กรมบัญชีกลางปรับหลักเกณ์เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

0 0
Read Time:3 Minute, 25 Second

ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๖๒
ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖

อ้างอิงถึง

๑. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๓ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๒. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๓๔ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
๓. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๘๕ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
๔. หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๑๖.๒/ว ๑๒๒ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒

สิ่งที่ส่งมาด้วย

๑. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๒. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย (ปรับปรุงครั้งที่ ๑)
๓. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma
๔. แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib ในโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย
๕. รายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา

ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑ – ๔ กรมบัญชีกลางได้กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยาซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง และดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง นั้น
กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม จำเป็น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างสมเหตุผล ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล .ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

  • ๑. ปรับปรุงรายการยาและเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาในโครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา (ระบบ OCPA) ดังนี้
    • ๑.๑ ปรับปรุงเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายา Sorafenib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ระยะแพร่กระจาย รายละเอียดปรากฎตาม สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ ๒
    • ๑.๒ กำหนดเพิ่มรายการยา Lenvatinib ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ ชนิด hepatocellular carcinoma (HCC) และโรคมะเร็งไทรอยด์ ระยะแพร่กระจาย พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขข้อบ่งชี้ในการเบิกจ่ายค่ายาดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ และ ๔ โดยสถานพยาบาลจะต้องดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้ทำการรักษา และผู้ป่วย และส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ OCPA เพื่อขออนุมัติเบิกค่ายา หรือขอต่ออายุการเบิกค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยาตามแนวทางที่หน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมบัญขีกลางกำหนด และให้เบิกจ่ายค่ายาในระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น รวมทั้งการใช้ยาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบ่งขี้ที่กำหนด จึงจะสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้
  • ๒. ผู้มีสิทธิไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib ทุกรูปแบบ ขนาดและความแรง มายื่นเบิกเงินกับส่วนราชการต้นสังกัดได้ หากสถานพยาบาสมีการออกใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าวให้แจงรายละเอียดชื่อรายการยา โดยระบุเป็น “ค่ายาที่เบิกไม่ได้” และไม่ให้มีการออกใบรับรองในการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ๓. กำหนดอัตราเบิกจ่ายค่ายา Lenvatinib และ Sorafenib รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๕ โดยให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราที่กำหนด และให้ใช้กับการรักษาทุกข้อบ่งซี้ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป อนึ่ง สามารถดาวน์โหลดหลักเกณฑ์ แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา รวมทั้งรายการและอัตราเบิกจ่ายค่ายา ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ – ๕ ได้ที่เว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ รักษาพยาบาล/ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล/รายการยาที่กรมบัญชีกลางกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกกรณีผู้ป่วยโควิดสิทธิข้าราชการ

0 0
Read Time:16 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID
การปรับอัตราค่ารักษา ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว 805
ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565
โดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ(สกส.) 18 กรกฎาคม 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อบรมนักบัญชีรุ่นใหม่ 2565

0 0
Read Time:26 Second

อบรมนักบัญชีรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 วันที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 8.30 – 16.30 น. ห้องประชุม 1 กศภ.
Hosted by กองเศรษฐกิจสุขภาพฯ กศภ.

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่าบริการผู้ป่วยนอกกรมบัญชีกลางล่าช้า

0 0
Read Time:2 Minute, 10 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยผู้ป่วยนอก กรณีส่งเบิกล่าช้าเกิน 1 ปี ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว79 ลงวันที่ 31 มกราคม 2565 จากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)

การบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง ว79 (31 ม.ค. 65) เรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายดรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกของสถานพยาบาลทางราชการ กรณีส่งเบิกล่าช้าเกิน 1 ปี โดยประกาศให้สถานพยาบาลสามารถบิกค่ารักษาฯ กรณีที่เกิน 1 ปีใด้ สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ในฐานะหน่วยงานที่รับข้อมูลการเบิกจ่าย ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  1. สำหรับธุรกรรมที่เกิดก่อนวันที่ 4 พ.ค. 2561 (ก่อนที่จะเริ่มใช้ระบบ EDC)
    • 1.1 กรณีที่สถานพยาบาลเตยส่งเบิกมาก่อน
      • ธุรกรรมที่เคยติด C มาก่อน สกส. ใช้ Invno เป็น key กรณีที่สถานพยาบาลมีการเปลี่ยน Invn0 ในการแก่ C ให้ดำเนินการตามข้อ 1.2
      • สถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 – 31 ก.ค. 2565
    • 1.2 กรณีที่สถานพยาบาลไม่เคยส่งเบิกมาก่อน
      • สถานพยาบาลบันทึกสำเนาเวชระเบียนเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ลงแผ่น CD แล้วส่งไปที่กรมปัญชีกลาง และขอทำข้อตกลงและพิจารณาเป็นรายกรณี
  2. สำหรับธุรกรรมที่เกิดในช่วงวันที่ 4 พ.ด. 2561 – 31 ธ.ค. 2563
    • 2.1 สำหรับธุรกรรมที่มี เลข AppCode แล้ว
      • กรณีที่สถาน พยาบาลยังไม่เคยส่งเบิกมาก่อน สถานพยาบาลสามารถส่งเปิกได้ โดยไม่ต้องขออุทธรณ์
      • สกส. จะเวันการตรวจ AppCode เฉพาะรหัส A04 (จำนวนเงินไม่ตรงกับที่แจ้งไว้กับเครื่อง edc) เท่านั้น หากติด C ด้วยรหัส AppCode ๆ ให้สถานพยาบาลดำาเนินการตามข้อ 2.2
      • สถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 – 31 ก.ค. 2565
    • 2.2 สำหรับธุรกรรมที่ยังไม่มีเลข AppCode
      • สถานพยาบาลบันที่กสำเนาเวชระเบียนเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ลงแผ่น CD แล้วส่งไปที่กรมบัญชีกลาง และขอทำข้อตกลงและพิจารณาเป็นรายกรณี
  3. สำหรับธุรกรรมที่เกิดในช่วงวันที่ 1 ม.ค. 2564 – 31 ธ.ค. 2564
    • สถานพยาบาลส่งข้อมูลเบิกได้ภายใน 1 ปี 6 เดือน นับจากวันรับบริการ
    • กรณีที่สถานพยาบาลส่งลำช้าเกินกว่า 1ปี 6 เดือน สกส. ตรวจตัด C รหัส C33
      • C33: ส่งล่าช้ากว่า 1 ปี 6 เดือน สำหรับธุรกรรมที่เกิดช่วงวันที่ 1 ม.ค. 64 – 31 ธ.ค. 64
หมายเหตุ : หากพ้นกำหนดระยะเวลาที่กำหนด หรือระยะเวลาที่ขยาย สถานพยาบาลฯ จะไม่สามารถส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกเงินและกรมบัญชีกลางจะไม่รับพิจารณาคำขออนุมัติทุกกรณี
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรณี การเบิกค่ายากลับบ้าน

0 0
Read Time:37 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรณี การเบิกค่ายากลับบ้านแยกต่างหาก จากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว1202 (2 ธ.ค. 64)

แนวทางการบันทึกข้อมูลนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศ ของกรมบัญชีกลางเรื่องหลักกณฑ์การเบิเงินค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่กำหนดให้การเบิกยากลับบ้าน ให้เบิกแยกต่างหากจากค่ารักษาผู้ป่วยในระบบ DRGs ซึ่งในระยะแรกกรมบัญชีกลางได้กำหนดให้เบิกในผู้ป่วยนอกตาม ว182 (29 เม.ย. 59) นั้น และได้มีประกาศ ว1202 ให้ยกเลิกการส่งข้อมูลในผู้ป่วยนอก

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ

3 ธันวาคม 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่ารักษาตามประกาศกรมบัญชีกลาง กรณีโควิด

0 0
Read Time:8 Minute, 2 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาล ที่เบิกผ่าน สกส.
ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว102, , ว130 , ว565 (หลักเกณฑ์การเบิก ในสถานการณ์ COVID-19 )

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ
21 ธันวาคม 2563

แนวทางการบันทึกข้อมูลนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการเบิกค่ารักษาพยาบาล ตามประกาศ ของกรมบัญชีกลาง เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 หรือ โควิด19 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส. ในฐานะหน่วยงานที่รับงานการเบิกจ่ายขอกำหนดแนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกดังนี้

1.รายการที่ให้เบิกตามประกาศฯ ข้อ4 และข้อ 5

ใช้รหัสรายการกรตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ชุด, ค่าห้องและค่ายาตามรายการและอัตราที่กำหนดในตาราง

กลุ่มCSCODEคำอธิบายอัตรา
121401ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย ต่อวันตามจริงไม่เกิน 2,500
2.1045001ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (เฉพาะธุรกรรมก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2563)ตามจริงไม่เกิน 540
2.2045002ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรดูแลผู้ป่วยตามจริงไม่เกิน 740
3.1
3.2
3.3
3.4
3.5
3.6
3.7
3.8
3.9
3.10
3.X
รหัส TPUID ในระบบ TMTcholoquine
hydroxycholoquine
darunavir
favipiravir
lopinavir + ritonavir
oseltamivir
remdesivir
ritonavir
tocilizumab
azithromycin
(ยาอื่นที่ใช้กับกรณีนี้ได้ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ)
ตามจริงไม่เกิน 7,200
4.136590SARS coronavirus 2, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.236591SARS coronavirus 2 N gene, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.336592SARS coronavirus 2 RdRp gene, qualitative RT-PCRตามจริงไม่เกิน 2,200*
4.436593SARS coronavirus 2 IgG Ab [+1-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.536594SARS coronavirus 2 IgM Ab [+/-] in Serum or Plasma by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.636595SARS coronavirus 2 IgG+IgM Ab [ +1-] in Serum or Plasma by Immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.736596SARS coronavirus 2 Ag [+1-] in Respiratory specimen by Rapid immunoassayตามจริงไม่เกิน 1,200
4.X(Lab อื่นที่พัฒนาขึ้นใหม่ ซึ่ง สกส. จะทยอยประกาศ)ตามจริงไม่เกิน 1,200
5ไม่กำหนดค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื่อบนรถส่งต่อตามจริงไม่เกิน 3,700

หมายเหตุ:รายการในกลุ่ม 4 ได้รวมค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการแล้ว
*ปรับราคาลดลงจากตามจริงไม่เกิน 3,000 เหลือตามจริงไม่เกิน 2,200 และได้รวมค่าชุด PPE สำหรับเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างไว้ด้วย ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 63 เป็นต้นไป

2.เงื่อนไขและข้อมูลการวินิจฉัยที่ต้องที่ระบุไว้ในธุรกรรม

2.1 รหัสเงื่อนไขที่ระบุว่าเป็น COVID
เงื่อนไขที่ใช้ระบุว่าเป็น COVID-19 คือ “COV-19”
2.2 รหัสวินิจฉัย (ICD-10)
กรณีรักษาแบบ OPD สงสัยเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่แสดงอาการหรืออาการไม่รุนแรง
Z115: Special screening examination for other viral disease
เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease
การวินิจฉัยโรคอื่นที่พบในผู้ป่วยในครั้งเดียวกันนี้ก็บันทึกการวินิจฉัยตามปกติ ทั้งนี้อาการที่ให้รหัสเพิ่มอาจเกี่ยวข้องกับการดิดเชื่อ COVID หรือไม่ก็ได้ เช่น ไข้,คอแดง, ปวดเมื่อย เป็นต้น

กรณีรักษาแบบ OPD ตรวจติดตามหลังการรักษา

  • Z098: Follow-up examination after other treatment for other conditions
  • เมื่อได้ผลตรวจกลับแล้วจึงส่งเบิก
  • หากผลเป็นลบ ไม่มีรหัสเพิ่มเติม
  • หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส U07.1: 2019 nCoV virus disease

กรณีรับเป็นผู้ป่วยใน

  • มีอาการปอดติดเชื้อเป็นอาการสำคัญ
  • J12.8: Other virus pneumonia
  • ถ้ามีอาการอื่นๆ
  • รหัส ICD 10 ของโรค/อาการนั้นๆ
  • ผลการตรวจ COVID เป็นการชี้ชัดเหตุของอาการ
  • หากผลเป็นลบ ไม่มีหัสเพิ่มเติม
  • หากผลตรวจเป็นบวก มีการติดเชื้อให้เพิ่มรหัส
    • U07.1: 2019 nCoV virus disease
    • B97.2: Coronavirus as the cause of diseases classified to other chapters
  • หากมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ให้เพิ่มรหัส J96.0x: Acute respiratory failure

3.การบันทึกข้อมูลเบิกในธุรกรรมเบิก

3.1 การรักษา กรณี OPD

  • การบันทึกธุรกรรมเบิกผู้ป่วยนอกใช้ระบบ CSOP รุ่น 0.93
  • ระบุรายการเบิกค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรเก็บตัวอย่าง (กลุ่ม2.1) (เฉพาะธุรกรรมก่อน 1 ธ.ค.2563/ และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ใน
  • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน BilTran.AuthCode
  • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
  • หมายเหตุ กรณีได้ส่งเบิกผ่านไปแล้วก่อนประกาศนี้ สถานพยาบาลสามารถส่งรายการเบิกเพิ่มได้ โดยสร้างธุรกรรมเบิกใหม่ ใช้ Invno ใหม่ และอ้างอิง Approval Code ของธุรกรรมที่เบิกผ่านไปแล้ว

3.2 การรับเป็นผู้ป่วยใน

  • 3.2.1 กรณีรักษาในสถานพยาบาล
  • 3.2.1.1 โปรแกรม CSMBS
    • ต้องปรับปรุงแฟ้ม MedEquipdev และบันทึกธุรกรรมเบิกหมวดค่าใช้ต่างๆ ดังนี้
    • ค่าห้องดูแลโรคติดต่ออันตราย(กลุ่ม1) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 1
    • ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
    • ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
    • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
  • 3.2.1.2 ระบบ CIPN
    • ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
    • ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
  • 3.2.2 กรณีรักษาในสถานที่พักฟื้นเพื่อรอจำหน่าย
  • 3.2.2.1 โปรแกรม CSMBS
    • การเบิกค่ารักษาในกรณีอยู่ในสถานที่พักฟื้นรอการจำหน่าย
    • สถานพยาบาลต้องจำหน่ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลในข้อ 3.2.1
    • ในสถานที่พักฟื้น ให้รับเป้นผู้ป่วยใน โดยใช้ HN เดิม และ AN ใหม่ จากข้อ 3.2.1
    • ให้เลือกเบิกเป็น ประเภทบริการ/รักษา เลือก “อื่น ๆ” ช่อง type ระบุ “CO”
    • ค่าชุด PPE (กลุ่ม2) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 2
    • ค่ายา(กลุ่ม3) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 3
    • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ(กลุ่ม4) ให้บันทึกในหน้าค่ารักษาหมวดที่ 7
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ในหน้า รับ/จำหน่าย ช่อง ProjectCode
    • ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ในหน้า วินิจฉัย/ห้ตถการ ช่อง จากward เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ในหน้า วินิจฉัย/หัตถการ
  • 3.2.2.2 ระบบ CIPN
    • ข้อมูลการเบิกในแฟ้ม
    • ระบุรายการเบิกตามตารางในข้อ 1. ไว้ใน
    • ระบุรหัสเงื่อนไขข้อ 2.1 ใน ClaimAuth.ProjectCode
    • ระบุ “CO” ใน ClaimAuth.ServiceType
    • ระบุการวินิจฉัยตามข้อ 2.2 ใน
    • ระบุ 4 หลักสุดท้ายของรหัสสถานพยาบาลพักฟื้นชั่วคราว ใน IPADT.dischWard เช่น รหัส “XM001” ระบุค่า “M001”

3.3การเบิกค่ารถส่งต่อ

  • 3.3.1 การเบิกค่ารถส่งต่อ ค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
    • เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ตามปกติ โดยระบุข้อมูลเพิ่มเดิมดังนี้
    • ให้เลือก (คลิก )กรณี “อุบัติเหตุหรือฉุกเฉินในภาวะวิกฤติ”
    • เหตุผลที่ส่งต่อที่ 1. ระบุเป็น “COVID-19”
    • เหตุผลที่ส่งต่อที่ 2. ระบุจำนวนเงินที่ขอเบิกค่าชุด PPE และค่าทำความสะอาดเชื้อบนรถส่งต่อ
  • 3.3.2 การเบิกค่ารถ กรณีส่งต่อเพื่อไปสถานที่พักฟื้น
    • เบิกผ่านระบบเบิกค่ารถส่งต่อ(AmbtrCS)ปกติตามข้อ 3.3.1 ซึ่งรวมกรณีส่งต่อจากสถานที่พักฟื้นไปสถานพยาบาลด้วย โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
    • สกส. ออกรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวสำหรับสถานที่พักฟื้นเป็นการเฉพาะ สถานพยาบาลแจ้งขอ/ตรวจสอบรหัสสถานพยาบาลชั่วคราวได้ที่ www.chi.or.th
    • ให้ใช้รหัสชั่วคราว เป็นรหัสถานพยาบาลต้นทาง หรือปลายทางแล้วแต่กรณี
    • สถานพยาบาลที่เป็นเจ้าของรถส่งต่อ ไม่ใช่หัสสถานพยาบาลชั่วคราว
    • สำหรับขั้นตอนส่งข้อมูล,เอกสารตอบรับ,Statement และคำขอเบิก เป็นแนวทางเดียวกันกับแต่ละระบบใช้อยู่เป็นปกติ

4.การเบิกค่ายา กรณีส่งยาให้ผู้ใช้สิทธิทางไปรษณีย์

  • การส่งยาทางไปรษณีย์หรือการรับยานอกสถานพยาบาล เป็นมาตรการลดการแพร่กระจายของโรคในสถานการณ์โรคติดต่อร้ายแรง ไม่ได้เจาะจงกับโรค COVID19 นี้
  • แนวทางนี้ใช้เฉพาะกิจตามข้อ 8 ในประกาศฯ กับผู้ป่วยที่ไม่ได้มาสถานพยาบาลเท่านั้น เมื่อมีการพัฒนาแนวทางการนยันการรับยาใหม่ขึ้นมา ก็จะมีการประกาศปรับเปลี่ยนให้ทราบเพื่อใช้แทน
  • แนวทางการทำธุรกรรม
  • ส่งข้อมูลเบิกผ่านระบบ CSOP รุ่น 0.93
  • ธุรกรรมที่เบิก เป็นค่าใช้จ่ายค่ายาตามระบบปกติ เท่านั้น
  • Approval Code ให้ดำเนินการผ่านระบบ KTB Corporate Online โดยบันทึกเหตุผลว่า “ส่งยา”
  • ให้ใส่ Tracking Number ในช่อง BillTran.VerCode ต่อท้าย Approval Code โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย “:”

5.การเบิกกรณีที่เข้าข่าย ORS

  • สกส.จะประมวลผลข้อมูลกรณีเข้าข่าย ORS ตามวิธีการและแนวปฏิบัติดาม ว187 (17 พ.ค. 2556) โดยจะปรับค่า Outlier Loss Threshold (OLT) ของแต่ละสถานพยาบาลให้ลดลงร้อยละ 70 ของค่า OLT เดิม ทั้งนี้เฉพาะกรณีการรักษาผู้ป่วยในที่จำหน่ายดั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.63 และมีการวินิจฉัยเป็น COVID-19
  • เมื่อสถานพยาบาลได้รับแจ้งกรณีที่เข้าข่าย ORS จาก สกส. ให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2. ของ ว187 (17 พ.ค. 2556 ) ขั้นตอนการพิจาณา ORS และการจ่ายชดเชย จะเป็นไปดามกระบวนการ ORS

ไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Happy
4 80 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 20 %
Surprise
0 0 %

แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Adalimumab/Infliximab

0 0
Read Time:5 Minute, 45 Second

แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Adalimumab/Infliximab ข้อบ่งใช้โรค Behcet (Behcet’s disease), Noninfectious necrotizing scleritis,Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease)

แพทย์และสถานพยาบาลที่ต้องการใช้ Adalimumab/Infiximab จะต้องมีระบบอนุมัติการเบิกจ่ายค่ายาคุณสมบัติของสถานพยาบาล และคุณสมบัติของแพทย์ผู้ทำการรักษา เป็นไปตามที่กำหนด

  1. การขออนุมัติการเบิกจ่ายค่ายา ให้ขออนุมัติการเบิกจ่ายค่ายา Adalimumab/Infiximab จากระบบ Uveitis (pre-authorization) โดยให้สถานพยาบาลลงทะเบียนแพทย์ ผู้ป่วย และส่งข้อมูลรายละเอียดการรักษาตามโปรโตคอลที่กำหนด ก่อนการขออนุมัติทุกครั้ง โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
    • 1.1 อนุมัติให้เบิกจ่ายค่ายานาน 6 เดือนต่อครั้ง
    • 1.2 เนื่องจากผู้ป่วยอาจตอบสนองหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ดังนั้นหลังการอนุมัติครั้งแรกให้เพทย์ผู้รักษาบันทีกผลของการรักษา ยืนยันประโยชน์ของการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยนั้นเพื่อขออนุมัติการเบิกจ่ายในครั้งถัดไป
    • 1.3 การเปลี่ยนยาจาก Inftliximab เป็น Adalimumab หรือในทางกลับกัน สามารถทำได้เมื่อใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งแล้วพบว่าไม่มีการตอบสนองที่ 6 เดือน หรือเกิดผลข้างเคียงจากยาอย่างมีนัยสำคัญ หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายการยาของโรงพยาบาล โดยต้องทำเรื่องขออนุมัติใหม่
  2. คุณสมบัติของสถานพยาบาลและแพทย์ผู้ทำการรักษา สถานพยาบาลที่มีการใช้ยาต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยมีจักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในนุสาขาจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบที่ได้รับการรับรองโดยราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และมีแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่พร้อมจะดูแลรักษาปัญหาแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดจากโรคและ/หรือการรักษา
  3. เกณฑ์อนุมัติการเบิกจ่ายค่ายา เกณฑ์การอนุมัติการเบิกจ่ายค่ายา Adalimumab/Infiximab ข้อบ่งใช้โรค Behcet (Behcet’s disease),Noninfectious necrotizing scleritis, Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease) มีดังนี้
    • 3.1 เกณฑ์การวินิจฉัย
      • 3.1.1 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Behcet (Behcet’s disease) ตามเกณฑ์ Behcet’s Disease Research Committee: Clinical research section recommendation, Jpn J Ophthalmol 1974, 18:291-4 หรือ International Study Group for Behcet’s Disease: Criteria for Diagnosis of Behcet’s Disease, Lancet 1990, 335:1078-80 หรือ
      • 3.1.2 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Noninfectious necrotizing scleritis ตามเกณฑ์ Watson and Harreh. Scleritis and Episcleritis. Br J Ophthalmol. 1976;60(3):163-91. หรือ
      • 3.1.3 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Ocular sarcoidosis ตามเกณฑ์ International Criteria for the Diagnosis of Ocular Sarcoidosis: Result of the First International Workshop on Ocular Sarcoidosis (IWOS). Ocular Immunol Inflamm. 2009;17(3):160-9. หรือ
      • 3.1.4 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Vogt Koyanagi Harada (VKH disease)ตามเกณฑ์ Revised diagnostic criteria for Vogt Koyanagi Harada disease: Report of an International Committee on Nomenclature. Am J Ophthalmol. 2001;131(5):647-52
    • 3.2 ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน ได้แก่ methotrexate (MTX), azathioprine (AZA), mycophenoloate mofetil (MPM), cyclosporine (CSA), cyclophosphamide (CTX) หรือ chlorambucil แบบผสมผสาน (combination therapy) 22 ขนาน และต้องได้รับยาแต่ละตัวในขนาดเป้าหมายมาตรฐาน (standard target dose) ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ยกเว้นมีข้อห้ามหรือมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาอย่างมี
      นัยสำคัญ
  4. ข้อห้ามของการใช้ยา
    • 4.1 เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally ill! หรือจะไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ยาเมื่อเทียบกับผลข้างเคียงที่จะเกิดจากยา เช่น bed ridden, severe dementia ไม่สามารถสื่อสารเพื่อบอกอาการผลข้างเคียงจากการรักษาหรือประเมินผลการรักษาได้
    • 4.2 ระดับสายตาไม่เห็นแสง (no light perception)
    • 4.3 เคยแพ้ยานี้อย่างรุนแรง หรือแพ้ส่วนประกอบที่เป็น murine protein
    • 4.4 มีการติดเชื้อรวมทั้งการติดเชื้อซ้ำซาก (recurrent) ที่ไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมอย่างเหมาะสม
  5. ขนาดยาที่แนะนำ
    • 5.1 Adalimumab เริ่มต้นที่ 80 มก. ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง แล้วฉีดต่อด้วย 40 มก. ทุก 2 สัปดาห์ หรือ Infliximab 5 มก./กก. หยดเข้าหลอดเลือดดำ เริ่มต้นที่สัปดาห์ที่ 0, 2, 6 และต่อด้วยทุก 8 สัปดาห์ หากการตอบสนองไม่เป็นที่น่าพอใจหลัง 3 เดือน อาจพิจารณาเพิ่มความถี่ของการใช้ยา เป็นทุก 6 สัปดาห์
    • 5.2 การใช้ยาชีววัตถุควรใช้ควบคู่กับยามาตรฐานในขนาดที่ได้อยู่เดิม ยกเว้นมีข้อห้ามหรือมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญ
  6. การประเมินผลการรักษาเพื่อขอต่ออายุการเบิกจ่ายค่ายา
    • 6.1 ประเมินผลการรักษา และบันทึกในเวชระเบียน อย่างน้อยทุก 3 เดือน
    • 6.2 การตอบสนองต่อการรักษา แบ่งเป็น
      • 6.2.1 ตอบสนองต่อการรักษาอย่างสมบูรณ์ หมายถึง ไม่พบการอักเสบในตา (inactive)
      • 6.2.2 ตอบสนองต่อการรักษาบางส่วน หมายถึง การอักเสบในตาลดลง (improved disease activity) หรือความถี่ในการอักเสบลดลง
      • 6.2.3 ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หมายถึง มีการอักเสบในตาเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น หรือความถี่ของการอักเสบเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น
    • 6.3 ในกรณีที่ไม่ตรงตามเกณฑ์ข้างต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยา ให้ระบุเหตุผลในช่องหมายเหตุ
  7. เกณฑ์การหยุดยา ให้หยุดยาเมื่อมีข้อบ่งซี้ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    • 7.1 ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหลังจากใช้ยานาน 6 เดือน
    • 7.2 ระดับการมองเห็นหลังการรักษา 6 เดือนในตาข้างที่ดีที่สุด แย่กว่า finger count at 1 foot
    • 7.3 มีอาการแพ้ยา หรือ เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา Adalimumab/Infliximab
    • 7.4 ผู้ป่วยปฏิเสธการใช้ยา
    • 7.5 ย้ายสถานพยาบาล

หมายเหตุ

ขนาดเป้าหมายมาตรฐาน (standard target doses) ของยามาตรฐาน ได้แก่

  • Methotrexate 0.3 มก./กก/สัปดาห์ (ขนาดสูงสุด 25 มก./สัปดาห์)
  • Azathioprine 2-2.5 มก/กก/วัน
  • Cyclosporine 3-5 มก/กก./วัน
  • Mycophenolate mofetil 2-3 กรัม/วัน
  • Cyclophosphamide 2 มถ/กก./วัน
  • Chlorambucil 0.1 มก/กก/วัน

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally ill) หมายถึง ผู้ป่วยโรคทางกายซึ่งไม่สามารถรักษาได้ (incurable) และไม่สามารถช่วยให้ชีวิตยืนยาวขึ้น (ireversible) ซึ่งในความเห็นของแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น ผู้ป่วยดังกล่าวควรได้รับการรักษาแบบประคับประคอง (palliative care โดยมุ่งหวังให้ลดความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานเป็นสำคัญ

คำจำกัดความ

  • ไม่พบการอักเสบในตา (inactive) หมายถึง การอักเสบระดับ 0 ในช่องหน้าลูกตา (anterior chamber) หรือในน้ำวุ้นตา (vitreous) ตามเกณฑ์ของ The Standardization of Uvettis Nomenclature (SUN) Working Group ไม่พบการอักเสบของขั้วประสาทตา จอประสาทตา คอรอยด์ ไม่มีการรั่วของเนื้อเยื่อจากการประเมินด้วย fuorescein หรือ indocyanine green angiography และไม่พบการบวมของจุดรับภาพชัด (macular edema)
  • การอักเสบในตาลดลง (improved disease activity) หมายถึง ความรุนแรงของการอักเสบในช่องหน้าลูกตาหรือในวุ้นตาลดลง อย่างน้อย 2 ระดับหรือลดลงเป็นระดับ 0 ตามเกณฑ์ของ The Standardization of Uveitis Nomenclature (SUN) Working Group หรือรอยรั่วจากชั้นคอรอยด์หรือจอประสาทตาลดลง จากการประเมินโดยการทำ fluorescein หรือ indocyanine green angiography หรือจุดรับภาพชัดบวมลดลง จากการประเมินด้วยการตรวจร่างกายและภาพถ่ายตัดขวาง Optical coherence tomography (OCT)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยภาวะตาอักเสบซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง

0 0
Read Time:2 Minute, 33 Second

อ้างอิงหนังสือกรมบัญชีกลางที่

กค 0416.2/ว681 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2564

ด้วยกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจัดทำระบบเบิกจ่ายตรงสำหรับผู้ป่วยภาวะตาอักเสบจากโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ได้แก่ Behcet, Noninfectious necrotizing scleritis, Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease) ที่ไม่ตอบสนองหรือตอบสนองไม่เพียงพอต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน และมีความจำเป็นต้องใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ลดโอกาสสูญเสียสายตาอย่างถาวร และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสมจำเป็น และปลอดภัย รวมทั้งเพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

  1. กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยภาวะตาอักเสบจากโรค Behcet, Noninfectious necrotizing scleritis, Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยา Adalimurab และ Infliximab โดยให้สถานพยาบาลดำเนินการลงทะเบียนแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วย แล้วส่งข้อมูลตามโปรโตคอลที่กำหนดในระบบ Uveitis ทางเว็บไซต์ https://bialogic.mra.or.th/index.php เพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายค่ายาหรือขอต่ออายุการเบิกจ่ายค่ายา หรือขอหยุดการใช้ยา ตามแนวทางปฏิบัติที่สำนักวิจัยเพื่อพัฒนาการตรวจสอบการบริการสาธารณสุข (สพตส.) กำหนด สำหรับการเบิกจ่าย ให้เบิกจ่ายค่ายาในระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น โดยให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดตามหนังสือที่อ้างถึง อีกทั้งการใช้ยาดังกล่าวต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบ่งขี้ที่กำหนดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย จึงสามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้
  2. สำหรับยาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าซึ่งใช้ในการรักษาภาวะตาอักเสบจากโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติข้างต้น ที่อยู่นอกระบบ Uveitis เช่น Golimumab เป็นต้น จะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลางได้เร่งทยอยพิจารณาการปรับรายการยาที่จำเป็นเข้าระบบ Uveitis ต่อไป
  3. กรณีที่สถานพยาบาลจำเป็นต้องออกใบเสร็จรับเงิน ค่ายาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าซึ่งใช้ในการรักษาภาวะตาอักเสบจากโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติข้างต้น ทั้งที่เป็นยาในระบบ Uveitis และนอกระบบ Uveitis ให้แจงรายละเอียดชื่อรายการยา โดยระบุเป็น “ค่ายาที่เบิกไม่ได้” และมิให้ออกใบรับรองในการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เนื่องจากผู้มีสิทธิไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าวทุกรูปแบบ ขนาด และความแรง มายื่นเบิกเงินกับส่วนราชการต้นสังกัดได้

ทั้งนั้นให้มีผลใช้บังคับสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

แนวทางกำกับการเบิกจ่ายค่ายา Adalimumab และ Infliximab ข้อบ่งใช้โรค Behcet,Noninfectious necrotizing scleritis, Ocular sarcoidosis และ Vogt Koyanagi Harada (VKH disease)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์ HI CI สิทธิข้าราชการ

0 0
Read Time:1 Minute, 16 Second

กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ที่สถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานที่อื่นที่สถานพยาบาลของทางราชการได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างมาก กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ จึงได้กำหนดแนวทางการให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ ที่บ้าน (Home Isolation) หรือในสถานที่อื่น ๆ (Community Isolation) ระหว่างรอเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ประกอบกับได้มีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่กระตุ้นการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภูมิคุ้มกันภายหลังได้รับวัคซีน (Vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VT) เพื่อพิจารณาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมการรักษาพยาบาลกรณีดังกล่าว

ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๘ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมบัญชีกลางโดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ อัตรา วิธีการ และเงื่อนไข การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒0๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (ฉบับที่ ๓) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version