การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

0 0
Read Time:1 Minute, 25 Second

การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ – การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

  • วัตถุประสงค์ สนับสนุนให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่เข้ารับการบริการให้การปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ ได้รับการบริการการดูแลรักษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
  • กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิว่าง หรือประชาชนกลุ่มเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 (Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017) หรือที่มีประกาศเพิ่มเติม
  • ขอบเขตบริการ สำหรับการพัฒนาคุณภาพระบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โดยเป็นการจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพแก่หน่วยบริการที่ให้บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

แนวทางการบริหารการจ่ายค่าใช้จ่ายบริการ
เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยบริหาร
วงเงินที่ส่วนกลาง และพิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการตามผลงานบริการและตัวชี้วัด ดังนี้

  1. จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสภายในวันเดียวกับการวินิจฉัย (Same day ART)
  2. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่ได้รับยาต้านไวรัส

คุณสมบัติหน่วยบริการที่ให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์
หน่วยบริการที่สามารถขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จะต้องเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านการขึ้นทะเบียน หรือผ่านการประเมินศักยภาพตามที่ สปสช. กำหนด

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

0 0
Read Time:4 Minute, 0 Second

บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี -การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์

  • วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และชักนำให้เข้าสู่ระบบบริการของกลุ่มประชากรหลัก (Key Population) ลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มประชากรหลัก กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อฯ ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ รวมการนำร่องบริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP)
  • กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ และอยู่ในกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มประชากรหลัก (Key Population) เช่น กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย สตรีข้ามเพศ พนักงานบริการหญิง พนักงานบริการชาย ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด และกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงที่เกิดการกระจายและแพร่เชื้อ หรือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น ผู้ต้องขัง หญิงตั้งครรภ์ เยาวชน พนักงานในสถานประกอบการ ประชาชนในชุมชนที่มีความเสี่ยง (พ่อบ้านแม่บ้าน) เป็นต้น ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย โดยคณะทำงานร่วมระหว่าง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิจัย โรคเอดส์ สภากาชาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การกำหนดชุดบริการเป็นไปตามบริบทของพื้นที่ จำนวนกลุ่มประชากรเป้าหมาย และความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหา

ขอบเขตบริการ ประกอบด้วย

  1. บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เป็นการบริการเพื่อให้มีการเข้าถึงและชักนำประชากรหลัก (Key Population) ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงให้เข้ารับบริการ การสร้างความต้องการในการรับบริการผ่านเครือข่ายสังคมและเครือข่ายสุขภาพ การขยายบริการเชิงรุกการตรวจเอชไอวี และบริการถุงยาง อนามัยสำหรับใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี มีกิจกรรม หลัก ดังนี้
    • 1.1 บริการค้นหากลุ่มเสี่ยง (Reach)
    • 1.2 บริการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่ระบบบริการ VCT (Recruit)
    • 1.3 บริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (Test)
    • 1.4 บริการส่งต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระบบบริการ (Treat)
    • 1.5 บริการติดตามผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มเสี่ยง (Retain)
  2. บริการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี เป็นบริการสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับคู่ของผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงอื่น การติดตามผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี เช่น การให้คำปรึกษา การคัดกรอง การค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง การใช้ยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง การเยี่ยมบ้าน การพบปะประชุมกลุ่มย่อยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น โดยกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ ปฏิบัติงานในศูนย์องค์รวมร่วมกับหน่วยบริการ
  3. นำร่องบริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP) ครอบคลุมการให้คำปรึกษาการให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเพื่อรับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยนำร่องบริการในกลุ่มเสี่ยงสูงทุกกลุ่มในพื้นที่ที่มีความพร้อม ทั้งนี้ ควรมีการรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสนับสนุนให้มีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างกว้างขวางรวมถึงและการตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควบคู่ไปกับการรณรงค์สร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อประสิทธิภาพของการป้องกัน และไม่ทำให้พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยลดลง หรือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเพิ่มขึ้น

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการ

  • การจ่ายค่าใช้จ่ายให้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด และตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับเงิน การจ่ายเงินการรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ตามคำสั่ง คสช.) โดยประกอบด้วย 3 รายการ ดังนี้
    1. บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการ/หน่วยงาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามคำสั่ง คสช.คู่สัญญาที่รับดำเนินงานตามข้อตกลง/สัญญาดำเนินงานตามโครงการ/โครงการ
    2. บริการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี จัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการ/หน่วยงานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามคำสั่ง คสช.คู่สัญญาที่รับดำเนินงานตามข้อตกลง/สัญญาดำเนินงานตามโครงการ
    3. นำร่องบริการยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) สปสช. พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้หน่วยบริการที่ผ่านการประเมินความพร้อมการให้บริการตามที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สปสช.กำหนด

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง

0 0
Read Time:2 Minute, 47 Second

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ – บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง

  • วัตถุประสงค์ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อให้แก่ผู้อื่น
  • กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิว่าง หรือประชาชนกลุ่มเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 (Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017) หรือที่มีประกาศเพิ่มเติม

ขอบเขตบริการ ประกอบด้วย

  1. บริการการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส และยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานยาต้านไวรัส สำหรับบริการดังนี้
    • 1.1 ยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา
    • 1.2 ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก (Prevention of Mother to Child Transmission: PMTCT)
    • 1.3 ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีภายหลังสัมผัสโรคในกรณีสัมผัสเชื้อเอชไอวีจากการทำงานการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV occupational Post-Exposure Prophylaxis:HIV oPEP)
    • 1.4 ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสที่ไม่ใช่จากการทำงานเฉพาะกรณีเป็นผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (HIV non-occupational Post-Exposure Prophylaxis: HIV nPEP)
    • 1.5 ยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานยาต้านไวรัส
    • 1.6 บริการการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยหรือติดตามการรักษา เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 (Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017) หรือที่มีประกาศเพิ่มเติมรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการเจาะเลือด และค่าขนส่งเพื่อส่งตัวอย่างตรวจ
  2. บริการให้คำปรึกษา และตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (Voluntary counseling and testing: VCT) สำหรับบริการ ดังนี้
    • 2.1 การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV antibody testing)
    • 2.2 การให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มาขอรับบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (Voluntary counseling)
  3. สนับสนุนการให้บริการรักษาและให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการติดตามการรักษาที่หน่วยบริการ
  4. สนับสนุนถุงยางอนามัยแก่ผู้ที่เข้ารับบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการติดตามการรักษาที่หน่วยบริการ
  5. บริการตรวจคัดกรอง และตรวจยืนยันไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดที่มารับบริการ VCT ทั้งนี้ การจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการ

  1. แนวทางการรับยาและเวชภัณฑ์ กรณีรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหาฯ ให้หน่วยบริการได้รับจากเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ ยกเว้น หน่วยบริการที่ไม่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ ได้รับเป็นค่าชดเชยค่ายาและเวชภัณฑ์ ตามอัตราที่ สปสช. กำหนด สำหรับรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหาฯ ให้หลักเกณฑ์การจ่าย เป็นไปตามบทที่ 8
  2. แนวทางการจ่ายค่าบริการให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ (Voluntary counseling and testing: VCT) การตรวจทางห้องปฏิบัติการเอชไอวี ไวรัส ตับอักเสบซี จ่ายเป็นค่าบริการตามผลงานการให้บริการ อัตราการชดเชย ตามที่ สปสช.กำหนด หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

0 0
Read Time:1 Minute, 36 Second

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ปี 2564

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตเนื่องจากโรคเอดส์
  2. ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่
  3. ลดการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารก
  4. ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ เพิ่มการเข้าถึงการบริการของกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง และการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มคุณภาพการรักษาและป้องกันการแพร่เชื้อโรคให้กับผู้อื่น

วงเงินงบที่ได้รับ

งบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นงบประมาณที่ได้รับแยกจากระบบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรเป็นงบประมาณเพื่อบริการ ประเภทบริการต่างๆ ดังนี้

ประเภทบริการ จำนวนเงิน (ล้านบาท)
1.บริการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสและบริการที่เกี่ยวข้อง 3,405.5113
2.บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี250.8394
3.การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์20.0000
รวม 3,676.3507

ทั้งนี้ ให้ สปสช. สามารถเกลี่ยเงินระหว่างประเภทบริการได้ตามศักยภาพของระบบบริการ

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

ตัวชี้วัดในการกำกับติดตามและประเมินผล มีดังนี้

  1. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสภายในวันเดียวกับการวินิจฉัย (Same day ART)
  2. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่ที่ได้รับยาต้านไวรัส
  3. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่สามารถกดปริมาณไวรัสลงได้ ≤1,000 copies/ml
  4. ค่ามัธยฐานของ CD4 ครั้งแรกของผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลังได้รับการวินิจฉัย
  5. ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เสียชีวิตภายในปีแรกหลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
  6. ร้อยละของผู้รับประทานยาต้านไวรัสที่ขาดการติดตามการรักษา
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริการแบบประคับประคอง และการดูแลผู้ป่วยโรคหายาก

0 0
Read Time:1 Minute, 2 Second
  • การบริการแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นการจ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่จัดบริการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน ตามกลุ่มโรคที่ สปสช.และกรมการแพทย์ร่วมกันกำหนดเพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต ได้รับบริการแบบประคับประคองที่บ้านอย่างมีคุณภาพ ตามคู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้ายที่กรมการแพทย์กำหนด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ร่วมกับครอบครัวและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อราย ให้แก่หน่วยบริการที่ลงทะเบียนและให้การดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ตามระยะเวลาที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลที่บ้านจนถึงเสียชีวิต
  • การดูแลผู้ป่วยโรคหายาก สำหรับโรคที่มีความผิดปกติของโมเลกุลเล็ก (Disorder of small molecules) เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบริการการตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงตามเงื่อนไข บริการการตรวจยืนยัน บริการรักษาพยาบาล การติดตามผลการรักษา และค่าพาหนะส่งต่อและส่งกลับไประหว่างหน่วยบริการและชุมชนโดยให้มีการจัดระบบเป็นการเฉพาะโดยจ่ายแบบเหมาจ่ายและหรือตามรายการบริการ ให้กับหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการให้บริการ

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การดูแลผู้ป่วยวัณโรค

0 0
Read Time:3 Minute, 14 Second

วัตถุประสงค์

  1. ลดอัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค
  2. เพิ่มความครอบคลุมในการค้นหาและการเข้าถึงบริการดูแลรักษาของผู้ป่วยวัณโรค
  3. สนับสนุนการจัดบริการการดูแลรักษาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา (RR-TB/MDR-TB) และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Pre-XDR-TB/XDR-TB) การตรวจวินิจฉัยและ การติดตามการรักษาวัณโรคและวัณโรคดื้อยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ขอบเขตบริการ

ผู้มีสิทธิขอรับบริการสามารถลงทะเบียนเพื่อรับบริการได้ ณ หน่วยบริการประจำ ของตนเอง แต่หากมีความจำเป็นก็สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ สปสช.จ่ายชดเชยบริการตามสิทธิประโยชน์แก่หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยตามผลงาน ส่วนค่าชดเชยบริการอื่นที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตบริการรวมอยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว หรือเป็นไปตามประกาศของ สปสช.หน่วยบริการที่สามารถขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขได้ ต้องเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านการขึ้นทะเบียนหรือผ่านการประเมินศักยภาพตามที่ สปสช.กำหนด

กรอบการบริหารจัดการ

บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค เป็นไปตามแนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 (National Tuberculosis control Program Guideline, Thailand 2018: NTP 2018) และที่ปรับปรุงเพิ่มเติม ประกอบด้วย

  1. บริการดูแลรักษาด้วยยาวัณโรคและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ทั้งนี้ การพิจารณาเลือกการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค เป็นไปตามรายการที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ)
    • 1.1. บริการดูแลรักษาด้วยยารักษาวัณโรค
      • 1.1.1 บริการดูแลรักษาด้วยยารักษาวัณโรคสูตรพื้นฐาน
      • 1.1.2 บริการดูแลรักษาด้วยยารักษาวัณโรคสูตรดื้อยา
        • 1) ยารักษาวัณโรคดื้อยา (RR-TB/MDR-TB)
        • 2) ยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Pre-XDR-TB/XDR-TB)
    • 1.2. บริการตรวจและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง
      • 1.2.1 บริการตรวจการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อายุ ≤ 18 ปี
      • 1.2.2 บริการยารักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อายุ ≤ 18 ปี
    • 1.3. บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยหรือติดตามการรักษา
      • 1.3.1 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยวัณโรค
      • 1.3.2 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานเพื่อการติดตามการรักษาวัณโรค
      • 1.3.3 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา (First line drugs และ Second line drugs)
      • 1.3.4 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อการติดตามการรักษาวัณโรคดื้อยา
    • 1.4. บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่มารับการรักษาและติดตาม ครอบคลุมกิจกรรมบริการ ได้แก่ บริการดูแลรักษา การติดตามการรักษา บริการให้คำปรึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค บันทึกข้อมูล และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. บริการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค สนับสนุนบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และนำเข้าสู่ระบบการดูแล รักษาแต่เนิ่นๆ โดยการค้นหาวัณโรคในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อวัณโรค และการค้นหาแบบเข้มข้น ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อวัณโรค เน้นดำเนินการค้นหาแบบเข้มข้น โดยคัดกรองหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้ต้องขัง และกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค
  3. บริการกำกับการกินยา ครอบคลุมกิจกรรมบริการติดตามการรักษาผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่อง การกำกับการกินยาของผู้ป่วย (Directly Observed Treatment: DOT) เพื่อให้กินยาครบถ้วนต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีของผู้ป่วยวัณโรค
    ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล
ระดับเขตผ่านกลไกคณะทำงานวิชาการด้านเอดส์และวัณโรคระดับเขต โดยมีตัวชี้วัดที่ใช้กำกับติดตาม ดังนี้

  1. อัตราผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา (RR-TB/MDR-TB)
  2. อัตราผู้ต้องขังได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรคในเรือนจำ
  3. อัตราผลสำเร็จของการรักษา (Sucess rate)
  4. อัตราการขาดการรักษา (Default rate)
  5. อัตราเสียชีวิต (Death rate)
Happy
1 50 %
Sad
1 50 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

0 0
Read Time:1 Minute, 2 Second
  • เป็นการจ่ายเพิ่มเติมสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงได้รับเลือดและหรือยาขับเหล็กตามความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวม และเพื่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงระดับจังหวัด/เขต โดยจ่ายให้แก่หน่วยบริการเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวตามระบบ OP/IP ปกติ แบ่งเป็น 2 รายการ ดังนี้
    • 1.1 จ่ายชดเชยค่ายาขับเหล็กชนิดรับประทาน คือ ยา Deferasirox ตามข้อบ่งชี้ โดยอ้างอิงตามเงื่อนไขจากคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ กำหนด
    • 1.2 จ่ายแบบเหมาจ่าย ภายใต้วงเงิน Global Budget ระดับปะเทศ ตามจำนวนผู้ป่วยที่ลงทะเบียนในโปรแกรมระบบบูรณการการคัดกรองการตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด (National Perinatal Regristry Portal) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดบริการ ดังนี้ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hemoglobin และหรือ Hematocrit ก่อนการให้เลือดทุกครั้ง การให้เลือด การตรวจ Serum ferritin จำนวน 4 ครั้งต่อปี ยาขับเหล็กทั้งชนิดฉีด คือ ยา Desferrioxamine (Desferal) และยาขับเหล็กชนิดรับประทาน คือยา Deferiporne (L1, DFP)
  • ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ปี2564 (บริการกรณีเฉพาะ)

0 0
Read Time:5 Minute, 50 Second

กรณีที่จำเป็นต้องกำกับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด เป็นการจ่ายเพิ่มเติมสำหรับ

  1. ค่าบริการสารเมทาโดนระยะยาว (Methadone Maintenance Treatment) สำหรับผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เป็นผู้ติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่นที่สมัครใจเข้าถึงบริการให้สารเมทาโดนระยะยาวทดแทนการใช้ยาเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธุ์ของฝิ่นตามมาตรฐานการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวของกระทรวงสาธารณสุข
    โดยจ่ายให้หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ตามหลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ และมีแพทย์ผู้ทำการบำบัดรักษาผ่านการอบรมหรือมีประสบการณ์การรักษาผู้ติดยาเสพติดเฮโรอีนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
  2. ยาที่จำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี จ(2) และยาที่มีปัญหาการเข้าถึงรวมยากำพร้า โดยในปีงบประมาณ 2564 อาจเป็นการสนับสนุนในรูปแบบของยารายการต่างๆ หรือจ่ายเป็นค่าชดเชยค่ายาและหรือค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยเพื่อใช้ยานั้นๆ แนวทางการรับยาและเวชภัณฑ์ กรณีรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหาฯ ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามบทที่ 8
    • 2.1 ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี จ(2)
      ยาบัญชี จ(2) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีจำนวน 27 รายการ ดังรายการ

ทั้งนี้ ต้องมีเงื่อนไขการสั่งใช้ยาตามข้อบ่งใช้ คุณสมบัติของแพทย์ผู้สั่งใช้ยาและหน่วยบริการตามแนวทางการกำกับการใช้ยาในบัญชี จ(2) ของบัญชียาหลักแห่งชาติ (สามารถ Download แนวทางกำกับการใช้ยาในบัญชี จ(2) ได้ที่ Website บัญชียาหลักแห่งชาติ หรือเป็นไปตามประกาศของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยกเว้น กรณียา Docetaxel และยา Letrozole ซึ่งเดิม สปสช.มีการกำหนดแนวทางการจ่ายชดเชยให้กับหน่วยบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงของผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงกำหนดให้หน่วยบริการที่จะขอเบิกชดเชยยา Docetaxel และ Letrozole สามารถใช้เงื่อนไขของหน่วยบริการ และเงื่อนไขคุณสมบัติแพทย์ตามข้อกำหนดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการรักษาโรคมะเร็งตามโปรโตคอลได้

  • สำหรับรายการยาในบัญชี จ(2) 5 รายการ ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้ดำเนินการชดเชยให้กับหน่วยบริการตามระบบบริหารจัดการยาบัญชี จ(2) ได้แก่
  • 1) Erythropoietin injection สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้สิทธิรับบริการล้างไตทางช่องท้อง (CAPD) และฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
  • 2) Deferasirox tab ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษา กรณี Transfusion Dependent Thalassemia ใช้เป็นยารักษาลำดับแรกในผู้ป่วยอายุ 2-6 ปี และใช้เป็นยารักษาลำดับที่ 2 ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไปที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือมีผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษาด้วยยา Deferiprone หน่วยบริการจะได้รับการสนับสนุนชดเชยค่ายาโดยเบิกจากโปรแกรม National Perinatal Registry Portal (NPRP)
  • 3) Raltegravir ใช้ร่วมกับ Darunavir ในสูตรยาที่ 3 (DRV/r +RAL+TDF+3TC) ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ล้มเหลวจากการรักษามาแล้ว 2 ครั้ง และมีการดื้อยามากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป คือ ดื้อต่อสูตรพื้นฐาน และสูตรที่ 2 ตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีของประเทศ และที่คณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติกำหนด
  • 4) Dolutegravir tab 50 mg ใช้รักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีที่ดื้อต่อยาสูตรพื้นฐานและสูตรที่ 2 ตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติกำหนด
  • 5) Donepezil tab เป็นยาในบัญชียาจ(2) ที่ค่าใช้จ่ายด้านยาจัดสรรรวมอยู่ในบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป

หมายเหตุ

  1. กรณีที่มีการปรับเปลี่ยนรายการยาหรือเงื่อนไขและแนวทางกำกับการสั่งใช้ยาบัญชี จ(2) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะดำเนินการกำหนดสิทธิประโยชน์ และแจ้งรายละเอียดให้หน่วยบริการรับทราบเพื่อถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป สำหรับรายการยาบัญชี จ(2) ที่มีการปรับออกจากบัญชียาหลักแห่งชาติ ระหว่างปีงบประมาณ แต่มีผู้ป่วยที่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาจนครบการรักษา (เฉพาะการสั่งใช้ต่อเนื่องในผู้ป่วยรายเดิม) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาให้ผู้ป่วยจนครบการรักษาตามที่บัญชียาหลักแห่งชาติกำหนดไว้เดิม
  2. แนวทางการจ่ายชดเชยค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยเพื่อใช้ยาบัญชี จ(2) บางรายการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการชดเชยยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี จ(2) ตามแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

เงื่อนไขการรับบริการ

  • 1) ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสิทธิว่าง ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 2) มีผลการวินิจฉัย/การรักษา ตรงตามข้อบ่งใช้หรือเข้าเกณฑ์การสั่งใช้ยาตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับปัจจุบัน

คุณสมบัติของแพทย์ และหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ

  • 1) เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 2) มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัญชียาหลักแห่งชาติ และคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการรักษาโรคมะเร็งตามโปรโตคอลการชดเชยค่ารักษาโรคมะเร็งตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

การเบิกชดเชยค่าตรวจทางห้องปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องใช้ระบบการขอชดเชย หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 และอ้างอิงแนวทางการกำกับสั่งใช้ยาบัญชี จ(2) ของบัญชียาหลักแห่งชาติ

  • 2.2 ยา Clopidogrel สำหรับยา Clopidogrel ได้ปรับแนวทางการจ่ายตามรูปแบบที่จ่ายเป็นเงิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขปีงบประมาณ 2564

หมายเหตุ:

  • เงื่อนไขการสั่งใช้ยา เป็นไปตามที่บัญชียาหลักแห่งชาติกำหนด
  • กรณีผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับเซรุ่มต้านพิษงูจงอาง และเซรุ่มต้านพิษงูสามเหลี่ยม ให้เบิกเซรุ่มต้านพิษงูรวมระบบประสาท (Polyvalent antivenom for neurotoxin) ทดแทน
  • คณะอนุกรรมการยากำพร้าฯ พิจารณาตัดยา Esmolol inj. ออกจากรายการยากำพร้า เนื่องจากมีวิธีการรักษาอื่นที่ได้ผลทดแทน ในปีงบประมาณ 2559 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงตัดรายการยาดังกล่าวออกจากชุดสิทธิประโยชน์อย่างไรก็ตาม หน่วยบริการยังสามารถเบิกยาเดิมที่มีอยู่ในระบบได้จนยาหมด หรือหมดอายุ ทั้งนี้ หากมีผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวหน่วยบริการสามารถประสานศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีหรือศูนย์พิษวิทยา รพ.ศิริราช เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยได้
ทั้งนี้ ยาในโครงการสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยคนไทยทุกสิทธิการรักษาพยาบาล โดย สปสช.จะดำเนินการหักยอดทางบัญชีกับหน่วยงานต้นสังกัด (กรมบัญชีกลาง และสำนักงานประกันสังคม) ในภายหลัง

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ยาที่มีปัญหาการเข้าถึงรวมยากำพร้า

0 0
Read Time:1 Minute, 22 Second

ยาที่มีปัญหาการเข้าถึงรวมยากำพร้า มีจำนวน 16 รายการ คือ

ลำดับที่ รายการยาข้อบ่งชี้
1.Dimercaprol inj.ใช้รักษาพิษจากโลหะหนัก ได้แก่ Arsenic, Gold, Mercury, Lead, Copper
2.Sodium nitrite inj.Cyanide poisoning, Hydrogen sulfide
3.Sodium thiosulfate inj.Cyanide poisoning
4.Methylene blue inj.Methemoglobinaemia, Toxic encephalopathy จากยา lfosfamide
5.Botulinum antitoxin inj.รักษาพิษจาก Botulinum toxin
6.Diphtheria antitoxin inj.รักษาโรคคอตีบ จาก Diphtheria toxin
7.Succimer cap.ภาวะพิษจากตะกั่ว
8.Calcium disodium edetate inj.ใช้รักษาพิษจากโลหะหนัก
9.Diphenhydramine inj.ใช้บำบัดภาวะ Dystonia เนื่องจากยา
10.เซรุ่มต้านพิษงูเห่าแก้พิษงูเห่า
11.เซรุ่มต้านพิษงูเขียวหางไหม้แก้พิษงูเขียวหางไหม้
12.เซรุ่มต้านพิษงูกะปะแก้พิษงูกะปะ
13.เซรุ่มต้านพิษงูแมวเซาแก้พิษงูแมวเซา
14.เซรุ่มต้านพิษงูทับสมิงคลาแก้พิษงูทับสมิงคลา
15.
16.

หมายเหตุ:

1.เงื่อนไขการสั่งใช้ยา เป็นไปตามที่บัญชียาหลักแห่งชาติกำหนด
2.กรณีผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับเซรุ่มต้านพิษงูจงอาง และเซรุ่มต้านพิษงูสามเหลี่ยม ให้เบิกเซรุ่มต้านพิษงูรวมระบบประสาท (Polyvalent antivenom for neurotoxin) ทดแทน
3.คณะอนุกรรมการยากำพร้าฯ พิจารณาตัดยา Esmolol inj. ออกจากรายการยากำพร้า เนื่องจากมีวิธีการรักษาอื่นที่ได้ผลทดแทน ในปีงบประมาณ 2559 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงตัดรายการยาดังกล่าวออกจากชุดสิทธิประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หน่วยบริการยังสามารถเบิกยาเดิมที่มีอยู่ในระบบได้จนยาหมด หรือหมดอายุ ทั้งนี้ หากมีผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวหน่วยบริการสามารถประสานศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีหรือศูนย์พิษวิทยา รพ.ศิริราช เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยได้
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี จ(2)

0 0
Read Time:3 Minute, 34 Second

ยาบัญชี จ(2) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีจำนวน 27 รายการ ได้แก่

ยาบัญชี จ(2)ข้อบ่งใช้
1) Botulinum toxin type A inj. ขนาด 100 iu/vial และ 500 iu/vial-โรคคอบิดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Cervical dystonia)
-โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Hemifacial spasm)
-โรค Spasmodic dysphonia
2) Leuprorelin inj.ขนาด 11.25 mg/syringe-ภาวะ Central precocious puberty
3) Immunoglobulin G Intravenus (IVIG) ขนาด 2.5 g/vial และ 5.0 g/vial-โรคคาวาซากิระยะเฉียบพลัน (Acute phase of Kawasaki disease)
-โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ (Primary immunodeficiency diseases)
-โรค Immune thrombocytopenia ชนิดรุนแรง
-โรค Autoimmune Hemolytic Anemia (AIHA) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามขั้นตอนของมาตรฐานการรักษาและมีอาการรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
-โรค Guillain-Barre syndrome ที่มีอาการรุนแรง
-โรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายระยะวิกฤต (Myasthenia Gravis, Acute Exacerbation หรือ Myasthenic Crisis)
-โรค Pemphigus vulgaris ที่มีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน
-โรค Hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH)
-โรค Dermatomyositis (กรณี Secondary treatment) โรคChronic Inflammatory Demyelinating Polyradiculoneuropathy (CIDP)
4) Docetaxel inj. ขนาด 20 mg/vial และ 80 mg/vial-มะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นหรือลุกลาม ที่มีปัญหาโรคหัวใจ
-มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย
-ใช้เป็น Second-line drug สำหรับโรคมะเร็งปอด ชนิด Non-small cell ระยะลุกลาม
5) Letrozole tab ขนาด 2.5 mg-มะเร็งเต้านมที่มี HER 2 receptor เป็นบวก
6) Liposomal ampho-tericin B inj. ขนาด 50 mg/vial-โรค Invasive fungal infection (ที่ไม่ใช่ Aspergillosis) ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อยา Conventional amphotericin B inj.
7) Bevacizumab inj.-Age-related macular degeneration (AMD)
-โรค จุดภาพชัดจอตาบวมจากเบาหวาน (Diabetic Macular Edemna)
-โรค Retinal Vein Occlusion (RVO)
8) voriconazole tab,inj.-ภาวะ Invasive aspergillosis
-ภาวะ Invasive fungal infection จากเชื้อ Fusorium spp., Scedosporium spp.
9) Thyrothropin alfa inj.-Differentiated thyroid cancer (Papillary and/or follicular thyroid carci-noma)
10) Peginterferon inj. ทั้งรูปแบบ Alpha 2a และ Alpha 2b-การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (สายพันธุ์ 3)
11) Ribavirin tab-ใช้ร่วมกับ Peginterferon ในกรรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง (สายพันธุ์3)
12) Antithymocyte globulin inj. ชนิด rabbit-ภาวะไขกระดูกฝ่อรุนแรง (Severe aplastic anemnia)
13) Linezolid tab – ภาวะการติดเชื้อ Methicillin Resistant Staphylococcus aureus (MRSA)
14) Imiglucerase inj.– Gaucher syndrome ชนิดที่ 1
15) Trastuzumab inj. – มะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น (Early stage breast cancer)
16) Nilotinib– เป็น Second-line treatment สำหรับ Chronic myeloid leukemia (CML) ที่ไม่สามารถใช้ยา Imatinib ได้
17) Dasatinib– ใช้สำหรับ Chronic myeloid leukemia (CML) ที่ไม่สามารถใช้ยา Imatinib หรือNilotinib ได้
18) Factor VIII – โรคเลือดออกง่าย (Hemophilia ชนิด A) และวอนวิลลิแบนด์ ชนิดรุนแรงมาก
19) Factor IX– โรคเลือดออกง่าย (Hemophilia ชนิด B)
20) Micafungin Sodium Sterile pwdr inj.-ใช้รักษา Invasive candidiasis ที่ดื้อต่อยา Fluconazole หรือไม่สามารถใช้ Conventional amphotericin B ได้
21) Rituximab inj.-Non-Hodgkin lymphoma ชนิด Diffused Large B-Cell Lymphoma (DLBCL) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
22) Sofosbuvir 400 mg tab-ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง สายพันธ์ุ 3 ร่วมกับ Peginterferon alfa (ชนิด 2a หรือ 2b) และ Ribavirin
23) Sofosbuvir 400 mg Ledipasvir 90 mg tab (สูตรผสมในเม็ดเดียว)-ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง สายพันธ์ุ 1, 2, 4 และ 6
24) Imatinib 100 mg-ใช้รักษา Chronic myeloid leukemia (CML)
-Gastrointestinal stromal tumors (GISTs) ระยะลุกลามหรือมีการกระจายของโรค
25) Erlotinib 150 mg tab/cap-รักษามะเร็งปอดชนิด Non small cell
26) Octreotide acetate injection 20, 30 mg ชนิดออกฤทธิ์เนิ่น-รักษา Acromegaly ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกหรือฉายแสงแล้วระดับ GH และ IGF ยังสูงอยู่
27) Triptorelin inj. ขนาด11.25 mg mg/syringe-ภาวะ Central precocious puberty

ทั้งนี้ ต้องมีเงื่อนไขการสั่งใช้ยาตามข้อบ่งใช้ คุณสมบัติของแพทย์ผู้สั่งใช้ยาและหน่วยบริการตามแนวทางการกำกับการใช้ยาในบัญชี จ(2) ของบัญชียาหลักแห่งชาติ (สามารถ Download แนวทางกำกับการใช้ยาในบัญชี จ(2) ได้ที่ Website บัญชียาหลักแห่งชาติ ) หรือเป็นไปตามประกาศของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

จาก คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564

พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2563
Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version