คู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ พ.ศ. 2563

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ค่าธรรมเนียมแพทย์ เป็นอีกหมวดหนึ่งซึ่งจำเป็นที่ต้องประกาศให้ประชาชนผู้มารับการรักษาพยาบาลได้ทราบ คณะกรรมการแพทยสภาจึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาคู่มือค่าธรรมเนียมแพทย์ จัดทำคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ มีการจัดทำมาแล้ว คือฉบับที่ 1 พ.ศ. 2544 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563 คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการแพทยสภา, ผู้แทนจากสมาคมโรงพยาบาลเอกชน, สำนักงานประกันสังคม, สมาคมประกันชีวิตไทย, กระทรวงสาธารณสุข,กรมบัญชีกลางและกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยวิทยาลัย สาขาต่าง ๆ ทั้ง 15 แห่ง โดยราชวิทยาลัยวิทยาลัย ได้ร่วมกันสำรวจอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ของแพทย์ในสาขาต่าง ๆ และนำมากำหนดราคาตามหัตถการฉบับประเทศไทย (ICD -10- TM) และเมื่อสำรวจได้ทั้งหมดแล้ว จึงได้
กำหนดเป็น 2 ราคา ในแต่ละหัตถการ คือ ราคา Mean และราคาที่สูงกว่า คือ ราคา 90 Percentile

ราคาทั้ง 2 กลุ่มนั้น ไม่ได้เป็นการบังคับให้แพทย์แต่ละคนต้องกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ตามราคาทั้ง 2 กลุ่ม แต่เป็นแนวทางให้แพทย์สามารถกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ ซึ่งสถานพยาบาลแต่ละแห่งต้องประกาศตามข้อบังคับของสถานพยาบาล ค่าธรรมเนียมแพทย์ ที่แพทย์แต่ละคนประกาศนั้นจะสูงหรือต่ำกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์และดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคน ทั้งนี้อาจคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องเวลาและสถานที่ เช่น เวลาปกติหรือเวลาเร่งด่วนฉุกเฉิน, เวลาที่จะต้องใช้ในการอธิบายให้ผู้รับการรักษาเกิดความเข้าใจ, โรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก, ปัจจัยในเรื่องความสามารถจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และปัจจัยความสามารถในการใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งแต่ละคนมีไม่เท่ากัน มาใช้ในการพิจารณาร่วมด้วย

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

0 0
Read Time:1 Minute, 3 Second

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จึงสมควรกำหนดอัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ วรรคสาม (๒) (ก) (ง) แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อ ๗ วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราซการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค .๔๐๒.๓/๑๓๘๙๔ ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าบริการในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

0 0
Read Time:51 Second

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าบริการในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่ เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราค่าบริการในคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ
อาศัยอำนาจตามความในบหนิยามของคำว่า “เงินบำรุง” (๒) ๒.๘ ในข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อ ๖ วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดบริการคลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๖๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อบรมกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์

0 0
Read Time:23 Second

การอบรมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เรื่องกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้โครงการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องแกรนด์พาวินเลี่ยน โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกข้อมูล PP Fee Schedule

0 0
Read Time:2 Minute, 7 Second

อบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกข้อมูล PP Fee Schedule ๒๒ รายการ ภายใต้โครงการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการ ในเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖

โดย นายพิทักษ์ชัย จิตรมั่น เจ้าพนักงานเวชสถิติชานาญงาน หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป่าหมายได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บรายได้ หน่วยบริการทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 7

กำหนดการ

  • บรรยายเรื่อง “กองทุน PP บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน (PP&NPP, PPA, PP basic service)”
    • บริการคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening)
    • บริการตรวจคัดกรองและค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง
    • บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
    • บริการตรวจยีน BRCA๑/8RCA๒ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์
    • บริการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่องTandem mass spectrometry (TMS)
    • บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
    • บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
    • บริการวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT) ในผู้ใหญ่
    • บริการเคลือบฟลูออไรด์ (กลุ่มสี่ยง)
  • บรรยายเรื่อง “การบริหารกองทุน OP ผู้ป่วยนอก”
    • กองทุนบริการ Telehealth
    • กองทุนบริการ ส่งยาทางไปรษณีย์
    • กองทุน OP-AE, OP-Anywhere, OP-Refer, OP-Walk in,
    • กองทุนไตวายเรื้อรัง HD/CAPD
    • กองทุน DM HT GDM PDM
    • กองทุน HIV
    • กองทุน TB
    • กองทุน Instrument
    • กองทุน palliative care
    • กองทุน ฟื้นฟู /IMC
    • กองทุน จิตเวชชุมชน
    • กองทุน แพทย์แผนไทย/บริการกัญชา
    • กองทุน OP Covid-๑๙
    • กองทุน OP ODS
    • กองทุน CA
    • กองทุน Home Ward
    • กองทุน รากฟันเทียมสำหรับผู้ไม่มีฟันทั้งปาก
  • บรรยายเรื่อง “การบริหารกองทุน IP ผู้ป่วยใน”
    • ผู้ป่วยใน ในเขต ข้ามเขต
    • ผู้ป่วยใน โรคเฉพาะ
    • ผู้ป่วยใน Covid-19
    • ผู้ป่วยใน ทารกแรกเกิดที่มีความดันปอดสูง
    • ผู้ป่วยใน บริการสำรองเตียง
    • ผู้ป่วยใน MIS
    • ผู้ป่วยใน ORS
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดข้อเข้าเทียม
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดต้อกระจก OP/IP
    • ผู้ป่วยใน บริการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ ปี 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 23 Second

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการทุกสิทธิ
ประจำปี 2566
ในวันที่ 6-7 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมศรีจันทร์ (ชั้น4)
โรงแรมเจริญธานี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

วาระประชุมประกอบด้วย

  • กล่าวเปิดโครงการ และบรรยายพิเศษนโยบายการดำเนินงานด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการจังหวัดขอนแก่น โดย นายแพทย์อภิชัย ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง การจัดทำแผนเงินบำรุงและระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ สำหรับผู้บริหาร”
  • อภิปราย เรื่อง “การจัดทำแผนเงินบำรุงและใช้งานแผนเงินบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมแผนเงินบำรุงสำหรับผู้บริหาร และระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronic Internal Audit : EIA)”
  • อภิปราย เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพ Total Performance Score และการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้คุณภาพ”
  • อภิปราย เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง” ในการบริหารจัดการด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารด้านยาเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา วัสดุทันตกรรม

0 0
Read Time:9 Second

เอกสารประกอบการอบรมกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารด้านยาเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา วัสดุทันตกรรม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงคุ้มครองสิทธิปี66

0 0
Read Time:17 Second

เอกสารประกอบการ ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ปีงบประมาณ 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางปฏิบัติ/การปรับปรุง รายการบัญชีรายได้ค่าบริการรักษาโควิด

0 0
Read Time:1 Minute, 33 Second

แนวปฏิบัติทางบัญชีเกณฑ์คงค้าง กรณีหน่วยบริการได้รับโอนเงินค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ของปีงบประมาณก่อน

ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ให้ถือปฏิบัติการจัดทำและนำเสนอรายงานงบการเงินที่จัดทำตามหลักบัญชีเกณฑ์คงค้าง โดยรับรู้รายการที่เกี่ยวข้องในงวดบัญชีที่เกิดรายการ นั้น
จากการตรวจสอบงบทดลองหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ พบว่าหน่วยบริการรับรู้รายได้ไม่ตรงงวดบัญชี ได้แก่ บัญชีรายได้ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-OP/P จากสปสช. ในปังบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นการรับโอนเงินค่าบริการจากผลการดำเนินงานปีก่อน ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อรองรับการเป็นโรคประจำถิ่น มีผลตั้งแต่การให้บริการวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยบริการปฏิบัติตามแนวทางบัญชีเกณฑ์คงค้างสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ จึงเห็นควรแจ้งเป็นแนวทางให้หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติดังนี้

  • ๑. ปรับปรุงบัญชีรายได้ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-OP/IP จากสปสช. (๔๓๐๑๐๒๐๑๑๕.๒๖๗ /.๒๖๘ และบัญชีส่วนต่างค่ารักษาที่สูง(ต่ำ)กว่าข้อตกลงในการจ่ายตาม DRG-COVID-19 IP จาก สปสช. (๔๓๐๑๐๒๐๑๐๕.๒๖๙/.๒๗๐) เข้าบัญชีผลสะสมจากการแก้ไขข้อผิดพลาด-รายได้ (ต๑0๒๐๑๐๑๐๒.๑๐๒) กรณีได้รับโอนเงินเป็นของการดำเนินงานปีก่อน ณ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖
  • ๒. หน่วยบริการบันทึกรายการทางบัญชี กรณีให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด 19 เป็นลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิหลักในระบบปกติ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป (รายละเอียดปรากฏตาม QR Code ท้ายเอกสารนี้)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี (พ.ศ. 2566)

0 0
Read Time:42 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพระภิกษุ สามเณร แม่ชี (พ.ศ. 2566)

รัฐบาลจัดให้มี “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาสุขภาพและเป็นค่าบริการสาธารณสุขช่วยให้คนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิตตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ทำหน้าที่บริหารกองทุนตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการฯ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version