Read Time:5 Minute, 3 Second
ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค .๔๐๒.๕/ว๑๐๘๑๖ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง ขอตกลงการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด – 19 (COVID-19) และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไปด้วย
เพื่อให้การเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางการเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ประกอบด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้
กลุ่มเป้าหมาย
ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ บุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน หมายถึง บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแต่ไม่มีรายการในทะเบียนบ้าน หรือเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่นที่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก หรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ประกอบด้วยสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม บุคคลไร้สัญชาติ หรือบุคคลสัญชาติอื่นที่เป็นผู้ป่วยและตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน (IPD)
หน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง
หน่วยบริการภาครัฐที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่คนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาลหรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD)
หลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาล
จ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้กับหน่วยบริการที่ได้ให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาล หรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
หน่วยบริการที่ได้ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย ขอให้เก็บเอกสาร/หลักฐานการให้บริการทางแพทย์ไว้ที่หน่วยบริการสำหรับการตรวจสอบภายหลัง ยกเว้น การขอตรวจสอบเป็นกรณีเฉพาะราย และส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกชดเชยค่ารักษาพยาบาล ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state. cfo.in.th/ ตามวิธีการและขั้นตอนการส่งข้อมูลที่กำหนด โดยเลือกรหัสรายการ (Claim Code) IPDCOVID – 19 รายการผู้ป่วยในกรณีรับการรักษา COVID – 19 สำหรับขอค่ารักษาพยาบาล
แนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ให้หน่วยบริการที่ได้ให้การรักษาแก่กลุ่มเป้าหมายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาล หรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ส่งข้อมูลขอเบิกชดเชยค่ารักษาพยาบาลคนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ข้อมูลการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ที่ระบุรหัสโรค (ICD10) สอดคล้องกับการรักษา ภายใน ๓0 วัน นับจากวันที่จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge) และจะสิ้นสุดการส่งข้อมูลเรียกเก็บโดยถือ วันส่งข้อมูล (Sent date) ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และจะทำการปิดรับข้อมูลในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ โดยจะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายเดือนตามเดือนที่ส่งข้อมูล หรือเมื่องบประมาณหมดสิ้น ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่อยู่ในช่วงการรักษาเดียวกันส่งเบิกได้เพียงครั้งเดียว
กรณีหน่วยบริการได้รับการจ่ายหรือได้รับการสนับสนุนค่ารักษาพยาบาล ยา favipiravir สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 20 19 (COVID-19))และชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) จากงบประมาณของรัฐแล้ว ไม่ให้นำข้อมูลมาเบิกซ้ำซ้อน หากตรวจสอบพบว่า มีการเบิกซ้ำซ้อนจะดำเนินการเรียกเงินคืน
ผังขั้นตอนการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลคนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD)
การตรวจสอบผลการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล
หน่วยบริการที่ส่งข้อมูลเข้าระบบแล้วสามารถตรวจสอบผลการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ และดาวน์โหลดหนังสือแจ้งการโอนเงินทางไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th/ หน้าหลัก ข้อ ๕ แจ้งผลการโอนเงินค่ารักษาพยาบาล กรณีชาวต่างชาติ ที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID – 19)
หนังสือและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
Happy
0
0 %
Sad
0
0 %
Excited
0
0 %
Sleepy
0
0 %
Angry
1
100 %
Surprise
0
0 %