แนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่

0 0
Read Time:1 Minute, 36 Second

แนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่
ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล)และกระทรวงสาธารณสุข (รพ.สต.)

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ์สุข กระทรวงสาธารณสุข
กองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๘ กำหนดให้รัฐต้องมีการกระจายอำนาจทางปกครองไปให้ท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และแบ่งเบาภาร กิจของส่วนกลาง รวมทั้งให้อำนาจแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น โดยในปัจจุบันได้มีการกำหนดให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น โดยมีกฎหมายที่กำหนดบทบาทของท้องถิ่นในด้านสาธารณสุขไว้ เช่น พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต) โดยกำหนดจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการบูรณาการการดำเนินงานทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค รักษา ฟื้นฟูสุขภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หรือท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความซ้ำซ้อนและช่องว่างในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่และเพื่อส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขขอขอบคุณผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ ให้มีความสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. และเทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต่อไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงกรณี เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ สิทธิUC

0 0
Read Time:46 Second

ชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฉุกเฉินภาครัฐ ในวันที่ 24 เมษายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.

  • แนวทางการดำเนินการ กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่” ในหน่วยบริการภาครัฐ นายแพทย์เติมชัย เต็มยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช.
  • หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณี UCEP ภาครัฐ
  • การบันทึกข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในโปรแกรม e-Claim ฝ่ายบริหารหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล
  • แนวทางการตรวจสอบเวชระเบียน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

มอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพ

0 0
Read Time:20 Second

๑. สำเนาคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๙๗ /๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพ

๒. สำเนาคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๒๒๔ /๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แจ้งเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลPP Fee Schedule

0 0
Read Time:2 Minute, 54 Second

แจ้งเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้หน่วยบริการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เพื่อรับค่าใช้จ่ายในระบบ e-Claim และ NPRP นั้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลและการประมวลผลในการจ่ายค่าใช้จ่ายฯดังกล่าว สปสช.จึงได้มีการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีการจ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) จำนวน ๑๖ รายการผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

เพื่อให้การรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สปสช. จึงขอแจ้งกำหนดการเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบu Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

  • ให้หน่วยบริการเร่งรัดส่งข้อมูลการให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP ภายในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๖
  • ๒) ข้อมูลการบริการตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๖ และข้อมูลที่ให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP (ตามข้อ ๑) ได้ทันเวลาที่กำหนด สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ KTB

ทั้งนี้ ได้มีการประชุมชี้แจงแนวทางการรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีดังกล่าวให้แก่หน่วยบริการเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้เปิดให้มีการทดสอบระบบบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมดังกล่าว โดยหน่วยบริการสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ได้ที่ http://eclaim.nhso.go.th หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Provider center หมายเลขโทรศัพท์ 02-554-0505

รายการบริการ PP FS ที่บิกผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

  • ๑.บริการฝากครรภ์
  • ๒.บริการการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์
  • ๓.บริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์
  • ๔.บริการการคัดกรองธาลัสซีเมียและการคัดกรองซิฟิลิสในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์
  • ๕.การทดสอบการตั้งครรภ์
  • ๖.การตรวจหลังคลอด
  • ๗.บริการคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening)
  • ๘.บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ๙.บริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Fit test)
  • ๑๐.บริการเคลือบฟลูออไรด์ (กลุ่มสี่ยง)
  • ๑๑.บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ๑๒.บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
  • ๑๓.บริการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  • ๑๔.บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • ๑๕.บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
  • ๑๖.บริการแว่นตาเด็กที่มีสายตาผิดปกติ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

VDO แนะนำการใช้งานระบบ Krungthai Digital Health Platform

0 0
Read Time:1 Minute, 21 Second

1.Krungthai Digital Health Platform Journey

2.สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนใช้งานระบบ Hospital Portal

3.กระเป๋าสุขภาพ (Health Wallet)

4.การเข้าใช้งานระบบ Hospital Portal

5.ตั้งค่าวัน_เวลาหน่วยบริการ จัดการหน่วยตรวจ

6.จัดการตารางวัน_เวลา ให้บริการกิจกรรม

7.จัดการโควตา สำหรับหน่วยบริการแม่ข่าย

8.รายชื่อเจ้าหน้าที่ (ทันตแพทย์)

9.ตั้งค่าการเคลม

10.กำหนดสิทธิผู้ใช้งาน

11.จัดการตารางจองกิจกรรมและโควตา (slot)

12.จัดการกิจกรรม ถุงยางอนามัยคุมกำเนิด C02

13.ลบหน่วยตรวจ

14.ขั้นตอนการลง MOI Agent

15.ขั้นตอนการยืนยันตัวตนรับบริการ

16.บันทึกการรับบริการย้อนหลัง

17.บันทึกข้อมูลการให้บริการ

18.นำเข้าข้อมูลผลการรักษา (upload 16 แฟ้ม)

19.ตรวจสอบสิทธิ ดูประวัติ จัดการนัดหมาย (ข้อมูลผู้รับบริการ รายบุคคล)

20.ตรวจสอบนัดหมาย รับบริการ คืนสิทธิกิจกรรม (ภาพรวมหน่วยบริการ)

21.ขั้นตอนนำส่งใบเบิกจ่าย

22.การเรียกดูรายงาน

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางPP Fee Schedule KTB

0 0
Read Time:1 Minute, 18 Second

ชี้แจงแนวทางการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

กำหนดการ

  • นโยบายการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการบันทึกและการประมวลผลจ่ายผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) โดย ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการจ่ายชดเชยค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จ่ายตามรายการบริการ (PP FS) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดย ผู้แทนจากฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • การพิสูจน์ตัวตนก่อนการเข้ารับบริการผ่านโปรแกรม KTB (Authentication) โดย ทีม KTB
  • การเข้าใช้งานโปรแกรม การบันทึกผลงานบริการ และการประมวลผลจ่ายผ่านโปรแกรม KTB โดย ทีม KTB
  • อภิปรายและซักถาม

วันที่ 3 เมย.66_สำหรับ_โรงพยาบาล

วันที่ 4-5 เมย.66_สำหรับ_รพสต-คลินิก

วันที่ 5 เมย.66_สำหรับ_ร้านยา เท่านั้น

VDO แนะนำการใช้งานระบบ Krungthai Digital Health Platform

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ มีหลายระบบแตกต่างกันเช่น ระบบกราวิเมตริก (Gravimetric) ระบบเบต้า เร (Beta Ray) ระบบเทบเปอ อิลิเม้น ออสชิเลติ้ง ไม่โครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance) และระบบได้โคโตมัส (Dichotomous) เป็นต้น แต่ระบบที่ง่ายในการหาความเข้มข้น ของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (Total Suspended Particulate Matter, TSP) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter with an aerodynamic diameter less than or equal to a nominal 10 micrometers; PM10) คือระบบกราวิเมตริก ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศชนิดไฮโวลุม (High Volume Air Sampler)

คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ เล่มนี้ ได้รวบรวมเทคนิควิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการตรวจวัด TSP และ PM, ด้วยระบบกราวิเมตริก โดยเรียบเรียงอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศที่ถูกต้อง สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เอกชน ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศของประเทศ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ

0 0
Read Time:1 Minute, 21 Second

หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม้จะเป็นหน่วยบริการเล็กๆ หรืออาจจะเล็กที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความเล็กของสถานที่ ของทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหน่วยบริการระดับโรงพยาบาล แต่เป็นหน่วยบริการที่สำคัญมีคุณค่ายิ่งนัก เป็นฟันเฟืองที่สำคัญของการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีความใกล้ชิด มีความผูกพัน มีความเข้าใจสภาพของชุมชน

และประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดีที่สุด ในบางพื้นที่อาจจะจัดได้ว่าเป็นจุดเล็กๆที่มีพลังมากที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นที่ที่ประชาชน และชุมชนให้ความรัก ความศรัทธาเป็นอย่างมาก หน่วยบริการปฐมภูมิหรือจะเรียกว่าสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการจัดบริการปฐมภูมิ ขอเพียงแต่หน่วยบริการเล็กๆเหล่านี้มีความเข้มแข็ง มีกำลังใจ มีความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะให้บริการสุขภาพที่ตอบสนองสภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนและซุมชน เชื่อว่า สุขภาวะที่ดีของประชาชนและชุมชนคงเกิดได้ไม่ยากนัก “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยบริการปฐมภูมินำไปใช้ในการประเมินหรือทบทวนตนเองบนความคาดหวังว่า “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” นี้จะช่วยให้หน่วยบริการปฐมภูมิมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพที่มีความจำเพาะ และมีความพิเศษสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมินั้นๆ เป็นสำคัญ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ

0 0
Read Time:4 Minute, 17 Second

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)

ความเป็นมา

จากการที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายที่จะพัฒนาสาธารณสุขส่วนภูมิภาคในระดับอำเภอให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้สั่งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) วัตถุประสงค์ให้องค์กรดังกล่าวรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ การประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ประสานการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยติดตามและประเมินผลงานสาธารณสุขระดับอำเภอ แต่เนื่องจากมีการ”ปรับเปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพ ก่อให้เกิดการจัดบริการสุขภาพ ในรูปแบบ ศูนย์สุขภาพชุมชน รวมทั้งการจัดงบประมาณต่อหัวประชากรลงสู่คู่สัญญาการให้บริการระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary Care: CUP) ที่ผ่านมาการบริหารจัดการในรูปแบบเครือข่ายบริการระดับปฐมภูมิ ยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งการขาดความชัดเจนในรูปแบบการดำเนินการในเครือข่าย ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาสาธารณสุข ตามแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพอย่างมาก

ดังนั้น จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญผู้แทนจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ เข้าร่วมประชุมหารูปแบบที่เหมาะสม มติที่ประชุมได้ตกลงให้มี คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ( คปสอ.) เช่นเดิม แต่ปรับบทบาทภารกิจของคณะกรรมการฯ ให้มีแนวทางดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเครือข่ายบริการทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ รวมทั้งการประสานงานที่ดีระหว่าง โรงพยาบาล, สถานีอนามัย, สาธารณสุขอำเภอและหน่วยที่จัดบริการด้านสุขภาพระดับต่างๆ รูปแบบการบริหารและพัฒนาเครือข่ายบริการทั้ง 3 ระดับนี้ จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้เป็นจริงยิ่งขึ้น

โครงสร้างองค์กร

ชื่อองค์กร คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)
ชื่อภาษาอังกฤษ District Health Coordinating Committee คำย่อ DHCC

องค์ประกอบหลักของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จำนวน 10-20 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  2. สาธารณสุขอำเภอ
  3. ผู้แทนส่วนโรงพยาบาล
    • กลุ่มงานเวชกรรมสังคม/กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว
    • กลุ่มงานการพยาบาล
    • กลุ่มงานทันตกรรม
    • กลุ่มงานเภสัชกรรม
    • กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก/กลุ่มงานชันสูตร
    • อื่นๆตามเหมาะสม
  4. ผู้แทนหัวหน้าสถานีอนามัย/พยาบาลวิชาชีพในเครือข่าย
  5. ผู้แทนส่วนสาธารณสุขอำเภอหรือนักวิชาการสาธารณสุขอำเภอ
  6. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
    • เทศบาล
    • โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม
    • โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    • โรงพยาบาลในสังกัดรัฐวิสาหกิจ
    • โรงพยาบาลเอกชน
    • โรงพยาบาลองค์กรอิสระในกำกับของรัฐ
  7. อื่นๆตามเหมาะสม

ประธาน กำหนดให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้พิจารณา โดยความเห็นชอบของผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต และเสนอให้ผู้ว่าราชการแต่งตั้ง
เลขานุการ เลือกจากผู้เป็นกรรมการในที่ประชุม โดยความเห็นชอบของประธาน
การประชุม กำหนดให้ต้องมีการประชุมทุกเดือน
คณะกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ.) ซึ่งคัดเลือกจากองค์ประกอบในส่วนโรงพยาบาลและสาธารณสุขอำเภอฝ่ายละเท่าๆ กัน และคัดเลือกผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยละ 1 คน และให้คณะกรรมการฯ มีวาระ 1 ปี สำหรับประธานคณะกรรมการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้พิจารณา และเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ.) ให้กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

กรอบอำนาจหน้าที่ และบทบาทของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) มีดังนี้

  1. กำหนดแนวทาง เป้าหมายและการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ โดยต้องเป็นไปตามสภาพของพื้นที่ กรอบ แผน นโยบายด้านสาธารณสุข ของอำเภอ จังหวัด เขต และประเทศ
  2. จัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสุขภาพในพื้นที่เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ตามแนวทางการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
  3. กำหนดหลักเกณฑ์และจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพ ให้แก่สถานบริการสาธารณสุขตามกรอบนโยบายที่กำหนด
  4. กำหนดกระบวนการทำงานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ให้มีรูปแบบชัดเจน
  5. สนับสนุนการพัฒนาหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ(ศูนย์สุขภาพชุมชน) ทุติยภูมิ ตติยภูมิให้ได้มาตรฐาน เพื่อเตรียมการรับรองการประเมินมาตรฐานของหน่วยบริการ
  6. กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข การดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่
  7. กำหนด ข้อตกลงร่วมในเครื่อข่าย ควบคุม ดูแล รวมถึงการให้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ดำเนินการหรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
  8. กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันของหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน
  9. ประสานงานระหว่างเครือข่ายกรณีมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่รับผิดชอบในสัญญา
  10. กำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากร ในเครือข่ายทุกระดับ ให้มีความรู้ความสามารถทักษะในการบริหาร บริการ
  11. ให้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดูแลระบบบริการระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ตามความเหมาะสม และแต่งตั้งคณะทำงานอื่นๆได้ตามความจำเป็น เช่น
    • คณะทำงานรับเรื่องราวร้องทุกข์
    • คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูล
    • คณะทำงานพัฒนาระบบการเงินและงบประมาณ ฯลฯ

เป้าหมายสูงสุดในการดูแลสุขภาพ ของ คณะกรรมการประสานการพัฒนาสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) คือ “ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดี” โดยเชื่อมโยงกับโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเป็นผู้บริหารจัดการโครงการประกันสุขภาพในระดับเครือข่ายปฐมภูมิ และเชื่อมต่อกับระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการให้บริการด้านสุขภาพ และสามารถบริหารจัดการในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นการ วางแผนคน แผนเงิน และแผนงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารและการบริการดีขึ้น และเกิดประโยชน์กับราชการอย่างแท้จริงต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

0 0
Read Time:3 Minute, 36 Second

ประกาศสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เรื่อง นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔’๖ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ. รวมทั้งให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrtty and Transparency Assessment : ITA) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

  • ๑. ด้านนโยบาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซอนแก่น เป็นองค์กรธรรมาภิบาล มุ่งเน้นในการบริหารหรัพยากรบุคคลที่ก่อให้เกิดการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความโปรงใส มีความเป็นธรรม ใช่ดุลยพินิจส่วนตัวให้น้อยที่สุด มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมจริยธรรมและรักษาวินัยของบุคลากรในองค์กร ให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้
  • ๒. ด้านการสรรหา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวางแผนกำลังคน สรรหา และเลือกสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้คนดีคนเก่ง ที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซอนแก่น แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๒.๑ จัดทำแผนอัตรากำลัง เพื่อใช้ในการวางแผนกำลังคนให้เหมาะสม มุ่งสรรหาบุคลากรด้วยระบบการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ คุณลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และยึดประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ
    • ๒.๒ การรับสมัครคัดเลือกเพื่อสรรหา และเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ต้องประกาศเผยแพร่
    • ๒.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการในการสรรหาและเลือกสรร เพื่อให้สามารถเลือกสรรผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดี สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
  • ๓. ด้านการพัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นข้าราชการที่ดี ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและความก้าวหน้าของบุคลากร ให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถที่สูงขึ้น แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๓.๑ จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี ให้สอดคล้องตามความจำเป็นและความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน
    • ๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการอบรม พัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความสามารถทักษะในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมกับหน่วยงานภายในหรือหน่วยงานภายนอก
    • ๓.๓ ส่งเสริมการจัดทำเส้นทางและวางแผนพัฒนาความก้าวหนัวัทั้งสมรรถนะและผลงานเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาของบุคลากรในแต่ละคำแหน่ง
    • ๓.๔ ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำทุกระดับในหน่วยงาน
  • ๔.ด้านการรักษาไว้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชอนแก่น ต้องวางแผนกลยุทร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ส่งเสริมการพัฒนาให้มีความรู้ มีแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร มีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลบุคลากรให้เป็น ให้เป็นปัจจุบัน มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ยกย่องและชมเชยคนดี คนเก่ง เพื่อให้เกิดความผูกพันต่อหน่วยงาน แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๔.๑ พัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้สอดคล้องกับผลงานแสะสมรรถนะของหน่วยงาน
    • ๔.๒ พัฒนาระบบแรงจูงใจตามผลงาน ทั้งในระดับองค์กระบุคคล และเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้และปรับปรุงผลงานอย่างต่อเนื่อง
    • ๔.๓ เสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมถึงอาชีวอนามัยของหน่วยงานให้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    • ๔.๔ สนับสนุนให้มีกิจกรรมการยกย่องเชิดชูบุคลากรที่มีความประพฤติดีสมควรแก่การเป็นแบบอย่างที่ดี
  • ๕. ด้านการใช้ประโยชน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชอนแก่น ยึดหลักความโปร่งไม่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและมีจิตสาธารณะ โดยมีการสื่อสารให้บุคลากรรับทราบนโยบาย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ทรัพยากรบุคคล มีช่องทางให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งผู้บริหารมีการสื่อสาร มอบหมายงาน พัฒนางาน ตลอดจนควบคุม กำกับ ดูแลให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๕.๑ จัดให้มีระบบการมอบหมายหน้าที่ ภารกิจ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม และควบคุม กำกับ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
    • ๕.๒ จัดให้มีการปรับปรงระบบและวิธีการทำงานให้ทันสมัย การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สะดวกรวดเร็ว และตอบสนองต่อความต้องการของผู้มารับบริการ

จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

บระกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version