ปฏิทินการออก statement และบัญชีโรคเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยนอกประกันสังคม ปี พ.ศ. 2564 ssop

0 0
Read Time:4 Second
ปฏิทินการออก statement และบัญชีโรคเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยนอกประกันสังคม ssop

อ้างอิงจาก

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) https://www.chi.or.th/
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปแนวทางปฏิบัติในการให้ประชาชนแสดงพยานหลักฐานประกอบการลงทะเบียน

0 0
Read Time:3 Minute, 1 Second
  • กรณีที่ ๑ ลงทะเบียนตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน ให้แสดงพยานหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    1. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตร หรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีเลขประจำตัวประชาชน
    2. กรณีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ให้แสดงสูติบัตรพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
    3. กรณีไม่เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนและไม่มีเอกสารอื่นใดและอายุเกิน ๑๕ ปีแล้ว เช่นกรณีบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ให้แสดงใบคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎร จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลาง (ท.ร. ๑๔/๑) โดยผู้นั้นขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎรนี้ได้จากสำนักทะเบียนราษฎรทุกแห่งทั่วประเทศด้วยตนเอง ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ (ข้อ ๔๘)
    4. กรณีเคยทำบัตรประจำตัวประชาชน แต่ปัจจุบันบัตรหายและไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด หรือบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้านกลาง และบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ให้แสดงใบคัดทะเบียนประวัติบุคคล (ท.ร. ๑๒) โดยผู้นั้นขอคัดสำเนาทะเบียนประวัติบุคคลนี้ได้จากสำนักทะเบียนราษฎรทุกแห่งทั่วประเทศด้วยตนเอง ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ (ข้อ ๔๘)
    5. กรณีผู้มีสิทธิทราบเพียงหมายเลขประจำตัวประชาชน แต่ไม่มีบัตรประชาชนหรือบัตรเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ และไม่สามารถไปคัดสำเนารายการตาม ข้อ 3 และข้อ 4 ได้ และมีเหตุจำเป็นต้องเข้ารับบริการขอให้หน่วยบริการ ดำเนินการดังนี้
      • ก.ให้บริการในครั้งนั้นโดยถือเป็นเหตุสมควร หรือฉุกเฉิน
      • ข.หากผู้มีสิทธิประสงค์จะลงทะเบียน ณ หน่วยบริการที่รับบริการ ขอให้หน่วยบริการจัดให้ผู้มีสิทธิลงทะเบียนโดย
        • ลงทะเบียนผ่านระบบ E-form ของ สปสช. (เจ้าหน้าที่หน่วยบริการแสดงสิทธิการเป็นเจ้าหน้าที่ (Authen Smart Card) เข้าผ่านระบบ Enrollment : ERM ) (right)ลงทะเบียนด้วยเลข ๑๓ หลัก ของผู้มีสิทธินั้นคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนของพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือนั้นให้คำนึงถึงความเป็นไปได้และความสามารถที่ผู้นั้นจะแสวงหาพยานบุคคลได้
        • ถ่ายรูปผู้มีสิทธิและพยานบุคคลแนบไฟล์ในระบบลงทะเบียน
      • ค.แนะนำผู้มีสิทธิและพยานบุคคลให้ไปดำเนินการตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4 ก่อนเข้ารับบริการครั้งต่อไป
  • กรณีที่ ๒ ลงทะเบียนไม่ตรงกับที่อยู่หน้าบัตรประชาชน หรือบัตรหรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ให้แสดงเอกสารตามกรณีที่ ๑ พร้อมกับแสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงว่าตนมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น เช่น
    • หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
    • หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน
    • หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
    • เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พักสัญญาเช่าที่พัก แผนที่พักอาศัยของบุคคลนั้น เป็นต้น
  • ทั้งนี้ ลักษณะของพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่กรมการปกครอง และสำนักทะเบียนกลางได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้แก่
  • (๑) ต้องเป็นผู้ที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน
  • (๒) มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งในท้องที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
  • (๓) เป็นบุคคลที่ขุมชนให้การยอมรับนับถือหรือให้การยกย่องศรัทธา
  • (๔) มีความประพฤติดีและต้องรู้จักคุ้นเคยกับผู้ร้องหรือครอบครัวของผู้ร้องเป็นอย่างดี ทั้งนี้ พยานบุคคลอาจเป็นพระภิกษุ คหบดี หรือผู้ประกอบอาชีพสุจริต โดยไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่เป็นพยานบุคคลไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น เว้นแต่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดว่าต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

กรอบเวลาขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปี2565

0 0
Read Time:44 Second
  • ตารางระยะเวลาดำเนินงานขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
  • 3 พ.ค. 2564 ประกาศใช้งานโปรแกรมการประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
  • 3 พ.ค. 2564 – 31 ก.ค. 2564 หน่วยบริการเข้าบันทึกคะแนนผ่านโปรแกรมขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
  • 31 ก.ค. 2564 (เที่ยงคืน) ปิดการใช้งานการบันทึกโปรแกรมการประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
  • 1 ส.ค. 2564 – 31 ส.ค. 2564 สปสช.เขต ตรวจสอบ อนุมัติผลการบันทึกคะแนนการประเมินหน่วยบริการ และแก้ไขคะแนนในกรณีที่หน่วยบริการทำเรื่องแจ้งขอแก้ไข
  • 1 ก.ย. – 30 ก.ย. 2564 แก้ไขคะแนนในกรณีที่หน่วยบริการทำเรื่องแจ้งขอแก้ไข
  • 30 ก.ย. 2564 (เที่ยงคืน)ปิดรอบการแก้ไข/การบันทึกคะแนนการประเมินหน่วยบริการรายใหม่
  • 1 ต.ค. – 15 ต.ค. 2564 ดำเนินการประมวลผลข้อมูลผลการบันทึกคะแนนหน่วยบริการเพื่อออกรายงาน
  • 16 ต.ค. – 31 ธ.ค. 2564 แนบแผนกรณีผ่านแบบมีเงื่อนไข กรณีผ่านโดยมีเงื่อนไขและไม่ผ่าน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สถานการณ์การเงินภาพรวม หน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ไตรมาส2 ปี 2564

0 0
Read Time:4 Second
จำนวนโรงพยาบาลตามระดับวิกฤติทางการเงินรายไตรมาส ปีงบประมาณ 2561ถึงปัจจุบัน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิstateless

0 0
Read Time:1 Minute, 23 Second
  1. บุคคลแจ้งความประสงค์ขอลงทะเบียนผู้มีสิทธิในกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ณ หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชน ตามทะเบียนบ้านในอำเภอหรือจังหวัดที่อาศัยอยู่จริง สำหรับในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนได้ ณ หน่วยบริการสังกัดกรมการแพทย์ ๓ แห่ง คือ ๑) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ๒) โรงพยาบาลเลิดสิน ๓) โรงพยาบาลราชวิถี
  2. โดยหน่วยบริการที่มีกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่มีความประสงค์ขออนุมัติสิทธิบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ส่งเอกสาร/หลักฐานทางเว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th ตามเงื่อนไข วิธีการและขั้นตอนการส่งเอกสารเอกสารหลักฐานเข้าระบบกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
  3. ผู้มีสิทธิในกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หมายถึง ผู้ที่ได้รับการอนุมัติสิทธิจากกองเศรษฐกิจสุขภาพหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้ลงทะเบียนในกองประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิแล้วเท่านั้น
  4. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะแจ้งผลการตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางระบบที่หน่วยบริการส่งเอกสารหลักฐาน หากตรวจสอบพบว่า มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน จะแจ้งให้หน่วยบริการส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในช่องทางเดิมที่ส่งเอกสารหลักฐานเพื่อขออนุมัติสิทธิ โดยส่งเอกสารที่เคยส่งครั้งแรกและเอกสารเพิ่มเติมด้วย และป ระสานแจ้งทางโทรศัพท์ ๐- ๒๕๙. ๑๕๗๗ หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ dhes.stateless@gmail.com โดยไม่ต้องแนบเอกสารหลักฐาน ให้กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาฬ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทราบเพื่อทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่อไป
  5. หากได้รับการอนุมัติ ให้ทำการขึ้นทะเบียนสิทธิบุคคลต่อไป
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

กลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิ stateless

0 0
Read Time:2 Minute, 58 Second
  1. มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ประกอบด้วยบุคคล
    • ๑) กลุ่มที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ได้แก่
      • ๑.๑) ผู้ที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๓ และ ๔ ที่เข้าเมืองโดยชอบได้สิทธิอาศัยถาวร ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภททะเบียนราษฎร์ ท..๑๔
      • ๑.๒) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๕ และ ๘ เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิอาศัยถาวร ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๑๔
    • ๒). กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหา
      • ๒.๑) กลุ่มที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี/บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา
        • (๑) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๖ เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราว ตามมาตรา ๑๒,๑๓,๓๔,๓๕ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๑๗ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๑๓
        • (๒) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๗ เป็นบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราวที่เกิดในประเทศไทย ตามมาตรา ๑๒,๑๓,๓๔,๓๕ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ และบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดใน ประเทศไทย ตามมาตรา ๑๗ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร. ๑๓
      • ๒.๒) กลุ่มที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
        • (๑) กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข – ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๓๘ ก
        • (๒) กลุ่มไร้รากเหง้า มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ประเภททะเบียนราษฎร ท.ร.๓๘ ก
        • (๓) กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลขประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๓๘ ก
  2. มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ ประกอบด้วยบุคคล
    • ๑) กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหา
      • ๑.๑) กลุ่มที่ได้รับการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (แบบ ๘๙) ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย
        • (๑) ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเป็นบุคคลเป้าหมายกลุ่มที่ ๑ ของยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล
        • (๒) บุตรของบุคคลตามกลุ่มเป้าหมายของยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล
        • (๓) บุคคลกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลในโครงการเฉพาะ เช่น บุคคลที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษาฯ
  3. มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วยบุคคลกลุ่มคนดั้งเดิมที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร ได้แก่ คนต่างด้าว (เฉพาะสัญชาติจีน, เวียดนาม, เมียนมา, เนปาล, ลาว, กัมพูชา) ที่มีเลขประจำตัว ๑๓ หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข ๓ และ ๔ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗
  4. มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๓ ประกอบด้วยบุคคลที่กระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียนมีเลขประจำตัว ๑๓ หลัก เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 0 หลักที่ ๖ และ ๗ เป็น 00
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการดำเนินงานกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ(stateless)

0 0
Read Time:1 Minute, 44 Second

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ และวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๓ เรื่อง การให้สิทธิ (คืนสิทธิ ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีมีปัญหาสถานะและสิทธิ

แนวทางการดำเนินงานกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ(stateless) บริหารจัดการโดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามมติคณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อการจัดบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ

ดังรายละเอียด
  • กลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิ
  • เงื่อนไขการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
  • การตรวจสอบสิทธิผู้มีสิทธิ
  • การเปลี่ยนหน่วยบริการ
  • กรณียุบหน่วยบริการ
  • การหมดสิทธิประกันสุขภาพในกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
  • บริการด้านสาธารณสุข
  • ระบการส่งต่อ
  • ขั้นตอนการส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
  • การติดตามผลการจ่ายชดเชย
  • การส่งใบเสร็จรับเงิน
  • หลักเกณฑ์การบริหารงบประมาณและการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
    • การจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว
    • จัดสรค่าบริการทางการแพทย์ให้กับส่วนกลาง
    • กำหนดระยะเวลาการส่งข้อมูล
    • กำหนดระยะเวลาการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
  • รายการเบิกจ่ายชดเชยกรณีบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
    • ผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน (OPAE) นอกจังหวัด
    • ผู้ป่วยนอกรับการตรวจวินิจฉัย (Investigate)
    • ผู้ป่วยในกรณีปกติ (IP Normal)
    • ผู้ป่วยในกรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน (IP AE)
    • ผู้ป่วยในกรณีส่งต่อ (IP Refer)
    • การให้เคมีบำบัดและหรือรังสีรักษา (Chemotherapy, Radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
    • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง
    • การให้ยารักษาผู้ติดเชื้อเอซไอวี และผู้ป่วยเอดส์
    • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) สำหรับผู้ติดเชื้อเอซไอวี
    • รายการยา จ๒
    • ยากำพร้า ยาต้านพิษ
    • กรณีใช้อุปกรณ์และ/หรืออวัยวะเทียม (Instruments)
    • ค่าพาหนะในการส่งต่อ
    • กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (Universal Coverage for Emergency Patient: UCEP)
    • กรณีผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
    • (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
    • รายการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
    • รายการที่เป็นอุปกรณ์/อวัยวะเทียมในการบำบัดโรค
    • รายการยา ARV
    • กำหนดเลขประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
    • ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
Happy
0 0 %
Sad
2 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รู้จัก “กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ” ให้มากขึ้น

0 0
Read Time:2 Minute, 48 Second

สืบเมื่องจาก พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งก็คือโครงการ30บาทรักษาทุกโรค สำหรับประชาชนคนไทยที่มีสัญชาติไทยทุกคน ต่อมารัฐบาลได้บูรณาการการจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ จดทะเบียนแรงงานและประกันสุขภาพ ซึ่งการประกันสุขภาพนี้เป็นบทบาทของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวดังกล่าว เพื่อให้แรงงานและผู้ติดตามได้รับการรักษาพยาบาลจากหน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐและมีงบประมาณสำหรับส่งเสริมสุขภาพและควบคุมโรคโดยไม่เป็นภาระของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จนเกินไปนัก

ซึ่งจากการดำเนินการทั้งสองโครงการนี้ ทำให้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างบุคคล2สองกลุ่มนี้ คืออาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยหรือรอการได้รับสัญชาติไทย ทั่วประเทศมีบุคคลกลุ่มนี้กว่า 600,000 คน กลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพใดๆของรัฐเลย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2553 จึงมีมติเรื่องการให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เพื่อให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพและการควบคุมป้องกันโรค โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นมา โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบไปด้วย

  1. กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ได้แก่
    • กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 3 และ 4 ที่เข้าเมืองโดยชอบ ได้สิทธิอาศัยถาวร (พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2552) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14
    • กลุ่มที่เลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 5 และ 8 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิอาศัยถาวร ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14
  2. กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อกระบวนการแก้ปัญหา
    • กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี / บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา
      • กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 6 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราว (ม.12 13, 34, 35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2552) และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ม.17 พ.ร.บ.ตนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.13
      • กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 7 เป็นบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราวที่เกิดในประเทศไทย (ม.12, 13, 34, 35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) และบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในประเทศไทย (ม.17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.13
    • กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
      • กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา มีเลขขึ้นต้นด้วยเลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.38 ก
      • กลุ่มไร้รากเหง้า มีเลขขึ้นต้นบัตรประชาชน เลข 0 ประเภททะเบียนราษฏร์ ท.ร.38 ก
      • กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ มีเลขขึ้นต้นในบัตรประชาชน เลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.38 ก
Happy
3 60 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
2 40 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

0 0
Read Time:12 Minute, 23 Second

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ปี 2564

เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับบริการระดับปฐมภูมิ เป็นการสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ข้อ ช.(5) “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” และตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยจะทำให้เกิดการเข้าถึงบริการปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้นในหน่วยบริการและในชุมชน ทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร จากหน่วยบริการและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม(Social distancing) และลดความแออัดในหน่วยบริการ

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิที่จำเป็นสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเป็นธรรม
  2. เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing)และลดความแออัดในหน่วยบริการ

วงเงินงบที่ได้รับ

ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 421.6400 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมบริการปฐมภูมิทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงการนำร่องบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ บริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน บริการ Telehealth/Telemedicine บริการด้านการพยาบาล หรือบริการกายภาพบำบัดที่บ้านหรือในชุมชน

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

1.ค่าบริการระดับปฐมภูมิ การบริหารจัดการค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ แบ่งเป็น ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร และค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

  • 1.1 ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร จำนวน 214.0000 ล้านบาท เป็นการจ่ายเพิ่มเติมให้หน่วยบริการประจำ (ภาครัฐหรือภาคเอกชน) ตามจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และมีความพร้อมและมีศักยภาพการจัดบริการระดับปฐมภูมิ ตามเกณฑ์ศักยภาพที่กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ดังนี้
    • 1.1.1 ต้องมีข้อมูลชื่อแพทย์คู่กับประชาชน และประกาศให้ประชาชนรับทราบ
    • 1.1.2 ต้องมีทะเบียนประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อยจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงมีข้อมูลสถานะสุขภาพพื้นฐาน
    • 1.1.3 มีระบบข้อมูลรองรับการบันทึกผลงานและระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงการรับ-ส่งต่อ ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลประจำแม่ข่าย (CUP)
    • 1.1.4 หน่วยบริการประจำแม่ข่ายมีความพร้อมในการสนับสนุนบุคลากร ทรัพยากร และการจัดการของหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ

  • 1.2 ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ่ายให้กับหน่วยบริการ โดยแนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายต้องผ่านความเห็นชอบ จากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ทั้งนี้ อาจปรับการจ่ายเป็นไปตามหลักการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (Value-based Health Care) และอาจบูรณาการไปกับการจ่ายค่าใช้จ่ายในรายการบริการประเภทต่างๆ ได้

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การดำเนินงานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด โดยกลไกระดับประเทศ เขต/จังหวัด
  2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และความครอบคลุมผลงานบริการที่สะท้อนการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิ
  3. การกำกับติดตามการดำเนินงานของ PCC ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด โดยกลไกระดับประเทศ เขต/จังหวัด

2. บริการด้านยา และเวชภัณฑ์ (ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา และค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์)

จากนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอคอยรับยาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยให้มารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ตามข้อเสนอดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 9/2562 วันที่ 2 ก.ย. 2562 ครอบคลุมค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาและค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการร่วมกับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านเภสัชกรรม สำหรับหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 126.7700 ล้านบาท

วัตถุประสงค์

  1. ลดความแออัดในหน่วยบริการ โดยเฉพาะการรอรับยาหน้าห้องจ่ายยาของหน่วยบริการ
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านยาที่มีมาตรฐาน ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยในเขตเมือง
  3. ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยขยายบริการด้านเภสัชกรรมมาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1
  4. บูรณาการและพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลไปรับยาที่ร้านยาให้มีประสิทธิภาพลดขั้นตอนการรับส่งต่อผู้ป่วย และลดภาระงานของเภสัชกรโรงพยาบาลในการจัดเตรียมยาให้แก่ร้านยาโดยเชื่อมโยงบริการด้านยาทุกระดับตั้งแต่บ้าน ชุมชน บริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนและท้องถิ่น

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย

  1. ค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สำหรับหน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล)
    1. 1.1 หน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล) ที่เข้าโครงการโดยมีรูปแบบบริหารจัดการเครือข่ายร้านยาแบบ หน่วยบริการแม่ข่ายจัดยาให้ผู้ป่วยรายบุคคล (รูปแบบที่ 1) หรือ หน่วยบริการแม่ข่ายจัดส่งยาให้ร้านยาในเครือข่ายจัดและจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ของหน่วยบริการแม่ข่าย (รูปแบบที่ 2) หน่วยบริการแม่ข่ายจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 30 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของหน่วยบริการ มีดังนี้
      • 1) จัดเตรียมยาให้ผู้ป่วย นำส่งร้านยา และบริหารจัดการคลังยาที่ร้านยาร่วมกับร้านยา
      • 2) ประสาน ติดตาม และมีการเชื่อมต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยร่วมกับเครือข่ายหน่วยบริการ (ร้านยา หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยร่วมให้บริการประเภทอื่น)
    2. 1.2 หน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล) ที่เข้าโครงการ โดยร้านยารับผิดชอบในการบริหารจัดการ (จัดหายาทั้งหมดจากร้านยาองค์การเภสัชกรรมหรือจากบริษัทผู้จำหน่าย และการดูแลยาดังกล่าวในคลังร้านยา) (รูปแบบที่ 3) หน่วยบริการแม่ข่ายจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 50 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของหน่วยบริการ มีดังนี้
      • 1) การให้ความรู้ความเข้าใจและความมั่นใจแก่ผู้ป่วยในการเข้ารับบริการรับยาที่ร้านยาและคุณภาพยาที่ร้านยา
      • 2) คัดกรองผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การส่งไปรับยาที่ร้านยาและคัดเลือกร้านยาใกล้บ้านให้แก่ผู้ป่วย
      • 3) วิเคราะห์ใบสั่งยา (Prescription analysis) และค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับยา (Drugrelated problems) ตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมก่อนส่งใบสั่งยาให้ร้านยา
      • 4) กำกับติดตาม การดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยจากการให้บริการที่ร้านยา
      • 5) ประสาน ติดตาม และเชื่อมต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยร่วมกับเครือข่ายหน่วยบริการ (ร้านยาหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยร่วมให้บริการประเภทอื่นๆ) โดยอาจจะมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกล
  2. ค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สำหรับหน่วยร่วมบริการด้านเภสัชกรรม (ร้านยา) ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 70 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีขอบเขตหน้าที่จัดและจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด อ้างอิงตามประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 56/2563 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม
    1. 2.1 จัดทำทะเบียนผู้ป่วย (Patient registration) และ แฟ้มประวัติผู้ป่วย (Patient profile)
    2. 2.2 ประเมินความเหมาะสมการใช้ยา ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ สมุนไพร ประเมินอาการอันไม่พึงประสงค์จากยา ให้คำแนะนำการบริหารยา การจัดการเมื่อผู้ป่วยลืมใช้ยา การเก็บรักษายา
    3. 2.3 การทบทวนประวัติการใช้ยา (Review drug profile) เพื่อป้องกันปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนจากหน่วยบริการหลายแห่ง และการจัดการยาเหลือ และยาหมดอายุให้ผู้ป่วย
    4. 2.4 ให้บริการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทางเภสัชกรรม และประสานกับโรงพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย
ทั้งนี้ อัตราการจ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ที่ร้านยาเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาและดูแลเพื่อให้บริการกับผู้ป่วยในโครงการเป็นไปตามที่ สปสช.กำหนด

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. ผลการให้บริการที่ร้านยา แยกตามหน่วยบริการและร้านยาในโครงการ ของแต่ละเครือข่าย
  2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่รับบริการ ณ ร้านยาในเครือข่าย

3. ค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน

เพื่อลดความแออัดในหน่วยบริการ และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกำหนดให้หน่วยบริการ และหน่วยบริการอื่นมีสิทธิได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ โดยจ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยรายเก่าที่บ้าน ตามจำนวนผลงานบริการในอัตราไม่เกิน 50 บาท ต่อครั้งบริการ รายละเอียดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตรา และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด

4. ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) จำนวน 16.4700 ล้านบาท สำหรับหน่วยบริการที่ความพร้อมในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและลดความแออัดในการรับบริการ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณสุขโดยการปรับรูปแบบบริการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะ New normal โดยในระยะเริ่มต้นการดำเนินงานจะมีพื้นที่เป้าหมายนำร่องในหน่วยบริการที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัล ในการพิสูจน์ตัวตน การนัดหมาย และการจ่ายเงิน ที่เชื่อมต่อข้อมูลกับ สปสช.ได้

ขอบเขตบริการ

เป็นบริการสาธารณสุขระบบทางไกลจากผู้ประกอบวิชาชีพในหน่วยบริการกับผู้รับบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ป่วยรายเก่าในหน่วยบริการมีอาการคงที่และควบคุมโรคได้ดี โดยการให้บริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพประกาศกำหนด

คุณสมบัติหน่วยบริการที่ให้บริการ

  1. เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัล หรือApplication ในการพิสูจน์ตัวตน การนัดหมาย และการจ่ายเงิน ที่เชื่อมต่อกับข้อมูลของ สปสช.ได้
  2. มีผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความพร้อมในการให้บริการสาธารณสุขทางไกล ตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพ หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. มีมาตรฐานการให้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกลตามประกาศกำหนด

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย

จ่ายให้หน่วยบริการ เป็นค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) โดยจ่ายตามรายการบริการ ตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การบริหารจัดการและกำกับคุณภาพบริการ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลไกอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  2. กำกับมาตรฐานการให้บริการและระบบบริการโดยองค์กรวิชาชีพและกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ศึกษาประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอใจการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการที่นำร่อง องค์กรวิชาชีพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. ค่าบริการสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์หรือด้านกายภาพบำบัด ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด จำนวน 10.0000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้แก่ประชาชน ดังนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ ด้านการบริการพยาบาลพื้นฐาน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันแก่ประชาชนทั้งเชิงรับและเชิงรุก
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการกายภาพบำบัดในชุมชนที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ในกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่มโรคได้แก่ หลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury)
  3. ปรับรูปแบบบริการปฐมภูมิ/กายภาพบำบัด ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะ New normal

เป้าหมาย

  1. พื้นที่นำร่องคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และคลินิกกายภาพบำบัด เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในพื้นที่เขตเมืองใหญ่ เขตปริมณฑล และเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก
  2. นำร่องดำเนินการในคลินิกกายภาพบำบัดที่เป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในพื้นที่เขตเมืองใหญ่เขตปริมณฑล และเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ขอบเขตบริการ และคุณสมบัติหน่วยบริการ

  1. คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการขอบเขตบริการ เป็นบริการการพยาบาลขั้นพื้นฐาน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามขอบเขตวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในหน่วยบริการและในชุมชน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด คุณสมบัติของหน่วยบริการร่วมให้บริการ ด้านคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
    • 1) เป็นคลินิกการพยาบาลฯ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
    • 2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
    • 3) มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ อย่างน้อย 1 คน และเปิดให้บริการ วันละ 4-6 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    • 4) มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์
    • 5) มีการเชื่อมโยงบริการกับหน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ
    • 6) มีความพร้อมของระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ สปสช.
  1. คลินิกกายภาพบำบัด ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ ขอบเขตบริการ เป็นบริการกายภาพบำบัดในหน่วยบริการและในชุมชน โดยเน้นบริการกายภาพบำบัด ในชุมชน ในกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค ได้แก่ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury)

คุณสมบัติของหน่วยบริการร่วมให้บริการ ด้านกายภาพบำบัด มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

  • 1) เป็นคลินิกกายภาพบำบัด ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
  • 2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
  • 3) มีนักกายภาพบำบัดปฏิบัติงานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ อย่างน้อย 1 คน
  • 4) มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ และให้บริการกายภาพบำบัดตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
  • 5) มีการเชื่อมโยงการบริการกับหน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ
  • 6) มีความพร้อมของระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ สปสช.

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด โดยจ่ายตามรายการบริการตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  • 1) กำกับการดำเนินงานของคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด โดยหน่วยบริการประจำ
  • 2) พัฒนาศักยภาพพยาบาลและผดุงครรภ์ นักกายภาพบำบัด และกำกับติดตามการดำเนินงานของคลินิก โดยสภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัด
  • 3) การบริหารจัดการและกำกับคุณภาพบริการ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตและกลไกอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  • 4) ศึกษาประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับสภาการพยาบาล สภากายภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Happy
1 50 %
Sad
1 50 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ

0 0
Read Time:4 Minute, 32 Second

ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ปี 2564

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน กรณีค่าใช้จ่ายสำหรับยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ (ยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตาม โครงการพิเศษ) ให้สามารถดำเนินการจัดหาและสนับสนุนยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษให้หน่วยบริการ และหรือจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามการใช้บริการ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
    • 1.1 จ่ายชดเชยเป็นยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
      • 1) เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม/ป้องกันโรคและลดอัตราสูญเสียชีวิต และทุพพลภาพ
      • 2) บริหารความเสี่ยง (Risk pooling) เพื่อประกันการเข้าถึงและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร (Central bargaining and/or central procurement)
      • 3) สนับสนุนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านยา-นวัตกรรมที่จำเป็นซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศในภาพรวม เช่น ยาราคาแพงที่ผลิตโดยหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่รัฐสนับสนุน เป็นต้น
    • 1.2 กรณีจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายยาและอื่นๆ (ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์) ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามผลงานบริการ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
      • 1) มีผู้จำหน่ายซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เช่น องค์การเภสัชกรรม เป็นต้น
      • 2) สามารถดำเนินการต่อรองราคาระดับประเทศ (Central bargaining โดยผู้จำหน่ายยินยอมจำหน่ายในราคาเดียวกันสำหรับทุกสิทธิหลักประกันสุขภาพ และประกันการจำหน่ายให้หน่วยบริการทุกพื้นที่
      • 3) มีการแข่งขันด้านราคาในระบบตลาดมากขึ้น หรือมีผู้จำหน่ายมากกว่า 3 ราย ขึ้นไป
  2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้หน่วยบริการที่เป็นแกนกลางหรือเป็นแม่ข่ายดำเนินการจัดหาและสนับสนุน ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ให้แก่หน่วยบริการอื่นในเครือข่ายได้ ตามแผนและวงเงินการจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ (แผนและวงเงินการจัดหาฯ) โดยให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์มีสิทธิได้รับ
    ค่าใช้จ่ายจากกองทุนเพื่อจัดหา ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามแผนและวงเงินการจัดหาฯ ใน 4 รายการบริการ ดังนี้
    • 1) บริการกรณีเฉพาะสำหรับรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรค (Instruments) บางรายการ กรณียาจำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ยาบัญชี จ(2) และยารักษาการติดเชื้อวัณโรค
    • 2) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการวัคซีนตามแผนการให้วัคซีนพื้นฐานวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงในเด็ก และยาป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
    • 3) บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ สำหรับยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐานและสูตรดื้อยา ถุงยางอนามัย และยาที่ใช้ในการนำร่องบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีด้วยวิธี Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP)
    • 4) บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง สำหรับน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้อง

วงเงินงบที่ได้รับ

ตามแผนและวงเงินการจัดหาฯ

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

  1. สปสช.จ่ายเงินกองทุนให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้ดำเนินการ จัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษในภาพรวม และสนับสนุนให้แก่หน่วยบริการในเครือข่ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  2. การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เป็น ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ
    • 2.1 จ่ายให้แก่เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ำ เพื่อสนับสนุนให้กับหน่วยบริการที่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์
    • 2.2 จ่ายให้แก่หน่วยบริการที่ไม่อยู่ในเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ เป็นค่าชดเชย ค่ายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ตามอัตราจ่ายที่ สปสช.กำหนด โดยต้องมีกลไกกำกับหน่วยบริการไม่ให้มีการเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วย
  3. กรณีจำเป็นให้ สปสช.จ่ายเงินกองทุนตามข้อ 2.1 ล่วงหน้าได้ เพื่อให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สามารถดำเนินการจัดหาได้
  4. เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ดำเนินการจัดหา รวมทั้งบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อการให้บริการตลอดปี ทั้งนี้ ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษให้ถือเป็นทรัพย์สินของเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์
  5. กรณีที่เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ ดำเนินการจัดหาแล้วเสร็จ
    • 5.1 หากมีเงินเหลือให้ใช้สำหรับการจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษครั้งถัดไป
    • 5.2 หากมีผลงานบริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณหรือเงินงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ 2564 ไม่เพียงพอ ภายหลังจากปรับประสิทธิภาพอย่างเต็มที่แล้ว ให้แจ้งต่อคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย เพื่อให้ สปสช.รวบรวมข้อมูลเสนอของบประมาณเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

ให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ รายงานผลการดำเนินการและบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ต่อคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย อย่างน้อยทุกไตรมาส

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version