คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 35 Second

คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care service)มีความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมมากขึ้นรวมทั้งสามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลลงได้ ประเทศไทยมีนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการกำหนดสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ช (5) ให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสารารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย และกำหนดให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ปัจจุบันพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพุทธศักราช 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562

เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงได้จัดทำคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดสุขภาวะแก่ประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาและประเมินคุณภาพ มีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานและจัดการคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ตลอดจนส่งผลให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับบริการได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพต่อไป

เอกสารจากงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 23 วันที่ 15มีนาคม2566 : ห้องปฐมภูมิ Sapphire 105-107 A3-105 มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย นำเสนอโดย อ.หมอนิ่ม : พญ.ณภัทร สิทธิศักดิ์ (รพ.เซกา จ.บึงกาฬ)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางเบิกจ่ายสำหรับรพ.สต.ถ่ายโอน

1 0
Read Time:2 Minute, 42 Second

การประชุมชี้แจงการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการ รพ.สต./ สอน.ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ในเขตพื้นที่ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 25666 เวลา 08.30 – 16.30 น.ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และทิศทางนโยบายการบริหารจัดการกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นายแพทย์ดุสิต ขำชัยภูมิ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น
ภาพรวมการจัดการกองทุน สปสช. การเชื่อมโยง ระบบบริการปฐมภูมิ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ รพ.สต. การจัดทำ MOU โดย นายวีระศักดิ์ ชนะมาร ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม

ชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ตามผลงานการบริการบริการแพทย์แผนไทย, บริการ PP Fee schedule โดย คุณภาคภูมิ คนรู้ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

งบค่าบริการทางแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว OP PP, บริการผู้ป่วยนอกเหตุสมควร (OP Anywhere) , บริการผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉินข้ามจังหวัด , สิทธิการรักษา อปท. โดย คุณนาฏญา สังขวัฒน์ ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ และคุณนุจรินทร์ เนื่องสมศรี นักบริหารกองทุน

การยืนยันตัวตนในการเข้ารับบริการ ระบบ Authen โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การขอเข้าใช้โปรแกรม Username password โดย คุณณัฐพล ชัยศิริถาวรกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม Moph Claim โดย คุณภาวิกา ภัทรธิชาสกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การส่งข้อมูลเบิกชดเชยค่าบริการ eClaim ออนไลน์ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดทำข้อมูลยามาตรฐาน Drug catalogue โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม KTB โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบการตรวจสอบ audit โปรแกรม Audit PP โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การตรวจสอบการได้รับงบประมาณ รายงานการโอนงบประมาณ Smart Money Transfer , รายงาน Statement ,การส่งใบเสร็จ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบ Monitor ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แนะนำองค์กรและการประสานงาน โดย คุณอภิศักดิ์ เข็มพิลา ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หนังสือชุด “ประสบการณ์คนทำงานด้านการบริหารจัดการบริการปฐมภูมิ”

0 0
Read Time:2 Minute, 21 Second

หนังสือชุด “ประสบการณ์คนทำงานด้านการบริหารจัดการบริการปฐมภูมิ” ประกอบด้วย

เล่ม 1 “การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP Management)”

หน่วยบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิซึ่งเดิมเป็นบทบาทที่ใช้ในนามของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ฐานะที่เป็นองค์กรบริหารจัดการและพัฒนาระบบสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้คำใหม่ในความหมายของหน่วยคู่สัญญาที่ทำหน้าที่รับจัดบริการสุขภาพด้านปฐมภูมิตามเงื่อนไขของการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่าเป็น Contracted unit of primary care (CUP) ซึ่งสามารถขึ้นทะเบียนได้ทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับกระทรวงสาธารณสุขที่มีโครงสร้างหน่วยงานภายใต้ระบบราชการอยู่แล้ว CUP จึงเป็นกลไกที่เกิดขึ้นท่ามกลางโครงสร้างงาน วัฒนธรรมการทำงานการบริหารจัดการที่มีอยู่เดิม และด้วยข้อจำกัดมากมาย การบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในพื้นที่จึงเป็นความท้าทายและความพยายามในการพัฒนาของผู้เกี่ยวข้อง

เล่ม 2 “ประสบการณ์การบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCU Management)”

ประสบการณ์และบทเรียนที่เกิดขึ้นเรื่อง การบริหารจัดการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ(Primary Care Unit: PCU) หรือ สถานีอนามัย หรือ ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นผลที่มาจากการแลกเปลี่ยนระหว่างคนทำงานที่PCU เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานว่าตรงไหนทำแล้วว่าดี ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วเห็นผล ไม่เฉพาะเรื่องบริการ แต่เป็นเรื่องการทำงานเป็นทีมที่ดี ทำงานบริการกับประชากรเป้าหมายได้ดีทำงานไปแล้วมีผลลัพธ์ มีการติดตามและเกิดผลที่ดีด้วย นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังเป็นสื่อที่สะท้อนการทบทวนตนเองของคนทำงาน เรื่องกระบวนการทำงานที่เป็นจุดเด่นและอยากถ่ายทอด อยากแลกเปลี่ยนด้วยความภาคภูมิใจ ส่วนแรกของหนังสือเป็นรายละเอียดของความคิด รูปธรรม นวตกรรมการบริการและ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนจากมุมมองจากคนทำงานปฐมภูมิในบริบทการทำงานที่หลากหลาย ทั้งนี้ได้มาจากการประชุม “การจัดการความรู้การบริหารจัดการระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ” ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(สพช.) และส่วนที่สองเป็นตัวอย่างเรื่องเล่าการทำงานจากคนทำงานที่PCU ซึ่งเข้าร่วมกระบวนการประชุมและได้เขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวบางส่วนของงานที่ทำ

เล่ม 3 “ประสบการณ์การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP) ในเขตเมือง”

สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ได้จัดเวทีจัดการความรู้ในเรื่อง “การบริหารจัดการระดับ CUP ในบริบทโรงพยาบาลใหญ่ เขตเมือง และ PCU ในเครือข่าย” โดยมีผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือวางระบบกลไกของ CUP และเครือข่าย PCU ในเขตเมืองจาก 14 พื้นที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้ถอดบทเรียนของการแลกเปลี่ยนจัดการความรู้อย่างน่าสนใจ ซึ่งควรค่าแก่การถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเพื่อเป็นกรณีศึกษาแก่ CUP ต่างๆ ได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางบันทึกบัญชีกรณีสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ให้รพ.สต.ที่ถ่ายโอนฯ

1 0
Read Time:4 Minute, 28 Second

แนวทางปฏิบัติการบันทึกบัญชีกรณีสนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุอื่นให้กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี(สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)

ตามที่ได้มีการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖. พรรษา นวมินทราชินี (สอน.)และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รต.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้ แก่องค์ กรปกครองส่วนท้ องถิ่ น และตามหนังสือที่ อ้างถึง กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพได้มีประชุมหารือเกี่ยวกับกรอบแนวทางการบันทึกบัญชีหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เพื่อให้หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีแนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี เป็นไปในทางเดียวกันช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยประชาชนคงยังได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง นั้น

ในการนี้ ที่ประชุมได้มีแนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี กรณีหน่วยบริการสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุอื่น ให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รต.สต.) ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ดังนี้

  • ๑. กรณีหน่วยบริการประจำ ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ปรับปรุงรายการส่วนที่สนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นสำหรับ สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน โดยใช้ชื่อบัญชี เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.) รหัสบัญชีแยกประเภท (๒๑๑๑๐๒๐๑๙๙.๒๐๗)
  • ๒. กรณีหน่วยบริการประจำ ยังไม่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC ตามข้อ ๑. ให้บันทึกบัญชีโดยใช้ชื่อบัญชี เงินกองทุน UC จ่ายล่วงหน้า รหัสบัญชีแยกประเภท (๑๑๐๖๐๑๐๑๐๓.๒๐๑) และเมื่อได้รับเงินโอนจัดสรร จึงปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตามคู่มือบัญชี หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ หน้า ๑๒๘

แนวปฏิบัติการบันทึกบัญชี กรณีสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (อบจ.)ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กิจกรรม แนวทางบันทึกบัญชี
1.เมื่อหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC OP/PP (ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป และค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสปสซ.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัด กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ดำเนินการปรับปรุงรายการ กันส่วนที่เป็นมูลค่าสนับสนุนยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นสำหรับ สอน./รพ.สต. (อบจ.)
เดบิต เงินรับฝากกองทุน UC
[2111020199.201]
เครดิต เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.)
[2111020199.207]
2.หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ได้สนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สอน./รพ.สต. (อบจ.)เดบิต เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และรพ.สต. (อบจ.)
[2111020199.207]
เครดิต ยา/เวชภัณฑ์มิใช่ยา/วัสดุ…
[1105010103.102-.107,1105010105.105-.115]

หมายเหตุ

  1. กรณีหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ยังไม่ได้รับจัดสรรเงินกองทุน UC OP/PP ค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปและค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน) จากสปสช. ให้บันทึกบัญชี โดยใช้ชื่อบัญชีเงินกองทุน UC จ่ายล่วงหน้า รหัสบัญชีแยกประเภท (1106010103.201) และเมื่อได้รับเงินโอนจัดสรรจึงปรับปรุงรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตามคู่มือบัญชี หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2561 หน้า 128 ต่อไป
  2. กรณีหน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ยังไม่ได้บันทึกบัญชี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รายการสนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่น ให้กับ สอน./รพ.สต.ถ่ายโอน ให้ปรับปรุงบัญชี ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วยมูลค่ายา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่ น ที่ได้สนับสนุนให้กับ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (อบจ.) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เดือนมกราคม 2566

รายการผังบัญชีที่กำหนดเพิ่มขึ้นระหว่างปีงบประมาณ 2566

รหัสบัญชีแยกประเภท ชื่อบัญชีคำอธิบาย
2111020199.207เงินกองทุน UC (วัสดุ) สอน. และ รพ.สต. (อบจ.)มูลค่ายา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และวัสดุอื่นที่หน่วยงานกันไว้สนับสนุน สอน.และรพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ซึ่งได้รับไว้ในลักษณะเงินกองทุน UCจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อสนับสนุนด้านเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ให้กับหน่วยบริการผู้มีสิทธิ
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ปี2566

0 0
Read Time:54 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับประชาชน ปี 2566

  • คุณสมบัติของผู้มีสิทธิบัตรทอง
  • ตรวจสอบสิทธิด้วยตนเอง
  • ช่องทางลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ
  • เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนเลือกหนว่ยบริการประจำ
  • หน่วยบริการ คืออะไร
  • การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข
  • การบริการที่คุ้มครอง ครอบคลุมบริการที่จำป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
  • ช่องทางติดต่อสอบถามมีปัญหา
  • ใช้สิทธิบัตรทอง ร้องเรียน ร้องทุกข์
  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค*
  • การรักษาพยาบาล โรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูง
  • บริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่
  • 4 นโยบายยกระดับบัตรทองสู่หลักประกันสุขภาพยุคใหม่
  • สปสช. ดูแลสุขภาพผู้สูงวัย
  • สิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
  • รู้จัก…กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • ใครบ้างมีสิทธิขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • แผนที่แสดงการจัดพื้นที่ในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 1-13
  • ที่อยู่และการติดต่อสปสช. เขต 1-13
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปรับอัตราจ่าย ปกส.กรณีAdjRW มากกว่า2

0 0
Read Time:6 Minute, 12 Second

แนวปฏิบัติในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลหรือผู้ประกันตนประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)

ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนหรือผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลที่ทำการรักษาซึ่งได้ทำความตกลงกับสำนักงาน โดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน(Adjusted Relative weight : AdRW มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ในอัตราไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight : AdjRW) ทั้งนี้ ภายใต้กรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปีในอัตราเจ็ดร้อยสี่สิบหกบาทต่อผู้ประกันตนหนึ่งคนภายในระยะเวลาหนึ่งปี

  1. อัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคมกำหนดอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2) ดังนี้
    • 1.1 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ที่รักษาเองหรือส่งไปยังสถานพยาบาลอื่น ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือหรือไม่เพียงพอให้เฉลี่ยจ่ายให้กับสถานพยาบาลแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 1.2 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่นที่ไมใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงิน กรณีที่มีส่วนเกินผู้ประกันตนรับผิดชอบเอง
  2. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ
    • 2.1 สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ รายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในผ่านรูปแบบโครงสร้าง Al In-patient Claim Data File Specification : AIPN แทนการใช้โปรแกรมSIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะต้องส่งข้อมูลฯ ภายใน 2 เดือนถัดจากเดือนที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาล (เช่น จำหน่ายเดือนเมษายน ต้องส่ งข้อมูลภายในเดือนมิถุนายน)
      กรณีสถนพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ส่งไปยังสถานพยาบาลอื่นต้องส่งข้อมูลฯ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาลให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และจัดทำสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเก็บไว้ ณ สถานพยาบาลเพื่อการตรวจสอบ
    • 2.2 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพจะต้องตรวจสอบข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ตามแนวปฏิบัติในการรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ให้ถูกต้องก่อนส่งให้สำนักงานประกันสังคมโดยจัดทำข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนมากกว่าหรือเท่ากับ 2 (AdjRW มากกว่า2) ซึ่งต้องตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่สำคัญคือ การเป็นผู้ประกันตนและการวิเคราะห์การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรค พร้อมทั้งรูปแบบข้อมูลตามที่กำหนด ถ้าหากข้อมูลไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด จะประสานสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เพื่อตรวจสอบอีกครั้งถ้าข้อมูลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะไม่นำส่งข้อมูลให้กับสำนักงานประกันสังคม
    • 2.3 สำนักงานประกันสังคมรับข้อมูลจากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพและตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.1
    • 2.4 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมตรวจสอบพบว่ามีการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ซ้ำซ้อน สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการเรียกเงินคืนจากสถานพยาบาลโดยการหักกลบหรือปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์
    • 2.5 การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)จะประมวลผลข้อมูลเป็นงวดตาม Statement ที่สถานพยาบาลส่งให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพโดยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะข้อมูลที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา
    • 2.6 กรณีงบประมาณคงเหลือไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในอัตราที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการนำเงินงบประมาณคงเหลือมาหารด้วยจำนวนค่า AdjRW มากกว่า2 ที่ค้างจ่าย เพื่อคำนวณอัตราจ่ายให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ทั้งนี้ อาจมีผลให้การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ล่าช้ากว่าปกติ
    • 2.7 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงครบทุกรายการแล้ว หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยนำน้ำหนักสัมพัทธ์ที่สถานพยาบาลให้บริการตลอดทั้งปีหารด้วยกรอบวงเงินที่กำหนดแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRW
    • 2.8 เมื่อสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืนจากการตรวจสอบข้อมูลจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยคำนวณภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่มีอยู่แต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 2.9 กรณีสถานพยาบาลขอแก้ไขข้อมูลผ่านโปรแกรม SSePAC จะเป็นการแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง ทางสำนักงานประกันสังคมจะไม่ได้นำมาพิจารณาจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยวงเงินงบประมาณของแต่ละปี โดยสำนักงานประกันสังคมจะต้องดำเนินการตามข้อ 2.5 – 2.8
  3. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน กรณีผู้ประกันตนประสงค์เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่น
    • 3.1 ผู้ประกันตนยื่นเอกสารขอรับประโยชน์ทดแทน ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น เวชระเบียน ใบเสร็จค่ารักษาต้นฉบับ ฯลฯ
    • 3.2 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ดำเนินการตรวจสอบสิทธิการเป็นผู้ประกันตน พิจารณาข้อเท็จจริงหากพบว่าผู้ประกันตนประสงค์เข้ารักษาสถานพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ และไม่ใช่กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ให้ส่งเรื่องหารือสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์
    • 3.3 สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ส่งเรื่องให้แพทย์ในโครงการของสำนักงานประกันสังคม ดำเนินการตรวจเวชระเบียนและพิจารณาคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW)ซึ่งหากมีค่า AdjRW มากกว่า2 จะนำมาคำนวณเพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.2 แต่หากคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนแล้ว มีค่า AdjRw<2 ปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
    • 3.4 หากพบว่ารายการใดที่ต้องเบิกจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์เพื่อพิจารณาดำเนินการจ่ายค่าอวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ ตามประกาศกำหนด
    • 3.5 เมื่อสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ดำเนินการขออนุมัติจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์ทำการบันทึกข้อมูลในระบบ Sapiens เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา สามารถเข้าไปตรวจสอบในหน้าประวัติการขอรับประโยชน์ทดแทนโดยดูจากเลขที่รับแจ้งล่าสุดของสำนักสิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนรายใดมีการจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ตามข้อ 3.4 สำนักสิทธิประโยชน์จะทำการบันทึกและสามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน

กลุ่มงานพิจารณาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม

ณ วันที่ 23 มกราคม 2566
โทร 0 2956 2516 – 7
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจง AIPN วันที่3ก.พ.66

0 0
Read Time:21 Second

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ All In-patient Claim Data File Specification: AIPN

AIPN เป็นโครงสร้างที่กำหนดให้สถานพยาบาลรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน แทนการใช้โปรแกรม SIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่ 1 ม.ค.66 เป็นต้นไป ซึ่งโครงสร้างรูปแบบใหม่ พัฒนามาจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการ (CIPN)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รวมแบบสอบทานระบบควบคุมภายใน 39 เรื่อง ปี 2566

0 0
Read Time:3 Minute, 58 Second

แบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปีงบประมาณ 2566 โดย กลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • ๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบการควบคุมภายใน
  • ๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ติดตามการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ
  • ๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน บริหารความเสี่ยง
  • ๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินบริจาคและเงินเรี่ยไร
  • ๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินตามโครงการเงินกู้ โควิด 19
  • ๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินยืมราชการ
  • ๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินทดรองราชการ
  • ๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมราชการ
  • ๑๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
  • ๑๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าสาธารณูปโภค
  • ๑๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ฉ.๕
  • ๑๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วย บริการ P4P
  • ๑๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข (พ.ต.ส.)
  • ๑๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเงิน
  • ๑๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
  • ๑๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน e-payment
  • ๑๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เจ้าหนี้
  • ๑๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุง
  • ๒๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร
  • ๒๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
  • ๒๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบ GFMIS
  • ๒๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง
  • ๒๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ค่าใช้จ่ายประจำของหน่วยบริการ OP IP PP
  • ๒๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  • ๒๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินต่างด้าว
  • ๒๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน เงินกองทุนประกันสังคม
  • ๒๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน จัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล
  • ๒๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
  • ๓๐. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยเงินบริจาค
  • ๓๑. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน งบลงทุน (UC)
  • ๓๒. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-Market
  • ๓๓. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-bidding
  • ๓๔. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธี e-bidding (๕๐๐ ล้านบาทขึ้นไป)
  • ๓๕. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การบริหารพัสดุ
  • ๓๖. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีคัดเลือก
  • ๓๗. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง
  • ๓๘. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ๓๙. แบบสอบทานระบบควบคุมภายในด้าน แผนเงินบำรุง

ไฟล์แบบสอบทานรายด้าน

อ้างอิงจาก

คู่มือ/แนวทางการตรวจสอบภายใน สำหรับคณะกรรมการตรวจสอบภายในภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือแนวทางตรวจสอบภายในปี2566

0 0
Read Time:1 Minute, 9 Second

การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือที่สำคัญของฝ่ายบริหาร ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายในขององค์กร ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานตรวจสอบภายในประสบความสำเร็จ คือ ผู้บริหารสามารถนำผลการตรวจสอบภายในไปใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดมูลค่าเพิ่มและความสำคัญแก่องค์กร ฉะนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ตรวจสอบภายใน และคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายใน ควรมีความเข้าใจถึงภาพรวมเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในความรู้ในองค์กร ความรู้ในหลักการและวิธีการตรวจสอบรวมทั้งต้องปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานการตรวจสอบ ที่ยอมรับโดยทั่วไป

ในการจัดทำคู่มือการตรวจสอบภายในสำหรับพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เกิดจากการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน ขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบ การจัดทำกระดาษทำการตรวจสอบ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน การรายงานผลการตรวจสอบที่มีอยู่ให้เกิดเป็นรูปธรรม ผู้จัดทำจึงได้รวบรวมความรู้และนำประสบการณ์ที่ได้จากการตรวจสอบมาจัดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในและคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ควรรู้และต้องปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานตรวจสอบซึ่งผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเกิดประโยชน์แก่ผู้ตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน และคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำหลักการปฏิบัติงานไปใช้ในการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมให้ระบบการตรวจสอบภายในเข้มแข็งเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ 2566

0 0
Read Time:3 Minute, 17 Second

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อให้ข้อมูลรายงานทางการเงินมีความน่าเชื่อถือ พัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ด้วยการประเมินระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงาน ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เกิดการกำกับดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ

จากนโยบายดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของหน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการ ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ให้ครอบคลุมทุกระดับของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ระดับจังหวัด ระดับเขต และพัฒนาแนวทาง การตรวจสอบสำหรับภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน โดยสร้างระบบการตรวจสอบและพัฒนาผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้มีความรู้ ความสามารถเพื่อแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการภาคีเครือข่ายตรวจสอบภายใน ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจแนวทางปฏิบัติงานของภาคีเครือข่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจการตรวจสอบภายในตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ และเป็นการพัฒนาสมรรถนะภาคีเครือข่าย ให้มีประสบการณ์ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำไปปรับใช้ภายในหน่วยงานตนเองได้ และเพื่อยกระดับ การตรวจสอบขยายขอบเขตการตรวจสอบภายในให้ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลผลิต และผลลัพธ์ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน
ในการดำเนินการดังกล่าว จึงได้มีการจัดทำแนวทางการตรวจสอบภายใน และแบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปี 2566 ไว้เป็นคู่มือปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน สำหรับภาคีเครือข่ายหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เอกสารประกอบการประชุม

แบบสอบทานตรวจสอบภายใน 39 ด้าน ปี 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version