เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการเตียง โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีสถานพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ณ ที่พำนักของผู้ป่วย ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเพื่อการแก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายบางรายการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อเพิ่มรายการที่มีความจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ทั้งนี้ เพื่อการดูแลรักษาพยาบาลและเพื่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้อย่างทันท่วงที
แนวทางเคลม HI CI วันที่7ม.ค.65
การชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด และการดูแลแบบ Home – Community Isolation ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางเฟซบุ๊กไลฟ์ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand วันศุกร์ที่ 7มกราคม 2565 เวลา 13:00-16:00 น. วาระประกอบไปด้วย
- กล่าวเปิดการประชุม โดย นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช.
- Update สถานการณ์การตรวจคัดกรองและการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 โดย ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข
- หลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 และการดูแลแบบ Home – Community Isolation ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- แนวทางการจัดทำข้อมูลการเบิกจ่ายให้บริการ Home – Community Isolation เพื่อให้ได้รับการโอนเงินรวดเร็ว โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- ส่งเบิกข้อมูลการบริการโควิดอย่างไรไม่ให้ข้อมูลติด C และแนวทางการแก้ไข โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- การบันทึกบัญชีกรณีรับเงินค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคโควิด 19 กรณี Home – Community Isolation และระบบรายงานการโอนเงินผ่าน HNSO Budget โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- อภิปราย ซักถาม ปิดการประชุม
บัตรทองไปที่ไหนก็ได้ ปี2565
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควรฯ
ตามหนังสือที่ สปสช. ๖.๗๐ / ว.๘๓๘๓ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ (ไฟล์ด้านล่าง)
แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร พ.ศ. ๒๕๖๔
เพื่อให้การจ่ายค่าใช้จ่ายในการให้บริการสาธารณสุข กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายในกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
นิยาม
- “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- “การรับบริการกรณีที่มีเหตุสมควร” หมายความว่า การเข้ารับบริการที่เป็นความจำเป็นของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการอื่นนอกจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่ รวมถึงการใช้สิทธิของบุคคลซึ่งลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำนอกเขตพื้นที่ซึ่งมีรอยต่อกับเขตพื้นที่ดังกล่าว
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณี ที่มีเหตุสมควร ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- (๑) เป็นการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- (๒) เป็นการเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก โดยไม่มีหนังสือส่งตัว ไม่ใช่กรณีนัดหมายและไม่ใช่กรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน ในกรณีดังต่อไปนี้
- (๒.๑) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัด เป็นการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิ ที่มีหน่วยบริการประจำในจังหวัด โดยเข้ารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเทียบเท่า ตามรายชื่อที่กำหนด ที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดเดียวกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ
- (๒.๒) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามจังหวัด ภายในเขต เป็นการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการทุกระดับที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ แต่อยู่ภายในเขตเดียวกัน
- (๒.๓) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามเขตกรณีเขตพื้นที่รอยต่อ เป็นการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการทุกระดับ
- (๓) สำหรับการรับบริการตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
อัตราการจ่าย
สปสช.จ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดบริการสาธารณสุข ตามรายการ และอัตรา ดังนี้
- (๑) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัด
- การเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาล ที่มีศักยภาพเทียบเท่า ตามรายชื่อที่กำหนด ที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดเดียวกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ สปสช.จะจ่ายค่าใช้จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด ตามเอกสารแนบท้าย กรณีที่ยังไม่ได้กำหนดรายการ และอัตราจะจ่ายตามราคาเรียกเก็บ ด้วยระบบ Point system with Global budget
- เว้นแต่ การเข้ารับบริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่าย และการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดเดียวกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ การรับค่าใช้จ่ายและอัตราการจ่ายเป็นไปตามข้อตกลงในจังหวัด
- (๒) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามจังหวัด ภายในเขต สปสช.จะจ่ายค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ก. การรับบริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่ไม่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ หรือมีแพทย์ปฏิบัติงานประจำไม่ครบจำนวน ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน ๗๐ บาทต่อครั้ง สำหรับบริการทันตกรรม จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด
- ข. การรับบริการในหน่วยบริการอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด ตามเอกสารแนบท้าย กรณีที่ยังไม่ได้กำหนดรายการและอัตรา จะจ่ายตามราคาเรียกเก็บ ด้วยระบบ Point system with Global budget
- (๓) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามเขตกรณีเขตพื้นที่รอยต่อ สปสช.จะจ่ายค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ก. การรับบริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่ไม่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ หรือมีแพทย์ปฏิบัติงานประจำไม่ครบจำนวน ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน ๗๐ บาทต่อครั้ง สำหรับบริการทันตกรรม จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด
- ข. การรับบริการในหน่วยบริการอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด ตามเอกสารแนบท้าย กรณีที่ยังไม่ได้กำหนดรายการและอัตรา จะจ่ายตามราคาเรียกเก็บ ด้วยระบบ Point system with Global budget
วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
บันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ผ่านระบบโปรแกรม e-Claim
เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
- (๑) มีการพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ หรือตามที่ สปสช.กำหนด
- (๒) สปสช.จะมีการตรวจสอบก่อนการจ่ายค่าใช้จ่าย (Pre-audit) ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากตรวจสอบ ข้อมูลรายการนั้นจะชะลอการจ่ายค่าใช้จ่าย เพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการจากหน่วยบริการต่อไป
การติดต่อประสานงาน
กรณีพบปัญหาข้อสงสัย หน่วยบริการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๕๕๔-๐๕๐๕ ในวันและเวลาราชการ หรือ e-mail : providercenter@nhso.go.th
การเปลี่ยนสถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคมได้มีการปรับปรุงการกำหนดสิทธิการรักษาพยาบาล เพื่อความสะดวกรวดเร็ว สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น จึงขอเรียนชี้แจงให้ผู้ประกันตนทราบ ดังนี้
- เมื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาล ผู้ประกันตนคนไทยต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวต้องแสดงบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะท างทะเบียนที่ออกโดยส่วนราชการ หรือแสดงบัตรประกันสังคมและหนังสือเดินทาง (Passport)
- สิทธิในการรับบริการทางการแพทย์เกิดขึ้นต่อเมื่อภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนและผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้ตลอดอายุความเป็นผู้ประกันตน
- การเปลี่ยนสถานพยาบาล
- เปลี่ยนประจำปี ให้ดำเนินการได้ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม จนถึงวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
- เปลี่ยนระหว่างปี กรณีมีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ประจำทำงาน หรือพิสูจน์ทราบว่าผู้ประกันตนมิได้มีการเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง ให้ยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลภายในระยะเวลาสามสิบวัน
- ผู้ประกันตนสามารถทำการเปลี่ยนสถานพยาบาล ได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
- 1) ยื่นแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส. 9-02) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ
- 2) ทำรายการผ่าน www.sso.go.th
- 3) ทำรายการผ่าน Applications SSO Connect
- การตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ให้สอบถามจากนายจ้าง /เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือ สายด่วน 1506 โดยสถานพยาบาลที่ท่านขอเปลี่ยนจะต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดที่ท่านประจำทำงานหรือพักอาศัยในปัจจุบัน หรือจังหวัดรอยต่อของจังหวัดดังกล่าวและมีจำนวนผู้ประกันตนไม่เกินตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
- การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th /Application SSO Connect โทรสายด่วน 1506 / สำนักงานประกันสังคม / สถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม ทุกแห่งทั่วประเทศ เครื่อง Smart Kiosk ของกระทรวงมหาดไทย และ Add เพื่อน line @ssothai
- สำหรับผู้ประกันตนที่ไม่ประสงค์เปลี่ยนสถานพยาบาล สามารถใช้สิทธิรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิเดิมได้จนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีสิ้นสภาพจากความเป็นผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพ
หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย โปรดติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน 1506 หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สาขาทุกแห่ง ตามวันเวลาราชการ
พิจารณาวงเงิน Fixed cost สสอ.
สรุปมติการประชุมคณะทำงานพิจารณาวงเงิน Fixed cost ให้แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเพิ่มเติม จากเงินบำรุงของโรงพยาบาล
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13:30 – 16:30น. ณ ห้องประชุมก่องข้าว ชั้น3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น เพื่อหารือแนวทางบริหารจัดการงบประมาณที่โรงพยาบาล (CUP) ต้องสนับสนุนงบค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกำกับติดตามประเมินผล และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณสุข ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ตามนโยบายและตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 14 ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา 13.3๐-๑6.๓๐ น. ณ ห้องประชุมก่องข้าว (ห้องประชุม VDO Conference ตึกใหม่ ชั้น 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID19
แจ้งแนวทางการจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดขอนแก่น
- ๑. ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังหักต้นทุนในการดำเนินการร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือจัดสรรให้โรงพยาบาล และเครือข่ายหน่วยบริการในอัตรา 50 : 50
- ๒. ค่าบริการเก็บสิ่งส่งตรวจหาเชื้อ COVID-19 ให้บริหารจัดการโดย CUP เนื่องจากแต่ละ CUP มีการบริหารจัดการแตกต่างกัน โดยขอให้ส่งแนวทางและผลการจัดสรรให้จังหวัดทราบด้วย
- ๓. ค่ากระจายชุดตรวจ ATK Home Use อัตรา 10 บาพ/ชุด จัดสรรให้โรงพยาบาล/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ดำเนินการกระจายชุดตรวจให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยตรง
รายงานควบคุมกำกับการลงทะเบียนสิทธิ
รายละเอียดวิธีการออกรายงานควบคุมกำกับการลงทะเบียน
กำหนดรอบการออกรายงาน
รอบที่ | ข้อมูลลงทะเบียน | สามารถดาวน์โหลดข้อมูล |
1 | ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือนนี้ | วันที่ 16 ของเดือนนี้ |
2 | ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 ถึงสิ้นเดือน ของเดือนนี้ | วันที่ 1 ของเดือนถัดไป |
เงื่อนไขในการออกรายงาน
สรุปข้อมูลการลงทะเบียน ที่มีทะเบียนบ้านเลขที่เดียวกันเกิน 15 คน เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้
- ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
- มีบ้านเลขที่เดียวกันเกิน 15 คน ภายใน 15 วัน
- มีหน่วยบริการประจำที่เดียวกัน
- หน่วยบริการประจำ ไม่ใช่สังกัดสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ,ไม่ใช่สังกัดกระทรวงยุติธรรม และไม่ใช่สังกัดกระทรวงกลาโหม
- หน่วยบริการประจำเดิมกับหน่วยบริการประจำปัจจุบัน ไม่ใช่หน่วยบริการเดียวกัน
- ไม่ใช่รายที่ลงทะเบียนเลือกสิทธิย่อยทหารเกณฑ์ ,ผู้ต้องขัง ,สถานพินิจ ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และนักเรียนทหาร
สรุปข้อมูลการลงทะเบียนรายหน่วยบริการประจำที่มียอดผิดปกติ เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้
- ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
- มีหน่วยบริการประจำที่เดียวกัน
- หน่วยบริการประจำ ไม่ใช่สังกัดสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ,ไม่ใช่สังกัดกระทรวงยุติธรรม และไม่ใช่สังกัดกระทรวงกลาโหม
- มียอดการลงทะเบียนของหน่วยบริการประจำ ดังนี้
4.1 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป จำนวนมากกว่า 500 คนต่อวัน
4.2 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลยุพราช จำนวนมากกว่า 300 คนต่อวัน
4.3 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาล(เอกชน) ,คลินิก(เอกชน) และศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัด(สป.สธ.,สสช.,อปท.,กรุงเทพมหานคร) จำนวนมากกว่า 100 คนต่อวัน
4.4 ศักยภาพเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอื่นฯ จำนวนมากกว่า 50 คนต่อวัน - หน่วยบริการประจำเดิมกับหน่วยบริการประจำปัจจุบัน ไม่ใช่หน่วยบริการเดียวกัน
- ไม่ใช่รายที่ลงทะเบียนเลือกสิทธิย่อยทหารเกณฑ์ ,ผู้ต้องขัง ,สถานพินิจ ,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และนักเรียนทหาร
- ไม่ใช่รายที่ยอมรับการลงทะเบียนตามมติบอร์ด
สรุปข้อมูลการลงทะเบียนแทนกรณี รับมอบอำนาจมากกว่า 7 คน เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้
- ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
- ผู้รับมอบอำนาจเป็นคนเดียวกัน
- ผู้มีสิทธิได้มอบอำนาจ ให้ผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการลงทะเบียนแทนมากกว่า 7 คนต่อวัน
- หน่วยบริการประจำเดิมกับหน่วยบริการประจำปัจจุบัน ไม่ใช่หน่วยบริการเดียวกัน
การลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการจากสังกัดรัฐไปยังสังกัดเอกชน เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้
- ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
- มีการลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ จากสังกัดรัฐไปยังสังกัดเอกชน จำนวนมากกว่า 100 คนต่อวัน
การลงทะเบียนในช่วงเวลาที่ผิดปกติ เงื่อนไขการออกรายงานมีรายละเอียดรายงาน ดังนี้
- ลงทะเบียนผ่านระบบ ERM-ONLINE ,E-FORM
- คลินิก(เอกชน) มีการลงทะเบียนในช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 – 6.00 น
CPG COVID-19 อัพเดต2พ.ย.64
แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 19 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564
โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างานในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ
การปรับแนวทางเวชปฏิบัติฯ ฉบับนี้ มีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
- เพิ่มรายละเอียดคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยด้วย antigen test kit (ATK)
- ตัด lopinavir/ritonavir ออกจากรายการยาที่แนะนำให้ใช้
- ปรับข้อบ่งชี้การใช้ remdesivir ให้ใกล้เคียงกับคำแนะนำของ the United States National Institute of Health (NIH) และ Infectious Disease Society of America (IDSA)
- เพิ่มรายละเอียดคำแนะนำการใช้ยาต้านไวรัสในหญิงตั้งครรภ์
- เพิ่มการให้ IVIG ในผู้ป่วย กรณี MIS-C
- ลดระยะเวลาการกักตัว (isolation) ลงจาก 14 วัน และ 21 วัน สำหรับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ลงเหลือ 10 วัน และ 20 วันตามลำดับ รวมทั้งน้นเรื่องการไม่ตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการใด ๆ ซ้ำอีกในระยะเวลาสามเดือนหลังจากได้รับการวินิจฉัย
- แนะนำให้ทำการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ได้มาตรฐาน สำหรับยาที่ยังไม่มีผลการวิจัยสนับสนุนว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด-19
ประชุมstateless 20ธค.64
ประชุมชี้แจงแนวทางการรับส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ วันที่ 20 ธันวาคม 2564
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหาร จัดการงบประมาณ และตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้กับหน่วยบริการที่ได้ให้บริการ ด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และได้หารือร่วมกับสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ stateless โดยให้หน่วยบริการที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิส่งข้อมูลผ่าน ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามรายการสิทธิประโยชน์ ของกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ นั้น
ในการนี้ เพื่อให้หน่วยบริการสามารถส่งข้อมูลดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข จึงได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอเรียนเชิญผู้ที่รับผิดชอบส่งข้อมูล เพื่อขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม รับฟังการชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ ในวันจันทร์ ที ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. โดยขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าร่วมประชุม ดังกล่าว ด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล VDO Conference ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting สามารถเข้าร่วมประชุม ทาง Facebook Live ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
วาระในการประชุมประกอบไปด้วย
- นโยบายด้านการบริหารจัดการการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
- บทบาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่าย โดย พญ.กฤติกา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สปสช.
- เงื่อนไข สิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
- การรับส่งข้อมูลในระบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
โปรแกรม e-Claim ปีงบประมาณ 2565
การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การขอรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีผู้ป่วยนอกและกรณีส่งเสริมสุขภาพและห้องกันโรค ผ่านโปรแกรม e-Claim ปีงบประมาณ 2565 วันที่ 13 ธันวาคม 2564 13.00 – 16.30 น. วาระประกอบไปด้วย
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการผู้ป่วยนอก
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
- แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
- ระบบตรวจสอบและยืนยันการเข้ารับบริการ (Authen code)
- วิธีการรับ-ส่งข้อมูลโปรแกรม e-Claim
- โปรแกรมบริหารจัดการรหัสยามาตรฐาน (Drug Catalogue)
ลิงค์เฟซบุ๊ก https://fb.watch/9SBEZeKCOx/