ชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation

0 0
Read Time:20 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปมติและข้อสั่งการCFO-9ก.ย.64

0 0
Read Time:8 Minute, 39 Second

สรุปมติ และข้อสั่งการ
ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO)
หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.

(ภาพและวาระการประชุม)

ประเด็น :

สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนสิงหาคม 2564

แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการปรับเกลี่ย….

  • การปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด
  • กันเงินไว้บริหารระดับเขต เพื่อปรับเกลี่ยภายใน ไตรมาส 3/65 จำนวน 42,000,000 บาท
  • จังหวัดขอนแก่น ได้รับจัดสรรรวมทั้งสิ้น 94,024,615.87 บาท

แนวทางการปรับเกลี่ย ระดับจังหวัด ให้กับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น

  • จัดสรรตามสัดส่วน NWC ที่ติดลบ
  • จัดสรรตามสัดส่วนจำนวน รพ. M1, M2, F1
  • จัดสรรตามส่วนต่าง เงิน OP PP IP ปี 2564 และ 2565 ที่ลดลง
  • จัดสรรตามประมาณการรายรับเงิน OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปี 2565
  • กันเงิน CF ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14,000,000 บาท
    1. ไว้จัดสรรเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในไตรมาส 3/2565 จำนวน 9,000,000 บาท
    2. จัดสรรเพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนตามนโยบายด้านสาธารณสุข ปี 2565 จำนวน 5,000,000 บาท

จัดสรรเงินสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ปีงบประมาณ 2565

วงเงิน 52,427,222.19 บาท ตามจัดสรรตามสัดส่วนประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ณ 1 เมษายน 2564 โดยจัดสรรให้หน่วยบริการนอกสังกัด จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.ศรีนครินทร์ มข. และ รพ.ค่ายศรีพัชรินทร รวม 1,573,432.61 บาท คงเหลือจัดสรรให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. จำนวน 50,853,789.58 บาท

การกันเงิน OP Virtual Account เพื่อตามจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แทน CUP กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินในจังหวัด และส่งต่อนอกจังหวัด ปีงบประมาณ 2565

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตามจ่าย OP Refer นอกจังหวัด 20 ล้านบาท และ ตามจ่าย OP Refer/OP AE ในจังหวัด 120 ล้านบาท

จัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย ประเภท รพท./รพศ.ระดับ ก (งบ Hardship) ปีงบประมาณ 2565

โรงพยาบาลชุมแพ ได้รับจัดสรรงบ จำนวน 5,178,140.02 บาท

สรุปแผนการโอนเงินเหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2565

การปรับเกลี่ยเงินกัน UC ที่บริหารระดับประเทศ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

  • จังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,653,879.20 บาท ผลการจัดสรร…
    • ครั้งที่ 1 จำนวน 3,777,400 บาท พิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ทุกแห่ง ตามสัดส่วนประมาณการรายรับงบ OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปีงบประมาณ 2564
    • ครั้งที่ 2 จำนวน 1,876,479.20 บาท พิจารณาจัดสรรให้ รพ.พล เต็มจำนวน เพื่อสนับสนุนชดเชยค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ที่โรงพยาบาลในโซนใต้ค้างชำระ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,969,180 บาท ณ 31 สิงหาคม 2564 สรุปค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
      • ค่าเวชภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 840,215 บาท
      • ค่าสิ่งส่งตรวจ จำนวน 1,128,965 บาท
  • * รพ.ชนบท ได้รับจัดสรรตามเกณฑ์ กรณีช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในไตรมาส 4/2564 จำนวน 1,457,900 บาท (สป.แจ้งโอนตรงให้หน่วยบริการ)

การปรับเกลี่ยงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564 ที่เหลือจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ คงเหลือเงินกันผู้ป่วยนอกในจังหวัด จำนวน 34,057,364.57 บาท

  1. จัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน โรงพยาบาลที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังดีเด่น และพัฒนางานที่เกี่ยวข้องตามนโยบาย จำนวน 9,000,000 บาท เงื่อนไขจัดสรร ดังนี้ เอกสารหมายเลข 4
    • การพัฒนาตามเกณฑ์ TPS V.3 ไตรมาส 3 ปี 2564
    • TPS เกรด A และ B
    • ข้อมูลโรงพยาบาลที่มี NWC ติดลบ ณ สิงหาคม 2564
    • ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
    • จัดสรรตามสัดส่วนประมาณการรายรับหลังหักเงินค่าแรง OP PP IP ปี 2564
  2. จัดสรรเพื่อบริหารจัดการภาระค่าใช้จ่ายค่ายา (ยาที่ รพ.ขอนแก่นผลิต และยาสำเร็จรูปไม่รวมยา Refer) ค่าเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ค่า lab และค่าจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง รพช./ รพท. ในจังหวัดขอนแก่น กับ รพ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นข้อมูลขอรับการสนับสนุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – 2564 (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2564) จำนวน 25,057,364.57 บาท

แนวทางการบริหารจัดการขอรับการสนับสนุนยา/ วชย./ Lab ที่ รพท./รพช.ในจังหวัดขอนแก่น จากโรงพยาบาลขอนแก่น

  • แต่งตั้งคณะทำงานย่อย (พบส.ที่เกี่ยวข้อง) กำหนดหน้าที่และบทบาท
  • ให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบรายการยา/วชย./lab ที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่น
  • กำหนดหลักการ/เงื่อนไข กรอบรายการประเภทวัสดุที่จะขอรับการสนับสนุน และจ่ายคืนอย่างไร ?
  • พบส. ที่เกี่ยวข้องทบทวน&เสนอกรอบรายการที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่นได้/ เงื่อนไขที่จะตามจ่าย ภายในต้นปีงบประมาณ 2565 ได้แก่
    • ระบุรายการที่จะให้เบิก/จ่ายได้
  • เงื่อนไขการสั่งจ่ายของผู้สั่งจ่าย รพ.ขอนแก่น
  • กรอบปริมาณที่จะจ่ายแต่ละคราว

การกำกับติดตามและเฝ้าระวังทางการเงินการคลังของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565

ขอให้หน่วยบริการทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการกำกับติดตามในเรื่องของสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้

  1. สรุปวิเคราะห์เสนอในที่ประชุม กวป. โดยมีการวิเคราะห์เป็นรายหน่วยบริการ
    • หน่วยบริการมีปัญหาประเด็นปัญหาในเรื่องใด โดยเฉพาะตามดัชนีชี้วัด จากผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเกณฑ์ Total Performance Score
  2. ขับเคลื่อนการดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น และคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) ซึ่งจะให้เน้นย้ำประเด็นดังต่อไปนี้
    • แผนเงินบำรุงสำหรับในทุกหน่วยบริการ (รพ./รพ.สต.) ซึ่งต้องวางแผนการทำแผนบำรุงให้สอดคล้องกับการดำเนินจริง สามารถปรับแผนได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หน่วยบริการไม่มีแผนที่ทันสมัย และมีการใช้จ่ายเกินกว่าแผนเงินบำรุงที่ขออนุมัติไว้
    • หน่วยบริการต้องดำเนินการตามระบบควบคุมภายใน ซึ่งงานตรวจสอบภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเป็นผู้ประเมินโดยใช้เครื่องมือการตรวจประเมินภายใน 5 มิติ (EIA) ขอให้หน่วยบริการให้ความสำคัญ และดำเนินการตามเกณฑ์การตรวจประเมินผลที่กำหนด
  3. งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) ของ สปสช. ให้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และกำกับติดตามหน่วยบริการที่ได้รับสนับสนุนงบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จตามกรอบและห้วงเวลาที่กำหนด เนื่องจาก สปสช.จะให้คืนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเงินของหน่วยบริการนั้นๆ

โรงพยาบาลพล เสนอขออนุมัติใช้เงินกองทุน OP Virtual จังหวัดขอนแก่น เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ (CT Scan) กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น

  • ด้วย โรงพยาบาลพล ได้พัฒนาศักยภาพการในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Service Plan Stroke จังหวัดขอนแก่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการด้านโรคหลอดเลือดสมอง ของ Node Stroke Fast Track จังหวัดขอนแก่น คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอพล และอำเภอใกล้เคียง ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ทั้งนี้ โรงพยาบาลพลได้ดำเนินการเปิดศูนย์ CT Scan และเริ่มให้บริการตรวจพิเศษ CT Scan แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา
  • เสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุนผู้ป่วยนอก จังหวัดขอนแก่น (OP Virtual Account) เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจพิเศษ CT Scan กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น สำหรับผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการประจำ สังกัด สป.สธ. ในจังหวัดขอนแก่น ตามที่แพทย์ของโรงพยาบาลขอนแก่นสั่งตรวจวินิจฉัย และมีนัดติดตามผลการรักษา เพื่อลดการรอคอยคิวในการตรวจ CT โดยขอรับชดเชยค่าบริการตรวจในอัตราจ่ายค่าตรวจ CT ตามแนวทางข้อตกลงของจังหวัดที่กำหนด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

แนวทางการสนับสนุนงบ Fixed Cost สำหรับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2565

คณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เสนอขอให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ขอให้แจ้งวงเงินจัดสรรรายปี งบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่จะต้องใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และงบประมาณงบดำเนินงาน (หมวด 300) ที่ สสอ.ได้รับจัดสรร ประจำปี เพื่อโรงพยาบาลจะได้ทราบจำนวนเงินส่วนต่างที่ต้องโอนเงินเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  2. ขอให้ทบทวนวงเงินจัดสรรงบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอใหม่ สืบเนื่องจากมีการกำหนดวงเงินจัดสรรในภาพรวม 7,800,000 บาท นี้ มาเป็นเวลา 3 ปี แล้ว
  3. ขอให้แจ้งแนวทางการการสนับสนุนงบ Fixed Cost ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขแนวทางใดๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความสับสนในการปฏิบัติ
  • มอบกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข แจ้งจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ สสอ. ประจำปีงบประมาณ 2565 และให้ทบทวนปรับปรุงวงเงินสนับสนุน Fixed Cost
  • มอบกลุ่มงานประกันสุขภาพ แจ้งแนวทางการจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ รพ.สต.ให้โรงพยาบาลทราบ และดำเนินการเป็นปีๆ ไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปผลการประเมินEIA จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564

0 0
Read Time:5 Minute, 54 Second

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

รายงานผลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : ElA)

ตามแผนการตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้กำหนดแผนการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ทุกหน่วย บริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นั้น
การปฏิบัติงานกลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการ
ตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งสรุปผลการตรวจสอบภายในภาพรวมจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

เชิงปริมาณ

ผลการประเมินการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังโดยระบบ (Electronics Internal Audit : EIA)จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๒๖ แห่ง

สรุปผลการประเมินภาพรวม ผลการดำเนินงานในภาพรวมของระดับจังหวัด ผลคะแนนร้อยละ ๘๐.๓๕ อยู่ในเกณฑ์ดี จากการตรวจสอบในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) พบว่าในแต่ละมิติมีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ มิติด้านการเงิน ร้อยละ ๘๓.๕๓ มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ ๘๐.๕๒ มิติด้านงบการเงิน ร้อยละ ๗๗.๓๘ มิติด้านบริหารพัสดุ ร้อยละ ๗๔.๐๒ และมิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ ๘๕.๖๘

เชิงคุณภาพ

ประเด็นความเสี่ยงที่ตรวจพบ (condition) ดังนี้

  • ๑) มิติด้านการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ มีการเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานมีวงเงินเก็บรักษาเกินกว่าที่กำหนดตามประกาศสำนักงานบ่ลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS หน่วยบริการไม่ได้นำเงินฝากคลังและไม่ได้จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากคลัง การเบิกจ่ายค่าตอนแทนนอกเวลาราชการ (ฉ๕) และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ได้แนบคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานรับ – จ่ายเงินบริจาคของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อส่งรายงานให้หน่วยงานคลังของส่วนราชการต้นสังกัดภายใน ๖0 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
  • ๒) มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่มีการนำส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับการโอนเงินจากหน่วยงานหรือกองทุนต่าง ๆ ระหว่างงานการเงินกับงานประกันสุขภาพไม่มีการเซ็นรับ – ส่งเอกสารระหว่างกัน การเร่รัดติดตามการชำระหนี้หน่วยงานมีเพียงหนังสือแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่มีหนังสือเร่งรัดติดตามการชำระหนี้ (หนังสือฉบับที่ ๒ ติดตามการจ่ายชำระหนี้กรณียังไม่ได้รับชำระเงินหลังจากแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาลครั้งที่ ๑ แล้ว) กระบวนการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ไม่มีทะเบียนคุมข้อมูลการสังคมสงเคราะห์ และหลักฐานเอกสารเสนอผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ และหน่วยบริการไม่ได้สอบทานยืนยันยอดความมีอยู่จริงของลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นปีงบประมาณกับกองทุนต่าง ๆ หรือส่วนราชการ
  • ๓) มิติด้านงบการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำทะเบียนคุมบัญชีเงินฝากคลังและบัญชีเงินหลักประกันสัญญา การบันทึกบัญชีด้านรับ ด้านจ่าย และด้านทั่วไปหน่วยบริการไม่แนบหลักฐานประกอบการบันทึกบัญที ไม่มีการสอบทานยืนยันยอดคงเหลือระหว่างทะเบียนคุมหรือรายงานกับงบทดลอง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่ไม่ปรับปรุงรายการรายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้าและค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ณ วันสิ้นปีงบประมาณตามนโยบายปัญชีที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและหน่วยบริการไม่แนบหนังสือนำส่งรายงานการรับ – จ่ายเงินบำรุง ที่หัวหน้าหน่วยงานรับรอง
  • ๔) มิติด้านบริหารพัสดุ จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำโครงสร้างสายการบังคับบัญชางานพัสดุ หรือบางแห่งมีการจัดทำแต่สายการบังคับบัญชายังไม่ถูกต้อง การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เอกสารประกอบในแต่ละชุดไม่มีเอกสารมอบหมายหรือแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๑) รายละเอียดคุณสักษณะเฉพาะของหัสดุ และรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ ซึ่งบางแห่งมีการจัดทำรายงานการตรวจรับพัสดุจากระบบ e – GP กับรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเป็นฉบับเดียวกัน แต่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ตรวจสอบทราบ บัญชีวัสดุและทะเบียนคุมทรัพย์สินรายละเอียดและแนวทางไม่เป็นไข่ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และใบเบิกพัสดุผู้อนุมัติสั่งจ่ายไม่ใช่หัวหน้าหน่วยพัสดุตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
  • ๕) มิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง จากการตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่มีการเซ็นรับรองรายงานการประชุมจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล รายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.๔) และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน(แบบ ปค.๕) ระดับส่วนงานย่อยไม่มีการเซ็นรับรองจากหัวหน้าส่วนงานย่อย ไม่จัดทำร้ายงานการติดตามผลการปรับปรุงการควบคุมภายใน และแผนบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะแผนความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (S) หน่วยงานแนบหนังสือนำส่งแผนแต่ไม่มีรายละเอียดของความเสี่ยงผู้ตรวจสอบจึงไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานในแต่ละด้านได้

สาเหตุ (Cause)

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกฏ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงทักษะในการปฏิบัติงานไม่ซัดเจนเพียงพอ ส่งผลให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในบางประเด็นทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีการสอบทานยืนยันยอดระหว่างกัน และขาดความระมัดระวังรอบคอบในการปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่มีการจัดวางระบบในการส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน และไม่มีการตรวจสอบชุดเอกสารก่อนจัดส่งไปยังส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ผลกระทบ (Effect)

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเอกสารสูญหายหน่วยงานจะไม่สามารถตรวจสอบติดตามเอกสารนั้นได้ เพราะไม่มีข้อมูลการส่งต่อเอกสารระหว่างกัน ขาดการกำกับ ติดตาม อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของหน่วยงานไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องรับภาระความเสี่ยงจากระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุม และการเบิกจ่ายที่ชุดเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องตามระเบียบ เนื่องจากขาดเอกสารในบางส่วน อาจส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบด้วยเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ (Recommendation)

  1. การเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานจะต้องมีวงเงินเก็บรักษาตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ชักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS
  2. ผู้รับผิดชอบตามคำสั่งมอบหมายงานและบุคลากรทุกส่วนงานจะต้องศึกษากระบวนการทำงานของตนเองให้มีความแม่นยำในการปฏิบัติงาน
  3. หน่วยบริการควรกำกับ ดูแล และกำชับเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้องก่อนจัดส่งเอกสารไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
  4. ควรทบทวนกระบวนการทำงานของแต่ละส่วนงานเพื่อให้ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรแยกความรับผิดชอบในการทำงานของแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการปฏิบัติงานช้ำซ้อน
  5. การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อย่างเคร่งครัด
ผู้ประเมิน
นางสาวสุชานาถ ทินวงศ์
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ผู้ตรวจสอบประจำเขตสุขภาพที่ ๗
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สถานการณ์ทางการเงิน กรกฎาคม 2564

0 0
Read Time:1 Minute, 26 Second

นำเสนอคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

ประจำเดือนสิงหาคม 2564

ภาพรวมวิกฤติทางการเงินในเขตสุขภาพที่ 7

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประมวลผลโดยสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 พบว่าจังหวัดขอนแก่น มีหน่วยบริการที่อยู่ในวิกฤติระดับ 4-7 จำนวน 2 แห่งโดยเป็นระดับ 4 คือ รพ.พระยืนและรพ.ภูผาม่าน โดยข้อมูลรายแห่งตามตารางด้านล่าง

ข้อมูลวิเคราะห์วิกฤติทางการเงินระดับ 7 จังหวัดขอนแก่น*

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564

การควบคุมกำกับแผนทางการเงิน จังหวัดขอนแก่น ปี 2564

แบบรายได้(ไม่รวมงบลงทุนและรายได้อื่น(ระบบบัญชีบันทึกอัตโนมัติ)และไม่รวมรายได้ UC)
และค่าใช้จ่าย(ไม่รวมค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย)

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564)

แบบรวมรายได้และรายจ่ายทุกประเภท

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564)

รายงานการโอนงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ปี 2564

1.งบเหมาจ่ายรายหัว

2.งบกองทุนอื่นๆ

ที่มา : จากระบบรายงานการโอนเงิน ( NHSO Budget) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/
ข้อมูล ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2564 

คะแนนตรวจสอบงบทดลอง

สถานการณ์ทางการเงิน รพ.สต.ในจังหวัดขอนแก่น

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมม.41 จ.ขอนแก่น ครั้งที่9/2564

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมแพทย์แผนไทยสสจ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลานพ.สสจ.ขอนแก่น ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการ ม.41 จ.ขอนแก่น ครั้งที่9/2564 มีคำร้องเข้าพิจารณา 4 คำร้องมีมติ ดังนี้

  1. กรณีทารกอายุ 1เดือน คลอดที่ รพช.ด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ คลอดติดไหล่ 90 วินาที หลังคลอด แขนและไหล่ขวาไม่ขยับ ตรวจพบกระดูกไหปลาร้าขวาหัก มีภาวะตัวเหลืองร่วมกับภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ส่งต่อรพศ.ตรวจพบแขนงประสาทแขนขวาบาดเจ็บไม่สามารถยกไหล่ งอศอก กระดกข้อมือและขยับนิ้วขวาได้ ส่งต่อรพ.ศรีนครินทร์เพื่อการผ่าตัดรักษา
    • มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 216,000บาทและช่วยเศรษฐานะ จำนวน 24,000บาท รวมจำนวน240,000บาทตามข้อบังคับข้อ6(2)
  2. กรณี มารดาอายุ31ปี ตั้งครรภ์หลังทำหมันที่ รพช.
    • มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯจำนวน60,000บาท
  3. กรณีมารดาอายุ33ปี ตั้งครรภ์หลังทำหมัน ที่ รพศ.
    • มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯจำนวน60,000บาท
  4. กรณีมารดาอายุ23ปี ตั้งครรภ์ หลังทำหมันที่ รพท.
    • มีมติไม่จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯเนื่องจากในเวชระเบียนการรักษามีบันทึกการถ่ายภาพการตัดท่อนำไข่ ถือเป็นพยาธิสภาพของโรค
**กรณีที่2)และ3)ถือเป็นเหตุสุดวิสัยฯเนื่องจากไม่มีหลักฐานสนับสนุนการตัดท่อนำไข่
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมสรุปตรวจราชการปีงบ2564 รอบที่ 2

0 0
Read Time:1 Minute, 25 Second

การประชุมสรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 ผ่าน Application CiscoWebX วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1 โครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดย แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 3 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2 กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ โดย นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 9 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3 ระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 12 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4 สุขภาพกลุ่มวัย สุขภาพจิต โดย นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5 ลดแออัด ลดรอคอย ลดป่วย ลดตาย โดย นายแพทย์พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 11 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6 ระบบธรรมาภิบาล โดย นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 2 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7 การตรวจราชการแบบบูรณาการ โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7
  • ผลการตรวจราชการประเด็น Area based และประเด็นนวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ (Innovative Healthcare Management) เขตสุขภาพที่ 1-12 โดย ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ
  • แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

เอกสารประกอบการประชุม

http://planfda.fda.moph.go.th/newplan/meetrh1/training_description.php?agenda_description=93

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบกองทุนตำบลปี2564

0 0
Read Time:1 Minute, 13 Second

วันที่ 9 ส.ค. 2564; เวลา 8.30 น.-16.30น. ณ.ห้องประชุมนภาลัยโรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้ นายแพทย์อดุลย์ บำรุง( นายแพทย์เชี่ยวชาญเวชกรรมป้องกัน) และ กลุ่มงานประกันสุขภาพ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ ”โครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนและสร้างอัตลักษณ์การจัดการสุขภาพชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2564 “ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ปลัด /หัวหน้าสำนักปลัด/ท้องถิ่นอำเภอ/ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพของ สสอ.และ รพ.ของพื้นที่อำเภอ

ภายหลังการนำเสนอพื้นที่ต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก นายแพทย์เรืองศิลป์ เถื่อนนาดี และน.ส.วนิดา วิระกุล ที่ได้มาร่วมอภิปรายผลการนำเสนอผลงานของพื้นที่ต้นแบบ นี้ ส่งผลให้พื้นที่ๆได้เข้าร่วมประชุม ได้เรียนรู้ ทางผู้จัดขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทั้ง 3 ท่านที่ช่วยแนะนำ ขัดเกลา ให้มีความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการกองทุนฯในบริบทตนเองเพิ่มขึ้น และจะนำไปพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนให้ครอบคลุมทั้ง 4 ตัวชี้วัดของโครงการ อย่างต่อเนื่องยั่งยืนตลอดไป

เอกสารประกอบการประชุม ดาวน์โหลดที่นี่

https://www.uckkpho.com/wp-content/uploads/2021/08/650355771.952592.mp4

ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมไม้นวดมหัศจรรย์แก้ปวดเมื่อย

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ผลการประเมินประสิทธิภาพ Total Performance Score ไตรมาส 3 ปี 2564

0 0
Read Time:33 Second

คะแนน TPS รายหน่วยบริการ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงฯ วันที่9ก.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 42 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น วันที่ 9 ก.ค. 2564 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ วาระประกอบด้วย

  • แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (เพิ่มเติม)
  • แนวทางการบันทึกข้อมูล ผ่านโปรแกรม e-claim

ข้อมูลการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ข้อมูลการจ่าย 9 เมษายน 2563 ถึง 27 มิถุนายน 2564)

หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกเบิกจ่ายในโปรแกรม e-Claim กรณี COVID-19

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)

0 0
Read Time:3 Minute, 57 Second

ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โดยยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพในการรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่มีความพร้อมและการย้ายหน่วยบริการได้ ๔ ครั้งต่อปีได้สิทธิทันที (ไม่ต้องรอ ๑๕ วัน) ทั้งนี้ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขสู่การปฏิบัติ เขตสุขภาพที่ ๗ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ในการขับเคลื่อนนโยบายยกระดับ ทั้ง ๔ เรื่อง โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป นั้น

สำหรับนโยบายข้อที่ ๑ ด้านประชาชนที่เจ็บบ่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ได้มีการขยายพื้นที่ดำเนินการในพื้นที่เขตภาคอีสาน (เขต ๗ ๘ ๙ และ เขต ๑๐) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งประกาศ เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกาศ ณ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ ผู้เข้ารับบริการสามารถใช้สิทธิบริการสาธารณสุขเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการอื่นนอกจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เขตภาคอีสาน ให้ถือเป็นกรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งตัว ตามเงื่อนไขที่กำหนด และได้แจ้งแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ สำหรับพื้นที่รอยต่อยังให้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงเดิมของแต่ละพื้นที่ โดยให้หน่วยบริการถีอปฏิบัติตั้งแต่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในการใช้บริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่ายในพื้นที่เขตภาคอีสาน โดยจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการตามจริงไม่เกิน 70- บาท/Visit ทั้งนี้ สำหรับกรณีการใช้บริการนอกเครีอข่ายหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิ ประเภทผู้ป่วยนอก ในจังหวัด กำหนดให้เป็นไปตามข้อตกลงของจังหวัด ดังนั้น กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงได้เสนอผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (กวป.) ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ กำหนดอัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก เพิ่มเติมกรณีที่มีเหตุสมควร ระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น อัตราจ่ายตามจริงไม่เกิน 70 บาท/Visit อัตราจ่ายเช่นเดียวกันกับในเขตพื้นที่ภาคอีสาน โดยตามจ่ายด้วยเงินกองทุน OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงขอส่งแนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เข้ารับบริการระดับปฐมภูมิ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรภายในจังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งอัตราค่าบริการทางการแพทย์ (เพิ่มเติม) โดยถือปฏิบัติตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบงาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ รวบรวมข้อมูลบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ(รพ.สต.) ทุกแห่ง ตามแบบ นค.๑ (สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ให้บริการตั้งแต่ 1 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2564 ส่งให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 และให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ส่งไปยังกลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 หากไม่ส่งข้อมูลตามกำหนด จะถือว่าไม่ประสงค์จะะเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ในห้วงเวลาที่กำหนด ดังกล่าว และครั้งต่อไปให้ส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ และ ๔
  2. หน่วยบริการที่ให้บริการโรงพยาบาลทั่วไป/ โรงพยายาลศูนย์ และหน่วยบริการอื่นที่เข้าร่วมโครงการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกกรณีที่มีเหตุสมควรโดยไม่มีใบส่งตัว ให้ส่งข้อมูลบริการเรียกเก็บไปยัง สปสซ.ผ่านระบบ E-Claim กำหนดจ่ายตามรายการ Fee schedule และ Fee for sevice with point system รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒
  3. โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินภายในจังหวัดขอนแก่น เช่นเดิม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version