เอกสารชี้แจงการชดเชย กรณีบริการถุงยางอนามัย

0 0
Read Time:1 Minute, 1 Second

การประชุมชี้แจงแนวทางการขอรับการชดเชย กรณีบริการถุงยางอนามัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566
ผ่านระบบโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)
วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 13.30 น. – 16.30 น.
ผ่านระบบห้องประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting)
และผ่านระบบ Facebook lives สปสช.

  • เปิดการประชุม โดย ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • การบริหารจัดการและการขอรับการชดเชยถุงยางอนามัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย คุณธวัชชัย เรืองโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • แนวทางการขอรับค่าใช้จ่าย กรณีบริการถุงยางอนามัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย คุณโยธิน ถนอมวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • แนวทางการกระจายและจัดสรรถุงยางอนามัยผ่านระบบ Pool PO โดย คุณจิโรจน์ นาคไพจิตร ผู้จัดการกอง ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • การพิสูจน์ตัวตนก่อนการเข้ารับบริการผ่านโปรแกรม KTB (Authentication) การเข้าใช้งานโปรแกรม การบันทึกผลงานบริการ และการประมวลผลจ่ายผ่านโปรแกรม KTB โดย ทีม KTB
  • อภิปรายและซักถาม
  • ปิดการประชุม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

กรมบัญชีกลางปรับหลักเกณ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

0 0
Read Time:3 Minute, 25 Second

ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๖๒
ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖

อ้างอิงถึง

๑. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๓ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๒. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๔ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๓. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๘๕ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
๔. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๑๒๒ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒

สิ่งที่ส่งมาด้วย

๑. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๒. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๓. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma
๔. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย
๕. รายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา

ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑ – ๔ กรมบัญชีกลางได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง และดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง นั้น
กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม จำเป็น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างสมเหตุผล ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล .ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

  • ๑. ปรับปรุงรายการยาและเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาในโครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา (ระบบ OCPA) ดังนี้
    • ๑.๑ ปรับปรุงเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย รายละเอียดปรากฎตาม สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ ๒
    • ๑.๒ กำหนดเพิ่มรายการยา Lenvatinib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ ระยะแพร่กระจาย พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ และ ๔ โดยสถานพยาบาลจะต้องดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทำการรักษา และผู้ป่วย และส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ OCPA เพื่อขออนุมัติเบิกค่ายา หรือขอต่ออายุการเบิกค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยาตามแนวทางที่หน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมบัญขีกลางกำหนด และให้เบิกจ่ายค่ายาในระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น รวมทั้งการใช้ยาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบ่งขี้ที่กำหนด จึงจะสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้
  • ๒. ผู้มีสิทธิไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib ทุกรูปแบบ ขนาดและความแรง มายื่นเบิกเงินกับส่วนราชการต้นสังกัดได้ หากสถานพยาบาสมีการออกใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าวให้แจงรายละเอียดชื่อรายการยา โดยระบุเป็น “ค่ายาที่เบิกไม่ได้” และไม่ให้มีการออกใบรับรองในการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ๓. กำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๕ โดยให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราที่กำหนด และให้ใช้กับการรักษาทุกข้อบ่งซี้ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป อนึ่ง สามารถดาวน์โหลดหลักเกณฑ์ แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา รวมทั้งรายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ – ๕ ได้ที่เว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล/รายการยาที่กรมบัญชีกลางกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์การกำหนดรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ (รหัสสถานพยาบาล) ภาครัฐ

0 0
Read Time:1 Minute, 33 Second

หน่วยงานบริการสุขภาพ หมายถึง หน่วยงานที่ให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข บริหารงานด้านสาธารณสุข และงานศึกษา-วิจัยด้านสาธารณสุข ที่จำเป็นต่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ รหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ/สถานพยาบาล เป็นตัวเลข 5 หลัก โดย Running Number ตั้งแต่ 00001 – 89999 ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยงานบริการสุขภาพ/สถานพยาบาล 1 แห่ง จะมีรหัส เพียง 1 รหัส เท่านั้น หลักเกณฑ์การกำหนดรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ ภาครัฐ หน่วยงานบริการสุขภาพที่จะกำหนดรหัสใหม่ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. มีการขอจัดตั้งหน่วยงานบริการสุขภาพ/สถานพยาบาล โดยมีขั้นตอนการขอจัดตั้งและได้รับอนุมัติให้จัดตั้งจากผู้บริหารระดับกระทรวง โดยเป็นหน่วยงานบริการสุขภาพ/สถานพยาบาล ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมาย
  2. สถานที่ตั้งชัดเจน พร้อมพิกัดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
  3. มีโครงสร้าง กรอบอัตรากำลังรองรับบุคลากร
  4. มีการบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง และบุคลากรชัดเจนเป็นของหน่วยงานเอง

หมายเหตุ

  1. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ ที่อยู่ ประเภทสถานพยาบาล และรายละเอียดของสถานพยาบาลนั้นๆ จะไม่กำหนดรหัสใหม่ ยังคงใช้รหัสเดิมแต่จะมีฟิลด์เก็บข้อมูลประวัติไว้
  2. กรณีที่เป็นหน่วยงานเครือข่าย/สาขา จะกำหนดรหัสเป็นตัวเลข 5 หลัก ดังนี้
    • 2.1 หน่วยงานเครือข่าย/สาขา มีที่ตั้งอยู่ภายในหน่วยงานเดิม รหัส 99XXX
    • 2.2 หน่วยงานเครือข่าย/สาขา มีที่ตั้งอยู่ภายนอกหน่วยงานเดิม รหัส 77XXX
    • 2.3 กรณีหน่วยงานเครือข่าย/สาขา ย้ายที่ตั้งจากภายในไปตั้งอยู่ภายนอกหน่วยงานเดิม จะเปลี่ยน จาก รหัส 99XXX เป็น รหัส 77XXX

อ้างอิงจาก

งานรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพดิจิทัล สำนักดิจิทัลสุขภาพ โทร. 02-5902388
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าวในประเทศไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 43 Second

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนต่างด้าวในการดูแลสุขภาพตนเอง/ชุมชนและการป้องกันการค้ามนุษย์
ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

กำหนดการ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖

  • กล่าวรายงาน โดย นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข
  • กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ : นโยบายการดำเนินงานและการบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าวในประเทศไทย โดย นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

การอภิปราย : การเข้าถึงบริการของรัฐของคนต่างด้าว และการป้องกันการค้ามนุษย์การจัดการและการสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือด้านสิทธิสวัสดิการแรงงานต่างด้าว

  • กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิ สถานการณ์ ปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติและการแก้ไขปัญหาคนต่างด้าว โดย นายวรพงศ์ จันทร์มานะเจริญ เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว โดย นายพงศ์เทพ เพชรโสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนแรงงานต่างด้าว และการช่วยเหลือกรณีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย นางสาววันดี ตรียศสิน ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดปทุมธานี กองต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินรายการโดย นายอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG : Migrant Working Group)

การอภิปราย : การบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าว ดำเนินรายการโดย ดร.บุญวรา สุมะโน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

  • การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและแนวทางการให้บริการด้านสุขภาพคนต่างด้าวสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข โดย นายวัลลก คชบก นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • ระบบประกันสังคมและการจัดบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าว โดย นางสาวนิตยา บุญญะกิจวัฒนา นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มงานคุ้มครองสิทธิทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม
  • มาตรการการป้องกันควบคุมโรคในแรงงานต่างด้าว และแนวทางการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในชุมชนต่างด้าวหรือสถานประกอบการ โดย พญ. วาสินี ชลิศราพงศ์ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

กำหนดการ วันศุกร์ ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖

  • การบรรยาย : การพัฒนาระบบข้อมูลแรงงานต่างด้าว คนต่างด้าว ผู้ติดตามและแนวทางการจัดการข้อมูลแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามเพื่อใช้ประโยชน์ โดย นายสุธน คุ้มเพชร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง
  • แบ่งกลุ่มและฝึกปฏิบัติ จำนวน ๒ กลุ่ม หัวข้อหลักการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน ระดับจังหวัดและพื้นที่ต้นแบบ (ผู้แทนจากทั้ง ๒ กลุ่มนำเสนอในวันถัดไป)
    • กลุ่มที่ ๑ แนวทางการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแรงงานต่างด้าว
    • กลุ่มที่ ๒ แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าว
  • การอภิปราย : แนวทางการดำเนินงนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนต่างด้าวในการดูแลสุขภาพตนเอง/ชุมชน โดย นางวิราณี นาคสุข กองบริหารการสาธารณสุข และ
  • นายชูวงศ์ แสงคง ผู้ประสานงานด้านสุขภาพ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG : Migrant Working Group)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการบันทึกข้อมูล IMC IP

0 0
Read Time:12 Second

การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านระบบโปรแกรม e-Claim
กรณีให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางแบบผู้ป่วยใน
ในลักษณะ Intermediate care ward หรือ Intermediate care bed
ปีงบประมาณ 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim ร่วมกับการใช้โปรแกรมรายงานข้อมูลติดตามสุขภาพประจำวัน (โปรแกรม AMED) กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ 2566

วาระประชุม

  • ๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๕ น. – ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และกล่าวเปิดการประชุม โดย นายธวัชชัย เรืองโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๑๕ – ๑๓.๓๐ น. – หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน โดย นางสาวมนัสนีย์ รัตนเมธีนนท์ นักบริหารงาน ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. – แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ กรณีบริการดูแลแบบ ผู้ป่วยในที่บ้าน โดย ฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • ๑๔.๐๐ – ๑๔.๒๐ น. – การบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-Claim เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วย ในที่บ้าน โดย นางเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • ๑๔.๒๐ – ๑๕.๓๐ น. – การใช้งานระบบบริการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน (DMS Home ward) โดย ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ และทีม รก.ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความมั่นคง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. – อภิปราย ซักถาม และปิดการประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule

0 0
Read Time:56 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศเพิ่มเติมรายการยา รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee Schedule) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประชุมชี้แจงรายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ผ่าน Facebook Live หน้าเพจ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รายการยา รายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมติคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการกองทุน ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 22 กันยายน 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพ

0 0
Read Time:2 Minute, 1 Second

คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2561 ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คณะทำงานเตรียมการกลั่นกรองการเปิด การยกฐานะและการขยายหน่วยบริการสุขภาพ จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องทันต่อสถานการณ์และแนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) ตามกรอบแนวทางการดำเนินงานของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรอง การเปิด การยกฐานะ และการขยายหน่วยบริการสุขภาพ

กองบริหารการสาธารณสุข โดยกลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการจึงได้จัดทำ คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้หน่วยบริการสุขภาพในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขนำไปใช้เป็นแนวทางประกอบคำขอการจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ต่อไป

กลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สป.สธ.

เกณฑ์การจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพ

  • เกณฑ์การจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F3

เกณฑ์การปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ

  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F2
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1
  • กณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ระดับ M2
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ระดับ S
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A

หลักเกณฑ์การขยายเตียงของหน่วยบริการสุขภาพ

หลักเกณฑ์การย้ายหน่วยบริการสุขภาพ

หลักเกณฑ์การปิดหรือขอยุบหน่วยบริการสุขภาพ

ข้อแนะนำการจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพ

  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F2
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ระดับ M2
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ระดับ S
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A

แนวทางปฏิบัติการพิจารณารายการคำขอ

ขั้นตอนดำเนินการหลังปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 100 %
Surprise
0 0 %

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

0 0
Read Time:2 Minute, 26 Second

การปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการจัดทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยสาระสำคัญที่ประชาชนจะได้รับ คือ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ การเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ ติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เตียงรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงมีนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based Medical Services) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient)

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

การดำเนินการให้บริการในรูปแบบผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ การดูแลเสมือนโรงพยาบาลที่บ้าน (Hospital care at home) เป็นการให้บริการการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่ใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลเทียบเคียงผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษา
กรมการแพทย์ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำ “แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)” โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและหน่วยบริการทุกระดับสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษา มีสภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสมดั่งปณิธานของกรมการแพทย์ “ทำดีที่สุด เพื่อทุกชีวิต”

สารบัญ

  • บทที่ 1 บทนำ
    • คำนิยาม
    • วัตถุประสงค์
    • รูปแบบการให้บริการ
    • การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาล
    • การประเมินความพร้อมของผู้ป่วย ผู้ดูแล และที่พักอาศัยระหว่างการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน
    • เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วยเข้าระบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน
  • บทที่ 2 การประเมินความพร้อมของ ผู้ป่วย ครอบครัว สภาพที่พักอาศัย และทีมดูแลที่บ้าน
    • ขั้นตอนดำเนินการ
    • แนวทางปฏิบัติในการให้การบริการ home ward
    • องค์ประกอบของทีมดูแลต่อเนื่อง
  • บทที่ 3 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะ แบบ Home ward
  • บทที่ 4 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบ แบบ Home ward
  • บทที่ 5 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแผลกดทับ (pressure ulcer management) แบบ Home ward
  • บทที่ 6 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไส้ติ่ง แบบผ่าตัดวันเดียวกลับ แบบ Home ward
  • บทที่ 7 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน
  • บทที่ 8 การดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
  • บทที่ 9 แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการ ผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารชี้แจงตรวจราชการปี 2566

0 0
Read Time:2 Minute, 11 Second

ประชุมชี้แจงแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖

ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา 0๙.๓๐ – ๑๔.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร และห้องประชุม ๒ ชั้น ๒ อาคาร ๑ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือรับชมรับฟังการประชุมผ่านระบบประชุมออนไลน์ Application Webex

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แนวทางตรวจราชการ (inspection guideline) ปี 66

แบบฟอร์มรายงานตรวจราชการกรณีปกติปี 66

ไฟล์นำเสนอประชุมชี้แจงแผนตรวจราชการ ปี 66

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version