แจ้งแนวทาง Pre Audit กรณีการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PPFS) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

0 0
Read Time:2 Minute, 40 Second

แจ้งแนวทางการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสาธารณสุขก่อนการจ่ายชดเชย (Pre Audit) กรณีการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PPFS) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ตามหนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช ๙.๓๐/ว ๘๔๕๑ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้แจ้งให้หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในบริการที่จ่ายตามรายการ (PP Free Schedule) ต้องมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสาธารณสุขก่อนการจ่ายชดเชยค่าบริการ ตามแนวทางการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ดังนี้

  • ตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ผ่านเงื่อนไขการตรวจสอบเบื้องตัน (verify) ที่ https://eclaim.nhso.go.th/Client/login >>บริการ>>รับชุดข้อมูลผลการตรวจสอบ>>ค้นหา
  • กรณีที่มีข้อมูลบันทึกขอส่งเบิกชดเชยค่าบริการไม่ผ่านเงื่อนไขการตรวจสอบ ให้หน่วยบริการดำเนินการแนบเอกสาร ที่ https://ppfs.nhso go.th/ppaudit/

ปฏิทินการตรวจสอบก่อนการจ่ายชดเชย (Pre audit) กรณีการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PPFS)ปีงบประมาณ 2566

Statement (STM) ที่Verify สำหรับการตรวจสอบหน่วยบริการแนบเอกสาร *สปสช.ตรวจสอบโดยทีมผู้ตรวจสอบสปสช.แจ้งผลการตรวจสอบและหน่วยบริการขอทักท้วง (ถ้ามี) **สปสช.พิจารณาผลการทักท้วงของหน่วยบริการ
6512_01 / 6512_028 ม.ค. – 22 ม.ค. 66 23 – 27 ม.ค. 663 ก.พ. – 12 ก.พ. 6613 – 17 ก.พ. 66
6601_01 / 6601_028 ก.พ. – 22 ก.พ. 66 23 – 27 ก.พ. 663 มี.ค. – 12 มี.ค. 6613 – 17 มี.ค. 66
6602_01 / 6602_028 มี.ค. – 22 มี.ค. 66 23 – 27 มี.ค. 663 เม.ย. – 12 เม.ย. 6613 – 17 เม.ย. 66
6603_01 / 6603_028 เม.ย. -22 เม.ย. 6623 – 27 เม.ย. 663 พ.ย. – 12 พ.ค. 6613 – 17 พ.ค. 66
6604_01 / 6604_028 พ.ค. – 22 พ.ค. 66 23 – 27 พ.ค. 663 มิ.ย. – 12 มิ.ย. 6613 – 17 มิ.ย. 66
6605_01 /6605_028 มิ.ย. – 22 มิ.ย. 66 23 – 27 มิ.ย. 663 ก.ค. – 12 ก.ค. 6613 – 17 ก.ค. 66
6606_01 / 6606_028 ก.ค. – 22 ก.ค. 66 23 – 27 ก.ค. 663 ส.ค. – 12 ส.ค. 6613 – 17 ส.ค. 66
6607_01/6607_028 ส.ค. – 22 ส.ค. 66 23 – 27 ส.ค. 663 ก.ย. – 12 ก.ย. 6613 – 17 ก.ย. 66
6608_01 / 6608_028 ก.ย. – 22 ก.ย. 66 23 – 27 ก.ย. 663 ต.ค. – 12 ต.ค. 6613 – 17 ต.ค. 66
6609_01 / 6609_028 ต.ค. – 22 ต.ค. 66 23 – 27 ต.ค. 663 พ.ย. – 12 พ.ย. 6613 – 17 พ.ย. 66

หมายเหตุ

  • * หน่วยบริการแนบเอกสารเพื่อการตรวจสอบตามข้อมูลติดเงื่อนไข (Verify) ชดเชยได้ที่ https://ppfs.nhso.go.th/ppaudit/login -> เมนูรายงาน
  • ** หน่วยบริการรับทราบผลการตรวจสอบ และกรณีหน่วยบริการไม่เห็นด้วยกับผลการตรวจสอบให้ดำเนินการทักท้วงได้ที่ https://ppis.nhso.go.th/ppaudit/ -> เมนูการทักท้วง และจำเป็นต้องระบุเหตุผลการยื่นขอทักท้วงทุกหัวข้อที่ประสงค์ทักท้วงรายการนั้นๆ (ไม่รับพิจารณาเอกสารเพิ่มเติม)
Happy
0 0 %
Sad
1 50 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 50 %

รายการตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2566

0 0
Read Time:8 Minute, 15 Second

กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงสาธารณสุข โดยประกอบด้วย 4 ด้าน คือ

  1. ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครอง ผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention and Protection: PP&P Excellence)
  2. ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)
  3. ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)
  4. ด้านบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

ภายใต้กรอบ 14 แผนงาน 37 โครงการ และ 62 ตัวชี้วัด

ในการนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่ มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน” กรม กอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย จึงได้ร่วมกันจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดดังกล่าว และเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป

รายการตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2566

  1. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน
  2. ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย
  3. เด็กไทยมีระดับสติปัญญาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 103 ตัวชี้วัด Prox :ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าแล้วได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I หรือเครื่องมือมาตรฐานอื่น จนมีพัฒนาการสมวัย
  4. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน
  5. ร้อยละของผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan
  6. ร้อยละของผู้สูงอายุมีแผนส่งเสริมสุขภาพดี (Wellness Plan)
  7. ร้อยละของผู้สูงอายุที่ผ่านการคัดกรอง พบว่าเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมหรือภาวะหกล้มและได้รับการดูแลรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ
  8. ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีคลินิกผู้สูงอายุ
  9. อัตราความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน
  10. ร้อยละของอำเภอผ่านเกณฑ์การประเมินการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพ
  11. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Care System and Public Health Emergency Management)
  12. ร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูง
  13. ร้อยละของจังหวัดต้นแบบการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
  14. ร้อยละผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการส่งเสริมและได้รับการอนุญาต
  15. ร้อยละสถานที่จำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายกำหนด
  16. ร้อยละของโรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital Challenge (ระดับมาตรฐานขึ้นไป)
  17. จำนวนการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562
  18. จำนวนประชาชนคนไทย มีหมอประจำตัว 3 คน
  19. ร้อยละของชุมชนมีการดำเนินการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมกับประชาชน
  20. อัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และได้รับการรักษาใน Stroke Unit
  21. อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่
  22. ร้อยละของจังหวัดที่ผ่านตามเกณฑ์พัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU province) ที่กำหนด
  23. อัตราการติดเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด
  24. อัตราตายทารกแรกเกิดอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน
  25. ร้อยละการให้การดูแลตามแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ในผู้ป่วยประคับประคองอย่างมีคุณภาพ
  26. ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตระยะกลาง (Intermediate Care) ที่ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (Community base)
  27. ร้อยละของประชาชนที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  28. ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิต
  29. อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ
  30. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired
  31. Refracture Rate
  32. อัตราตายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI และการให้การรักษาตามมาตรฐานตามเวลาที่กำหนด
  33. ร้อยละของผู้ที่ได้รับการคัดกรองมะเร็ง
  34. ร้อยละผู้ป่วย CKD ที่มี eGFR ลดลงน้อยกว่า 5 ml/min/1.73m2/yr
  35. ร้อยละผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด (Blinding Cataract) ได้รับการผ่าตัด ภายใน 30 วัน
  36. อัตราส่วนของจำนวนผู้บริจาคอวัยวะสมองตายที่ได้รับการผ่าตัดนำอวัยวะออก ต่อจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล (โรงพยาบาล A, S)
  37. ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตาม (Retention Rate)
  38. ร้อยละของ ผู้ป่วย Intermediate care * ได้รับการบริบาลฟื้นสภาพและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจน Barthel index = 20 ก่อนครบ 6 เดือน
  39. ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ One Day Surgery
  40. ร้อยละของการลงทะเบียนใน MIS registration ใน 1 เดือน โครงการ MIS ผ่านการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery : MIS)
  41. ระดับความสำเร็จของการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์
  42. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (Triage level 1) ภายใน 24 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลระดับ A, S, M1 (ทั้งที่ ER และ Admit)
  43. ร้อยละของประชากรเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
  44. อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง (traumatic brain injury mortality)
  45. ร้อยละผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชานุเคราะห์ ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ
  46. อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับมาตรฐานตามที่กำหนด
  47. ร้อยละของศูนย์เวลเนส (Wellness Center) / แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับการยกระดับแบบมีส่วนร่วม และสร้างสรรค์ด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพรให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น
  48. ร้อยละของเขตสุขภาพที่มีการบริหารจัดการกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ
  49. หน่วยงานที่เป็นองค์กรแห่งความสุขที่มีคุณภาพ (ระดับจังหวัด/เขตสุขภาพ/กรม)
  50. ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA
  51. ร้อยละของส่วนราชการและหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน
  52. ร้อยละความสำเร็จของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
  53. ร้อยละของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรอง HA ขั้น 3
  54. สถานบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามนโยบาย EMS (Environment, Modernization and Smart Service)
  55. ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีการปรับโฉม Smart Hospital (Smart ER /Modernize OPD / มีการใช้พลังงานสะอาด)
  56. ร้อยละของสถานบริการที่มีการดำเนินงานสื่อสารเชิงรุก
  57. ร้อยละของจังหวัดที่ประชาชนไทย มี ดิจิทัลไอดี เพื่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ
  58. จังหวัดที่มีบริการการแพทย์ทางไกลตามเกณฑ์ที่กำหนด
  59. ความแตกต่างการใช้สิทธิ เมื่อไปใช้บริการผู้ป่วยในของผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (compliance rate)
  60. ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กลางการดูแลปฐมภูมิของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ
  61. ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน
  62. จำนวนนวัตกรรมหรือเทคนโสยีสุขภาพที่คิดค้นใหม่หรือที่พัฒนาต่อยอด
Happy
1 50 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
1 50 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คณะกรรมการ พปง.ตรวจเยี่ยมรพ.เปือยน้อย

0 0
Read Time:1 Minute, 24 Second

คณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ได้ออกติดตามการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2566 ณ โรงพยาบาลเปือยน้อย

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. นายแพทย์อดุลย์ บำรุง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านไผ่ รักษาการในตำแหน่งนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) ประธานคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ได้ออกติดตามการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังของหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2566 ณ โรงพยาบาลเปือยน้อย โดยมีคณะกรรมการฯ ที่ร่วมในการออกติดตามฯ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองสองห้อง สาธารณสุขอำเภอหนองเรือ สนง.เขตสุขภาพที่ 7 คณะกรรมการฯ จากโรงพยาบาลหนองเรือ บ้านไผ่ แวงน้อย แวงใหญ่ และกลุ่มงานบริหารฯ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ และกลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

โดยมีเป้าหมายการออกติดตามผลการดำเนินงานฯ หน่วยบริการที่มีสถานการณ์ทางการเงินภาวะวิกฤติระดับ 1-3 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นปัญหา ตลอดจนช่วยวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตามกรอบการประเมินด้านสถานการณ์ทางการเงิน (Risk Score) ,7+ Efficency Score, ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง 5 มิติ (EIA) มิติด้านการจัดเก็บรายได้ และ ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังตามเกณฑ์การให้คะแนน Total Performance Score (TPS) ทั้งนี้โรงพยาบาลเปือยน้อย ได้วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบดังกล่าวได้ครบถ้วนและมีแผนพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง

แผนเปือยน้อยพันภัย เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย หาจุดขาย

ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ จัดทำระบบบัญชีให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง การจัดเก็บรายได้ให้ครบทุกสิทธิ การจัดบริการที่เพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานกองทุนท้องถิ่นฯ ปี 66

0 0
Read Time:1 Minute, 37 Second

ซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และกองทุนสนับสนุน การจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care; LTC) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ และฉบับเพิ่มเติม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล/อบต.) ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และกองทุนสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care; LTC) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขในด้านสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาปฐมภูมิเชิงรุกให้แก่ประชาชนในพื้นที่
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น จึงขอซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และกองทุนสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care; LTC) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รายละเอียดตามเอกสาร

ประกาศกองทุนที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ทิศทางการดำเนินงาน palliative care จังหวัดขอนแก่น ปีงบ 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 48 Second

การประชุม ขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง(Palliative Care)จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566

วันที่16พฤศจิกายน 2565 เวลา13.00-16.30น. ณ ห้องประชุมหม่อนไหม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น นายแพทย์วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) เป็นประธานการประชุม ขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง(Palliative Care)จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566 โดยมี พญ.มาลินี พิสุทธิโกศล นายแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.ขอนแก่น (รองประธาน service plan สาขาpalliative care จังหวัดขอนแก่น)นำเสนอนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน palliative care จังหวัดขอนแก่น และนางศิริมา นามประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการนำเสนอการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยประคับประคองระยะท้าย(palliative care) จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ2565 และมีการนำเสนอการจัดระบบบริการการดูแลผู้ป่วยPCในรูปแบบโซนตะวันตก โดย พญ.กฤษณาพร เถื่อนโทสาร นายแพทย์ชำนาญการ รพ.ชุมแพ และยังได้มีการแลกเปลี่ยนในเรื่องของการบันทึกการเบิกจ่ายe-claim palliative care ของ รพ.ขอนแก่น โดย นพ.วัชรพงษ์ รินทระ นายแพทย์ชำนาญการ อีกทั้ง ได้รับการชี้แจงกองทุน palliative care ปี2566 โดย นายธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ สปสช.เขต7 ขอนแก่น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย คณะอนุกรรมการสาขา Palliative care จังหวัดขอนแก่น และผู้รับผิดชอบงาน PC จากโรงพยาบาลขอนแก่น สิรินธร จังหวัดขอนแก่น ชุมแพ และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ตัวแทนจากกลุ่มงานประกันสุภาพ และกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในการประชุม มีเรื่องหารือเพื่อพิจารณาดังนี้

  1. การเพิ่มศักยภาพทีมดูแล PC แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ให้ได้ตามเกณฑ์ของทีมดูแลผู้ป่วย PC
  2. การเยี่ยมเสริมพลังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วย Palliative Care ระดับโซน เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการ
  3. พิจารณา KPI จำนวนโรงพยาบาลที่มีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ตามเกณฑ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และเข็มมุ่ง ของ service plan สาขาpalliative care

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ระบบสารสนเทศด้านการเงินการคลังหน่วยบริการ ปี 2566

0 0
Read Time:31 Second

วัตถุประสงค์ระบบ

  1. เพื่อรวมระบบการส่งข้อมูลเข้ามาไว้ที่ระบบเดียว เช่น การส่งแผนแพลนฟิน การส่งผล การส่งข้อมูลบริการ
  2. เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำรายงานในรูปแบบ visualization  ตามแบบฟอร์มรายงานทางบัญชี
  3. หน่วยระดับ สสจ. และ เขต สามารถมอนิเตอร์ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลได้เองด้วยระบบ superset

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566 วันที่ 15พ.ย.65

0 0
Read Time:1 Minute, 30 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566

วาระประชุม

  • เวลา 09.30 – 10.00 น. ประธานเปิดการประชุม และบรรยายภาพรวมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566 โดย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 7 ขอนแก่น
  • เวลา 10.00 – 12.00 น. แนวทางการบริหารจัดการกองทุน และการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขงานบริการเฉพาะ
  • เวลา 13.00 – 14.30.00 น. งานตรวจสอบเวชระเบียนสำหรับชดเชยค่าบริการสาธารณสุขปี 2566 โดย กลุ่มภารกิจสนับสนุนและกำกับติดตามประเมินผล (M&E) กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  • เวลา 14.30 – 16.00 น. แนวทางขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขปี 2566 กรณี PP & FS และโครงการร้านยาคุณภาพ โดย กลุ่มภารกิจสนับสนุนการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและการจัดการหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
  • เวลา 16.00 – 16.30 น. ถาม – ตอบ อภิปรายและเสนอแนะ
  • เวลา 16.30 น. ปิดการประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

วีดีโอการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการชี้แจงกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี2566 โดยสปสช.เขต7 ขอนแก่น

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

การชี้แจงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อรถยนต์ราชการเกิดอุบัติเหตุ

0 0
Read Time:3 Minute, 24 Second

แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อรถยนต์ราชการเกิดอุบัติเหตุ

นิยาม ข้อ 3 ตามระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้ การเก็บรักษา การซ่อมบำรุงรถส่วนกลางและรถรับรอง พ.ศ. 2526

  • “พนักงานขับรถ” หมายความรวมถึง ผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถ ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากหัวหน้าหน่วยงาน ให้เป็นผู้ขับรถเป็นครั้งคราว
  • “ผู้ใช้รถ” หมายถึง ผู้ที่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถตามระเบียบนี้
  • “หน่วยงาน” หมายถึง (วรรค 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานส่งเสริมวิซาการและบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์การแพหย์และอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย
  • “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายถึง (วรรค 2) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและบริการสาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์และอนามัย สาธารณสุขอำเภอ และหัวหน้าสถานีอนามัย
  • “ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถ” หมายถึง หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยทำเป็นหนังสือ
  • “ผู้ควบคุมการใช้รถ” หมายถึง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรจากหัวหน้าหน่วยงาน ให้มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถ และเป็นผู้รับผิดชอบจัดหารถและพนักงานขับรถให้กับผู้ใช้รถ
  • “ผู้ควบคุมรถ” หมายถึง ผู้ใช้รถกรณีที่ผู้ใช้รถเดินทางไปกับรถผู้เดียว และผู้อาวุโสที่สุดกรณีที่การใช้รถมีผู้ร่วมเดินทางไปหลายคน
  • ข้อ 4 (วรรค 2) การนำรถออกไปใช้จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถตามระเบียบนี้ก่อนทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ผู้ควบคุมรถเป็นผู้ควบคุมและดูแลให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรหรีอกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ผังกระบวนงาน (Flow Chart) แนทางการปฏิบัติเมื่อรถยนต์ราชการเกิดอุบัติเหตุ

ขั้นตอนที่ 1 ณ จุดเกิดเหตุ

  1. แจ้งผู้บังคับบัญชาทราบด่วน
  2. แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ)
  3. ถ่ายภาพ ณ จุดเกิดเหตุ รถของทางราชการ และคู่กรณี( ถ้ามี) ให้เห็นหมายเลขทะเบียนรถชัดเจน และได้รายละเอียดอื่นมากที่สุด
  4. ประเมินความเสียหายรถของทางราชการ และคู่กรณี (ถ้ามี)

ขั้นตอนที่ 2 หลังเกิดเหตุ

ให้รายงานเหตุและความเสียหายต่อผู้บังคับบัญซาโดยเร็ว เมื่อเกิดความเสียหายแก่รถของทางราชการ พนักงานชับรถยนต์ ผู้ควบคุมรถ ผู้ควบคุมการใช้รถ ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบ โดยทำบันทึกข้อความรายงานความเสียหายต่อผู้บังคับบัญขา หร้อมทั้งบอกเล่าเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และภายหลังการเกิดเหตุ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ผ่านหัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแนบเอกสารประกอบการรายงาน ดังนี้

รายการ พนักงานขับรถยนต์ผู้ควบคุมรถผู้ความคุมการใช้รถ
1.หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการ
2.ใบขออนุญาตใช้รถยนต์ราชการ แบบ 3
3.ภาพถ่าย ณ สถานที่เกิดเหตุ
4.ภาพถ่ายจุดที่เสียหายของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ราชการ และรูปถ่ายรถทั้งคันที่สามารถมองเห็นทะเบียนรถได้ชัดเจน ทั้งสองฝ่าย (มีคู่กรณี)
5.แผนที่สังเขป จุดเกิดเหตุ
6.บันทึกประจำวันของตำรวจ (กรณีเกิดอุบัติเหตุ)
7.ประมาณการค่าเสียหาย หรือค่าซ่อม/ใบเสนอราคาค่าซ่อม ทั้งสองฝ่าย (มีคู่กรณี)

ขั้นตอนที่ 3 หัวหน้ากลุ่มงวนบริหารทั่วไป รายงานอุบัติเหตุรถยนต์

หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป เมื่อได้รับรายงานอุบัติเหตุรถยนต์จากพนักงานขับรถยนต์ ผู้ควบคุมรถ และผู้ควบคุมการใช้รถ ให้รวบรวมข้อมูลแล้วจัดทำรายงานอุบัติเหตุรถยนต์ราชการตามแบบ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมเอกสารประกอบเสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น หราบและพิจารณาสั่งการ แล้วมอบให้กลุ่มกฎหมายดำเนินการ

ขั้นตอนที่ 4 กลุ่มกฎหมาย ดำเนินการ

กลุ่มกฎหมายรับเรื่องไว้แล้วพิจารณาดำเนินการตามกระบวนการสอบข้อเท็จจริง ตามรายงานกรณีรถยนต์ของทางราชการเสียหาย ต้องมีผู้รับผิดทางแพ่ง และหรือ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกรรมการการแพทย์กรณี Covid-19

0 0
Read Time:20 Second

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version