Read Time:20 Second
ประชุมชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.
ประชุมชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.
สรุปมติ และข้อสั่งการ
(ภาพและวาระการประชุม)
ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO)
หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.
ประเด็น :
วงเงิน 52,427,222.19 บาท ตามจัดสรรตามสัดส่วนประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ณ 1 เมษายน 2564 โดยจัดสรรให้หน่วยบริการนอกสังกัด จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.ศรีนครินทร์ มข. และ รพ.ค่ายศรีพัชรินทร รวม 1,573,432.61 บาท คงเหลือจัดสรรให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. จำนวน 50,853,789.58 บาท
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตามจ่าย OP Refer นอกจังหวัด 20 ล้านบาท และ ตามจ่าย OP Refer/OP AE ในจังหวัด 120 ล้านบาท
โรงพยาบาลชุมแพ ได้รับจัดสรรงบ จำนวน 5,178,140.02 บาท
ขอให้หน่วยบริการทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการกำกับติดตามในเรื่องของสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้
คณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เสนอขอให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)
รายงานผลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : ElA)
ตามแผนการตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้กำหนดแผนการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ทุกหน่วย บริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นั้น
การปฏิบัติงานกลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการ
ตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งสรุปผลการตรวจสอบภายในภาพรวมจังหวัดขอนแก่น ดังนี้
ผลการประเมินการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังโดยระบบ (Electronics Internal Audit : EIA)จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๒๖ แห่ง
สรุปผลการประเมินภาพรวม ผลการดำเนินงานในภาพรวมของระดับจังหวัด ผลคะแนนร้อยละ ๘๐.๓๕ อยู่ในเกณฑ์ดี จากการตรวจสอบในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) พบว่าในแต่ละมิติมีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ มิติด้านการเงิน ร้อยละ ๘๓.๕๓ มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ ๘๐.๕๒ มิติด้านงบการเงิน ร้อยละ ๗๗.๓๘ มิติด้านบริหารพัสดุ ร้อยละ ๗๔.๐๒ และมิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ ๘๕.๖๘
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกฏ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงทักษะในการปฏิบัติงานไม่ซัดเจนเพียงพอ ส่งผลให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในบางประเด็นทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีการสอบทานยืนยันยอดระหว่างกัน และขาดความระมัดระวังรอบคอบในการปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่มีการจัดวางระบบในการส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน และไม่มีการตรวจสอบชุดเอกสารก่อนจัดส่งไปยังส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเอกสารสูญหายหน่วยงานจะไม่สามารถตรวจสอบติดตามเอกสารนั้นได้ เพราะไม่มีข้อมูลการส่งต่อเอกสารระหว่างกัน ขาดการกำกับ ติดตาม อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของหน่วยงานไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องรับภาระความเสี่ยงจากระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุม และการเบิกจ่ายที่ชุดเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องตามระเบียบ เนื่องจากขาดเอกสารในบางส่วน อาจส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบด้วยเช่นกัน
ผู้ประเมิน
นางสาวสุชานาถ ทินวงศ์
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ผู้ตรวจสอบประจำเขตสุขภาพที่ ๗
นำเสนอคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น
ประจำเดือนสิงหาคม 2564
ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประมวลผลโดยสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 พบว่าจังหวัดขอนแก่น มีหน่วยบริการที่อยู่ในวิกฤติระดับ 4-7 จำนวน 2 แห่งโดยเป็นระดับ 4 คือ รพ.พระยืนและรพ.ภูผาม่าน โดยข้อมูลรายแห่งตามตารางด้านล่าง
แบบรายได้(ไม่รวมงบลงทุนและรายได้อื่น(ระบบบัญชีบันทึกอัตโนมัติ)และไม่รวมรายได้ UC)
และค่าใช้จ่าย(ไม่รวมค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย)
ที่มา : จากระบบรายงานการโอนเงิน ( NHSO Budget) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/ ข้อมูล ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2564
วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมแพทย์แผนไทยสสจ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลานพ.สสจ.ขอนแก่น ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการ ม.41 จ.ขอนแก่น ครั้งที่9/2564 มีคำร้องเข้าพิจารณา 4 คำร้องมีมติ ดังนี้
**กรณีที่2)และ3)ถือเป็นเหตุสุดวิสัยฯเนื่องจากไม่มีหลักฐานสนับสนุนการตัดท่อนำไข่
การประชุมสรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 ผ่าน Application CiscoWebX วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
http://planfda.fda.moph.go.th/newplan/meetrh1/training_description.php?agenda_description=93
วันที่ 9 ส.ค. 2564; เวลา 8.30 น.-16.30น. ณ.ห้องประชุมนภาลัยโรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้ นายแพทย์อดุลย์ บำรุง( นายแพทย์เชี่ยวชาญเวชกรรมป้องกัน) และ กลุ่มงานประกันสุขภาพ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ ”โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนและสร้างอัตลักษณ์การจัดการสุขภาพชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2564 “ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ปลัด /หัวหน้าสำนักปลัด/ท้องถิ่นอำเภอ/ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพของ สสอ.และ รพ.ของพื้นที่อำเภอ
ภายหลังการนำเสนอพื้นที่ต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก นายแพทย์เรืองศิลป์ เถื่อนนาดี และน.ส.วนิดา วิระกุล ที่ได้มาร่วมอภิปรายผลการนำเสนอผลงานของพื้นที่ต้นแบบ นี้ ส่งผลให้พื้นที่ๆได้เข้าร่วมประชุม ได้เรียนรู้ ทางผู้จัดขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทั้ง 3 ท่านที่ช่วยแนะนำ ขัดเกลา ให้มีความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการกองทุนฯในบริบทตนเองเพิ่มขึ้น และจะนำไปพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนให้ครอบคลุมทั้ง 4 ตัวชี้วัดของโครงการ อย่างต่อเนื่องยั่งยืนตลอดไป
ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมไม้นวดมหัศจรรย์แก้ปวดเมื่อย
ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น วันที่ 9 ก.ค. 2564 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ วาระประกอบด้วย
ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โดยยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพในการรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่มีความพร้อมและการย้ายหน่วยบริการได้ ๔ ครั้งต่อปีได้สิทธิทันที (ไม่ต้องรอ ๑๕ วัน) ทั้งนี้ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขสู่การปฏิบัติ เขตสุขภาพที่ ๗ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ในการขับเคลื่อนนโยบายยกระดับ ทั้ง ๔ เรื่อง โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป นั้น
สำหรับนโยบายข้อที่ ๑ ด้านประชาชนที่เจ็บบ่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ได้มีการขยายพื้นที่ดำเนินการในพื้นที่เขตภาคอีสาน (เขต ๗ ๘ ๙ และ เขต ๑๐) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งประกาศ เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกาศ ณ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ ผู้เข้ารับบริการสามารถใช้สิทธิบริการสาธารณสุขเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการอื่นนอกจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เขตภาคอีสาน ให้ถือเป็นกรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งตัว ตามเงื่อนไขที่กำหนด และได้แจ้งแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ สำหรับพื้นที่รอยต่อยังให้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงเดิมของแต่ละพื้นที่ โดยให้หน่วยบริการถีอปฏิบัติตั้งแต่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในการใช้บริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่ายในพื้นที่เขตภาคอีสาน โดยจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการตามจริงไม่เกิน 70- บาท/Visit ทั้งนี้ สำหรับกรณีการใช้บริการนอกเครีอข่ายหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิ ประเภทผู้ป่วยนอก ในจังหวัด กำหนดให้เป็นไปตามข้อตกลงของจังหวัด ดังนั้น กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงได้เสนอผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (กวป.) ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ กำหนดอัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก เพิ่มเติมกรณีที่มีเหตุสมควร ระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น อัตราจ่ายตามจริงไม่เกิน 70 บาท/Visit อัตราจ่ายเช่นเดียวกันกับในเขตพื้นที่ภาคอีสาน โดยตามจ่ายด้วยเงินกองทุน OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น