ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID19

0 0
Read Time:36 Second

แจ้งแนวทางการจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดขอนแก่น

  • ๑. ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังหักต้นทุนในการดำเนินการร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือจัดสรรให้โรงพยาบาล และเครือข่ายหน่วยบริการในอัตรา 50 : 50
  • ๒. ค่าบริการเก็บสิ่งส่งตรวจหาเชื้อ COVID-19 ให้บริหารจัดการโดย CUP เนื่องจากแต่ละ CUP มีการบริหารจัดการแตกต่างกัน โดยขอให้ส่งแนวทางและผลการจัดสรรให้จังหวัดทราบด้วย
  • ๓. ค่ากระจายชุดตรวจ ATK Home Use อัตรา 10 บาพ/ชุด จัดสรรให้โรงพยาบาล/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ดำเนินการกระจายชุดตรวจให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยตรง
Happy
1 50 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 50 %

รายงานควบคุมกำกับการลงทะเบียนสิทธิ

0 0
Read Time:2 Minute, 23 Second

รายละเอียดวิธีการออกรายงานควบคุมกำกับการลงทะเบียน

กำหนดรอบการออกรายงาน

รอบที่ข้อมูลลงทะเบียนสามารถดาวน์โหลดข้อมูล
1ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือนนี้วันที่ 16 ของเดือนนี้
2ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 ถึงสิ้นเดือน ของเดือนนี้วันที่ 1 ของเดือนถัดไป

เงื่อนไขในการออกรายงาน

สรุปข้อมูลการลงทะเบียน ที่มีทะเบียนบ้านเลขที่เดียวกันเกิน 15 คน เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
  2. มีบ้านเลขที่เดียวกันเกิน 15 คน ภายใน 15 วัน
  3. มีหน่วยบริการประจำที่เดียวกัน
  4. หน่วยบริการประจำ ไม่ใช่สังกัดสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ,ไม่ใช่สังกัดกระทรวงยุติธรรม และไม่ใช่สังกัดกระทรวงกลาโหม
  5. หน่วยบริการประจำเดิมกับหน่วยบริการประจำปัจจุบัน ไม่ใช่หน่วยบริการเดียวกัน
  6. ไม่ใช่รายที่ลงทะเบียนเลือกสิทธิย่อยทหารเกณฑ์ ,ผู้ต้องขัง ,สถานพินิจ ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และนักเรียนทหาร

สรุปข้อมูลการลงทะเบียนรายหน่วยบริการประจำที่มียอดผิดปกติ เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
  2. มีหน่วยบริการประจำที่เดียวกัน
  3. หน่วยบริการประจำ ไม่ใช่สังกัดสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ,ไม่ใช่สังกัดกระทรวงยุติธรรม และไม่ใช่สังกัดกระทรวงกลาโหม
  4. มียอดการลงทะเบียนของหน่วยบริการประจำ ดังนี้
    4.1 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป จำนวนมากกว่า 500 คนต่อวัน
    4.2 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลยุพราช จำนวนมากกว่า 300 คนต่อวัน
    4.3 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาล(เอกชน) ,คลินิก(เอกชน) และศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัด(สป.สธ.,สสช.,อปท.,กรุงเทพมหานคร) จำนวนมากกว่า 100 คนต่อวัน
    4.4 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอื่นฯ จำนวนมากกว่า 50 คนต่อวัน
  5. หน่วยบริการประจำเดิมกับหน่วยบริการประจำปัจจุบัน ไม่ใช่หน่วยบริการเดียวกัน
  6. ไม่ใช่รายที่ลงทะเบียนเลือกสิทธิย่อยทหารเกณฑ์ ,ผู้ต้องขัง ,สถานพินิจ ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และนักเรียนทหาร
  7. ไม่ใช่รายที่ยอมรับการลงทะเบียนตามมติบอร์ด

สรุปข้อมูลการลงทะเบียนแทนกรณี รับมอบอำนาจมากกว่า 7 คน เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
  2. ผู้รับมอบอำนาจเป็นคนเดียวกัน
  3. ผู้มีสิทธิได้มอบอำนาจ ให้ผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการลงทะเบียนแทนมากกว่า 7 คนต่อวัน
  4. หน่วยบริการประจำเดิมกับหน่วยบริการประจำปัจจุบัน ไม่ใช่หน่วยบริการเดียวกัน

การลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการจากสังกัดรัฐไปยังสังกัดเอกชน เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
  2. มีการลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ จากสังกัดรัฐไปยังสังกัดเอกชน จำนวนมากกว่า 100 คนต่อวัน

การลงทะเบียนในช่วงเวลาที่ผิดปกติ เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้

  1. ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
  2. คลินิก(เอกชน) มีการลงทะเบียนในช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 – 6.00 น
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมstateless 20ธค.64

0 0
Read Time:2 Minute, 2 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการรับส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ วันที่ 20 ธันวาคม 2564

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหาร จัดการงบประมาณ และตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้กับหน่วยบริการที่ได้ให้บริการ ด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และได้หารือร่วมกับสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ stateless โดยให้หน่วยบริการที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิส่งข้อมูลผ่าน ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามรายการสิทธิประโยชน์ ของกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ นั้น
ในการนี้ เพื่อให้หน่วยบริการสามารถส่งข้อมูลดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข จึงได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอเรียนเชิญผู้ที่รับผิดชอบส่งข้อมูล เพื่อขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม รับฟังการชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ ในวันจันทร์ ที ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. โดยขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าร่วมประชุม ดังกล่าว ด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล VDO Conference ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting สามารถเข้าร่วมประชุม ทาง Facebook Live ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

วาระในการประชุมประกอบไปด้วย

  • นโยบายด้านการบริหารจัดการการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • บทบาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่าย โดย พญ.กฤติกา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สปสช.
  • เงื่อนไข สิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • การรับส่งข้อมูลในระบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โปรแกรม e-Claim ปีงบประมาณ 2565

0 0
Read Time:47 Second

การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การขอรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีผู้ป่วยนอกและกรณีส่งเสริมสุขภาพและห้องกันโรค ผ่านโปรแกรม e-Claim ปีงบประมาณ 2565 วันที่ 13 ธันวาคม 2564 13.00 – 16.30 น. วาระประกอบไปด้วย

  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการผู้ป่วยนอก
  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  • แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • ระบบตรวจสอบและยืนยันการเข้ารับบริการ (Authen code)
  • วิธีการรับ-ส่งข้อมูลโปรแกรม e-Claim
  • โปรแกรมบริหารจัดการรหัสยามาตรฐาน (Drug Catalogue)

ลิงค์เฟซบุ๊ก https://fb.watch/9SBEZeKCOx/

Happy
11 61 %
Sad
3 17 %
Excited
2 11 %
Sleepy
0 0 %
Angry
2 11 %
Surprise
0 0 %

รวมแนวทางการเบิกจ่ายCovid อัพเดต

0 0
Read Time:7 Minute, 7 Second

แนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2565 อัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2565

ลำดับเลขที่หนังสือเรื่อง
1สปสช.2.57/ว.2014
23 มีนาคม 2564
แนวทางขอรับค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม)
2 สปสช.2.57/ว.2583
23 เมษายน 2654
ขอความร่วมมือในการบริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19
1) การขยายอายุของหนังสือส่งต่อผู้มีสิทธิทั้งกรณีผู้ป่วย และผู้ป่วยใน
2) พิจารณาการจัดบริการด้านยา และเวชภัณฑ์ โดยจัดส่งยา และเวชภัณฑ์ทางไปรษณีย์
3สปสช.2.57/ว.2679
3 พฤษภาคม 2564
แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่าย(เพิ่มเติม) สำหรับการกักกันโรคกรณีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ตามที่หน่วยบริการจัดให้ ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขฯ กรณีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในบริการผู้ป่วยใน
4สปสช.2.57/ว.2760
6 พฤษภาคม 2564
การปรับอัตราการจ่ายค่าตรวจเชื้อไวรัส Antigen
1) การตรวจเชิงรุกนอกสถานบริการ หรือนอกสถานที่ของหน่วยบริการภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานบริการอื่น
2) การตรวจในหน่วยบริการภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานบริการอื่น
5สปสช.2.57/ว.2841
13 พฤษภาคม 2564
ซักซ้อมความเข้าใจการบันทึกข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่าย กรณีการตรวจคัดกรอง COVID-19 สำหรับสถานบริการเอกชน
6สปสช.2.57/ว.3004
21 พฤษภาคม 2564
ซักซ้อมความเข้าใจกรณีรับผู้ป่วยโควิด-19 ไว้ในโรงพยาบาล/โรงพยาบาลสนาม/Hospitel จากการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก (Active Case finding) สำหรับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
7สปสช.2.57/ว.3876
28 มิถุนายน 2564
แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (HI)และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (CI)
8สปสช.2.57/ว.4035
2 กรกฎาคม 2564      
ซักซ้อมความเข้าใจแนวทาง COVID -19 กรณีค่าพาหนะการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา
9สปสช.2.57/ว.4168
7 กรกฎาคม 2564  
บริการตรวจหาเชื้อโรคโควิด -19 ผู้ให้กับประชาชนไทยทุกคนเข้ารับการกักกันใน Alternative Quarantine (AQ) 
10สปสช.6.70/ว.4320
9 กรกฎาคม 2564                                
แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (เพิ่มเติม) ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ค่าบริการกรณีเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนค่ายาสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร และยาจากผงฟ้าทะลายโจร  
11สปสช.6.70/ว.4322
11 กรกฎาคม 2564
แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19
1) การตรวจคัดกรองวิธี Antigen Test kit (ATK)
2) การดูแลแบบ HI และ CI ลักษณะบริการแบบผู้ป่วยนอก
12สปสช.6.70/ว.4608
22 กรกฎาคม 2564
ซักซ้อมความเข้าใจการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อโควิด-19
1) กรณีดูแลใน HI/CI การขอ Authen และการส่งข้อมูลใน e-claim 2) แจ้งการปรับปรุงราคา RT-PCR,  Antigen , ค่าบริการดูแลผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และค่าพาหนะรับส่งต่อโดยใช้รถโดยสารขนาดใหญ่
13สปสช.6.70/ว.4615
23 กรกฎาคม 2564
ปรับวิธีการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 กรณีดูแลใน HI/CI ในงวดแรกแบบเหมาจ่าย 3,000 บาท เมื่อหน่วยบริการ Authencode
14สปสช.6.70/ว.4759
27 กรกฎาคม 2564
ซักซ้อมการตรวจคัดกรอง COVID-19 โดยใช้ ATK
15สปสช.6.70/ว.4760
27 กรกฎาคม 2564
การรับดูแลรักษาแบบ HI ผ่านระบบ PI Portal ของหน่วยบริการในพื้นที่ สปสช.เขต 13
16สปสช.6.70/ว.16689   
6 สิงหาคม 2564
แนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพิ่มเติม
1) ปรับแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯ โควิด-19 เพิ่มเติม    ค่าออกซิเจน ค่าป้องกันการแพร่เชื้อการจัดการศพ ค่าห้อง ค่า PPEหรืออุปกรณ์ป้องกันฯ วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายฯ HI/CI  
17สปสช.6.70/ว.5305 
23 สิงหาคม 2564
แจ้งปรับอัตราการจ่ายค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 สำหรับการดูแบรักษาแบบ HI/CI ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน  จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อวัน (ไม่รวมค่าอาหาร 3 มื้อ) จำนวนไม่เกิน 14 วันค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน รวมค่าอาหาร 3 มื้อ  จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน จำนวนไม่เกิน 14 วัน   
18สปสช.6.70/ว.5731 ลว
8 กันยายน 2564
ขอความร่วมมือในการบริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 1) การขยายอายุของหนังสือส่งต่อผู้มีสิทธิทั้งกรณีผู้ป่วย และผู้ป่วยใน 2) พิจารณาการจัดบริการด้านยา และเวชภัณฑ์ โดยจัดส่งยา และเวชภัณฑ์ทางไปรษณีย์
19สปสช.6.70/ว.6006ลว
20 กันยายน 2564
แจ้งหลักเกณฑ์ การจ่ายชุดตรวจ ATK สำหรับประชาชนตรวจเอง
20สปสช.6.70/ว.6597 ลว
18 ตุลาคม 2564
แจ้งการโอนเงินล่าช้า เนื่องจากรองบประมาณ
21สปสช.6.70/ว.6857 ลว
1 พฤศจิกายน 2564
การขยายเวลา Authen กรณี HI-CI เป็น 5 วัน
22สปสช.6.70/ว.7151 ลว
11 พฤศจิกายน 2564
แจ้งซักซ้อมการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19     ลดระยะเวลาการกักตัว (isolation) ลงจาก 14 และ 21 วัน สำหรับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ลงเหลือ 10 วันและ 20 วันตามลำดับ
23สปสช  6.70 / ว.7625 
29 พฤศจิกายน 2564                                  
แจ้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราจ่ายการให้บริการโรคโควิด 19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
24 สปสช. 6.70 / ว.8383 27 ธันวาคม 2564แจ้งหลักเกณฑ์และซักซ้อมแนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2565 ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติ
๑. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควรฯ
๒. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีการคัดกรองธาลัสซีเมียและการคัดกรองซิฟิลิสในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์
๓. รายการโรคและหัตถการ สำหรับบริการ ODS, MIS (เพิ่มเติมรายการ)
๔. รายการเบิกจ่ายที่ขอ Authentication code (ปรับแก้ไข)
25สปสช. 6.70 / ว.8344
24 ธันวาคม 2564
ขอความร่วมมือในการบริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด 19
Happy
3 75 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 25 %

ราคาค่าบริการกรณีCovid-19

0 0
Read Time:17 Second

อัตราค่าบริการ Covid-19 ปรับใหม่ เริ่ม 1 ธันวาคม 2564 ตามหนังสือเวียนสปสช. ที่ 6.70-ว.7625_ลว.29 พฤศจิกายน 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยกองทุนย่อย 9 ธ.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 28 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้กับหน่วยบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จึงขอผู้รับผิดชอบงานเข้าร่วมประชุมฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น https://www.facebook.com/nhso7kkn ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ครับ วาระประกอบไปด้วย

  • ชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ สำหรับรายการใหม่หรือรายการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
    • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    • บริการการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
    • บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
    • บริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสําหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลประกอบการประชุมชี้แจงกองทุนUCปี65 ที่จำเป็นต้องทราบมีดังนี้นะครับ
  • ประกาศกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-65/
  • แนวทางการปรับเกลี่ยรายรับเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-2565-adjust/
  • เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65 http://www.uckkpho.com/uc/1600/
  • รายการเบิกจ่ายที่ต้องขอ Authen code http://www.uckkpho.com/uc/1608/
  • คู่มือการขอAuthen Codeใหม่ http://www.uckkpho.com/download/1594/
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการสรุปโรคและหัตถการ ปี 2565

0 0
Read Time:19 Second

การอบรมแนวทางการสรุปโรคและหัตถการเพื่อการเบิกจ่ายชดเชยผู้ป่วยในตามระบบ DRGs ปี 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การอบรมแนวทางการสรุปโรคและหัตถการเพื่อการเบิกจ่ายชดเชยผู้ป่วยในตามระบบ DRGs ปี 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยนายณัฐพงศ์ อนุวัตรยรรยง ฝ่ายตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 100 %

การขอรับค่าบริการฯปี65

0 0
Read Time:30 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการขอรับค่าบริการฯปี65

ประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชา ติและเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (สำหรับหน่วยบริการ และ สสจ.)

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารชี้แจงกองทุนปี65

0 0
Read Time:38 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้กับหน่วยบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อรับทราบนโยบาย ประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลง และหลักเกณฑ์การดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์ Facebook live เอกสารประกอบการประชุมดังนี้

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version