แนวทางส่งคืนเงินยืมราชการ

0 0
Read Time:1 Minute, 23 Second
  1. ให้งานการเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป เร่งรัต ติดตาม ทวงถามผู้ยืมเงินให้ส่งหลักฐานการจ่ายและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) เป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านหัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป ก่อนครบกำหนด ๓ วันทำการ ให้ผู้ยืมลงนามรับทราบและดำเนินการส่งคืนตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน
  2. ให้งานการเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายให้ครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับของทางราชการ และเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน
    • ๒.๑ กรณีเดินทางไปราชการ (ภายในประเทศ ให้ส่งคืนภายใน ๑๕ วัน นับจากกวันที่กลับมาปฏิบัติราชการ
    • ๒.๒ กรณียืมเงินเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่รับเงินยืม
  3. เจ้าหน้าที่การเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป ผู้รับผิดชอบรับหลักฐานการจ่ายและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) จากผู้ยืมเงินตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน โดยออกใบรับใบสำคัญ (กรณีเป็นหลักฐานการจ่าย) และใบเสร็จรับเงิน (กรณีมีเงินเหลือจ่าย) ให้แก่ผู้ยืมเงิน และหากมีเงินเหลือจ่ายเกินร้อยละ ๑0 ของวงเงินยืม ผู้ยืมเงินต้องขี้แจงเหตุผลประกอบอย่างชัดเจน
  4. หากผู้ยืมเงินไม่ส่งหลักฐานการจ่าย เพื่อชดใช้เงินยืมและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน ให้งานการเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป รายงานผู้บริหารสูงสุด และดำเนินการหักเงินเดือนหรือเงินอื่นที่พึ่งได้รับจากราชการชำระคืนสัญญายืม

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงขอแจ้งแนวทางในการส่งคืนเงินยืมราชการ ดังนี้

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันปี66

0 0
Read Time:1 Minute, 39 Second

ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 9.30-13.00 น.

วาระประชุม

  • ๑.ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย รศ.ดร.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการ สปสช.
  • ๒. สถานกรณ์ การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่าง สปสช.และศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ โดย นางสาวดวงนภา พิเชษฐ์กุล ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. และนางกรรณิการ์ ปัญญาอมรวัฒน์ ประธานคณะทำงานพัฒนาและกำกับติดตามการดำเนินการของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน
  • ๓. คุณูปการ คุณค่า ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการทบทวนบทบาทหน้าที่ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการ ควรดำเนินงานต่ออย่างไร โดย ผู้แทนผู้ดำเนินงาน ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
    • ๑) นางอันธิกา คะระวานิช โรงพยาบาลตราด จ.ตราด
    • ๒) นางสิริวิภา โรจนรัตนางกูร โรงพยาบาลเชียงยืน จ.มหาสารคาม
  • ดำเนินรายการโดย นางสาวเครื่อออน มานิตยกูล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ สปสช.เขต ๑ เชียงใหม่
  • ๔. สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ (ผลสำรวจ google form) /ทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน
  • ๕. แลกเปลี่ยน รับฟังข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ร่วมกับ สปสช. โดย นางชนทิพย์ มารมย์ ผู้อำนวยการกอง ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
  • ๖. สรุปผลการประชุมหารือและแจ้งกำหนดการดำเนินงานร่วมกันในระยะต่อไป โดย นางจารุภา คชบก นักวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

CPGเบาหวาน-2566

0 0
Read Time:1 Minute, 22 Second

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน2566
Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (non-communication diseases, NCDs) ที่พบบ่อยและเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศมติหมายเลขที่ 66/2 จากที่ประชุมสมัชชาฯ ด้วยนัยทางการเมือง (Political Declaration of High-level Meeting ให้แต่ละประเทศสมาชิก มีการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดนโยบายการป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไม่ติดต่ออย่างจริงจัง โดยมีองค์การอนามัยโลกทำหน้าที่กำกับ กระตุ้น และติดตามการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นเป้าหมายแรกที่ต้องเร่งดำเนินการ

โรคเบาหวานต้องรับการดูแลรักษาต่อเนื่อง การรักษามีจุดประสงค์และเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันให้บริการดูแลรักษา เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษา การสร้างทักษะการกินการอยู่ที่ถูกต้อง โน้มน้าวสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยปฏิบัติได้จริง กิจกรรมเหล่านี้นอกจากได้ประโยชน์ในการรักษาโรคเบาหวานแล้ว ยังเกิดประโยชน์ในการป้องกันโรคเบาหวานและการส่งเสริมสุขภาพด้วย

การคัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มแรก มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมและทันกาล มีโอกาสให้โรคเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบ (diabetes remission) หวังว่าแนวทางเวชปฏิบัตินี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการโรคเบาหวานสำหรับทีมดูแลรักษาโรคเบาหวานทุกระดับ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศเรื่อง การจ่ายค่าบริการการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๖๖

0 0
Read Time:5 Minute, 58 Second

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๔๒ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณ์สุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖”
  • ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
  • ข้อ ๓ ในประกาศนี้
    • “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงสำนักงานสาขา
    • “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “ผู้รับบริการ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ข้อ ๔ ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้

หมวด ๑
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

  • ข้อ ๕ การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ประกอบด้วย
  • ๕.๑ บริการการแพทย์แผนไทย
    • ๕.๑.๑ บริการนวด
    • ๕.๑.๒ บริการประคบ
    • ๕.๑.๓ บริการนวดและประคบ
    • ๕.๑.๔ บริการอบสมุนไพร
    • ๕.๑.๕ การฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด ตามแนวเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย
    • ๕.๑.๖ การใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ๕.๒ บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า ในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รายใหม่ ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระยะกลาง
  • ๕.๓ บริการน้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชัก และมะเร็งระยะสุดท้าย และยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชา และยาสมุนไพรอื่น ๆ ที่ได้รับการบรรจุเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร
  • ข้อ ๖ การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ตามข้อ ๕.๑ และข้อ ๕.๓ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
    • ๖.๑ เป็นการให้บริการแก่ผู้รับบริการ โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายของแต่ละรายการเป็นไปตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
    • ๖.๒ หน่วยบริการที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการจัดบริการการแพทย์แผนไทยได้ตามแต่ละบริการ รายละเอียดเป็นไปตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
    • ๖.๓ สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่ายตามรายการ ผู้รับบริการซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง และอัตราตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
  • ข้อ ๗ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการการแพทย์แผนทย และการแพทย์ทางเลือก ตามข้อ ๕.๒ให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง

หมวด ๒
วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

ข้อ ๘ ให้หน่วยบริการบันทึกและส่งข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือโครงสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (๔๓ แฟัม) หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการกับสำนักงาน หรือผ่านระบบโปรแกรมอื่นตามที่สำนักงานกำหนด ตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้

หมวด ๓
เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

  • ข้อ ๙ ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเอกสารการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการจัดให้มีหรือมีข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้รับบริการ เพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด
  • ข้อ ๑๐ สำนักงานจะดำเนินการประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการ โดยรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายจะแสดงสถานะข้อมูล ดังนี้
  • ๑๐.๑ กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านระบบโปรแกรมบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim)
    • ๑๐.๑.๑ ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล A: accept) สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ให้หน่วยบริการตามที่ประมวลผลได้
    • ๑๐.๑.๒ ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล C: cancel) หน่วยบริการสามารถแก้ไขและส่งมาในระบบของสำนักงานอีกครั้ง
    • ๑๐.๑.๓ ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล Deny) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามที่สำนักงานกำหนด
  • ๑๐.๒ กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมอื่น
    • ๑๐.๒.๑ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนด (ข้อมูล Y) สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ให้หน่วยบริการตามที่ประมวลผลได้
    • ๑๐.๒.๒ ข้อมูลที่ประมวลผลไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด: ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล N) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามแนวทางที่กำหนด
  • ข้อ ๑๑ หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สำนักงานจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บคำใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ โดยตรวจสอบหลักฐานการให้บริการ และกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบ ตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
  • ข้อ ๑๒ สำนักงานจะพิจารณาปฏิสธการจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุข ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    • ๑๒.๑ การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุขตามหมวด ๑
    • ๑๒.๒ ตรวจสอบไม่พบการยืนยันตัวตนของผู้ป่วยเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด
    • ๑๒.๓ กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
จเด็จ ธรรมธัชอารี
เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ แนวทาง เงื่อนไข และรายการบริการ สำหรับบริการที่จ่ายตามจำนวนผลงานบริการและการเข้าถึงบริการของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
เอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกำหนดเกณฑ์ในการตรจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการจากหน่วยบริการ
เอกสารหมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ รหัสหัตถการการแพทย์แผนไทย
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 19 Second

ฮิปโปเครติส ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ให้กำเนิดวิชาแพทย์” หรือ“บิดาแห่งการแพทย์” (The Father of Medicine) ได้บัญญัติไว้ในการรักษาเมื่อประมาณ2,500 ปีที่แล้วว่า “จงใช้อาหารเป็นยาในการรักษาโรค” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาในการรักษาโรคในยุคต่อ ๆ มา ปัจจุบันโรคที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases : NCDs) เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือด เป็นต้น เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รสจัดการสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งกลุ่มโรค NCDs เหล่านี้นับเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชากรโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ประเทศไทยนับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่ในภูมิประเทศที่อำนวยความสะดวกให้พืชพรรณธัญญาหารเติบโตได้อย่างดี มีคุณค่าทางโภชนาการและอาหารเหล่านี้ยังเป็นยาที่ช่วยป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า“อาหารเป็นยา” จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่อวดอ้างเกินจริง ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ใช้ประโยชน์จากพืชที่อยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการทำอาหาร และทำเป็นยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นองค์ความรู้ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใฝ่รู้และหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจัง เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้เป็นอย่างดี

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนศาสตร์ผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครือข่าย ได้เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร จึงได้จัดทำหนังสือโภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทยขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย ภูมิปัญญาไทย ในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนหันมารับประทานอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงเยาวชนรุ่น ใหม่ได้เรียนรู้การทำอาหารไทยที่ถูกต้อง และตระหนักรับรู้ว่าอาหารไทยมีค่าดุจตำรับยาไทย ตลอดจนเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการอาหารไทย และผลิตภัณฑ์อาหารไทย นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่งต่อไป

โดย คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนาศาสตร์พักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แพนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครื่อข่าย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เนื้อหาประกอบด้วย

บทที่ 1 อาหารกับโบราณโรค
บทที่ 2 กินให้เป็น
บทที่ 3 อาหารไทย อาหารแห่งสายลม
บทที่ 4 การบริโภคที่เหมาะควร จากพระโอษฐ์พระศาสดา
บทที่ 5 ตำรับอาหารเป็นยา
บทที่ 6 เครื่องแนม เครื่องเคียง ศิลปะการกินของคนไทย
บทที่ 7 วิถีอาหารไทย Thai Food Wellness
บทที่ 8 หลักในการรับทานอาหารในโภชนาการไทย
บทที่ 9 น้ำพริก นวัตกรรมชะลอวัย
บทที่ 10 อาหารไทย = วัคซีน
บทที่ 11 น้ำกระสายยา = น้ำสมุนไพร

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือแนวทางการดำเนินงานบริการแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 12 Second

คู่มือแนวทางการดำเนินงานบริการแพทย์แผนไทย ระดับ เขต 7 ขอนแก่น

คณะทำงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ระดับเขต 7 ขอนแก่น ได้กำหนดมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ประกอบด้วยมาตรฐาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากร ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมคุณภาพ และด้านการจัดบริการ มีรายละเอียดของมาตรฐานแต่ละด้าน ทั้งนี้เนื้อหาในเอกสารนี้ประกอบด้วย

  • ขั้นตอนการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยในหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้านหัตถเวชกรรมไทย
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้านการประคบสมุนไพร
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้วยการอบไอน้ำสมุนไพร
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้วยการทับหม้อเกลือ
  • ตารางเปรียบเทียบโรคทางแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน (ICD 10 TM) และหัตถการแผนไทย (ด้านหัตถเวชกรรมไทย)
  • แนวทางปฏิบัติด้านการใช้ยาสมุนไพร
  • ตารางเปรียบเทียบการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน
  • การคาดการณ์การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร
  • การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์สมุนไพร
  • กระบวนการปฏิบัติงานการเบิก-จ่ายยา/เวชภัณฑ์มิใช่ยา ในคลังยาและเวชภัณฑ์ รพ.สต.
  • ขั้นตอนการกำหนดรหัสยาแผนไทย 24 หลัก
  • การค้นรหัสยาสมุนไพร 24 หลัก
  • การให้บริการในชุมชน
  • การคีย์ข้อมูลการบริการแพทย์แผนไทยในโปรแกรม HOSXP และอื่นๆ
  • การบันทึกข้อมูลโปรแกรม JHCIS สำหรับผู้มารับบริการนวด/ประคบสมุนไพร
  • วิธีการเข้าดูรายงานผลการดำเนินงานแพทย์แผนไทย ทาง OP/PP Individual สปสช.
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ต้นทุนค่าบริการเวชกรรมฟื้นฟู 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 21 Second

เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรืองานบริการด้านเวชกรรมฟื้นฟูจัดเป็น 1ใน 4 พันธกิจทางการแพทย์ ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก คือ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรครักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลายวิชาชีพ ร่วมกันดูแลประชาชนซึ่งมีความพิการทั้งแบบชั่วคราวหรือถาวรจากความเจ็บป่วยให้มีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยกิจกรรมการบริการที่ครอบคลุมทุกมิติ และมีคุณภาพทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้ว

ดังนั้น เมื่อกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองบริหารการสาธารณสุข เชิญผู้แทนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรด้านสารารณสุขทุกสาขา มาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนบริการ เมื่อปี พ.ศ.2563 – 2566 จึงนับเป็นโอกาสดียิ่งที่บุคลากรด้านเวชกรรมฟื้นฟู ได้ร่วมมือกันศึกษาต้นทุนกิจกรรมบริการและจัดทำหนังสืออัตราค่าบริการด้านเวชกรรมฟื้นฟูในรูปของคณะอนุกรรมการกำหนดและปรับปรุงอัตราค่าบริการสาธารณสุข
ทางด้านเวชกรรมฟื้นฟู โดยมีผลลัพร์ คือ ต้นทุนบริการและอัตราค่าบริการด้านเวชกรรมฟื้นฟู

จากการทุ่มแรงกายและแรงใจของคณะอนุกรรมการฯ ทุกคน กองบริหารการสารารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นว่าสมควรนำข้อมูลทั้งหมดมารวบรวมเพื่อจัดทำรูปเล่มในรูปแบบหนังสือิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจและหน่วยบริการด้านเวชกรรมฟื้นฟูได้ใช้สืบคันที่มาของต้นทุนกิจกรรม

สุดท้าย ต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่สนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายด้านเวชกรรมฟื้นฟูในประเทศไทยมีโอกาสรวมตัวกันทำผลงานร่วมกัน คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์อย่างย่งต่อการกำหนดอัตราค่าบริการด้านงานเวชกรรมฟื้นฟูของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รวมประกาศ สปสช. ปี 2566

0 0
Read Time:5 Minute, 59 Second

รวมประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

๑. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ระดับเขตหรือจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๖

๒. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐานแบบเหมาจ่าย พ.ศ. ๒๕๖๖

๓. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ พ.ศ. ๒๕๖๖

๔. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีความจำเป็นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๖

๕. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบซี พ.ศ. ๒๕๖๖

๖. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี พ.ศ. ๒๕๖๖

๗. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖

๘. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการให้บริการสาธารณสุขระบบทางไกลในลักษณะผู้ป่วยนอกทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๖

๙. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข เพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๐. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข เพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๑. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืนและกรณีการบริการผ่าตัดผ่านกล้อง พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๒. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง สำหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน ในระยะวิกฤต พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๓. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๔. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข เพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๕. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข เพิ่มเติมสำหรับบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๖. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๗. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๘. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๖๖

๑๙. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๐. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๑. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๒. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๓. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีผู้ป่วยในทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๔. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่” ในหน่วยบริการภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๕. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการให้บริการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดรักษาโรค พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๖. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๗. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีผ้าอ้อม แผ่นรองซับการขับถ่าย แผ่นเสริมซึมซับ และผ้าอ้อมทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๘. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการผู้ป่วยนอกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๖

๒๙. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการเฉพาะเพื่อลดความเสี่ยงด้านการเงินของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖

๓๐. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการเฉพาะเพื่อปกป้องการได้รับบริการนอกเครือข่ายกรณีจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๖

๓๑. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีที่จำเป็นต้องกำกับการใช้บริการอย่างใกล้ชิด พ.ศ. ๒๕๖๖

๓๒. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการให้เคมีบำบัดหรือฮอร์โมนหรือรังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมบริการผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งกรณีที่มีเหตุสมควร พ.ศ. ๒๕๖๖

๓๓. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการเฉพาะโรค พ.ศ. ๒๕๖๖

๓๔. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการควบคุม ป้องกัน และรักษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พ.ศ. ๒๕๖๖

๓๕. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการจ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อบรมด้านการเงินและบัญชีปี2566

0 0
Read Time:34 Second

การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 7 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 7 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ในวันที่ 20 – 21 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมเปรื่อง อนุชวานิช อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

วิทยากรโดย อ.วรรณ บุตรนิล และ อ.น้ำค้าง บวรกุลวัฒน์

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารอบรมAuditเขต5

0 0
Read Time:54 Second

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพการบันทึกเวชระเบียนและการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน (Audit) ของหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 5 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2566
ณ ห้องประชุม โรงแรมลองบีช ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

  • วิทยากรได้แก่
  • นายแพทย์บริรักษ์ เจริญศิลป์ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลสวรรค์ ประชารักษ์
  • นายแพทย์กรกฤษณ์ เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับงานเวชระเบียน
  • หลักการบันทึกเวชระเบียน
  • หลักการให้รหัสโรค หัตถการ การผ่าตัด ตามมาตรฐานสากล
  • เกณฑ์การตรวจประเมินและการในให้คะแนนคุณภาพ การบันทึกเวชระเบียน
  • แนวทางการตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน (Audit)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version