี“ฉุกเฉิน” แล้วนำเลขอนุมัติที่ได้มาใช้ในขั้นตอนการเบิก โดยระบุในฟิลด์ MemberNo (ตามภาพที่2)
    • 12.2. ถ้าไม่อยู่ในฐานทะเบียนบุคลากรฯ ให้บันทึกสถานะนี้ไว้ในเอกสารผู้ป่วยในเพื่อให้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสถานพยาบาลรับรู้ เมื่อมีการจ่ายยากลับบ้าน ให้เก็บค่ายาส่วนนี้จากผู้ใช้สิทธิ และให้ผู้ใช้สิทธิขอเบิกจากต้นสังกัดของตนต่อไป (ตามภาพที่ 3)
ภาพที่ 2 ระบุเลขอนุมัติฉุกเฉินในฟิลด์ MemberNo ในข้อ 12.1
ภาพที่ 3 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่อยู่ในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ ในข้อ 12.2

การเบิกค่ายากลับบ้านกรณีที่ได้ส่งเบิกผู้ป่วยในไปก่อนหน้าแล้ว

สำหรับผู้ป่วยในที่มียากลับบ้านตามเงื่อนไขในประกาศข้างต้น ที่ไม่ได้ส่งเบิกตามแนวปฏิบัตินี้แต่ได้ส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในด้วยระบบ DRG ไปก่อนหน้าแล้ว สกส. กำหนดวิธีการเบิกค่ายาส่วนนี้แยกต่างหากจากการเบิกข้างต้น ขอให้สถานพยาบาลที่ประสงค์จะเบิกส่งเบิกค่ายากรณีย้อนหลังนี้ภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ซึ่งจะจ่ายในบัญชีผู้ป่วยนอกงวดสิ้นเดือนสิงหาคม 2559 (เลขงวด statement 160802) เท่านั้น เพื่อให้การเบิกส่วนนี้เป็นไปอย่างถูกต้องและรัดกุม ขอให้ทางสถานพยาบาลติดต่อเจ้าหน้าที่ของ สกส ที่จะให้รายละเอียดและแนะนำการส่งเบิกเพิ่มเติมได้ โดยติดต่อโทร. 02-298-0413 ต่อ 106 หรือ e-mail: csmbs-edit@cs.chi.or.th หัวเรื่อง: “ขอส่งเบิกยากลับบ้านย้อนหลัง”

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ระบบยืนยันการเบิกค่ารักษาพยาบาล CSOP

0 0
Read Time:12 Second

คู่มือการใช้งาน ระบบยืนยันการเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลราชการ โดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version