CSOP: วิธีการหาค่า MD5 ระบบ CSOP
CSOP: วิธีการหาค่า MD5 ระบบ CSOP
เอกสารการพัฒนาศักยภาพนักบริหารการเงินและการคลัง เขต9
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักบริหารการเงินและการคลัง เขตสุขภาพที่ 9 (7 Plus Efficiency) ปี 2565
(รุ่นที่ 1 จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ) วันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2565
เอกสารประกอบการประชุม
วีดีโอสอนการคำนวณ 7 Plus Efficiency
video ส่วนที่ 1 https://fb.watch/jrMBlnHPxE/
video ส่วนที่ 2 https://fb.watch/jrLWo4KNDs/
แนวทางเบิกกรณีผู้ป่วยโควิดสิทธิข้าราชการ
แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID
การปรับอัตราค่ารักษา ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว 805
ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565
โดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ(สกส.) 18 กรกฎาคม 2565
แนวทางเบิกกรณีผู้ป่วยโควิดสิทธิประกันสังคม
แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID
ตามประกาศฯ สำนักงานประกันสังคม ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม 2565
โดย สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) วันที่ 22 สิงหาคม 2565
ประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของกรุงเทพมหานคร
กำหนดการประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล
สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของกรุงเทพมหานคร
ในวันที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น.
วาระประชุม
- กล่าวเปิดประชุม โดย นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร
- บทบาทของ สปสช. กับการทำหน้าที่ National Clearing House โดย นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ ที่ปรึกษา สปลช.
- เงื่อนไข สิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของกรุงเทพมหานคร โดย กรุงเทพมหานคร
- ระบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายของ สปสช. โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
- แนวทางการตรวจสอบเวซระเบียน โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เอกสารประกอบการประชุม
เอกสารการประชุม Home ward 17 ส.ค. 2565
วาระประชุม
- ประธานกล่าวเปิดการประชุม โดย นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
- มาตรฐานการให้บริการผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) โดย พญ.ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์ ที่ปรึกษา กรมการแพทย์
- หลักเกณฑ์แนวทาง การเป็นหน่วยจัดบริการและการประเมินความพร้อมของระบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) โดย นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิตร ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ นพ.โภคิน ศักรินทร์กุล ผู้แทนสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย
- หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบการจ่ายค่าบริการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ 2565 โดย พญ.รัชนิศ พรวิภาวี ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ สปสช. นางอัญชลี หอมหวล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ สปสช.
- การพิสูจน์ตัวตน (Authen) การบันทึกโปรแกรมเพื่อเบิกจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในที่บ้านโดยระบบ E – claim และ AMED โดย น.ส.เดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน สปสช. ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ หัวหน้าทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่ง อำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (AMED)
เอกสารประชุมวันที่ 23 กันยายน 2565
โครงสร้างและรูปแบบข้อมูลผู้ป่วยนอก สวัสดิการข้าราชการ CSOP
CSOP เป็นการจัดทำข้อมูลเพื่อส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก สิทธิกรมบัญชีกลาง, กทม, กสทช.,กกต.. เมืองพัทยา และ สผผ.
จุดประสงค์ เพื่อให้สถานพยาบาลดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของสถานพยาบาลที่มีอยู่ในระบบแล้ว (HIS) จัดเตรียมเป็นข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับ สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) รุ่นของโครงสร้าง ที่ใช้ปัจจุบันเป็น Version 0.93
ชี้แจงแนวทางจ่ายค่าบริการโควิด25ก.ค.2565
ชี้แจงการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อรองรับการเป็นโรคประจำถิ่น สำหรับผู้มีสิทธิ UC ปีงบประมาณ 2565 ชี้แจงหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 25 กรกฎาคม 2565
การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ (AIPN)
การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่
All In-patient Claim Data File Specification : AIPN
AIPN เป็นโครงสร้างที่กำหนดให้สถานพยาบาลรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ ประเภทผู้ป่วยใน แทนการใช้โปรแกรม SIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 เป็นต้นไป ซึ่งโครงสร้างรูปแบบใหม่ พัฒนามาจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการ (CIPN) ระยะแรกใช้กับสิทธิประกันสังคม ระยะต่อไปจะใช้กับสิทธิอื่นๆ ด้วยข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน รูปแบบใหม่ (AIPN)
ข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ใช้คำนวณค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาล ดังนี้
- ค่าบริการทางการแพทย์กรณีรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW) มากกว่าหรือเท่ากับ 2
- ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS)
- ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลรัฐ
- ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS)
เพื่อให้สถานพยาบาลดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของสถานพยาบาลที่ทำงานและบันทึกข้อมูลการให้บริการที่มีอยู่ในระบบแล้ว (HIS) จัดเตรียมเป็นข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับ สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจำเป็นต้องให้ผู้ทำงานด้านไอที ทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารงานเบิกจ่ายของสถานพยาบาล ทำความเข้าใจในเนื้อหา และความหมายของข้อมูลที่ถูกต้อง อนาคตสถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกประเภทผู้ป่วยในทุกสิทธิเป็น AIPN โครงสร้างเดียว