การบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าวในประเทศไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 43 Second

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนต่างด้าวในการดูแลสุขภาพตนเอง/ชุมชนและการป้องกันการค้ามนุษย์
ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

กำหนดการ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๖

  • กล่าวรายงาน โดย นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข
  • กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ : นโยบายการดำเนินงานและการบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าวในประเทศไทย โดย นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

การอภิปราย : การเข้าถึงบริการของรัฐของคนต่างด้าว และการป้องกันการค้ามนุษย์การจัดการและการสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือด้านสิทธิสวัสดิการแรงงานต่างด้าว

  • กฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิ สถานการณ์ ปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติและการแก้ไขปัญหาคนต่างด้าว โดย นายวรพงศ์ จันทร์มานะเจริญ เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และการคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว โดย นายพงศ์เทพ เพชรโสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนแรงงานต่างด้าว และการช่วยเหลือกรณีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย นางสาววันดี ตรียศสิน ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดปทุมธานี กองต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินรายการโดย นายอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG : Migrant Working Group)

การอภิปราย : การบริหารจัดการด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าว ดำเนินรายการโดย ดร.บุญวรา สุมะโน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

  • การประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและแนวทางการให้บริการด้านสุขภาพคนต่างด้าวสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข โดย นายวัลลก คชบก นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • ระบบประกันสังคมและการจัดบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าว โดย นางสาวนิตยา บุญญะกิจวัฒนา นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มงานคุ้มครองสิทธิทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม
  • มาตรการการป้องกันควบคุมโรคในแรงงานต่างด้าว และแนวทางการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในชุมชนต่างด้าวหรือสถานประกอบการ โดย พญ. วาสินี ชลิศราพงศ์ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

กำหนดการ วันศุกร์ ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖

  • การบรรยาย : การพัฒนาระบบข้อมูลแรงงานต่างด้าว คนต่างด้าว ผู้ติดตามและแนวทางการจัดการข้อมูลแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามเพื่อใช้ประโยชน์ โดย นายสุธน คุ้มเพชร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง
  • แบ่งกลุ่มและฝึกปฏิบัติ จำนวน ๒ กลุ่ม หัวข้อหลักการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน ระดับจังหวัดและพื้นที่ต้นแบบ (ผู้แทนจากทั้ง ๒ กลุ่มนำเสนอในวันถัดไป)
    • กลุ่มที่ ๑ แนวทางการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแรงงานต่างด้าว
    • กลุ่มที่ ๒ แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าว
  • การอภิปราย : แนวทางการดำเนินงนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนต่างด้าวในการดูแลสุขภาพตนเอง/ชุมชน โดย นางวิราณี นาคสุข กองบริหารการสาธารณสุข และ
  • นายชูวงศ์ แสงคง ผู้ประสานงานด้านสุขภาพ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG : Migrant Working Group)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการบันทึกข้อมูล IMC IP

0 0
Read Time:12 Second

การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านระบบโปรแกรม e-Claim
กรณีให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางแบบผู้ป่วยใน
ในลักษณะ Intermediate care ward หรือ Intermediate care bed
ปีงบประมาณ 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim ร่วมกับการใช้โปรแกรมรายงานข้อมูลติดตามสุขภาพประจำวัน (โปรแกรม AMED) กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ 2566

วาระประชุม

  • ๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๕ น. – ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และกล่าวเปิดการประชุม โดย นายธวัชชัย เรืองโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๑๕ – ๑๓.๓๐ น. – หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน โดย นางสาวมนัสนีย์ รัตนเมธีนนท์ นักบริหารงาน ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. – แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ กรณีบริการดูแลแบบ ผู้ป่วยในที่บ้าน โดย ฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • ๑๔.๐๐ – ๑๔.๒๐ น. – การบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-Claim เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วย ในที่บ้าน โดย นางเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • ๑๔.๒๐ – ๑๕.๓๐ น. – การใช้งานระบบบริการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน (DMS Home ward) โดย ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ และทีม รก.ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความมั่นคง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. – อภิปราย ซักถาม และปิดการประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule

0 0
Read Time:56 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศเพิ่มเติมรายการยา รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee Schedule) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประชุมชี้แจงรายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ผ่าน Facebook Live หน้าเพจ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รายการยา รายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมติคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการกองทุน ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 22 กันยายน 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพ

0 0
Read Time:2 Minute, 1 Second

คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2561 ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คณะทำงานเตรียมการกลั่นกรองการเปิด การยกฐานะและการขยายหน่วยบริการสุขภาพ จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องทันต่อสถานการณ์และแนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) ตามกรอบแนวทางการดำเนินงานของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรอง การเปิด การยกฐานะ และการขยายหน่วยบริการสุขภาพ

กองบริหารการสาธารณสุข โดยกลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการจึงได้จัดทำ คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้หน่วยบริการสุขภาพในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขนำไปใช้เป็นแนวทางประกอบคำขอการจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ต่อไป

กลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สป.สธ.

เกณฑ์การจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพ

  • เกณฑ์การจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F3

เกณฑ์การปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ

  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F2
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1
  • กณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ระดับ M2
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ระดับ S
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A

หลักเกณฑ์การขยายเตียงของหน่วยบริการสุขภาพ

หลักเกณฑ์การย้ายหน่วยบริการสุขภาพ

หลักเกณฑ์การปิดหรือขอยุบหน่วยบริการสุขภาพ

ข้อแนะนำการจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพ

  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F2
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ระดับ M2
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ระดับ S
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A

แนวทางปฏิบัติการพิจารณารายการคำขอ

ขั้นตอนดำเนินการหลังปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 100 %
Surprise
0 0 %

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

0 0
Read Time:2 Minute, 26 Second

การปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการจัดทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยสาระสำคัญที่ประชาชนจะได้รับ คือ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ การเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ ติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เตียงรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงมีนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based Medical Services) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient)

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

การดำเนินการให้บริการในรูปแบบผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ การดูแลเสมือนโรงพยาบาลที่บ้าน (Hospital care at home) เป็นการให้บริการการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่ใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลเทียบเคียงผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษา
กรมการแพทย์ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำ “แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)” โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและหน่วยบริการทุกระดับสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษา มีสภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสมดั่งปณิธานของกรมการแพทย์ “ทำดีที่สุด เพื่อทุกชีวิต”

สารบัญ

  • บทที่ 1 บทนำ
    • คำนิยาม
    • วัตถุประสงค์
    • รูปแบบการให้บริการ
    • การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาล
    • การประเมินความพร้อมของผู้ป่วย ผู้ดูแล และที่พักอาศัยระหว่างการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน
    • เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วยเข้าระบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน
  • บทที่ 2 การประเมินความพร้อมของ ผู้ป่วย ครอบครัว สภาพที่พักอาศัย และทีมดูแลที่บ้าน
    • ขั้นตอนดำเนินการ
    • แนวทางปฏิบัติในการให้การบริการ home ward
    • องค์ประกอบของทีมดูแลต่อเนื่อง
  • บทที่ 3 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะ แบบ Home ward
  • บทที่ 4 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบ แบบ Home ward
  • บทที่ 5 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแผลกดทับ (pressure ulcer management) แบบ Home ward
  • บทที่ 6 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไส้ติ่ง แบบผ่าตัดวันเดียวกลับ แบบ Home ward
  • บทที่ 7 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน
  • บทที่ 8 การดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
  • บทที่ 9 แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการ ผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation
Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารชี้แจงตรวจราชการปี 2566

0 0
Read Time:2 Minute, 11 Second

ประชุมชี้แจงแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖

ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา 0๙.๓๐ – ๑๔.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร และห้องประชุม ๒ ชั้น ๒ อาคาร ๑ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือรับชมรับฟังการประชุมผ่านระบบประชุมออนไลน์ Application Webex

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แนวทางตรวจราชการ (inspection guideline) ปี 66

แบบฟอร์มรายงานตรวจราชการกรณีปกติปี 66

ไฟล์นำเสนอประชุมชี้แจงแผนตรวจราชการ ปี 66

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

CPG-Intermediate Careด้านแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 43 Second

คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และชมรมหัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เห็นความสำคัญและโอกาสในการที่จะนำการแพทย์แผนไทย เข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ซึ่งเป็นอาการที่การแพทย์แผนไทย มีศักยภาพสามารถดำเนินการได้อย่างโดดเด่น โดยในระยะเริ่มต้นมีแนวคิดที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มุมปากตก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ฯลฯ จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้แพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงบริการแพทย์แผนไทยกับสหวิชาชีพในการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กในสถานพยาบาลและในชุมชน มีการเชื่อมโยงการให้บริการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงชุมชน สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลาในเครือข่าย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดบริการแพทย์แผนไทยในชุมชนแก่ทีมสุขภาพอื่น ๆ เช่น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุข หมอพื้นบ้าน เป็นต้น
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป้วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือกองทุนเงินทดแทน

0 0
Read Time:4 Minute, 42 Second

ภารกิจของสำนักงานประกันสังคมที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือการบริหารกองทุนเงินทดแทนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่งคงให้กับลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนเป็นไปตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมโดยสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสถานพยาบาล ในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานพยาบาลเข้าเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนเพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ของกองทุนเงินทดแทน ทั้งแนวปฏิบัติการเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน ดังนั้นสำนักงานกองทุนเงินทดแทน จึงได้จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการเป็นข้อตกลงการเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนและแนวปฏิบัติการจ่าย ค่ารักษาพยาบาลสำหรับสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนเพื่อให้เป็นคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน และเจ้าหน้าที่วินิจฉัยสำนักงานประกันสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้และถือปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างในการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วนถูกต้องต่อไป

  • แนวปฏิบัติการเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน
  • แนวปฏิบัติการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สถานพยาบาลในความตกลงกองทุนเงินทดแทน
  • แนวปฏิบัติในการพิจารณาการจ่ายค่ารักษาพยาบาลกองทุนเงินทดแทน
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ ครั้งที่ 10/2557 ลงวันที่ 17 กันยายน 2557 มติคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 3/2558 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 แนวทางการวินิจฉัยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างเนื่องจากการทำงาน
  • มติคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 6/2564 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2564 คำอธิบายแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 5/2563 วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 การพิจารณาวินิจฉัย การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากการทำงาน
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน (ชุดที่ 14) ครั้งที่ 6/2563 วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563 การกำหนดนิยามคำว่า “การผ่าตัด”
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 หลักเกณฑ์การจ่ายค่ากายภาพบำบัด
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 หลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีกล้ามเนื้อหลังอักเสบ
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 กรณีการรักษาการบาดเจ็บกระดูกหักผ่านเข้าข้อ
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 แนวปฏิบัติกรณีบุคลากรทางการแพทย์ของสถานพยาบาลสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอดส์
  • มาตรฐานการรักษากรณีลูกจ้างสถานพยาบาลสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อเอดส์หรือได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • มติคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 การพิจารณาคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ พ.ศ. 2563
  • แนวปฏิบัติการจ่ายค่าธรรมเนียมแพทย์ตามคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ พ.ศ. 2563 เพิ่มเติม คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน (ชุดที่ 14) ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564 แนวทางการพิจารณาจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีแพทย์ทางเลือก
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 7 เมษายน 2564 การกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการทำทันตกรรม
  • กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน

ภาคผนวก

  • แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายและคำร้องขอรับเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ยื่นคำร้องกรอก (กท.16)
  • หนังสือรับรองของแพทย์ผู้รักษา (แบบกท.16/1)
  • หนังสือส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (แบบกท.44)
  • แบบคำขอทบทวนคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเสนอคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน (แบบ กท.54)
  • แบบใบแจ้งค่ารักษาพยาบาลสำหรับเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลของสำนักงานประกันสังคม
  • คำอธิบายรายการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
  • ใบสรุปปรึกษาค่ารักษาพยาบาล กรณีลูกจ้างเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน (กท.55)
  • กฎกระทรวง เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563
  • ประกาศกระทรวงแรงงานเรื่อง ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่คณะกรรมการการแพทย์จะพิจารณาให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
  • ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง
  • ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดมาตรฐานสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน
  • เอกสารกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับคลีนิกแนบท้าย
  • เอกสารกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับต้นแนบท้ายประกาศ
  • เอกสารกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับสูงแนบท้ายประกาศ
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) พ.ศ. 2561
  • บัญชีแนบท้าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) พ.ศ. 2561
  • ประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๖๒
  • ใบคำขออนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
  • หนังสืออนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
  • ใบคำขอรับใบแทนหนังสืออนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบันทึกข้อมูลผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim)

0 0
Read Time:1 Minute, 42 Second

การประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim) ในวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 4 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ชั้น 4 อาคาร 4 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและผ่านระบบ Cisco Webex Meeting

  • 13.30 – 13.45 น. เปิดการประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim) โดย นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข
  • 13.45 – 14.45 น. ระบบการเบิกจ่ายบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และขั้นตอนการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการฯ ผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim) โดย นพ.สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และทีมพัฒนาระบบ MOPH Claim (บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย)
    • – ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง
    • – ค่าบริการวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT) ในผู้ใหญ่
    • – ค่าบริการฉีดวัคซีนพื้นฐานตามกำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (EPI)
  • 14.45 – 15.15 น. การตรวจสอบและประมวลผลการจ่ายเงินค่าบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านระบบหมอพร้อม โดย ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 15.15 – 15.45 น. ตัวอย่างระบบการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 บนระบบสารสนเทศ JHCIS โดย คุณสัมฤทธิ์ สุขทวี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
  • 15.45 – 16.15 น. ระบบสนับสนุนการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 บนระบบ MOPH Claim โดย คุณชัยพร สุรเตมีย์กุล กรรมการผู้จัดการบริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ จำกัด

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
4 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version