เอกสารอบรมAuditเขต5

0 0
Read Time:54 Second

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพการบันทึกเวชระเบียนและการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน (Audit) ของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 5 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2566
ณ ห้องประชุม โรงแรมลองบีช ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

  • วิทยากรได้แก่
  • นายแพทย์บริรักษ์ เจริญศิลป์ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลสวรรค์ ประชารักษ์
  • นายแพทย์กรกฤษณ์ เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับงานเวชระเบียน
  • หลักการบันทึกเวชระเบียน
  • หลักการให้รหัสโรค หัตถการ การผ่าตัด ตามมาตรฐานสากล
  • เกณฑ์การตรวจประเมินและการในให้คะแนนคุณภาพ การบันทึกเวชระเบียน
  • แนวทางการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน (Audit)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

0 0
Read Time:1 Minute, 3 Second

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จึงสมควรกำหนดอัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ วรรคสาม (๒) (ก) (ง) แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อ ๗ วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราซการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค .๔๐๒.๓/๑๓๘๙๔ ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าบริการในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

0 0
Read Time:51 Second

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าบริการในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่ เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราค่าบริการในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ
อาศัยอำนาจตามความในบหนิยามของคำว่า “เงินบำรุง” (๒) ๒.๘ ในข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อ ๖ วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อบรมกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์

0 0
Read Time:23 Second

การอบรมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เรื่องกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้โครงการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องแกรนด์พาวินเลี่ยน โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกข้อมูล PP Fee Schedule

0 0
Read Time:2 Minute, 7 Second

อบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกข้อมูล PP Fee Schedule ๒๒ รายการ ภายใต้โครงการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการ ในเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖

โดย นายพิทักษ์ชัย จิตรมั่น เจ้าพนักงานเวชสถิติชานาญงาน หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป่าหมายได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บรายได้ หน่วยบริการทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 7

กำหนดการ

  • บรรยายเรื่อง “กองทุน PP บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน (PP&NPP, PPA, PP basic service)”
    • บริการคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening)
    • บริการตรวจคัดกรองและค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง
    • บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
    • บริการตรวจยีน BRCA๑/8RCA๒ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์
    • บริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่องTandem mass spectrometry (TMS)
    • บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
    • บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
    • บริการวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT) ในผู้ใหญ่
    • บริการเคลือบฟลูออไรด์ (กลุ่มสี่ยง)
  • บรรยายเรื่อง “การบริหารกองทุน OP ผู้ป่วยนอก”
    • กองทุนบริการ Telehealth
    • กองทุนบริการ ส่งยาทางไปรษณีย์
    • กองทุน OP-AE, OP-Anywhere, OP-Refer, OP-Walk in,
    • กองทุนไตวายเรื้อรัง HD/CAPD
    • กองทุน DM HT GDM PDM
    • กองทุน HIV
    • กองทุน TB
    • กองทุน Instrument
    • กองทุน palliative care
    • กองทุน ฟื้นฟู /IMC
    • กองทุน จิตเวชชุมชน
    • กองทุน แพทย์แผนไทย/บริการกัญชา
    • กองทุน OP Covid-๑๙
    • กองทุน OP ODS
    • กองทุน CA
    • กองทุน Home Ward
    • กองทุน รากฟันเทียมสำหรับผู้ไม่มีฟันทั้งปาก
  • บรรยายเรื่อง “การบริหารกองทุน IP ผู้ป่วยใน”
    • ผู้ป่วยใน ในเขต ข้ามเขต
    • ผู้ป่วยใน โรคเฉพาะ
    • ผู้ป่วยใน Covid-19
    • ผู้ป่วยใน ทารกแรกเกิดที่มีความดันปอดสูง
    • ผู้ป่วยใน บริการสำรองเตียง
    • ผู้ป่วยใน MIS
    • ผู้ป่วยใน ORS
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดข้อเข้าเทียม
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดต้อกระจก OP/IP
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ ปี 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 23 Second

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการทุกสิทธิ
ประจำปี 2566
ในวันที่ 6-7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมศรีจันทร์ (ชั้น4)
โรงแรมเจริญธานี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

วาระประชุมประกอบด้วย

  • กล่าวเปิดโครงการ และบรรยายพิเศษนโยบายการดำเนินงานด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการจังหวัดขอนแก่น โดย นายแพทย์อภิชัย ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง การจัดทำแผนเงินบำรุงและระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ สำหรับผู้บริหาร”
  • อภิปราย เรื่อง “การจัดทำแผนเงินบำรุงและใช้งานแผนเงินบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมแผนเงินบำรุงสำหรับผู้บริหาร และระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronic Internal Audit : EIA)”
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพ Total Performance Score และการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ”
  • อภิปราย เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง” ในการบริหารจัดการด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงคุ้มครองสิทธิปี66

0 0
Read Time:17 Second

เอกสารประกอบการ ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ปีงบประมาณ 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี (พ.ศ. 2566)

0 0
Read Time:42 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี (พ.ศ. 2566)

รัฐบาลจัดให้มี “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาสุขภาพและเป็นค่าบริการสาธารณสุขช่วยให้คนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิตตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ทำหน้าที่บริหารกองทุนตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการฯ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงกรณี เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ สิทธิUC

0 0
Read Time:46 Second

ชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฉุกเฉินภาครัฐ ในวันที่ 24 เมษายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.

  • แนวทางการดำเนินการ กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่” ในหน่วยบริการภาครัฐ นายแพทย์เติมชัย เต็มยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช.
  • หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณี UCEP ภาครัฐ
  • การบันทึกข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในโปรแกรม e-Claim ฝ่ายบริหารหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล
  • แนวทางการตรวจสอบเวชระเบียน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แจ้งเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลPP Fee Schedule

0 0
Read Time:2 Minute, 54 Second

แจ้งเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้หน่วยบริการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เพื่อรับค่าใช้จ่ายในระบบ e-Claim และ NPRP นั้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลและการประมวลผลในการจ่ายค่าใช้จ่ายฯดังกล่าว สปสช.จึงได้มีการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีการจ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) จำนวน ๑๖ รายการผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

เพื่อให้การรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สปสช. จึงขอแจ้งกำหนดการเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบu Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

  • ให้หน่วยบริการเร่งรัดส่งข้อมูลการให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP ภายในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๖
  • ๒) ข้อมูลการบริการตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๖ และข้อมูลที่ให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP (ตามข้อ ๑) ได้ทันเวลาที่กำหนด สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ KTB

ทั้งนี้ ได้มีการประชุมชี้แจงแนวทางการรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีดังกล่าวให้แก่หน่วยบริการเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้เปิดให้มีการทดสอบระบบบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมดังกล่าว โดยหน่วยบริการสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ได้ที่ http://eclaim.nhso.go.th หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Provider center หมายเลขโทรศัพท์ 02-554-0505

รายการบริการ PP FS ที่บิกผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

  • ๑.บริการฝากครรภ์
  • ๒.บริการการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์
  • ๓.บริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์
  • ๔.บริการการคัดกรองธาลัสซีเมียและการคัดกรองซิฟิลิสในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์
  • ๕.การทดสอบการตั้งครรภ์
  • ๖.การตรวจหลังคลอด
  • ๗.บริการคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening)
  • ๘.บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ๙.บริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Fit test)
  • ๑๐.บริการเคลือบฟลูออไรด์ (กลุ่มสี่ยง)
  • ๑๑.บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ๑๒.บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
  • ๑๓.บริการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  • ๑๔.บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • ๑๕.บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
  • ๑๖.บริการแว่นตาเด็กที่มีสายตาผิดปกติ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version