Bright Spot Hospital ปี 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 56 Second

หลักเกณฑ์การพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น (Bright Spot Hospital) ประจำปีงบประมาณ 2565

หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมิน :แบ่งระดับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan

บประมาณ : จากเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 10 ล้านบาท

  • ระดับบริการ M2 (วงเงิน 2 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 600,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 400,000 บาท
  • ระดับบริการ F1 F2 (วงเงิน 5 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,250,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 1,000.000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 875,000 บาท
    • ลำตับที่ 4 จำนวน 625,000 บาท
    • ลำดับที่ 5 จำนวน 500,000 บาท
    • รางวัลชมเชย จำนวน 375,000 บาท จำนวน 2 รางวัล
  • ระดับบริการ F3 (วงเงิน 3 ล้านบาท)
    • ลำดับที่ 1 จำนวน 1,500,000 บาท
    • ลำดับที่ 2 จำนวน 900,000 บาท
    • ลำดับที่ 3 จำนวน 600,000 บาท

หลักเกณฑ์การประเมิน : กรอบในการประเมินมี 3 ด้าน ประกอบด้วย

  1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟต์แวร์   (10 คะแนน)
  2. กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator)   (60 คะแนน)
  3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   (30 คะแนน)

สูตรการคำนวณ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย

คะแนนที่ได้ = (คะแนนที่ได้ในข้อ 1 + คะแนนที่ได้ในข้อ 2 + คะแนนที่ได้ในข้อ 3)
เกณฑ์การให้คะแนน : เมื่อคำนวณคะแนนที่ได้แล้ว จะนำมาเรียงลำดับคะแนนเพื่อมอบรางวัลต่อไป

วิธีการคัดเลือก : ให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกหน่วยบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan ดังนี้

  1. ระดับบริการ A S M1   ทุกแห่ง (เข้ารับการประเมินและมอบใบประกาศนียบัตรเท่านั้น)
  2. ระดับบริการ M2   จังหวัดละ 1 แห่ง
  3. ระดับบริการ F1 F2   จังหวัดละ 2 แห่ง
  4. ระดับบริการ F3   จังหวัดละ 1 แห่ง

โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (Chief Financial Officer. CFO) เขตสุขภาพที่ 7 ในเดือนมิถุนายน 2565 โดยให้หน่วยบริการนำเสนอข้อมูล แห่งละ 10 นาที และให้คณะกรรมการฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แห่งละ 10 นาที

กรอบและรายละเอียดการประเมิน

1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟแวร์ 10 คะแนน

แหล่งข้อมูลคะแนน
แผนการดำเนินงานที่ระบุกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เป็นรายกิจกรรม และมีแผนธุรกิจ(Business Plan)2 คะแนน
รายงานการประชุมคณะกรรมการ CFO อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง(ไตรมาส 4/64 – ไตรมาส 2/65) เนื้อหาต้องประกอบด้วยสถานการณ์การเงิน/ประเด็นที่เป็นปัญหา/แนวทางการแก้ไข/รายงานผลการแก้ปัญหาที่มีการติดตามในไตรมาสถัดๆไป เป็นระยะ 2 คะแนน
มีการใช้นวัตกรรม/ซอฟแวร์ ในการดำเนินงาน (มีการระบุกิจกรรม/เป้าหมาย/รายงานผลงานที่ชัดเจน) 2 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 คะแนน
การจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยา 2 คะแนน

2.กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) 60 คะแนน (ใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2565 ในการประเมินผล)

รายละเอียดการประเมินคะแนน
1. การบริหารแผน Planfin10 คะแนน
1.1 Planfin รายได้ +5 % ขึ้นไป5 คะแนน
1.2 Planfin ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน + 5 %5 คะแนน
2. การบริหารต้นทุนบริการไม่เกินค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล20 คะแนน
2.1 Unit Cost OP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.2 Unit Cost IP (Mean+1SD)5 คะแนน
2.3 LC ค่าแรงบุคลากร (Mean)2.5 คะแนน
2.4 MC ค่ายา (Mean) 2.5 คะแนน
2.5 MC ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
2.6 MC ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (Mean) 2.5 คะแนน
3. การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน20 คะแนน
3.1 ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา3 คะแนน
3.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ UC3 คะแนน
3.3 ระยะเวลาถั่วเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ CS3 คะแนน
3.4 การบริหารสินค้าคงคลัง3 คะแนน
3.5 คะแนนตรวจบัญชีงบทดลองเบื้องต้น3 คะแนน
3.6 ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronics Internal Audit : EIA)5 คะแนน
4. Productivity ที่ยอมรับได้10 คะแนน
4.1 อัตราครองเตียง  มากกว่าหรือเท่ากับ 80 % หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน
4.2 Sum of AdjRw เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 55 คะแนน

3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator)   30 คะแนน

รายละเอียดการประเมิน คะแนน
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operation Margin) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
2. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. 5 คะแนน
3. เงินทุนสำรองสุทธิ (NWC)  เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 7.5 คะแนน
4. ผลต่างรายได้และค่าใช้จ่าย (EBITDA) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น 7.5 คะแนน
5.Cash Ratio เท่ากับหรือมากกว่า 0.8 5 คะแนน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การวิเคราะห์โรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน

0 0
Read Time:2 Minute, 39 Second

หน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน

คำนิยาม หน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน หมายถึง หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีวิกฤติทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์การคิดวิกฤติทางการเงิน ระดับ 7 (Risk Scoring) โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการ ประกอบด้วย

อ้างอิงจาก แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและกองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข
  1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio : CR) = สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  2. อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio : QR) = (สินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วย สินค้าคงเหลือ หักด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  3. อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio : Cash Ratio) (เงินสด บวกกับ รายการเทียบเท่าเงินสด บวกกับ เงินฝากประจำ) หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  4. ทุนสำรองสุทธิ (Net Working Capital : NWC) = สินทรัพย์หมุนเวียน หักด้วย หนี้สินหมุนเวียน
  5. รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (Net Income : NI) = รวมรายได้ หักด้วย รวมค่าใช้จ่าย

อัตราส่วนทางการเงินทั้ง 5 รายการข้างต้นถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สถานการณ์ ทางการเงินของหน่วยบริการโดยกำหนดเกณฑ์สำหรับการประเมินโดยมีค่ากลางของแต่ละหน่วยบริการ มาเปรียบเทียบกับค่ากลางของอุตสาหกรรม ดังนี้

  1. กลุ่มแสดงความคล่องตามสภาพสินทรัพย์
    • 1.1 CR < 1.5
    • 1.2 QR < 1.0
    • 1.3 Cash < 0.8
  2. กลุ่มแสดงความมั่นคงทางการเงิน
    • 2.1 แสดงฐานะทางการเงิน ทุนหมุนเวียน (NWC) < 0
    • 2.2 แสดงฐานะจากผลประกอบการ (กำไรสุทธิ) (กำไรสุทธิรวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย Net Income NI) NI < 0
  3. กลุ่มแสดงระยะเวลาเข้าสู่ปัญหาการเงินรุนแรง
    • 3.1 NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 3 เดือน*
    • 3.2 NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 6 เดือน
*โดยให้น้ำหนักของ NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 3 เดือน มากกว่าตัวแปรอื่น 2 เท่า ทั้งนี้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้นำเงื่อนไข มาใช้ในการจัดกลุ่มโรงพยาบาลที่ประสบวิกฤตทางการเงินเป็น 7 ระดับ ดังนี้
  • ระดับ 0 – 1 ปกติ
  • ระดับ 2 คาดว่าจะดีขึ้นภายใน 3 เดือน
  • ระดับ 3 คาดว่าจะดีขึ้นภายหลัง 3 เดือน
  • ระดับ 4 คาดว่าจะประสบปัญหาภายหลัง 6 เดือน
  • ระดับ 5 คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 6 เดือน
  • ระดับ 6 คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 3 เดือน
  • ระดับ 7 มีภาวะวิกฤตทางการเงินขั้นรุนแรง

การประเมินหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะประเมินทุกสิ้นไตรมาส โดยกำหนดให้หน่วยบริการที่ได้ระดับ 7 ซึ่งมีภาวะวิกฤตทางการเงินขั้นรุนแรง และระดับ 6 ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ ระบบข้อมูลบัญชีของหน่วยบริการที่ดีมีคุณภาพมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการประเมินสถานะทางการเงินที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นได้

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบันทึกเบิกกรณีผู้ป่วยเบาหวาน (T1DM GDM PDM)

0 0
Read Time:26 Second

กรณีผู้ป่วยเบาหวาน (T1DM GDM PDM) ที่มีการปรับเปลี่ยนอัตราจ่าย ระบบดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ทั้งส่วนของรหัสเบิก และการแก้ไขวันที่ลงทะเบียนหน้าเว็บ

หมายเหตุ กรณีใช้ offline ขอให้หน่วยบริการ update databasepatch DatabasePatch25650425 ก่อน เพื่อ update รหัสเบิกที่ถูกต้อง หากเบิกรหัสที่ยกเลิกไปแล้วจะไม่ได้รับการจ่ายชดเชย

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

Pre Audit แนวทางตรวจสอบก่อนชดเชยกรณีโควิด19

0 0
Read Time:1 Minute, 23 Second

เอกสารการประชุมชี้แจงแนวทางการตรวจสอบเวชระเบียน
ก่อนจ่ายชดเชย (Pre Audit) HI/CI/OP SI สำหรับหน่วยบริการ

วันที่ 25 เม.ย. 2565
  • 09.45– 10.00 น. ทบทวนเกณฑ์การจ่าย Home Isolation / Community Isolation / OP Self Isolation คุณพิสิทธิ มั่งมี สปสช.เขต 8 อุดรธานี
  • 10.0 10.00 – 10.30 น. แนวทางการตรวจสอบก่อนจ่าย (Pre Audit) เพื่อบริการสาธารณสุข กรณี Home Isolation / Community Isolation / OP Self Isolation คุณภิญญดา เอกพจน์ ฝ่ายตรวจสอบการชดเชย สปสช.
  • 10.30 – 11.00 น. แนวทางการจัดเตรียมเวชระเบียนเพื่อแก้ไขข้อมูลที่ติดเงื่อนไข Verify ในระบบทักท้วง กรณี Home Isolation / Community Isolation / OP Self Isolation คุณขวัญใจ คงสกุลฝ่ายตรวจสอบการชดเชย สปสช.
  • 11.00 – 11.30 น. แนวทางการจัดเตรียมเวชระเบียนเพื่อแก้ไขข้อมูลติดเงื่อนไข Verify และหลักฐานที่ต้องจัดเตรียมเพื่อยืนยันการให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด 19 คุณสุมณฑา โสภาพันธ์ ฝ่ายตรวจสอบการชดเชย สปสช.
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมจัดเก็บรายได้ ปี65

0 0
Read Time:3 Minute, 8 Second

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ ปีงบประมาณ 2565 ในวันที่ 20-22 เมษายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าจากโรงพยาบาลทุกขนาด/สสอ./รพ.สต. ในเขตสุขภาพที่ 7 ผ่านระบบ Video Conference ระบบ Cisco WebEX เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ของหน่วยบริการ ในการนี้จึงขอเชิญเจ้าหน้าที่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่ลิงค์ https://moph.cc/cmzKumPY5

    วิทยากรบรรยาย โดย…

  • น.ส. อุมาพร แสงชา       ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • นายศุภวัตร นิลรักษา      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • นายคณวัชร คำชัย         ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

วาระประชุม

วัน-เวลาวาระ
20เม.ย.65-เช้า-ระบบจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการ
-สิทธิการรักษา การให้สิทธิ การ MAP สิทธิการรักษาตามผังบัญชี
-การตรวจสอบสิทธิการรักษาแบบ REAL TIME จาก DATA AUDIT
-การติดตั้งโปรแกรม DataAudit และการใช้งานเบื้องต้น
20เม.ย.65-บ่าย-การใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น
-การตั้งค่าหมวดค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง (20 หมวดล่าสุด) และ Map รหัส ADP CODEให้ตรงตามหมวดต่างๆ
-ปรับฐานข้อมูลเพื่อการส่งออก
-การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M)
21เม.ย.65-เช้า-การตั้งค่าข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้รองรับการส่งข้อมูลเบิกชดเชย กองทุนต่างๆ
-การตั้งค่าสิทธิ์การรักษาให้ครบ ถูกต้องและง่ายต่อระบบเคลมต่างๆ
-Drug Catalog / Lab Catalog
-การกำหนดค่า X-ray ให้ถูกต้อง
-การกำหนดค่าใช้จ่ายหลายราคา ตามสิทธิ์ที่ต้องการ
-การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M)
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ SSOP ประกันสังคมผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ COPD กทม. พัทยา ผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ CSOP จ่ายตรง ผู้ป่วยนอก
-การส่งออก/แก้ไข ระบบ CIPN เบิกจ่ายตรง ผู้ป่วยใน
21เม.ย.65-บ่าย-การส่งออก/แก้ไข ระบบ SIP09M ประกันสังคม ผู้ป่วยใน/ Covid
-การส่งเบิกค่ารถ AMBTR กทม./ประกันสังคม Covid
-การขอ Authen Code / การทำ QR Code ให้รองรับระบบเคลมปี 2565
-ระบบส่งออกรองรับ Eclaim2008 / การส่งออกแบบ 16 แฟ้ม
-ระบบเคลม UCS
-ระบบเคลม อปท.
-ระบบเคลม เบิกจ่ายตรง
-ระบบเคลม UCAE
-ระบบเคลม OP-Refer (รับ Refer)
-ระบบเคลม UCS WALKIN ทั่วประเทศ
-ระบบเคลม ย้ายหน่วยบริการเกิดสิทธิ์ทันที
-ระบบเคลม COVID2019 , ATK และอื่นๆ
-ระบบเคลม พรบ.
-ระบบมีปัญหาสถานะสิทธิ์
-ระบบสิทธิ์ต่างด้าว
-ระบบเคลมฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
-ระบบเบิกฟอกไตทางหน้าท้อง
22เม.ย.65-เช้า-ระบบเคลม ฝังเข็ม IMC
-ระบบเคลม Instrument
-ระบบเคลม คุมกำเนิดกึ่งถาวร <=20 ปี และ >=20 ปี
-ระบบเคลม ยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
-ระบบเคลม ODS/MIS
-ระบบเคลม มะเร็งทั่วไป
-ระบบเคลม ยา Clopidogrel ยา STROKE ยา STEMI
-ระบบเคลม Palliative Care
22เม.ย.65-บ่าย-ระบบเคลม ทันตกรรมในวัยเรียน
-ระบบเคลม ทันตรรม ANC / Ultra Sound / PAP ปี 2565
-ระบบนำเข้า REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. เพื่อปรับปรุงบัญชีลูกหนี้
-การกระทบยอดลูกหนี้ด้วย REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. และ
การ Keyin
วาระประชุมโปรแกรม DataAudit และการใช้งานเบื้องต้น

หนังสือเชิญ

ไฟล์ประกอบการประชุม

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงรักษาโรค covid-19 ที่มีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 3มี.ค.65

0 0
Read Time:50 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเบิกจ่ายกรณีบริการดูแลรักษาโรค covid-19 ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยสายงานบริหารกองทุน เชิญหน่วยบริการทั่วประเทศ รับฟังการชี้แจงในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ เวลา 9.00 น. – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ระบบ zoom และเฟซบุ๊กไลฟ์ https://fb.watch/bvU6SOaAJK/

หนังสือจาก3กองทุน

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงการดำเนินงาน ATK phase 2

0 0
Read Time:36 Second

กำหนดการชี้แจงโครงการ 24 ก.พ. 65
ㆍ 9.00 – 9.30 น. เลขาธิการ สปสช. กล่าวเปิดโครงการ
ㆍ 9.30 – 10.00 น. ชี้แจงโครงการ โดย นพ. อภิชาต รอดสม รองเลขาธิการสปสช.
ㆍ10.00 – 11.00 น. ขั้นตอนและแนวทาง การใช้ระบบสารสนเทศ ในการดำเนินโครงการ โดย ทีมงาน KTB
ㆍ11.00 – 12.00 น. ถามตอบปัญหา phase 1 และ 2 โดย พญ. กฤติยา ศรีประเสริฐ ที่ปรึกษา สปสช. /คุณ เบญจมาส เลลิศชาคร ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. และทีมงานสายบริหารกองทุน/ ทีมงาน KTB /ภญ. สมฤทัย สุพรรณกูล สปสช.

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือขอรับค่าใช้จ่าย ปี 2565

0 0
Read Time:1 Minute, 0 Second

คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขปีงบประมาณ 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยบริการ/สถานบริการ/สถานพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตลอดจนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับค่าใช้จ่ายในกรณีต่างๆ ของสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสิทธิอื่นที่ สปสช.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
สปสช.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ปฏิบัติงานด้านการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานบริการ/สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขอรับค่าใช้จ่ายได้ตามแนวทางที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ภายในเวลาที่กำหนด

Happy
6 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แผนการตรวจสอบภายใน ปี 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 36 Second

ที่ไปที่มาการตรวจสอบภายใน

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกของการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูสรายงานทางการเงินน่าเชื่อถือ สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดการดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ ตามพระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๙ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสียง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด และตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ส่วนที่ ๒ มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน รหัส ๒๐๐๐ การบริหารงานตรวจสอบภายใน และหลักกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง จึงให้ผู้ตรวจสอบภายในที่ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราขการและเพื่อกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน

กำหนดการตรวจสอบ ปี 2565

ลำดับวัน เดือน ปีหน่วยรับตรวจ
1๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โรงพยาบาลแวงใหญ่
2๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลชนบท
3๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลโนนศิลา
4๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลเปือยน้อย
5๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลบ้านไผ่
6๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
7๕ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย
8๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลมัญจาคีรี
9๒๑ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลพระยืน
10๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ โรงพยาบาลสีชมพู
11๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕โรงพยาบาลหนองนาคำ
12ด๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕โรงพยาบาลภูเวียง

เกณฑ์ในการคัดเลือกหน่วยรับตรวจ

  1. คะแนนจากระบบตรวจสอบอัตโนมัติ (ElA)
    • ไม่ผ่านเกณฑ์ ๔0% ด้านใดด้านหนึ่ง (สิรินธร/บ้านฝาง/อุบลรัตน์/เวียงเก่า/โคกโพธิ์ไขย)
    • รวมเฉลี่ย < ๗๐% (บ้านฝาง/อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/โนนศิลา)
    • การเงิน < ๗0% (โคกโพธิ์ไชย/บ้านฝาง/เวียงเก่า)
    • งบการเงิน < ๗๐% (บ้านฝาง/โนนศิลา/เปีอยน้อยโคกโพธิ์ไชย/ชุมแพ/มัญจาคีรี)
    • จัดเก็บรายได้ < ๗๐% (บ้านฝางโคกโพธิ์ไขย/ เวียงเก่า)
    • พัสดุ < ๗๐% (อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/หนองนาคำ/บ้านไผ่/ภูเวียง/สีชมพู/ชนบท/พระยืน)
    • ควบคุมภายใน < ๗๐% (โนนศิลา/บ้านไผ่/สิรินธร/อุบลรัตน์/เวียงเก่า)
  2. จากผลการจัดส่งแผนรับ-จ่ายเงินบำรุง ประจำปี ๒๕๖๕
    • โรงพยาบาลแวงใหญ่
  3. หน่วยที่ได้รับตรวจแล้วจากเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๕
    • โรงพยาบาลอุบลรัตน์
    • โรงพยาบาลบ้านฝาง

ขอบเขตการตรวจสอบ

  1. ด้านการเงิน : (นางมลิวรรณ มะลิต้น , นางชวรีย์ ศิริพินิตนันท์)
    • แผนรับ-จ่ายเงินบำรุง : (นางสาวสมจิตร เดซาเสถียร , นางสาวณิศา เพ็ญศิริ)
    • เงินบริจาคและเงินเรื่ยไร
    • เงินยืมราชการ
    • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
    • ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ
    • ค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ
    • การจ่ายเงินค่าตอบแทนโควิด
  2. ด้านระบบบัญชี บัญชีเกณฑ์คงค้าง : (นางสาวดารุณี พิมพ์ลี , นางขนิษฐา นนทะสิงห์)
    • งบทดลอง ณ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • เดือนสุดท้ายก่อนเข้าตรวจ
    • เอกสารประกอบ
  3. ด้านการพัสดุ : (นางสุมาลี บุญญรัตน์ , นางนงลักษณ์ ควรคำ)
    • การจัดซื้อจัดจ้าง (แผนจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามหมวดรายจ่าย แผนเงินบำรุง)
    • การบริหารพัสดุ
      • วัสดุ บัญชีวัสดุตามแบบกรมบัญชีกลาง ทุกคลัง
      • รายงานวัสดุคงคลัง ประจำเดือน
      • ครุภัณฑ์ ทะเบียนทรัพย์สิน ตามแบบกรมบัญชีกลาง
      • รายงานค่าเสื่อมสะสม ประจำเดือน
    • การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา : (นางศศิธร เอื้ออนันต์ , นางสาวอิสรีย์ พละสินธุ์เดชา)
    • การตรวจสอบพัสดุประจำปี ๒๕๖๔
      • รายงานการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุประจำปี ภายใน ๓๐ วันทำการ
      • ส่งรายงานการตรวจสอบต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดชอนแก่น / สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดขอนแก่น /สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  4. ด้านการจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล สิทธิที่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน : (นายชัชวาลย์ มุ่งแสง , นางสาวพรรทิภา ทองเกลียว)
    • ข้าราชการ
    • ประกันสังคม
    • พรบ.
    • จ่ายตรง อปท.
    • สิทธิเบิกจ่ายต้นสังกัด (รัฐวิสาหกิจ , ธนาคาร)
  5. ด้านการควบคุมภายใน ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์การควบคุมภายในที่กระทรวงการคลังกำหนด : (นายรังสรรค์ พลหล้า , นางสาวจารุวรรณ รัศมาวี)
    • คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
    • โครงสร้างการบริหารงาน
    • Flow Chart กระบวนงานหลัก ส่วนงานย่อย
    • แบบติดตาม ปค. ๕

เอกสารประกอบ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมการให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย ปีงบประมาณ 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 24 Second

การประชุมชี้แจง แนวทางการดำเนินงาน คลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร้านยา ในการให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด – ถุงยางอนามัย ปีงบประมาณ 2565
วันที่ 14 มกราคม 2565 เวลา 9.00-16.00 น.
ประชุมผ่าน Zoom Meeting รวมทั้งถ่ายทอดสดผ่าน Facebook สปสช. www.facebook.com/NHSO.Thailand/

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกล่าวเปิดการประชุม โดย นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการ สปสช.
  • แนวทางการสนับสนุนคลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์ และ ร้านยา เข้าร่วมจัดบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย รศ. ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล และ รศ.ภญ สุณี เลิศสินอุดม ประธานอนุกรรมการพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ผู้แทนสภาเภสัชกรรม
  • แนวทางการจัดบริการสำหรับคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดย คุณบำรุง ชลอเดช ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • แนวทางการจัดบริการยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัยปีงบประมาณ 2565 โดย คุณศศิธร ไชยสิทธิพร ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ สำหรับ คลินิกพยาบาลฯ ร้านยา และสถานบริการอื่นที่จะให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย โดย คุณปานใจ ตันติภูษานนท์
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตนสำหรับ การให้บริการของคลินิกพยาบาล โดย คุณมานพ โยเฮียง / คุณเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตน สำหรับการให้บริการ “ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน” โดย ทีม KTB คุณทนงเกียรติ พาดี / สุภัค ไชยวานิช / ณัฏฐณิชา วิทยาศิริกุล
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตน สำหรับการให้บริการ “ถุงยางอนามัยในหน่วยบริการที่สมัครใจร่วมให้บริการ” โดย คุณรัตน์ระพี เกษกาญจนานุช/ คุณอัครรัฐ อย่างไพบูลย์ /คุณสุวัชชัย ชื่นเมือง ผู้จัดการกอง ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • ระบบการจัดส่งถุงยางอนามัย สำหรับหน่วยบริการที่สมัครใจร่วมให้บริการ โดย คุณกฤชชัย พัฒนจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • ประเด็นซักถาม และปิดการประชุม

กลุ่มเป้าหมาย :

  1. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(ที่ไม่ได้รับงบเหมาจ่าย) หน่วยใหม่ และหน่วยเก่า ได้แก่
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม (ร้านยา)
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (คลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์)
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน (คลินิกพยาบาลฯ PP /รพ.เอกชน PP)
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเวชกรรม (คลินิกเวชกรรม)
    • หน่วยบริการปฐมภูมิใน กทม. (คลินิกชุมชนอบอุ่น)
  2. นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง สปสช.ส่วนกลาง และ สปสช.เขต 1-13
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version