ประกาศเรื่อง การจ่ายค่าบริการการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๖๖

0 0
Read Time:5 Minute, 58 Second

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๔๒ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณ์สุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖”
  • ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
  • ข้อ ๓ ในประกาศนี้
    • “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงสำนักงานสาขา
    • “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “ผู้รับบริการ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ข้อ ๔ ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้

หมวด ๑
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

  • ข้อ ๕ การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ประกอบด้วย
  • ๕.๑ บริการการแพทย์แผนไทย
    • ๕.๑.๑ บริการนวด
    • ๕.๑.๒ บริการประคบ
    • ๕.๑.๓ บริการนวดและประคบ
    • ๕.๑.๔ บริการอบสมุนไพร
    • ๕.๑.๕ การฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด ตามแนวเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย
    • ๕.๑.๖ การใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ๕.๒ บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า ในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รายใหม่ ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระยะกลาง
  • ๕.๓ บริการน้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชัก และมะเร็งระยะสุดท้าย และยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชา และยาสมุนไพรอื่น ๆ ที่ได้รับการบรรจุเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร
  • ข้อ ๖ การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ตามข้อ ๕.๑ และข้อ ๕.๓ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
    • ๖.๑ เป็นการให้บริการแก่ผู้รับบริการ โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายของแต่ละรายการเป็นไปตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
    • ๖.๒ หน่วยบริการที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการจัดบริการการแพทย์แผนไทยได้ตามแต่ละบริการ รายละเอียดเป็นไปตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
    • ๖.๓ สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่ายตามรายการ ผู้รับบริการซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง และอัตราตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
  • ข้อ ๗ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการการแพทย์แผนทย และการแพทย์ทางเลือก ตามข้อ ๕.๒ให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง

หมวด ๒
วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

ข้อ ๘ ให้หน่วยบริการบันทึกและส่งข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือโครงสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (๔๓ แฟัม) หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการกับสำนักงาน หรือผ่านระบบโปรแกรมอื่นตามที่สำนักงานกำหนด ตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้

หมวด ๓
เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

  • ข้อ ๙ ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเอกสารการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการจัดให้มีหรือมีข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้รับบริการ เพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด
  • ข้อ ๑๐ สำนักงานจะดำเนินการประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการ โดยรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายจะแสดงสถานะข้อมูล ดังนี้
  • ๑๐.๑ กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านระบบโปรแกรมบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim)
    • ๑๐.๑.๑ ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล A: accept) สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ให้หน่วยบริการตามที่ประมวลผลได้
    • ๑๐.๑.๒ ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล C: cancel) หน่วยบริการสามารถแก้ไขและส่งมาในระบบของสำนักงานอีกครั้ง
    • ๑๐.๑.๓ ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล Deny) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามที่สำนักงานกำหนด
  • ๑๐.๒ กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมอื่น
    • ๑๐.๒.๑ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนด (ข้อมูล Y) สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ให้หน่วยบริการตามที่ประมวลผลได้
    • ๑๐.๒.๒ ข้อมูลที่ประมวลผลไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด: ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล N) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามแนวทางที่กำหนด
  • ข้อ ๑๑ หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สำนักงานจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บคำใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ โดยตรวจสอบหลักฐานการให้บริการ และกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบ ตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
  • ข้อ ๑๒ สำนักงานจะพิจารณาปฏิสธการจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุข ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    • ๑๒.๑ การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุขตามหมวด ๑
    • ๑๒.๒ ตรวจสอบไม่พบการยืนยันตัวตนของผู้ป่วยเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด
    • ๑๒.๓ กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
จเด็จ ธรรมธัชอารี
เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ แนวทาง เงื่อนไข และรายการบริการ สำหรับบริการที่จ่ายตามจำนวนผลงานบริการและการเข้าถึงบริการของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
เอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกำหนดเกณฑ์ในการตรจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการจากหน่วยบริการ
เอกสารหมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ รหัสหัตถการการแพทย์แผนไทย
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 19 Second

ฮิปโปเครติส ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ให้กำเนิดวิชาแพทย์” หรือ“บิดาแห่งการแพทย์” (The Father of Medicine) ได้บัญญัติไว้ในการรักษาเมื่อประมาณ2,500 ปีที่แล้วว่า “จงใช้อาหารเป็นยาในการรักษาโรค” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาในการรักษาโรคในยุคต่อ ๆ มา ปัจจุบันโรคที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases : NCDs) เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือด เป็นต้น เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รสจัดการสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งกลุ่มโรค NCDs เหล่านี้นับเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชากรโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ประเทศไทยนับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่ในภูมิประเทศที่อำนวยความสะดวกให้พืชพรรณธัญญาหารเติบโตได้อย่างดี มีคุณค่าทางโภชนาการและอาหารเหล่านี้ยังเป็นยาที่ช่วยป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า“อาหารเป็นยา” จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่อวดอ้างเกินจริง ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ใช้ประโยชน์จากพืชที่อยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการทำอาหาร และทำเป็นยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นองค์ความรู้ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใฝ่รู้และหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจัง เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้เป็นอย่างดี

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนศาสตร์ผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครือข่าย ได้เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร จึงได้จัดทำหนังสือโภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทยขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย ภูมิปัญญาไทย ในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนหันมารับประทานอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงเยาวชนรุ่น ใหม่ได้เรียนรู้การทำอาหารไทยที่ถูกต้อง และตระหนักรับรู้ว่าอาหารไทยมีค่าดุจตำรับยาไทย ตลอดจนเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการอาหารไทย และผลิตภัณฑ์อาหารไทย นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่งต่อไป

โดย คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนาศาสตร์พักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แพนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครื่อข่าย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เนื้อหาประกอบด้วย

บทที่ 1 อาหารกับโบราณโรค
บทที่ 2 กินให้เป็น
บทที่ 3 อาหารไทย อาหารแห่งสายลม
บทที่ 4 การบริโภคที่เหมาะควร จากพระโอษฐ์พระศาสดา
บทที่ 5 ตำรับอาหารเป็นยา
บทที่ 6 เครื่องแนม เครื่องเคียง ศิลปะการกินของคนไทย
บทที่ 7 วิถีอาหารไทย Thai Food Wellness
บทที่ 8 หลักในการรับทานอาหารในโภชนาการไทย
บทที่ 9 น้ำพริก นวัตกรรมชะลอวัย
บทที่ 10 อาหารไทย = วัคซีน
บทที่ 11 น้ำกระสายยา = น้ำสมุนไพร

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือแนวทางการดำเนินงานบริการแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 12 Second

คู่มือแนวทางการดำเนินงานบริการแพทย์แผนไทย ระดับ เขต 7 ขอนแก่น

คณะทำงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ระดับเขต 7 ขอนแก่น ได้กำหนดมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ประกอบด้วยมาตรฐาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากร ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมคุณภาพ และด้านการจัดบริการ มีรายละเอียดของมาตรฐานแต่ละด้าน ทั้งนี้เนื้อหาในเอกสารนี้ประกอบด้วย

  • ขั้นตอนการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยในหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้านหัตถเวชกรรมไทย
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้านการประคบสมุนไพร
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้วยการอบไอน้ำสมุนไพร
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้วยการทับหม้อเกลือ
  • ตารางเปรียบเทียบโรคทางแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน (ICD 10 TM) และหัตถการแผนไทย (ด้านหัตถเวชกรรมไทย)
  • แนวทางปฏิบัติด้านการใช้ยาสมุนไพร
  • ตารางเปรียบเทียบการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน
  • การคาดการณ์การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร
  • การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์สมุนไพร
  • กระบวนการปฏิบัติงานการเบิก-จ่ายยา/เวชภัณฑ์มิใช่ยา ในคลังยาและเวชภัณฑ์ รพ.สต.
  • ขั้นตอนการกำหนดรหัสยาแผนไทย 24 หลัก
  • การค้นรหัสยาสมุนไพร 24 หลัก
  • การให้บริการในชุมชน
  • การคีย์ข้อมูลการบริการแพทย์แผนไทยในโปรแกรม HOSXP และอื่นๆ
  • การบันทึกข้อมูลโปรแกรม JHCIS สำหรับผู้มารับบริการนวด/ประคบสมุนไพร
  • วิธีการเข้าดูรายงานผลการดำเนินงานแพทย์แผนไทย ทาง OP/PP Individual สปสช.
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

CPG-Intermediate Careด้านแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 43 Second

คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และชมรมหัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เห็นความสำคัญและโอกาสในการที่จะนำการแพทย์แผนไทย เข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ซึ่งเป็นอาการที่การแพทย์แผนไทย มีศักยภาพสามารถดำเนินการได้อย่างโดดเด่น โดยในระยะเริ่มต้นมีแนวคิดที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มุมปากตก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ฯลฯ จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้แพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงบริการแพทย์แผนไทยกับสหวิชาชีพในการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กในสถานพยาบาลและในชุมชน มีการเชื่อมโยงการให้บริการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงชุมชน สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลาในเครือข่าย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดบริการแพทย์แผนไทยในชุมชนแก่ทีมสุขภาพอื่น ๆ เช่น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุข หมอพื้นบ้าน เป็นต้น
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป้วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ปี2564 (บริการการแพทย์แผนไทย)

0 0
Read Time:4 Minute, 46 Second

บริการการแพทย์แผนไทย

เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ประเภทบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป สำหรับบริการการแพทย์แผนไทย ในผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมบริการบำบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วยบริการการแพทย์แผนไทย โดยปีงบประมาณ 2564 รวมบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รายใหม่ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระยะกลาง

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพ ของประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  2. เพิ่มการเข้าถึงยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
  3. เพิ่มการเข้าถึงบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) รายใหม่

วงเงินงบที่ได้รับ

ค่าใช้จ่ายบริการการแพทย์แผนไทย ได้รับจำนวน 17.90 บาทต่อผู้มีสิทธิ สำหรับผู้มีสิทธิ 47.6440 ล้านคน

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

บริหารการจ่ายระดับประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์การจ่าย ดังนี้

  1. จำนวนไม่น้อยกว่า 16.30 บาทต่อผู้มีสิทธิ จ่ายให้หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนการจัดบริการการแพทย์แผนไทย เพื่อบริการบำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพตามรายการบริการที่กำหนด ได้แก่ บริการนวด บริการประคบ บริการนวดและประคบ บริการอบสมุนไพร การฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอดตามแนวเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย และการใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยมีหลักเกณฑ์การจ่าย ดังนี้
    • 1.1 จ่ายให้หน่วยบริการร่วมให้บริการด้านแพทย์แผนไทย ตามจำนวนผลงานบริการการแพทย์แผนไทยตามรายการบริการ (Fee schedule) ให้กับ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
    • 1.2 จ่ายให้หน่วยบริการประจำ ตามผลงานบริการการแพทย์แผนไทยของรายการบริการ (Fee schedule) ด้วยระบบ Point system with ceiling ในอัตรา Point ละ ไม่เกิน 1 บาท ภายใต้วงเงินที่ได้รับจัดสรร (Global Budget) (สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิหรือหน่วยบริการในเครือข่ายหน่วยบริการประจำ จะจ่ายผ่านหน่วยบริการประจำ) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
  2. จำนวนไม่เกิน 1.60 บาทต่อผู้มีสิทธิ จ่ายให้แก่หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีศักยภาพการให้บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า สำหรับผู้ป่วยสิทธหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระยะกลาง เมื่อผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
    • 2.1 เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีบริการฝังเข็ม โดยบุคลากรที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
      • 2.1.1) แพทย์ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกรรมที่ผ่านการอบรมหลักสูตรฝังเข็ม 3 เดือนที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง หรือ
      • 2.1.2) แพทย์แผนจีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน
    • 2.2 แนวทางการจัดบริการ โดยให้บริการฝังเข็มหรือฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระยะกลาง เมื่อผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ ทั้งแบบผู้ป่วยใน (IP) ผู้ป่วยนอก (OP) และในชุมชน รวมระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
    • 2.3 หน่วยบริการต้องจัดระบบบริการฝังเข็ม โดยบูรณาการร่วมกับระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระยะกลาง (Intermediate care: IMC) โดยอาจมีรูปแบบบริการ เช่น
      • รูปแบบที่ 1 เป็นบริการฝังเข็มร่วมกับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (รพท., รพศ., รพ.มหาวิทยาลัย, รพ.สังกัดกรมแพทย์ทหารบก และอื่นๆ) เมื่อผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่
      • รูปแบบที่ 2 เป็นบริการฝังเข็มร่วมกับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่
    • 2.4 แนวทางการให้บริการฝังเข็มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ควรให้บริการอย่างน้อย1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง และประเมินซ้ำเมื่อครบ 10 ครั้ง เพื่อพิจารณารักษาต่ออีก 10 ครั้ง รวมเป็น 20 ครั้ง โดยต้องมีการประเมินและบันทึกค่า Barthel index (BI) ร่วมด้วยทุกครั้งที่ให้บริการ ทั้งนี้ อาจฝังเข็มห่างขึ้นตามดุลยพินิจของแพทย์ โดยให้เป็นไปตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกำหนด
    • 2.5 หลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการฝังเข็ม แบ่งเป็น ดังนี้
      • 2.5.1 จ่ายตามรายการบริการตามมาตรฐานชุดบริการฝังเข็ม หรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า
      • 2.5.2 จ่ายแบบเหมาจ่ายเพิ่มเติมตามมาตรฐานบริการ ที่ สปสช.กำหนด ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

ให้ สปสช.สามารถปรับเกลี่ยระหว่างประเภทบริการย่อยข้อ 1 ถึงข้อ 2 ได้ตามผลงานบริการที่เกิดขึ้นจริง

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  • การเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพและมาตรฐาน การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการจัดส่งข้อมูลบริการที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา ร่วมกับกลไกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • การเข้าถึงบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูรายใหม่ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมถึงการจัดส่งข้อมูลบริการที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดการดำเนินงาน

  1. ร้อยละผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการการแพทย์แผนไทย
  2. ร้อยละของผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูรายใหม่ที่ได้รับบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า
  3. ร้อยละของผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูรายใหม่ที่ได้รับบริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าแล้วมีคะแนนการประเมิน Barthel index ดีขึ้นอย่างน้อยหนึ่งระดับ
Happy
2 67 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 33 %
Surprise
0 0 %

การตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 37 Second

ตามหนังสืออ้างถึง สปสช.2.57/ว.0032 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ในการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย ด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายเบื้องต้นในไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563) จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ บริการนวด บริการประคบ บริการนวดและประคบ และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด พบข้อมูลที่หน่วยบริการบันทึกเบิกเข้ามาในระบบโปรแกรม OP/PP Individual มีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผลงานการเบิกจ่ายสูงกว่าปกติ หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ http://gg.gg/unrbv นั้น

หมายเหตุ : อ้างอิงการให้บริการผู้มารับบริการเป็นตามกรมแพทย์แผนไทยกำหนด โดย “ผู้ทำหัตถการ 1 คน สามารถรักษาผู้เข้ารับการรักษา ในเวลา 08.00-16.00 น. ไม่เกิน 5 คน/วัน นอกเวลาราชการ 16.00 – 20.00 น. ไม่เกิน 2 คน/วัน”

ในการนี้ หากหน่วยบริการต้องการอุทธรณ์การประมวลผลฯ ขอให้หน่วยบริการแจ้งรายละเอียด ผลงานบริการการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่ายและประสงค์จะขออุทธรณ์ ตามรายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วย 2) และคำสั่งบรรจุ หรือคำสั่งจ้าง บุคลากรด้านแพทย์แผนไทย พร้อมด้วยใบประกอบวิชาชีพ และสำเนาคำสั่งหรือแผนที่เปิดให้บริการนอกเวลาราชการ (รับรองสำเนา) ในปีงบประมาณ 2564 ในหน่วยบริการที่จะอุทธณณ์ ส่งไปยัง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ที่เมล์คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ e-mail : thunnnithi.w@nhso.go.th ภายในไม่เกินวันที่ 4 มิถุนายน 2564 เพื่อทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะได้ดำเนินการประมวลผลและจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่หน่วยบริการต่อไป

การขออุทธรณ์ผลงานบริการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่าย ปี 2564 ไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563)

  1. กรณีข้อมูลมีความถูกต้อง และประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานการขึ้นทะเบียนด้านศักยภาพแพทย์แผนไทย แนวทางดังนี้
    (เอกสารแนบประกอบ)
    • สำเนาคำสั่งบรรจุ /หรือ สำเนาสั่งจ้าง บุคลากรผู้ให้ทางการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2564 (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาใบประกอบวิชาชีพผู้ให้บริการแพทย์แผนไทย (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาคำสั่งเปิดให้บริการ นอกเวลาราชการ (ใครรับรองก็ได้)
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม Check) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล
  2. กรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลและหรือต้องการยกเลิกเพื่อไม่รับจัดสรรงบประมาณ
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม ไม่ต้องการรับงบประมาณ) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล ลำดับการส่งเอกสาร
      • จัดทำหนังสือนำส่ง นายแพทย์ สสจ.จังหวัด ของท่าน (สำเนาเรียน ท่าน สสอ. ด้วย)
      • ผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทย สสจ. แต่ละจังหวัด ทำหนังสือนำส่ง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น
      • หน่วยที่ถูก Pending ให้ Scan Files to *.PDF และไฟล์ Ms Excel ฟอร์มอุทธรณ์/และหรือแก้ไขยกเลิก ส่งมาที่เมล์ thunnithi.w@nhso.go.th
    • สปสช.จะตรวจสอบเอกสาร ให้ครบถ้วน ขาดอันใดอันหนึ่งจะไม่ขออุทธรณ์ให้

ปล. Download Form ได้ที่เว็ปไซต์ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น https://khonkaen.nhso.go.th >> เมนูบริการข้อมูล>>บริการแพทย์แผนไทย หรือทางกลุ่มไลน์ TTM เขต

ผู้ประสานงาน สปสช.เขต7 ขอนแก่น คุณธัญญ์นิธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version