เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ

0 0
Read Time:1 Minute, 21 Second

หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม้จะเป็นหน่วยบริการเล็กๆ หรืออาจจะเล็กที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความเล็กของสถานที่ ของทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหน่วยบริการระดับโรงพยาบาล แต่เป็นหน่วยบริการที่สำคัญมีคุณค่ายิ่งนัก เป็นฟันเฟืองที่สำคัญของการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีความใกล้ชิด มีความผูกพัน มีความเข้าใจสภาพของชุมชน

และประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดีที่สุด ในบางพื้นที่อาจจะจัดได้ว่าเป็นจุดเล็กๆที่มีพลังมากที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นที่ที่ประชาชน และชุมชนให้ความรัก ความศรัทธาเป็นอย่างมาก หน่วยบริการปฐมภูมิหรือจะเรียกว่าสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการจัดบริการปฐมภูมิ ขอเพียงแต่หน่วยบริการเล็กๆเหล่านี้มีความเข้มแข็ง มีกำลังใจ มีความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะให้บริการสุขภาพที่ตอบสนองสภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนและซุมชน เชื่อว่า สุขภาวะที่ดีของประชาชนและชุมชนคงเกิดได้ไม่ยากนัก “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยบริการปฐมภูมินำไปใช้ในการประเมินหรือทบทวนตนเองบนความคาดหวังว่า “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” นี้จะช่วยให้หน่วยบริการปฐมภูมิมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพที่มีความจำเพาะ และมีความพิเศษสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมินั้นๆ เป็นสำคัญ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หนังสือชุด “ประสบการณ์คนทำงานด้านการบริหารจัดการบริการปฐมภูมิ”

0 0
Read Time:2 Minute, 21 Second

หนังสือชุด “ประสบการณ์คนทำงานด้านการบริหารจัดการบริการปฐมภูมิ” ประกอบด้วย

เล่ม 1 “การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP Management)”

หน่วยบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิซึ่งเดิมเป็นบทบาทที่ใช้ในนามของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ฐานะที่เป็นองค์กรบริหารจัดการและพัฒนาระบบสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้คำใหม่ในความหมายของหน่วยคู่สัญญาที่ทำหน้าที่รับจัดบริการสุขภาพด้านปฐมภูมิตามเงื่อนไขของการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่าเป็น Contracted unit of primary care (CUP) ซึ่งสามารถขึ้นทะเบียนได้ทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับกระทรวงสาธารณสุขที่มีโครงสร้างหน่วยงานภายใต้ระบบราชการอยู่แล้ว CUP จึงเป็นกลไกที่เกิดขึ้นท่ามกลางโครงสร้างงาน วัฒนธรรมการทำงานการบริหารจัดการที่มีอยู่เดิม และด้วยข้อจำกัดมากมาย การบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในพื้นที่จึงเป็นความท้าทายและความพยายามในการพัฒนาของผู้เกี่ยวข้อง

เล่ม 2 “ประสบการณ์การบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCU Management)”

ประสบการณ์และบทเรียนที่เกิดขึ้นเรื่อง การบริหารจัดการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ(Primary Care Unit: PCU) หรือ สถานีอนามัย หรือ ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นผลที่มาจากการแลกเปลี่ยนระหว่างคนทำงานที่PCU เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานว่าตรงไหนทำแล้วว่าดี ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วเห็นผล ไม่เฉพาะเรื่องบริการ แต่เป็นเรื่องการทำงานเป็นทีมที่ดี ทำงานบริการกับประชากรเป้าหมายได้ดีทำงานไปแล้วมีผลลัพธ์ มีการติดตามและเกิดผลที่ดีด้วย นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังเป็นสื่อที่สะท้อนการทบทวนตนเองของคนทำงาน เรื่องกระบวนการทำงานที่เป็นจุดเด่นและอยากถ่ายทอด อยากแลกเปลี่ยนด้วยความภาคภูมิใจ ส่วนแรกของหนังสือเป็นรายละเอียดของความคิด รูปธรรม นวตกรรมการบริการและ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนจากมุมมองจากคนทำงานปฐมภูมิในบริบทการทำงานที่หลากหลาย ทั้งนี้ได้มาจากการประชุม “การจัดการความรู้การบริหารจัดการระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ” ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(สพช.) และส่วนที่สองเป็นตัวอย่างเรื่องเล่าการทำงานจากคนทำงานที่PCU ซึ่งเข้าร่วมกระบวนการประชุมและได้เขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวบางส่วนของงานที่ทำ

เล่ม 3 “ประสบการณ์การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP) ในเขตเมือง”

สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ได้จัดเวทีจัดการความรู้ในเรื่อง “การบริหารจัดการระดับ CUP ในบริบทโรงพยาบาลใหญ่ เขตเมือง และ PCU ในเครือข่าย” โดยมีผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือวางระบบกลไกของ CUP และเครือข่าย PCU ในเขตเมืองจาก 14 พื้นที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้ถอดบทเรียนของการแลกเปลี่ยนจัดการความรู้อย่างน่าสนใจ ซึ่งควรค่าแก่การถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเพื่อเป็นกรณีศึกษาแก่ CUP ต่างๆ ได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บริการปฐมภูมิที่แพทย์ประจำครอบครัว ปีงบประมาณ 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 26 Second

เอกสารประกอบการประชุมแนวทางการจัดทำข้อมูลผลงานและการใช้งานโปรแกรม PCC เพื่อรับค่าบริการเพิ่มเติม สำหรับบริการปฐมภูมิที่แพทย์ประจำครอบครัว ปีงบประมาณ 2566
วันที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 09.30 – 12.00 น.

หัวข้อประชุม

  • 09.30 – 09.45 น. เปิดการประชุม และ บรรยาย ทิศทาง ความคาดหวัง และแนวทางการบริหารค่าบริการเพิ่มเติม สำหรับบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว ปีงบประมาณ 2566 โดย นพ.สาธิต ทิมขำ ผู้อำนวยการ กลุ่มภารกิจสนับสนุนการเข้าถึงบริการปฐมภูมิและการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 09.45 – 10.15 น. แนวทางการจัดทำข้อมูลสิ่งส่งมอบ และผลลัพธ์บริการปฐมภูมิ เพื่อรับค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับบริการปฐมภูมิที่แพทย์ประจำครอบครัว ปีงบประมาณ 2566 โดย นางบำรุง ชลอเดช ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มภารกิจสนับสนุนการเข้าถึงบริการปฐมภูมิและการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 10.15 – 11.00 น. แนวทางการใช้งานโปรแกรม PCC เพื่อรับค่าบริการเพิ่มเติม สำหรับบริการปฐมภูมิที่แพทย์ประจำครอบครัว ปีงบประมาณ 2566 โดย นายวีระศักดิ์ ชนะมาร ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น
  • 11.00 – 11.15 น. ระบบสนับสนุนการใช้โปรแกรม PCC (IT support & Helpdesk) โดย นายอัครรัฐ หย่างไพบูลย์ ผู้จัดการกองฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 11.15 – 12.00 น. อภิปรายทั่วไป และปิดการประชุม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version