- การขอรหัสผ่านใช้งานระบบต่างๆ
- ขั้นตอนการทำงานของระบบ SSOP
- การจัดทำข้อมูล
- การส่งข้อมูล
- องค์ประกอบของ Text File
- โครงสร้างข้อมูล SSOP
- การจัดทำ Zip File
- การตอบกลับ
- การตรวจข้อมูล
- การตรวจเบื้องต้น
- การตรวจละเอียด
- บัญชีอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง
- การแก้ไขข้อมูล
- ปัญหาที่พบบ่อยในระบบ SSOP
- การส่งข้อมูลจาก JHCIS
ประชุมชี้แจงรักษาโรค covid-19 ที่มีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 3มี.ค.65
ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเบิกจ่ายกรณีบริการดูแลรักษาโรค covid-19 ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยสายงานบริหารกองทุน เชิญหน่วยบริการทั่วประเทศ รับฟังการชี้แจงในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ เวลา 9.00 น. – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ระบบ zoom และเฟซบุ๊กไลฟ์ https://fb.watch/bvU6SOaAJK/
หนังสือจาก3กองทุน
CPG COVID-19 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 20 วันที่ 1 มีนาคม 2565
โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างานในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ การปรับแนวทางเวชปฏิบัติฯ ฉบับนี้ มีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
- ปรับคำนิยามของการวินิจฉัยผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยเข้าข่าย COVID-19 ตามกรมควบคุมโรคระบุ
- ปรับคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยด้วย antigen test kit (ATK)
- ปรับแนวทางการดูแลรักษา ในกลุ่มผู้ไม่มีอาการ กลุ่มที่มีอาการเล็กน้อย กลุ่มที่มีอาการปานกลาง
- เพิ่มข้อบ่งชี้ในการใช้ยาต้านไวรัส และยาอื่น ๆ
- ปรับระยะเวลาในการกักตัว กรณีผู้ป่วยเป็นกลุ่มเสี่ยง
ประกาศกำหนดสถานพยาบาล ณ ที่พำนักของผู้ป่วย
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2564 เรื่อง สถานพยาบาลอื่นซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเฉพาะผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ณ ที่พำนักของผู้ป่วย เป็นการชั่วคราว โดยกำหนดให้สถานพยาบาล ณ ที่พำนักของผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นสถานพยาบาลที่ได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล รวมถึงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและมาตรฐาน เพื่อกำหนดให้เป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว หลังเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้แล้วอย่างน้อยสิบวัน และจำหน่ายกลับเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านหรือที่พักอาศัย
ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 198 ง วันที่ 27 สิงหาคม 2564)
ชี้แจงการดำเนินงาน ATK phase 2
กำหนดการชี้แจงโครงการ 24 ก.พ. 65
ㆍ 9.00 – 9.30 น. เลขาธิการ สปสช. กล่าวเปิดโครงการ
ㆍ 9.30 – 10.00 น. ชี้แจงโครงการ โดย นพ. อภิชาต รอดสม รองเลขาธิการสปสช.
ㆍ10.00 – 11.00 น. ขั้นตอนและแนวทาง การใช้ระบบสารสนเทศ ในการดำเนินโครงการ โดย ทีมงาน KTB
ㆍ11.00 – 12.00 น. ถามตอบปัญหา phase 1 และ 2 โดย พญ. กฤติยา ศรีประเสริฐ ที่ปรึกษา สปสช. /คุณ เบญจมาส เลลิศชาคร ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. และทีมงานสายบริหารกองทุน/ ทีมงาน KTB /ภญ. สมฤทัย สุพรรณกูล สปสช.
เอกสารประกอบการประชุม
ประชุมทบทวนการเบิกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำหมัน
“ประชุมทบทวนการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์สำหรับการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางและการทำหมัน”
โดย กลุ่มงานพัฒนาระบบการจ่ายประโยชน์ทดแทน สำนักสิทธิประโยชน์ สำนักงานประกันสังคม
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม มอบหมายให้นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นประธานการประชุมทบทวนการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำหรับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางและการทำหมันโดยมีผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบu Cisco Meeting Server ณ ห้องประชุมจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สำนักงานประกันสังคม
วาระประชุมประกอบไปด้วย
- ทบทวนประกาศฯ และแนวปฏิบัติตามสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
- การสืบค้นกรณีส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ในระดับที่สูงกว่าผ่านระบบ e-Claim
เอกสารประกอบการประชุม
คู่มือขอรับค่าใช้จ่าย ปี 2565
คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขปีงบประมาณ 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของหน่วยบริการ/สถานบริการ/สถานพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ตลอดจนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับค่าใช้จ่ายในกรณีต่างๆ ของสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสิทธิอื่นที่ สปสช.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
สปสช.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ปฏิบัติงานด้านการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ/สถานบริการ/สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขอรับค่าใช้จ่ายได้ตามแนวทางที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ภายในเวลาที่กำหนด
แผนการตรวจสอบภายใน ปี 2565
ที่ไปที่มาการตรวจสอบภายใน
ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกของการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูสรายงานทางการเงินน่าเชื่อถือ สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดการดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ ตามพระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๙ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสียง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด และตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ส่วนที่ ๒ มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน รหัส ๒๐๐๐ การบริหารงานตรวจสอบภายใน และหลักกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง จึงให้ผู้ตรวจสอบภายในที่ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราขการและเพื่อกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน
กำหนดการตรวจสอบ ปี 2565
ลำดับ | วัน เดือน ปี | หน่วยรับตรวจ |
---|---|---|
1 | ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลแวงใหญ่ |
2 | ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลชนบท |
3 | ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลโนนศิลา |
4 | ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลเปือยน้อย |
5 | ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลบ้านไผ่ |
6 | ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น |
7 | ๕ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย |
8 | ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลมัญจาคีรี |
9 | ๒๑ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลพระยืน |
10 | ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลสีชมพู |
11 | ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลหนองนาคำ |
12 | ด๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลภูเวียง |
เกณฑ์ในการคัดเลือกหน่วยรับตรวจ
- คะแนนจากระบบตรวจสอบอัตโนมัติ (ElA)
- ไม่ผ่านเกณฑ์ ๔0% ด้านใดด้านหนึ่ง (สิรินธร/บ้านฝาง/อุบลรัตน์/เวียงเก่า/โคกโพธิ์ไขย)
- รวมเฉลี่ย < ๗๐% (บ้านฝาง/อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/โนนศิลา)
- การเงิน < ๗0% (โคกโพธิ์ไชย/บ้านฝาง/เวียงเก่า)
- งบการเงิน < ๗๐% (บ้านฝาง/โนนศิลา/เปีอยน้อยโคกโพธิ์ไชย/ชุมแพ/มัญจาคีรี)
- จัดเก็บรายได้ < ๗๐% (บ้านฝางโคกโพธิ์ไขย/ เวียงเก่า)
- พัสดุ < ๗๐% (อุบลรัตน์/โคกโพธิ์ไชย/หนองนาคำ/บ้านไผ่/ภูเวียง/สีชมพู/ชนบท/พระยืน)
- ควบคุมภายใน < ๗๐% (โนนศิลา/บ้านไผ่/สิรินธร/อุบลรัตน์/เวียงเก่า)
- จากผลการจัดส่งแผนรับ-จ่ายเงินบำรุง ประจำปี ๒๕๖๕
- โรงพยาบาลแวงใหญ่
- หน่วยที่ได้รับตรวจแล้วจากเขตสุขภาพที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๕
- โรงพยาบาลอุบลรัตน์
- โรงพยาบาลบ้านฝาง
ขอบเขตการตรวจสอบ
- ด้านการเงิน : (นางมลิวรรณ มะลิต้น , นางชวรีย์ ศิริพินิตนันท์)
- แผนรับ-จ่ายเงินบำรุง : (นางสาวสมจิตร เดซาเสถียร , นางสาวณิศา เพ็ญศิริ)
- เงินบริจาคและเงินเรื่ยไร
- เงินยืมราชการ
- ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
- ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ
- ค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ
- การจ่ายเงินค่าตอบแทนโควิด
- ด้านระบบบัญชี บัญชีเกณฑ์คงค้าง : (นางสาวดารุณี พิมพ์ลี , นางขนิษฐา นนทะสิงห์)
- งบทดลอง ณ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
- เดือนสุดท้ายก่อนเข้าตรวจ
- เอกสารประกอบ
- ด้านการพัสดุ : (นางสุมาลี บุญญรัตน์ , นางนงลักษณ์ ควรคำ)
- การจัดซื้อจัดจ้าง (แผนจัดซื้อจัดจ้างประจำปีตามหมวดรายจ่าย แผนเงินบำรุง)
- การบริหารพัสดุ
- วัสดุ บัญชีวัสดุตามแบบกรมบัญชีกลาง ทุกคลัง
- รายงานวัสดุคงคลัง ประจำเดือน
- ครุภัณฑ์ ทะเบียนทรัพย์สิน ตามแบบกรมบัญชีกลาง
- รายงานค่าเสื่อมสะสม ประจำเดือน
- การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา : (นางศศิธร เอื้ออนันต์ , นางสาวอิสรีย์ พละสินธุ์เดชา)
- การตรวจสอบพัสดุประจำปี ๒๕๖๔
- รายงานการตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุประจำปี ภายใน ๓๐ วันทำการ
- ส่งรายงานการตรวจสอบต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดชอนแก่น / สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดขอนแก่น /สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- ด้านการจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล สิทธิที่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน : (นายชัชวาลย์ มุ่งแสง , นางสาวพรรทิภา ทองเกลียว)
- ข้าราชการ
- ประกันสังคม
- พรบ.
- จ่ายตรง อปท.
- สิทธิเบิกจ่ายต้นสังกัด (รัฐวิสาหกิจ , ธนาคาร)
- ด้านการควบคุมภายใน ตามมาตรฐานหลักเกณฑ์การควบคุมภายในที่กระทรวงการคลังกำหนด : (นายรังสรรค์ พลหล้า , นางสาวจารุวรรณ รัศมาวี)
- คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
- โครงสร้างการบริหารงาน
- Flow Chart กระบวนงานหลัก ส่วนงานย่อย
- แบบติดตาม ปค. ๕
เอกสารประกอบ
ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโควิดเมื่อแยกกักตัวที่บ้าน
เอกสารประกอบการประชุมการให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย ปีงบประมาณ 2565
- ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกล่าวเปิดการประชุม โดย นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการ สปสช.
- แนวทางการสนับสนุนคลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์ และ ร้านยา เข้าร่วมจัดบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย รศ. ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล และ รศ.ภญ สุณี เลิศสินอุดม ประธานอนุกรรมการพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ผู้แทนสภาเภสัชกรรม
- แนวทางการจัดบริการสำหรับคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดย คุณบำรุง ชลอเดช ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
- แนวทางการจัดบริการยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัยปีงบประมาณ 2565 โดย คุณศศิธร ไชยสิทธิพร ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
- การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ สำหรับ คลินิกพยาบาลฯ ร้านยา และสถานบริการอื่นที่จะให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย โดย คุณปานใจ ตันติภูษานนท์
- หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตนสำหรับ การให้บริการของคลินิกพยาบาล โดย คุณมานพ โยเฮียง / คุณเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
- หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตน สำหรับการให้บริการ “ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน” โดย ทีม KTB คุณทนงเกียรติ พาดี / สุภัค ไชยวานิช / ณัฏฐณิชา วิทยาศิริกุล
- หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตน สำหรับการให้บริการ “ถุงยางอนามัยในหน่วยบริการที่สมัครใจร่วมให้บริการ” โดย คุณรัตน์ระพี เกษกาญจนานุช/ คุณอัครรัฐ อย่างไพบูลย์ /คุณสุวัชชัย ชื่นเมือง ผู้จัดการกอง ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
- ระบบการจัดส่งถุงยางอนามัย สำหรับหน่วยบริการที่สมัครใจร่วมให้บริการ โดย คุณกฤชชัย พัฒนจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
- ประเด็นซักถาม และปิดการประชุม
กลุ่มเป้าหมาย :
- หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(ที่ไม่ได้รับงบเหมาจ่าย) หน่วยใหม่ และหน่วยเก่า ได้แก่
- หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม (ร้านยา)
- หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (คลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์)
- หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน (คลินิกพยาบาลฯ PP /รพ.เอกชน PP)
- หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเวชกรรม (คลินิกเวชกรรม)
- หน่วยบริการปฐมภูมิใน กทม. (คลินิกชุมชนอบอุ่น)
- นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง สปสช.ส่วนกลาง และ สปสช.เขต 1-13