VDO แนะนำการใช้งานระบบ Krungthai Digital Health Platform

0 0
Read Time:1 Minute, 21 Second

1.Krungthai Digital Health Platform Journey

2.สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนใช้งานระบบ Hospital Portal

3.กระเป๋าสุขภาพ (Health Wallet)

4.การเข้าใช้งานระบบ Hospital Portal

5.ตั้งค่าวัน_เวลาหน่วยบริการ จัดการหน่วยตรวจ

6.จัดการตารางวัน_เวลา ให้บริการกิจกรรม

7.จัดการโควตา สำหรับหน่วยบริการแม่ข่าย

8.รายชื่อเจ้าหน้าที่ (ทันตแพทย์)

9.ตั้งค่าการเคลม

10.กำหนดสิทธิผู้ใช้งาน

11.จัดการตารางจองกิจกรรมและโควตา (slot)

12.จัดการกิจกรรม ถุงยางอนามัยคุมกำเนิด C02

13.ลบหน่วยตรวจ

14.ขั้นตอนการลง MOI Agent

15.ขั้นตอนการยืนยันตัวตนรับบริการ

16.บันทึกการรับบริการย้อนหลัง

17.บันทึกข้อมูลการให้บริการ

18.นำเข้าข้อมูลผลการรักษา (upload 16 แฟ้ม)

19.ตรวจสอบสิทธิ ดูประวัติ จัดการนัดหมาย (ข้อมูลผู้รับบริการ รายบุคคล)

20.ตรวจสอบนัดหมาย รับบริการ คืนสิทธิกิจกรรม (ภาพรวมหน่วยบริการ)

21.ขั้นตอนนำส่งใบเบิกจ่าย

22.การเรียกดูรายงาน

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางPP Fee Schedule KTB

0 0
Read Time:1 Minute, 18 Second

ชี้แจงแนวทางการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

กำหนดการ

  • นโยบายการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการบันทึกและการประมวลผลจ่ายผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) โดย ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการจ่ายชดเชยค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จ่ายตามรายการบริการ (PP FS) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดย ผู้แทนจากฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • การพิสูจน์ตัวตนก่อนการเข้ารับบริการผ่านโปรแกรม KTB (Authentication) โดย ทีม KTB
  • การเข้าใช้งานโปรแกรม การบันทึกผลงานบริการ และการประมวลผลจ่ายผ่านโปรแกรม KTB โดย ทีม KTB
  • อภิปรายและซักถาม

วันที่ 3 เมย.66_สำหรับ_โรงพยาบาล

วันที่ 4-5 เมย.66_สำหรับ_รพสต-คลินิก

วันที่ 5 เมย.66_สำหรับ_ร้านยา เท่านั้น

VDO แนะนำการใช้งานระบบ Krungthai Digital Health Platform

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

0 0
Read Time:3 Minute, 36 Second

ประกาศสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เรื่อง นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔’๖ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ. รวมทั้งให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrtty and Transparency Assessment : ITA) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

  • ๑. ด้านนโยบาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซอนแก่น เป็นองค์กรธรรมาภิบาล มุ่งเน้นในการบริหารหรัพยากรบุคคลที่ก่อให้เกิดการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความโปรงใส มีความเป็นธรรม ใช่ดุลยพินิจส่วนตัวให้น้อยที่สุด มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมจริยธรรมและรักษาวินัยของบุคลากรในองค์กร ให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้
  • ๒. ด้านการสรรหา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวางแผนกำลังคน สรรหา และเลือกสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้คนดีคนเก่ง ที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซอนแก่น แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๒.๑ จัดทำแผนอัตรากำลัง เพื่อใช้ในการวางแผนกำลังคนให้เหมาะสม มุ่งสรรหาบุคลากรด้วยระบบการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ คุณลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และยึดประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ
    • ๒.๒ การรับสมัครคัดเลือกเพื่อสรรหา และเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ต้องประกาศเผยแพร่
    • ๒.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการในการสรรหาและเลือกสรร เพื่อให้สามารถเลือกสรรผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดี สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
  • ๓. ด้านการพัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นข้าราชการที่ดี ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและความก้าวหน้าของบุคลากร ให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถที่สูงขึ้น แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๓.๑ จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี ให้สอดคล้องตามความจำเป็นและความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน
    • ๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการอบรม พัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความสามารถทักษะในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมกับหน่วยงานภายในหรือหน่วยงานภายนอก
    • ๓.๓ ส่งเสริมการจัดทำเส้นทางและวางแผนพัฒนาความก้าวหนัวัทั้งสมรรถนะและผลงานเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาของบุคลากรในแต่ละคำแหน่ง
    • ๓.๔ ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำทุกระดับในหน่วยงาน
  • ๔.ด้านการรักษาไว้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชอนแก่น ต้องวางแผนกลยุทร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ส่งเสริมการพัฒนาให้มีความรู้ มีแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร มีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลบุคลากรให้เป็น ให้เป็นปัจจุบัน มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ยกย่องและชมเชยคนดี คนเก่ง เพื่อให้เกิดความผูกพันต่อหน่วยงาน แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๔.๑ พัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้สอดคล้องกับผลงานแสะสมรรถนะของหน่วยงาน
    • ๔.๒ พัฒนาระบบแรงจูงใจตามผลงาน ทั้งในระดับองค์กระบุคคล และเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้และปรับปรุงผลงานอย่างต่อเนื่อง
    • ๔.๓ เสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมถึงอาชีวอนามัยของหน่วยงานให้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    • ๔.๔ สนับสนุนให้มีกิจกรรมการยกย่องเชิดชูบุคลากรที่มีความประพฤติดีสมควรแก่การเป็นแบบอย่างที่ดี
  • ๕. ด้านการใช้ประโยชน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชอนแก่น ยึดหลักความโปร่งไม่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและมีจิตสาธารณะ โดยมีการสื่อสารให้บุคลากรรับทราบนโยบาย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ทรัพยากรบุคคล มีช่องทางให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งผู้บริหารมีการสื่อสาร มอบหมายงาน พัฒนางาน ตลอดจนควบคุม กำกับ ดูแลให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๕.๑ จัดให้มีระบบการมอบหมายหน้าที่ ภารกิจ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม และควบคุม กำกับ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
    • ๕.๒ จัดให้มีการปรับปรงระบบและวิธีการทำงานให้ทันสมัย การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สะดวกรวดเร็ว และตอบสนองต่อความต้องการของผู้มารับบริการ

จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

บระกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 35 Second

คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care service)มีความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมมากขึ้นรวมทั้งสามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลลงได้ ประเทศไทยมีนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการกำหนดสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ช (5) ให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสารารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย และกำหนดให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ปัจจุบันพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพุทธศักราช 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562

เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงได้จัดทำคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดสุขภาวะแก่ประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาและประเมินคุณภาพ มีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานและจัดการคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ตลอดจนส่งผลให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับบริการได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพต่อไป

เอกสารจากงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 23 วันที่ 15มีนาคม2566 : ห้องปฐมภูมิ Sapphire 105-107 A3-105 มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย นำเสนอโดย อ.หมอนิ่ม : พญ.ณภัทร สิทธิศักดิ์ (รพ.เซกา จ.บึงกาฬ)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางเบิกจ่ายสำหรับรพ.สต.ถ่ายโอน

0 0
Read Time:2 Minute, 42 Second

การประชุมชี้แจงการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการ รพ.สต./ สอน.ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ในเขตพื้นที่ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 25666 เวลา 08.30 – 16.30 น.ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และทิศทางนโยบายการบริหารจัดการกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นายแพทย์ดุสิต ขำชัยภูมิ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น
ภาพรวมการจัดการกองทุน สปสช. การเชื่อมโยง ระบบบริการปฐมภูมิ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ รพ.สต. การจัดทำ MOU โดย นายวีระศักดิ์ ชนะมาร ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม

ชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ตามผลงานการบริการบริการแพทย์แผนไทย, บริการ PP Fee schedule โดย คุณภาคภูมิ คนรู้ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

งบค่าบริการทางแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว OP PP, บริการผู้ป่วยนอกเหตุสมควร (OP Anywhere) , บริการผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉินข้ามจังหวัด , สิทธิการรักษา อปท. โดย คุณนาฏญา สังขวัฒน์ ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ และคุณนุจรินทร์ เนื่องสมศรี นักบริหารกองทุน

การยืนยันตัวตนในการเข้ารับบริการ ระบบ Authen โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การขอเข้าใช้โปรแกรม Username password โดย คุณณัฐพล ชัยศิริถาวรกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม Moph Claim โดย คุณภาวิกา ภัทรธิชาสกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การส่งข้อมูลเบิกชดเชยค่าบริการ eClaim ออนไลน์ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดทำข้อมูลยามาตรฐาน Drug catalogue โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม KTB โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบการตรวจสอบ audit โปรแกรม Audit PP โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การตรวจสอบการได้รับงบประมาณ รายงานการโอนงบประมาณ Smart Money Transfer , รายงาน Statement ,การส่งใบเสร็จ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบ Monitor ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แนะนำองค์กรและการประสานงาน โดย คุณอภิศักดิ์ เข็มพิลา ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางบันทึกบัญชีกรณีสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ให้รพ.สต.ที่ถ่ายโอนฯ

0 0
Read Time:4 Minute, 28 Second

แนวทางปฏิบัติการบันทึกบัญชีกรณีสนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุอื่นให้กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี(สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)

ตามที่ได้มีการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖. พรรษา นวมินทราชินี (สอน.)และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รต.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้ แก่องค์ กรปกครองส่วนท้ องถิ่ น และตามหนังสือที่ อ้างถึง กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพได้มีประชุมหารือเกี่ยวกับกรอบแนวทางการบันทึกบัญชีหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เพื่อให้หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีแนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี เป็นไปในทางเดียวกันช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยประชาชนคงยังได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง นั้น

ในการนี้ ที่ประชุมได้มีแนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี กรณีหน่วยบริการสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุอื่น ให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รต.สต.) ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ดังนี้

  • ๑. กรณีหน่วยบริการประจำ ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ปรับปรุงรายการส่วนที่สนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นสำหรับ สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน โดยใช้ชื่อบัญชี เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.) รหัสบัญชีแยกประเภท (๒๑๑๑๐๒๐๑๙๙.๒๐๗)
  • ๒. กรณีหน่วยบริการประจำ ยังไม่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC ตามข้อ ๑. ให้บันทึกบัญชีโดยใช้ชื่อบัญชี เงินกองทุน UC จ่ายล่วงหน้า รหัสบัญชีแยกประเภท (๑๑๐๖๐๑๐๑๐๓.๒๐๑) และเมื่อได้รับเงินโอนจัดสรร จึงปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตามคู่มือบัญชี หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ หน้า ๑๒๘

แนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี กรณีสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (อบจ.)ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กิจกรรม แนวทางบันทึกบัญชี
1.เมื่อหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC OP/PP (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสปสซ.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัด กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ดำเนินการปรับปรุงรายการ กันส่วนที่เป็นมูลค่าสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นสำหรับ สอน./รพ.สต. (อบจ.)
เดบิต เงินรับฝากกองทุน UC
[2111020199.201]
เครดิต เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.)
[2111020199.207]
2.หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ได้สนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สอน./รพ.สต. (อบจ.)เดบิต เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.)
[2111020199.207]
เครดิต ยา/เวชภัณฑ์มิใช่ยา/วัสดุ…
[1105010103.102-.107,1105010105.105-.115]

หมายเหตุ

  1. กรณีหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ยังไม่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC OP/PP ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปและค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสปสช. ให้บันทึกบัญชี โดยใช้ชื่อบัญชีเงินกองทุน UC จ่ายล่วงหน้า รหัสบัญชีแยกประเภท (1106010103.201) และเมื่อได้รับเงินโอนจัดสรรจึงปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตามคู่มือบัญชี หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2561 หน้า 128 ต่อไป
  2. กรณีหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ยังไม่ได้บันทึกบัญชี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายการสนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน ให้ปรับปรุงบัญชี ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วยมูลค่ายา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่ น ที่ได้สนับสนุนให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (อบจ.) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เดือนมกราคม 2566

รายการผังบัญชีที่กำหนดเพิ่มขึ้นระหว่างปีงบประมาณ 2566

รหัสบัญชีแยกประเภท ชื่อบัญชีคำอธิบาย
2111020199.207เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และ รพ.สต. (อบจ.)มูลค่ายา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นที่หน่วยงานกันไว้สนับสนุน สอน.และรพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ซึ่งได้รับไว้ในลักษณะเงินกองทุน UCจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อสนับสนุนด้านเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ให้กับหน่วยบริการผู้มีสิทธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ปี2566

0 0
Read Time:54 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับประชาชน ปี 2566

  • คุณสมบัติของผู้มีสิทธิบัตรทอง
  • ตรวจสอบสิทธิด้วยตนเอง
  • ช่องทางลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ
  • เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนเลือกหนว่ยบริการประจำ
  • หน่วยบริการ คืออะไร
  • การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข
  • การบริการที่คุ้มครอง ครอบคลุมบริการที่จำป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
  • ช่องทางติดต่อสอบถามมีปัญหา
  • ใช้สิทธิบัตรทอง ร้องเรียน ร้องทุกข์
  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค*
  • การรักษาพยาบาล โรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูง
  • บริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่
  • 4 นโยบายยกระดับบัตรทองสู่หลักประกันสุขภาพยุคใหม่
  • สปสช. ดูแลสุขภาพผู้สูงวัย
  • สิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
  • รู้จัก…กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • ใครบ้างมีสิทธิขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • แผนที่แสดงการจัดพื้นที่ในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 1-13
  • ที่อยู่และการติดต่อสปสช. เขต 1-13
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รวมแบบสอบทานระบบควบคุมภายใน 39 เรื่อง ปี 2566

0 0
Read Time:3 Minute, 58 Second

แบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปีงบประมาณ 2566 โดย กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • ๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบการควบคุมภายใน
  • ๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ติดตามการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ
  • ๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน บริหารความเสี่ยง
  • ๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินบริจาคและเงินเรี่ยไร
  • ๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินตามโครงการเงินกู้ โควิด 19
  • ๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินยืมราชการ
  • ๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินทดรองราชการ
  • ๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการ
  • ๑๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
  • ๑๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าสาธารณูปโภค
  • ๑๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ฉ.๕
  • ๑๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วย บริการ P4P
  • ๑๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข (พ.ต.ส.)
  • ๑๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเงิน
  • ๑๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
  • ๑๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน e-payment
  • ๑๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เจ้าหนี้
  • ๑๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุง
  • ๒๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร
  • ๒๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
  • ๒๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบ GFMIS
  • ๒๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง
  • ๒๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายประจำของหน่วยบริการ OP IP PP
  • ๒๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  • ๒๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินต่างด้าว
  • ๒๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินกองทุนประกันสังคม
  • ๒๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน จัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล
  • ๒๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
  • ๓๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยเงินบริจาค
  • ๓๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน งบลงทุน (UC)
  • ๓๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-Market
  • ๓๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-bidding
  • ๓๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-bidding (๕๐๐ ล้านบาทขึ้นไป)
  • ๓๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารพัสดุ
  • ๓๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีคัดเลือก
  • ๓๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง
  • ๓๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ๓๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน แผนเงินบำรุง

ไฟล์แบบสอบทานรายด้าน

อ้างอิงจาก

คู่มือ/แนวทางการตรวจสอบภายใน สำหรับคณะกรรมการตรวจสอบภายในภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือแนวทางตรวจสอบภายในปี2566

0 0
Read Time:1 Minute, 9 Second

การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือที่สำคัญของฝ่ายบริหาร ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายในขององค์กร ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานตรวจสอบภายในประสบความสำเร็จ คือ ผู้บริหารสามารถนำผลการตรวจสอบภายในไปใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มและความสำคัญแก่องค์กร ฉะนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ตรวจสอบภายใน และคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายใน ควรมีความเข้าใจถึงภาพรวมเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในความรู้ในองค์กร ความรู้ในหลักการและวิธีการตรวจสอบรวมทั้งต้องปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานการตรวจสอบ ที่ยอมรับโดยทั่วไป

ในการจัดทำคู่มือการตรวจสอบภายในสำหรับพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เกิดจากการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน ขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบ การจัดทำกระดาษทำการตรวจสอบ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การรายงานผลการตรวจสอบที่มีอยู่ให้เกิดเป็นรูปธรรม ผู้จัดทำจึงได้รวบรวมความรู้และนำประสบการณ์ที่ได้จากการตรวจสอบมาจัดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในและคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ควรรู้และต้องปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตรวจสอบซึ่งผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเกิดประโยชน์แก่ผู้ตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน และคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำหลักการปฏิบัติงานไปใช้ในการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมให้ระบบการตรวจสอบภายในเข้มแข็งเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ 2566

0 0
Read Time:3 Minute, 17 Second

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อให้ข้อมูลรายงานทางการเงินมีความน่าเชื่อถือ พัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ด้วยการประเมินระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงาน ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เกิดการกำกับดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ

จากนโยบายดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของหน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการ ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ให้ครอบคลุมทุกระดับของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ระดับจังหวัด ระดับเขต และพัฒนาแนวทาง การตรวจสอบสำหรับภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน โดยสร้างระบบการตรวจสอบและพัฒนาผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายใน ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจแนวทางปฏิบัติงานของภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจการตรวจสอบภายในตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ และเป็นการพัฒนาสมรรถนะภาคีเครือข่าย ให้มีประสบการณ์ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำไปปรับใช้ภายในหน่วยงานตนเองได้ และเพื่อยกระดับ การตรวจสอบขยายขอบเขตการตรวจสอบภายในให้ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลผลิต และผลลัพธ์ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน
ในการดำเนินการดังกล่าว จึงได้มีการจัดทำแนวทางการตรวจสอบภายใน และแบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปี 2566 ไว้เป็นคู่มือปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน สำหรับภาคีเครือข่ายหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เอกสารประกอบการประชุม

แบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปี 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version