โครงสร้างการบริหาร สปสช.เขต 7 ขอนแก่น ปี 2564

0 0
Read Time:5 Second

โครงสร้างการบริหาร งานที่แต่ละคนรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น ปี 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ผลการประกวด Bright Spot Hospital 2564

0 0
Read Time:37 Second

Bright Spot Hospital คือการประกวดการพัฒนาประสิทธิภาพทางการเงินการคลัง สำหรับหน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น ประจำปีงบประมาณ 2564 ที่จัดโดยคณะกรรมการการเงินการคลังเขตสุขภาพ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งผลคะแนนการประกวด เป็นดังนี้

อ้างอิงหลักเกณฑ์แนวทางและวิธีการประกวดฯ

ลิงค์หลักเกณฑ์การประกวด
อ้างอิงจากเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการ CFOเขตสุขภาพที่7 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2564

ทั้งนี้คะแนนรวมรายหน่วยบริการของจังหวัดขอนแก่นเป็นไปตามตารางด้านล่างนี้ ซึ่งจะพบว่าหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่นหลายแห่งมีคะแนนมากกว่า รพ.ที่ได้รับรางวัลของจังหวัดอื่น แต่เนื่องจากเกินจำนวนหน่วยบริการที่จังหวัดส่ง (หลักเกณฑ์) จึงไม่ได้รับรางวัล Bright Spot Hospital

คะแนนรายข้อรายหน่วยบริการ

ส่วนที่1
ส่วนที่2
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สถานการณ์การเงินภาพรวม หน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ไตรมาส2 ปี 2564

0 0
Read Time:4 Second
จำนวนโรงพยาบาลตามระดับวิกฤติทางการเงินรายไตรมาส ปีงบประมาณ 2561ถึงปัจจุบัน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

0 0
Read Time:12 Minute, 23 Second

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ปี 2564

เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับบริการระดับปฐมภูมิ เป็นการสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ข้อ ช.(5) “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” และตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยจะทำให้เกิดการเข้าถึงบริการปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้นในหน่วยบริการและในชุมชน ทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร จากหน่วยบริการและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม(Social distancing) และลดความแออัดในหน่วยบริการ

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิที่จำเป็นสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเป็นธรรม
  2. เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing)และลดความแออัดในหน่วยบริการ

วงเงินงบที่ได้รับ

ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 421.6400 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมบริการปฐมภูมิทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงการนำร่องบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ บริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน บริการ Telehealth/Telemedicine บริการด้านการพยาบาล หรือบริการกายภาพบำบัดที่บ้านหรือในชุมชน

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

1.ค่าบริการระดับปฐมภูมิ การบริหารจัดการค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ แบ่งเป็น ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร และค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

  • 1.1 ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร จำนวน 214.0000 ล้านบาท เป็นการจ่ายเพิ่มเติมให้หน่วยบริการประจำ (ภาครัฐหรือภาคเอกชน) ตามจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และมีความพร้อมและมีศักยภาพการจัดบริการระดับปฐมภูมิ ตามเกณฑ์ศักยภาพที่กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ดังนี้
    • 1.1.1 ต้องมีข้อมูลชื่อแพทย์คู่กับประชาชน และประกาศให้ประชาชนรับทราบ
    • 1.1.2 ต้องมีทะเบียนประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อยจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงมีข้อมูลสถานะสุขภาพพื้นฐาน
    • 1.1.3 มีระบบข้อมูลรองรับการบันทึกผลงานและระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงการรับ-ส่งต่อ ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลประจำแม่ข่าย (CUP)
    • 1.1.4 หน่วยบริการประจำแม่ข่ายมีความพร้อมในการสนับสนุนบุคลากร ทรัพยากร และการจัดการของหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ

  • 1.2 ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ่ายให้กับหน่วยบริการ โดยแนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายต้องผ่านความเห็นชอบ จากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ทั้งนี้ อาจปรับการจ่ายเป็นไปตามหลักการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (Value-based Health Care) และอาจบูรณาการไปกับการจ่ายค่าใช้จ่ายในรายการบริการประเภทต่างๆ ได้

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การดำเนินงานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด โดยกลไกระดับประเทศ เขต/จังหวัด
  2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และความครอบคลุมผลงานบริการที่สะท้อนการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิ
  3. การกำกับติดตามการดำเนินงานของ PCC ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด โดยกลไกระดับประเทศ เขต/จังหวัด

2. บริการด้านยา และเวชภัณฑ์ (ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา และค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์)

จากนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอคอยรับยาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยให้มารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ตามข้อเสนอดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 9/2562 วันที่ 2 ก.ย. 2562 ครอบคลุมค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาและค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการร่วมกับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านเภสัชกรรม สำหรับหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 126.7700 ล้านบาท

วัตถุประสงค์

  1. ลดความแออัดในหน่วยบริการ โดยเฉพาะการรอรับยาหน้าห้องจ่ายยาของหน่วยบริการ
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านยาที่มีมาตรฐาน ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยในเขตเมือง
  3. ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยขยายบริการด้านเภสัชกรรมมาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1
  4. บูรณาการและพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลไปรับยาที่ร้านยาให้มีประสิทธิภาพลดขั้นตอนการรับส่งต่อผู้ป่วย และลดภาระงานของเภสัชกรโรงพยาบาลในการจัดเตรียมยาให้แก่ร้านยาโดยเชื่อมโยงบริการด้านยาทุกระดับตั้งแต่บ้าน ชุมชน บริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนและท้องถิ่น

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย

  1. ค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สำหรับหน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล)
    1. 1.1 หน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล) ที่เข้าโครงการโดยมีรูปแบบบริหารจัดการเครือข่ายร้านยาแบบ หน่วยบริการแม่ข่ายจัดยาให้ผู้ป่วยรายบุคคล (รูปแบบที่ 1) หรือ หน่วยบริการแม่ข่ายจัดส่งยาให้ร้านยาในเครือข่ายจัดและจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ของหน่วยบริการแม่ข่าย (รูปแบบที่ 2) หน่วยบริการแม่ข่ายจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 30 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของหน่วยบริการ มีดังนี้
      • 1) จัดเตรียมยาให้ผู้ป่วย นำส่งร้านยา และบริหารจัดการคลังยาที่ร้านยาร่วมกับร้านยา
      • 2) ประสาน ติดตาม และมีการเชื่อมต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยร่วมกับเครือข่ายหน่วยบริการ (ร้านยา หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยร่วมให้บริการประเภทอื่น)
    2. 1.2 หน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล) ที่เข้าโครงการ โดยร้านยารับผิดชอบในการบริหารจัดการ (จัดหายาทั้งหมดจากร้านยาองค์การเภสัชกรรมหรือจากบริษัทผู้จำหน่าย และการดูแลยาดังกล่าวในคลังร้านยา) (รูปแบบที่ 3) หน่วยบริการแม่ข่ายจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 50 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของหน่วยบริการ มีดังนี้
      • 1) การให้ความรู้ความเข้าใจและความมั่นใจแก่ผู้ป่วยในการเข้ารับบริการรับยาที่ร้านยาและคุณภาพยาที่ร้านยา
      • 2) คัดกรองผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การส่งไปรับยาที่ร้านยาและคัดเลือกร้านยาใกล้บ้านให้แก่ผู้ป่วย
      • 3) วิเคราะห์ใบสั่งยา (Prescription analysis) และค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับยา (Drugrelated problems) ตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมก่อนส่งใบสั่งยาให้ร้านยา
      • 4) กำกับติดตาม การดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยจากการให้บริการที่ร้านยา
      • 5) ประสาน ติดตาม และเชื่อมต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยร่วมกับเครือข่ายหน่วยบริการ (ร้านยาหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยร่วมให้บริการประเภทอื่นๆ) โดยอาจจะมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกล
  2. ค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สำหรับหน่วยร่วมบริการด้านเภสัชกรรม (ร้านยา) ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 70 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีขอบเขตหน้าที่จัดและจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด อ้างอิงตามประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 56/2563 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม
    1. 2.1 จัดทำทะเบียนผู้ป่วย (Patient registration) และ แฟ้มประวัติผู้ป่วย (Patient profile)
    2. 2.2 ประเมินความเหมาะสมการใช้ยา ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ สมุนไพร ประเมินอาการอันไม่พึงประสงค์จากยา ให้คำแนะนำการบริหารยา การจัดการเมื่อผู้ป่วยลืมใช้ยา การเก็บรักษายา
    3. 2.3 การทบทวนประวัติการใช้ยา (Review drug profile) เพื่อป้องกันปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนจากหน่วยบริการหลายแห่ง และการจัดการยาเหลือ และยาหมดอายุให้ผู้ป่วย
    4. 2.4 ให้บริการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทางเภสัชกรรม และประสานกับโรงพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย
ทั้งนี้ อัตราการจ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ที่ร้านยาเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาและดูแลเพื่อให้บริการกับผู้ป่วยในโครงการเป็นไปตามที่ สปสช.กำหนด

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. ผลการให้บริการที่ร้านยา แยกตามหน่วยบริการและร้านยาในโครงการ ของแต่ละเครือข่าย
  2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่รับบริการ ณ ร้านยาในเครือข่าย

3. ค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน

เพื่อลดความแออัดในหน่วยบริการ และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกำหนดให้หน่วยบริการ และหน่วยบริการอื่นมีสิทธิได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ โดยจ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยรายเก่าที่บ้าน ตามจำนวนผลงานบริการในอัตราไม่เกิน 50 บาท ต่อครั้งบริการ รายละเอียดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตรา และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด

4. ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) จำนวน 16.4700 ล้านบาท สำหรับหน่วยบริการที่ความพร้อมในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและลดความแออัดในการรับบริการ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณสุขโดยการปรับรูปแบบบริการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะ New normal โดยในระยะเริ่มต้นการดำเนินงานจะมีพื้นที่เป้าหมายนำร่องในหน่วยบริการที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัล ในการพิสูจน์ตัวตน การนัดหมาย และการจ่ายเงิน ที่เชื่อมต่อข้อมูลกับ สปสช.ได้

ขอบเขตบริการ

เป็นบริการสาธารณสุขระบบทางไกลจากผู้ประกอบวิชาชีพในหน่วยบริการกับผู้รับบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ป่วยรายเก่าในหน่วยบริการมีอาการคงที่และควบคุมโรคได้ดี โดยการให้บริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพประกาศกำหนด

คุณสมบัติหน่วยบริการที่ให้บริการ

  1. เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัล หรือApplication ในการพิสูจน์ตัวตน การนัดหมาย และการจ่ายเงิน ที่เชื่อมต่อกับข้อมูลของ สปสช.ได้
  2. มีผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความพร้อมในการให้บริการสาธารณสุขทางไกล ตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพ หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. มีมาตรฐานการให้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกลตามประกาศกำหนด

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย

จ่ายให้หน่วยบริการ เป็นค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) โดยจ่ายตามรายการบริการ ตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การบริหารจัดการและกำกับคุณภาพบริการ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลไกอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  2. กำกับมาตรฐานการให้บริการและระบบบริการโดยองค์กรวิชาชีพและกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ศึกษาประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอใจการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการที่นำร่อง องค์กรวิชาชีพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. ค่าบริการสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์หรือด้านกายภาพบำบัด ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด จำนวน 10.0000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้แก่ประชาชน ดังนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ ด้านการบริการพยาบาลพื้นฐาน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันแก่ประชาชนทั้งเชิงรับและเชิงรุก
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการกายภาพบำบัดในชุมชนที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ในกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่มโรคได้แก่ หลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury)
  3. ปรับรูปแบบบริการปฐมภูมิ/กายภาพบำบัด ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะ New normal

เป้าหมาย

  1. พื้นที่นำร่องคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และคลินิกกายภาพบำบัด เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในพื้นที่เขตเมืองใหญ่ เขตปริมณฑล และเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก
  2. นำร่องดำเนินการในคลินิกกายภาพบำบัดที่เป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในพื้นที่เขตเมืองใหญ่เขตปริมณฑล และเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ขอบเขตบริการ และคุณสมบัติหน่วยบริการ

  1. คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการขอบเขตบริการ เป็นบริการการพยาบาลขั้นพื้นฐาน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามขอบเขตวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในหน่วยบริการและในชุมชน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด คุณสมบัติของหน่วยบริการร่วมให้บริการ ด้านคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
    • 1) เป็นคลินิกการพยาบาลฯ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
    • 2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
    • 3) มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ อย่างน้อย 1 คน และเปิดให้บริการ วันละ 4-6 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    • 4) มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์
    • 5) มีการเชื่อมโยงบริการกับหน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ
    • 6) มีความพร้อมของระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ สปสช.
  1. คลินิกกายภาพบำบัด ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ ขอบเขตบริการ เป็นบริการกายภาพบำบัดในหน่วยบริการและในชุมชน โดยเน้นบริการกายภาพบำบัด ในชุมชน ในกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค ได้แก่ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury)

คุณสมบัติของหน่วยบริการร่วมให้บริการ ด้านกายภาพบำบัด มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

  • 1) เป็นคลินิกกายภาพบำบัด ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
  • 2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
  • 3) มีนักกายภาพบำบัดปฏิบัติงานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ อย่างน้อย 1 คน
  • 4) มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ และให้บริการกายภาพบำบัดตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
  • 5) มีการเชื่อมโยงการบริการกับหน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ
  • 6) มีความพร้อมของระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ สปสช.

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด โดยจ่ายตามรายการบริการตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  • 1) กำกับการดำเนินงานของคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด โดยหน่วยบริการประจำ
  • 2) พัฒนาศักยภาพพยาบาลและผดุงครรภ์ นักกายภาพบำบัด และกำกับติดตามการดำเนินงานของคลินิก โดยสภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัด
  • 3) การบริหารจัดการและกำกับคุณภาพบริการ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตและกลไกอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  • 4) ศึกษาประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับสภาการพยาบาล สภากายภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Happy
1 50 %
Sad
1 50 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ

0 0
Read Time:4 Minute, 32 Second

ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ปี 2564

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน กรณีค่าใช้จ่ายสำหรับยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ (ยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตาม โครงการพิเศษ) ให้สามารถดำเนินการจัดหาและสนับสนุนยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษให้หน่วยบริการ และหรือจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามการใช้บริการ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
    • 1.1 จ่ายชดเชยเป็นยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
      • 1) เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม/ป้องกันโรคและลดอัตราสูญเสียชีวิต และทุพพลภาพ
      • 2) บริหารความเสี่ยง (Risk pooling) เพื่อประกันการเข้าถึงและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร (Central bargaining and/or central procurement)
      • 3) สนับสนุนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านยา-นวัตกรรมที่จำเป็นซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศในภาพรวม เช่น ยาราคาแพงที่ผลิตโดยหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่รัฐสนับสนุน เป็นต้น
    • 1.2 กรณีจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายยาและอื่นๆ (ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์) ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามผลงานบริการ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
      • 1) มีผู้จำหน่ายซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เช่น องค์การเภสัชกรรม เป็นต้น
      • 2) สามารถดำเนินการต่อรองราคาระดับประเทศ (Central bargaining โดยผู้จำหน่ายยินยอมจำหน่ายในราคาเดียวกันสำหรับทุกสิทธิหลักประกันสุขภาพ และประกันการจำหน่ายให้หน่วยบริการทุกพื้นที่
      • 3) มีการแข่งขันด้านราคาในระบบตลาดมากขึ้น หรือมีผู้จำหน่ายมากกว่า 3 ราย ขึ้นไป
  2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้หน่วยบริการที่เป็นแกนกลางหรือเป็นแม่ข่ายดำเนินการจัดหาและสนับสนุน ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ให้แก่หน่วยบริการอื่นในเครือข่ายได้ ตามแผนและวงเงินการจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ (แผนและวงเงินการจัดหาฯ) โดยให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์มีสิทธิได้รับ
    ค่าใช้จ่ายจากกองทุนเพื่อจัดหา ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามแผนและวงเงินการจัดหาฯ ใน 4 รายการบริการ ดังนี้
    • 1) บริการกรณีเฉพาะสำหรับรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรค (Instruments) บางรายการ กรณียาจำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ยาบัญชี จ(2) และยารักษาการติดเชื้อวัณโรค
    • 2) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการวัคซีนตามแผนการให้วัคซีนพื้นฐานวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงในเด็ก และยาป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
    • 3) บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ สำหรับยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา ถุงยางอนามัย และยาที่ใช้ในการนำร่องบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีด้วยวิธี Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP)
    • 4) บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง สำหรับน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้อง

วงเงินงบที่ได้รับ

ตามแผนและวงเงินการจัดหาฯ

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

  1. สปสช.จ่ายเงินกองทุนให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้ดำเนินการ จัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษในภาพรวม และสนับสนุนให้แก่หน่วยบริการในเครือข่ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  2. การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เป็น ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ
    • 2.1 จ่ายให้แก่เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ำ เพื่อสนับสนุนให้กับหน่วยบริการที่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์
    • 2.2 จ่ายให้แก่หน่วยบริการที่ไม่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ เป็นค่าชดเชย ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ตามอัตราจ่ายที่ สปสช.กำหนด โดยต้องมีกลไกกำกับหน่วยบริการไม่ให้มีการเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วย
  3. กรณีจำเป็นให้ สปสช.จ่ายเงินกองทุนตามข้อ 2.1 ล่วงหน้าได้ เพื่อให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สามารถดำเนินการจัดหาได้
  4. เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ดำเนินการจัดหา รวมทั้งบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อการให้บริการตลอดปี ทั้งนี้ ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษให้ถือเป็นทรัพย์สินของเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์
  5. กรณีที่เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ ดำเนินการจัดหาแล้วเสร็จ
    • 5.1 หากมีเงินเหลือให้ใช้สำหรับการจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษครั้งถัดไป
    • 5.2 หากมีผลงานบริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณหรือเงินงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ 2564 ไม่เพียงพอ ภายหลังจากปรับประสิทธิภาพอย่างเต็มที่แล้ว ให้แจ้งต่อคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย เพื่อให้ สปสช.รวบรวมข้อมูลเสนอของบประมาณเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

ให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ รายงานผลการดำเนินการและบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ต่อคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย อย่างน้อยทุกไตรมาส

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

0 0
Read Time:2 Minute, 3 Second

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ปี 2564

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (คะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน) ที่เป็นประชาชนไทยทุกคนได้รับบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์ ที่บ้านหรือในชุมชนโดยหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เชื่อมโยงบริการทางสังคมและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ

วงเงินงบที่ได้รับ

ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เป็นงบประมาณที่ได้รับแยกจากงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 838.0260 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลสุขภาพผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นประชาชนไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแนวทางการบริหารจัดการ โดย จ่ายแบบเหมาจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมดำเนินการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในอัตรา 6,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องและตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไ

ขที่ สปสช.กำหนด สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. ตัวชี้วัดในการกำกับติดตามดังนี้ อัตราสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care plan)

2.การกำกับ ติดตาม และประเมินผล

  • 2.1 ระดับประเทศ มีดังนี้
    • 1) กลไกคณะกรรมการร่วมระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.
    • 2) กลไกคณะทำงานขับเคลื่อนและติตตามการดำเนินงาน ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสปสช.
    • 3) กลไกคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.
    • 4) กลไกคณะทำงานร่วมระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ สปสช.
    • 5) การตรวจเยี่ยมพื้นที่โดย สปสช.ส่วนกลาง
  • 2.2 ระดับพื้นที่ มีดังนี้
    • 1) กลไกคณะทำงานร่วมฯ ระดับเขต
    • 2) กลไกคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.)
    • 3) คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    • 4) การประเมินผลอาจประสานหน่วยงานวิชาการภายนอกประเมินผลตามความจำเป็น
    • 5) การตรวจเยี่ยมพื้นที่โดย สปสช.เขต
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง

0 0
Read Time:53 Second
  • บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว เพื่อจัดบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเน้นการควบคุมป้องกันระดับทุติยภูมิ (Secondary prevention) ได้แก่ การตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนตามแนวทางเวชปฏิบัติฯ การควบคุมดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่แรกเริ่มและการพัฒนาศักยภาพการให้บริการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนให้ครอบคลุมและมีคุณภาพ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยชะลอไม่ให้เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ในปีงบประมาณ 2562 ได้เพิ่มชุดการให้บริการควบคุมป้องกันและรักษาในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
  • บริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังตามที่ สปสช.กำหนด สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจำเป็นต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน

0 0
Read Time:2 Minute, 51 Second

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ปี 2564

2.บริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน

เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังตามที่ สปสช.กำหนด สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจำเป็นต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์
1 สนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ได้รับการบริการต่อเนื่องที่บ้าน/ในชุมชนอย่างมีคุณภาพ
2 ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ/การรับเข้ารักษาซ้ำใน รพ.ของผู้ป่วยเป้าหมาย

เป้าหมาย
สำหรับผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จำเป็นต้องดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยรหัสโรค F20-F29 และมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้
1 เป็นผู้ป่วยที่เคยหรือมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental illness with High risk to Violence: SMI – V) ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสุขภาพจิตกำหนด หรือ
2 เป็นผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการจัดการ เช่น ในครอบครัวเดียวกันมีผู้ป่วยจิตเวชหลายคน ผู้ป่วยไม่ยอมรับการเจ็บป่วยของตัวเอง ผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการรักษา ขาดยา ขาดผู้ดูแลหรือผู้ดูแลไม่มีศักยภาพเพียงพอ อาจถูกล่ามขัง จำเป็นต้องสนับสนุนการดูแลโดยชุมชน และหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องร่วมด้วย

วงเงินงบที่ได้รับ

งบบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน เป็นงบประมาณที่ได้รับเพิ่มเติมแยกจากงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาจำนวน 72 ล้านบาท

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

เป็นการบริหารจัดการในระดับประเทศ โดยมีแนวทางการบริหารจัดการดังนี้

  1. สปสช.ส่วนกลาง ดำเนินการคำนวณประมาณการผู้ป่วย และจัดสรรจำนวนเป้าหมายให้ สปสช.เขตจากจำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปีที่ผ่านมา
  2. สปสช.เขต ประสานหน่วยบริการ เพื่อกระจายจำนวนเป้าหมายดำเนินการเบื้องต้น
  3. หน่วยบริการ ดำเนินการลงทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามจำนวน
    ที่จัดสรรให้หน่วยบริการดำเนินการดูแลในพื้นที่ หากมีจำนวนเป้าหมายเหลือสามารถปรับเกลี่ยได้ภายในเขตหรือระดับประเทศ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน แบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้

  1. จ่ายแบบเหมาจ่ายให้หน่วยบริการที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการพี่เลี้ยงตามจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเป้าหมายที่ได้รับการลงทะเบียนในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ในเครือข่ายความรับผิดชอบของหน่วยบริการที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยงในพื้นที่หรือชุมชนนั้น
  2. จ่ายแบบเหมาจ่ายให้หน่วยบริการประจำที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในพื้นที่หรือชุมชนนั้นตามจำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการลงทะเบียน ภายใต้จำนวนเป้าหมายที่ได้รับการจัดสรร

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การจัดสรรผู้ป่วยเป้าหมายของ สปสช.เขต
  2. ผลการดำเนินงาน ดังนี้
    • 2.1 จำนวนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมายเข้าถึงบริการ
    • 2.2 อัตราผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาซ้ำจากอาการกำเริบ (Relapse) ในโรงพยาบาล (Readmission rate) ลดลง
    • 2.3 อัตราผู้ป่วยที่มีผลการประเมินสภาวะสุขภาพ 10 ด้าน ดีขึ้น
Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0 0
Read Time:5 Minute, 25 Second

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ปี 2564

1.บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว เพื่อจัดบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเน้นการควบคุมป้องกันระดับทุติยภูมิ (Secondary prevention) ได้แก่ การตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนตามแนวทางเวชปฏิบัติฯ การควบคุมดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่แรกเริ่มและการพัฒนาศักยภาพการให้บริการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนให้ครอบคลุมและมีคุณภาพ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยชะลอไม่ให้เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ในปีงบประมาณ 2562 ได้เพิ่มชุดการให้
บริการควบคุมป้องกันและรักษาในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานเพื่อลดหรือชะลอภาวะแทรกซ้อน
  3. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดบริการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยใช้รูปแบบบ Chronic CareModel: CCM) การบริหารจัดการโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (District healthboard) และระบบบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว (Primary care cluster) รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

วงเงินงบที่ได้รับ

งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นงบประมาณที่ได้รับแยกจากระบบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 1,091.2110 ล้านบาท

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

ปี 2564 สำหรับ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร อาจปรับจ่ายตามหลักการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า(Value-based Health Care) และอาจบูรณาการจ่ายค่าใช้จ่ายกับรายการบริการประเภทต่างๆ ได้ โดยต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข.

การบริหารจัดการ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แบ่งออกเป็น 2 ระดับ

  1. การบริหารจัดการภาพรวมระดับประเทศ
    • 1.1 จัดสรรแบบเหมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามแนวทางการบริบาลผ้ปู ่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetic self Management program) รายละ 13,636 บาท ให้แก่หน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพเข้าร่วมบริการรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเหมาจ่ายเต็มจำนวน หลังหน่วยบริการลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในระบบเรียบร้อยเป็นไปตามคู่มือพัฒนาระบบและเครือข่าย Thailand Type1DM Network and Registry ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
      • 1.1.1 ค่า Diabetic self management education 11 module (DSME)
      • 1.1.2 ค่าแผ่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง Self Monitoring Blood Glucose (SMBG) พร้อมเครื่องตรวจ
      • 1.1.3 ค่าตรวจภาวะแทรกซ้อนประจำปี ได้แก่ HbA1c, LDL, Microalbuminuria, ตรวจตาและตรวจเท้าอย่างละเอียด
    • 1.2 คำนวณเงินแบบ Global budget ระดับเขต สำหรับบริการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ สปสช.เขต ดังนี้
      • 1.2.1 ร้อยละ 40 จัดสรรตามจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีข้อมูลลงทะเบียนกับหน่วยบริการประจำ (Hmain OP) ตามระบบข้อมูลบริการในเขตนั้นๆ โดยจำนวนผู้ป่วยได้มาจากฐานข้อมูล OP individual OP/AE และ IP individual ผลงานไตรมาส 3 และ 4 ของปีงบประมาณ 2562 และไตรมาส 1 และ 2 ของปีงบประมาณ 2563
      • 1.2.2 ร้อยละ 60 จัดสรรตามผลงานภาพรวมระดับเขตโดยใช้เกณฑ์คุณภาพและผลลัพธ์สำคัญจากการดูแลรักษาโรคผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลงานจากฐานข้อมูลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (OP/e-Claim) สปสช. จำนวน 5 ตัวชี้วัด โดยเป็นผลงานไตรมาส 3 และ 4 ของปีงบประมาณ 2562 และไตรมาส 1 และ 2 ของปีงบประมาณ 2563 ได้แก่
        • 1) อัตราการรับไว้รักษาใน รพ. (Admission Rate) ด้วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของ รพ.ที่รับลงทะเบียนสิทธิ
        • 2) อัตราการรับไว้รักษาใน รพ. (Admission Rate) ด้วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตของ รพ.ที่รับลงทะเบียนสิทธิ
        • 3) อัตราการรับไว้รักษาใน รพ. (Admission Rate) ของผู้ป่วยตัดขาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานของ รพ.ที่รับลงทะเบียนสิทธิ
        • 4) อัตราการรับไว้รักษาใน รพ. (Admission Rate) ด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือที่มีภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูงของ รพ.ที่รับลงทะเบียนสิทธิ
        • 5) อัตราการได้รับการรักษาด้วยวิธี Laser ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนตา
  2. การบริหารจัดการระดับเขต มีหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายแบบ Global budget โดย สปสช.เขตจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้แก่หน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากงบ Global budget ระดับเขต โดยหลักเกณฑ์และผลการจัดสรรต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. ดังนี้
    2.1 คำนวณให้หน่วยบริการตามตัวชี้วัดคุณภาพผลงานบริการควบคุมป้องกันระดับทุติยภูมิ (Secondary prevention) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่ปรับ (Adjust) ด้วยจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    2.2 ใช้ข้อมูลและตัวชี้วัด 5 ตัว ตามที่ส่วนกลางกำหนดและ สปสช.เขตสามารถเพิ่มเติมตัวชี้วัดได้อีกไม่เกิน 3 ตัว ตามบริบทของพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลที่ สปสช.เขตสามารถบริหารจัดการเองได้
    2.3 สำหรับ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร อาจปรับจ่ายตามหลักการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (Value-based Health Care) และอาจจะบูรณาการจ่ายค่าใช้จ่ายกับรายการบริการประเภทต่างๆ ได้โดยต้องผ่านความเห็นชอบของ อปสข.
  3. การบริหารการจ่ายจัดสรรงบบริการเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้หน่วยบริการในสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ กรมแพทย์ทหารอากาศและทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเป็นการเฉพาะ โดยให้มีกลไกคณะกรรมการ/คณะทำงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพิจารณาการจัดสรร
ทั้งนี้ จำนวนเงินในข้อ 1.2.1 และ ข้อ 1.2.2 ให้ สปสช.เขตรวมเป็นเงิน Global ระดับเขต เพื่อจัดสรรให้หน่วยบริการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 ต่อไป

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการโรคเรื้อรัง(เบาหวานและความดันโลหิตสูง) โดยเน้นผลลัพธ์ของการให้บริการ ซึ่ง สปสช.มีกลไกคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับเขต ทำหน้าที่ในการติดตามและประเมินผลคุณภาพการบริการ รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขก็มีกลไกการพัฒนาระบบบริการ Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับเขตทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ รวมถึงการกำกับติดตามประเมินผล ทั้งนี้ ในปี 2564 สปสช.จะมีการดำเนินงานกำกับติดตามและประเมินผล ดังนี้

  1. การกำกับติดตามกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผ่านโปรแกรม Thai-DSMP for Type1DM และกระบวนการตรวจสอบคุณภาพโดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
  2. รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่กำหนด จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ ได้แก่ ข้อมูลบริการจากฐานข้อมูล OP/PP และ IP Individual record
  3. รายงานผลการดำเนินงานประเมินคุณภาพ NCD Clinic Plus จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  4. ประเมินผลการบริหารจัดการเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ (District health board) โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการดูแลรักษาผู้ป่วยทุกระดับ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

0 0
Read Time:4 Minute, 39 Second

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปี 2564

การบริหารจัดการงบบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ครอบคลุมการให้บริการบำบัดทดแทนไตทุกประเภทได้แก่ การล้างไตผ่านทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis: PD) ประกอบด้วย การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis: CAPD) และ การล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated peritoneal dialysis: APD) การฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม (HD) การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (KT) การให้ยากดภูมิคุ้มกันหลังการปลูกถ่ายไต (KTI) โดยเริ่มต้นการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ในผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามทุกราย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับบริการบำบัดทดแทนไตที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานตามความจำเป็นด้านสุขภาพ
  2. ป้องกันการเกิดภาวะล้มละลายของผู้ป่วยและครอบครัวจากค่าใช้จ่ายในการรับบริการบำบัดทดแทนไต
  3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีกลไกการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จัดระบบบริการและดูแลผู้ป่วยโรคไตเสื่อมให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

วงเงินงบที่ได้รับ

งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นงบประมาณที่ได้รับแยกจากระบบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว โดยในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรเป็นงบประมาณเพื่อการบริการบำบัดทดแทนไต ดังนี้

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

  1. ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ลงทะเบียนผู้ป่วย และการชดเชยค่าบริการ เป็นไปตามที่ สปสช.กำหนดหรือที่มีประกาศเพิ่มเติม
  2. แนวทางการรับยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหาฯ ให้หลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามบทที่ 8 กรณีรายการที่กำหนดอยู่ในแผนและวงเงินการจัดหาฯ ให้หน่วยบริการได้รับจากเครือข่ายด้านยาและเวชภัณฑ์ ยกเว้น หน่วยบริการที่ไม่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ได้รับเป็นค่าชดเชยค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามอัตราจ่ายที่

สปสช.กำหนดการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • บริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis: PD)
    • 1.1 เป็นค่าน้ำยาล้างไตทางช่องท้องพร้อมอุปกรณ์สำหรับ APD ค่ายาที่เกี่ยวข้องกับ APD ทั้งนี้ สปสช.ประสานให้หน่วยบริการต้องเตรียมระบบสนับสนุนการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพโดยการเตรียมระบบบริหารจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    • 1.2 บริการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated peritoneal dialysis: APD) สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในพื้นที่ที่มีความพร้อม เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากข้อ
      • 1.2.1 บุคลากรทางการแพทย์ เช่น อายุรแพทย์โรคไต พยาบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางต้นแบบสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไตฯ (PD nurse) และทีมสหวิชาชีพ(นักกำหนดอาหาร เภสัชกร ศัลยแพทย์วางสาย อาสาสมัครสาธารณสุข ฯลฯ)
      • 1.2.2 การให้บริการ เช่น การอบรมผู้ป่วยและผู้ดูแลให้สามารถล้างไตแบบ APD ที่บ้านด้วยตนเอง (ระบบ Call center, ความรู้ด้าน Clinic/Technique, การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย, ช่างเทคนิคเพื่อให้บริการ เป็นต้น)
      • 1.2.3 ระบบการจัดส่งน้ำยาล้างไตและเครื่องล้างไตผ่านทางช่องท้องอัตโนมัติไปที่บ้านผู้ป่วย
      • 1.2.4 ระบบการติดตามผลการรักษาและประเมินผล
  • บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis: HD) สำหรับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายรายเก่าที่รับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2551 และไม่ประสงค์จะเปลี่ยนมารับบริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตามเงื่อนไขสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายรายใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ที่ไม่สามารถใช้บริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ค่าการเตรียมเส้นเลือด การให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนด หรือที่มีประกาศเพิ่มเติม รวมถึงการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะฟอกเลือดโดย เฉพาะกรณีใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก (สำหรับกรณีบริการแบบผู้ป่วยในใช้ค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยในทั่วไป) ตามแนวทางเวชปฏิบัติที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยกำหนด
  • บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมรายใหม่รับยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (HD SelfPay) สำหรับผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมรายใหม่ ที่รับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งไม่ประสงค์จะรับบริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง ให้ดำเนินการตามที่ สปสช.กำหนด หรือที่มีประกาศเพิ่มเติม
  • บริการบำบัดทดแทนไตด้วยการปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation: KT) ครอบคลุมค่าใช้จ่ายบริการสำหรับผู้บริจาคไตและผู้รับบริจาค โดยเป็นค่าเตรียมการผู้บริจาค ค่าเตรียมการผู้รับบริจาคค่าผ่าตัดผู้บริจาคและผู้รับบริจาค ค่าบริการกรณีมีภาวะแทรกช้อนโดยตรงจากการปลูกถ่ายไต เช่น ภาวะสลัดไต (Graft rejection) รวมถึง ค่ายากดภูมิคุ้มกันหลังการผ่าตัด และการติดตามผลภายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ตามแนวทางเวชปฏิบัติที่สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยกำหนด หรือที่มีประกาศเพิ่มเติม

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้องรัง ปีงบประมาณ 2564 ดังนี้

  1. ด้านการเข้าถึงบริการ
    • 1.1 อัตราการเข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไตเทียบกับอัตราความชุกของการเกิดโรค
    • 1.2 อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยปลูกถ่ายไต
  2. ด้านคุณภาพบริการ
    • 2.1 อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย CAPD ในระยะเวลา 12 เดือนหลังเริ่มต้นรับการรักษา
    • 2.2 อัตราการเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้องโดยเฉลี่ยของผู้ป่วย CAPD
    • 2.3 ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ที่มีค่าเฉลี่ยของระดับฮีโม-โกลบิน ต่ำกว่า 10 กรัมต่อเดซิลิตร
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version