เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65

0 0
Read Time:9 Minute, 35 Second

หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2565 (บริการเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลง และบริการใหม่)

หมวด 2 บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว

  1. บริการผู้ป่วยนอก
    • 1.1 การบริหารกองทุนผู้ป่วยนอก เขต 13 กรุงเทพมหานคร
      • 1) ปรับระบบการส่งข้อมูลจาก โปรแกรม OP BKK Claim ให้ส่งผ่านโปรแกรม e-Claim ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
      • 2) การบริหารจัดการงบบริการผู้ป่วยนอก (Global budget) กรณี model 5 เป็นกองทุนภาพรวมทุกเครือข่าย
  2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป
    • 2.1 บริการผู้ป่วยใน การรับบริการผู้ป่วยในทั้งในเขตและข้ามเขต โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
    • 2.2 เด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เพิ่มอัตราจ่าย กรณีเด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม หรือเด็กแรกเกิดที่ป่วยตามเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด หากได้รับหัตถการเพื่อการรักษาที่จำเป็นและราคาแพงตามเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนดเพิ่มเติม จ่ายในอัตรา 12,000 บาทต่อ adjRW
    • 2.3 บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS) เพิ่มรายการบริการ กรณีการใช้บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule: ORS)เพื่อสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาตรฐานการจัดกลุ่มวินิจโรคร่วมของระบบ DRGs version 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด โดยรายละเอียดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ จะปรากฎในคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ ปีงบประมาณ 2565
    • 2.5 บริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน (One Day Surgery)/ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ เพิ่มรายการบริการใหม่ จำนวน 19 รายการ ดังนี้
      • 1) การส่องกล้องใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG)
      • 2) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) pancreas
      • 3) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) liver
      • 4) การฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียงการฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียง (Injection laryngoplasty)
      • 5) การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาพยาธิสภาพที่กล่องเสียง (Endoscopic laryngeal surgery)
      • 6) การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (Tympanoplasty)
      • 7) การวางสาย Tenckhoff catheter
      • 8) การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ในผู้ป่วย Fit test positive
      • 9) การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
      • 10) การผ่าตัดโรคจอตาและวุ้นตา (Vitreoretinal surgery)
      • 11) การผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำจากช่องหน้าลูกตาไปใต้เยื่อบุตา (Trabeculectomy)
      • 12) การผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำจากช่องหน้าม่านตาไปใต้เยื่อบุตา (Tube shunt surgery)
      • 13) การผ่าตัดเบ้าตา (Orbital surgery)
      • 14) การผ่าตัดเปลือกตา (Eyelid surgery)
      • 15) การผ่าตัดระบบน้ำตา (Lacrimal surgery)
      • 16) การผ่าตัดแก้ไขหนังตาหย่อน (Rhytidectomy/Blepharoplasty)
      • 17) การผ่าตัดโดยวิธีการฉายแสงเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระจกตา (Corneal Collagen Cross Linking)
      • 18) การยิงเลเซอร์ทำลายซิลิอารีบอดี (Cyclophotocoagulation)
      • 19) ผ่าตัดทำลายเยื่อบุตาและผ่าตัดตัดแต่งเยื่อบุตา
    • ปรับการจ่ายรายการบริการผ่าตัดผ่านกล้อง ที่สามารถให้บริการแบบวันเดียวกลับได้ ได้แก่ การบริการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เฉพาะกลุ่ม DRGs 07100 Laparoscopic cholecystectomy, no CC โดยจ่ายในลักษณะบริการ MIS ที่ให้บริการเป็น ODS (จ่าย RW+K ของ MIS)
    • 2.6 บริการผ่าตัดผ่านกล้องแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS)เพิ่มรายการบริการ จำนวน 6 รายการ ดังนี้
      • 1) Laparoscopic Nephrectomy
      • 2) การระบายน้ำดี (biliary drainage) ผ่านการส่องกล้องทางเดินน้ำดี (endoscopic retrograde cholangiopancreatography, ERCP)
      • 3) การผ่าตัดผ่านกล้องการวินิจฉัยและตัดชิ้นเนื้อในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งทางนรีเวช
      • 4) Endoscopic sinus surgery using microdebrider
      • 5) Laparoscopic adrenalectomy
      • 6) Laparoscopic appendectomy
    • มีระบบการขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีการผ่าตัดภาวะอ้วนที่เป็นโรค/โรคอ้วนทุพพลภาพ (Morbid obesity)
  3. บริการกรณีเฉพาะ
    • 3.1 กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด (OPAE) ปรับรูปแบบการจ่าย เป็นการจ่ายตามรายการบริการ (Fee schedule) และรายการที่ยังไม่กำหนดจะจ่ายตามอัตราที่เรียกเก็บโดยเริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565 (Service Date)
    • 3.2 การเข้ารับบริการในหน่วยบริการอื่น กรณีเหตุสมควร กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร นอกจากการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง จ่ายให้หน่วยบริการด้วยระบบ Point system ของราคาตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด
    • 3.3 การลงทะเบียนตามมติบอร์ด เป็นการจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว โดยคำนวณ point ประชากรรายวัน
    • 3.4 รายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรค (Instrument)
      • 1) ประกาศรายการอุปกรณ์ อวัยวะเทียม ในการบำบัดรักษาโรค และข้อบ่งชี้ พ.ศ.2564 โดยรวมประกาศรายการอุปกรณ์ฯ พ.ศ.2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2-4) พ.ศ.2564
      • 2) เพิ่มรายการอุปกรณ์ฯ จำนวน 2 รหัส ได้แก่
        • รหัส 4810 ชุดอุปกรณ์สลายลิ่มเลือดหลอดเลือดในสมอง (Thrombectomy Device)
        • รหัส 4817 ขดลวดพร้อมอุปกรณ์สำหรับปล่อย ชนิดปลดได้ (Detachable coil delivery system)
    • 3.5 การสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลมาตรฐานประกอบการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีให้บริการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) ตามแบบฟอร์มที่กำหนด (one page) ในโปรแกรม e-Claim
    • 3.6 บริการผ่าตัดข้อเข่าเทียม การขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Arthroplasty, TKA) ในผู้ป่วยอายุไม่เกิน 55 ปี ที่วินิจฉัยเป็นข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ หรือข้อเข่าเสื่อมไม่ทราบสาเหตุ (Primary or Unspecified Knee OA) ดำเนินการโดย สปสช.ส่วนกลาง
    • 3.7 ยาจำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาบัญชี จ (2) เพิ่มสิทธิประโยชน์ยาบัญชี จ (2) โดยขยายข้อบ่งใช้ยา จำนวน 2 รายการ และเพิ่มรายการยา จำนวน 2 รายการ ได้แก่
      • 1) ขยายข้อบ่งใช้ยา Imatinib และยา Dasatinib ในกรณีรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ ALL ที่มี Ph+ (รายการยาในระบบเดิม)
      • 2) เพิ่มยา Tocilizumab เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ ชนิด Systemic (Systemic Juvenile Idiopathic Arthritis: SJIA) ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
      • 3) เพิ่มยา Ceftazidime/avibactam เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae ที่ไวต่อยา Ceftazidime/avibactam ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ Colistin
  4. บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    • .4.1 บริการแพทย์แผนไทย ปรับการจ่ายจากจ่ายตามรายการบริการ (Fee Schedule) เป็นจ่ายแบบเหมาจ่าย ตามจำนวนผลงานบริการการแพทย์แผนไทย โดยใช้ผลงานบริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – พฤษภาคม 2565
    • 4.2 การใช้น้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชา
      • 1) เพิ่มรายการบริการกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่ น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน และสารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย
      • 2) เบิกจ่ายผ่านระบบโปรแกรมการเบิกชดเชยยา หัวข้อ ยากัญชา
      • 3) อัตราจ่าย ดังนี้
        • 3.1) น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน (ตารางที่1)
        • 3.2) สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย (ตารางที่2)
  5. การปรับเกลี่ยรายรับเงิน Basic payment หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.
    1. 1) ผ่านความเห็นชอบจาก 5×5 (ยกเว้น PPnon UC ผ่านความเห็นชอบจาก อปสข)
    2. 2) การปรับเกลี่ย
      • 2.1) เขตสุขภาพนำร่อง ได้แก่ เขต 1,4,9,12 ปรับเกลี่ย Step/K ยอดประกันรายรับขั้นต่ำให้สามารถประกันรายรับได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 87 ของรายรับภาพรวมขั้นต่ำ ปีงบประมาณ 2564
      • 2.2) เขตอื่นๆ ปรับเกลี่ยค่า K
ตารางที่1 อัตราจ่าย น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน
ตารางที่2 อัตราจ่าย สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย

หมวด 3 บริการผู้ติดเชื้อเอช ไอวี และผู้ป่วยเอดส์

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

  1. บริการเชิงรุก RRTTR
    • จ่ายตามรายการ Fee schedule ตามผลงานบริการรายเดือน ผ่านโปรแกรม NAP สำหรับหน่วยบริการ สสจ. และ CBO ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ
    • จ่ายแบบโครงการ สำหรับ CBO ที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ โดยทำนิติกรรมสัญญาผ่าน สปสช. เขต
    • บริการทางคลินิก (STI) จ่ายตามผลงานบริการรายเดือนให้กับหน่วยบริการ ผ่านโปรแกรม NAP
  2. ยกเลิกการจ่ายกรณีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ (QI)

หมวด 4 บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

การบริการล้างไต การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปรับประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ.2564 เพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนหน่วยบริการ ให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็น

หมวด 5 บริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง

  1. ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
    1) การจ่ายภาพรวมระดับประเทศ จ่ายในลักษณะเหมาจ่าย สำหรับการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และหญิงตั้งครรภ์
    ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน (GDM)
    2) การจ่ายอุปกรณ์ SMBG (Strip test) ผ่านระบบ VMI เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
  2. บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน จ่ายตามจำนวนผู้ป่วยที่ลงทะเบียนบันทึกข้อมูลในระบบ Care transition

หมวด 8 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ร้านยาคุณภาพ เพิ่มการจ่ายอุปกรณ์ Urostomy bag , Colostomy bag , ถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิด โดยให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยา

หมวด 10 ค่ายาวัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ

การตรวจรักษาและอัตราการชดเชยค่าบริการ โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง จ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการ จากเดิมเบิกจ่ายจากโปรแกรมระบบบัญชียา จ(2) เป็น เบิกจ่ายจากโปรแกรม e-Claim

หมวด 13 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ (P&P National priority program and central procurement) เพิ่มรายการจ่ายจากเดิม 6 รายการ เป็น 7 รายการ โดยรายการเพิ่มเติมได้แก่ ถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ซึ่งจะจัดหาเป็นอุปกรณ์ผ่านระบบ VMI และกำหนดให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยาในโครงการ
  2. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน (P&P basic services)
    • 1) การจ่ายแบบเหมาจ่าย รวมบริการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียน (เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 4-12 ปี และเคลือบหลุมร่องฟันถาวรในเด็กอายุ 6-12 ปี)
    • 2) กรณีการจ่ายแบบ Fee schedule มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
      • 2.1) ปรับการจ่ายรายการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียนโดยจ่ายแบบเหมาจ่าย และรายการที่เหลือยังคงจ่ายแบบ Fee schedule เช่นเดิม
      • 2.2) เพิ่มรายการแว่นตาเด็ก สำหรับเด็กไทย อายุ 6-12 ปี หรือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
      • 2.3) บริการตรวจคัดกรองภาวะพร่อง TSH และ PKU ในเด็กแรกเกิด เพิ่มค่าตรวจและการติดตามเพื่อตรวจยืนยันในรายที่ผิดปกติ ในอัตรา 350 บาท/ราย โดยบันทึกผ่านโปรแกรม NPRP
      • 2.4) ปรับอัตราจ่ายค่าบริการตรวจยืนยันโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์และสามี กรณีค่าตรวจ Alpha thalassemia อัตรา 800 บาท/ครั้ง และ Beta thalassemia อัตรา 3,000 บาท/ครั้ง
      • 2.5) ปรับการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีการฝากครรภ์และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) โดยจะเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลจากระบบ 43 แฟ้ม เป็นการบันทึกในโปรแกรม e-Claim เริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565

หมายเหตุ รายละเอียดการเบิกจ่ายฯ ตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565

Happy
8 62 %
Sad
2 15 %
Excited
2 15 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 8 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการขอAuthen Codeใหม่

0 0
Read Time:1 Minute, 35 Second

การใช้งานระบบพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authentication Code) ของหน่วยบริการ ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 4 ระบบ

  1. ระบบตรวจสอบสิทธิและลงทะเบียนออนไลน์ (ERM)
    • 1.1.ภาพรวมการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานระบบพิสูจน์ตัวตน เพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authen Code/Claim Code) ของหน่วยบริการ
    • 1.2.วิธีขอสิทธิการเข้าใช้งานระบบตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพโดยการ Authentication ด้วยบัตร Smart Card
    • 1.3.แบบฟอร์มขอสิทธิการเข้าใช้งานระบบตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพโดยการ Authentication ด้วยบัตร Smart Card
    • 1.4.วิธีติดต่อขอรับ PIN CODE ของเจ้าหน้าที่หน่วยบริการ
    • 1.5.คุณสมบัติเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชน Smart Card
    • 1.6.ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมการใช้งาน
    • 1.7.การเข้าใช้งานโปรแกรมพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authentication Code)
    • 1.8.การเปิดใช้งานโปรแกรม E-FORM Agent
    • 1.9.การเปิดใช้งานโปรแกรม UC Authentication 4.x
  2. ระบบตรวจสอบและยืนยันการเข้ารับบริการ (New Authen Code)
    • 2.1.การเข้าสู่ระบบ
    • 2.2.ตรวจสอบและยืนยันการเข้ารับบริการ
      • 2.2.1.รูปแบบที่ 1 ยืนยันตัวตนด้วยบัตร Smart Card
      • 2.2.2.รูปแบบที่ 2 ยืนยันตัวตนด้วยเลขประจำตัวประชาชน และรูปภาพ
    • 2.3.ค้นหา/แก้ไข ข้อมูลการรับบริการ
      • 2.3.1.การค้นหา ข้อมูลการรับบริการ
      • 2.3.2.การแก้ไข ข้อมูลการรับบริการ
      • 2.3.3.การยกเลิก/ลบ ข้อมูลการรับบริการ
    • 2.4.ประวัติ Authentication Code รายบุคคล
      • 2.4.1.การค้นหาประวัติ Authentication Code รายบุคคล
    • 2.5.รายงาน
      • 2.5.1.ส่งออก eclaim
  3. การเข้าใช้งานระบบ CPP เพื่อสร้าง QR CODE เพื่อนำไปใช้กับการ Authen ตัวตน ของหน่วยบริการ
  4. ระบบขอรหัสเข้ารับบริการ ผ่าน Line OA @nhso สำหรับประชาชน
Happy
4 50 %
Sad
0 0 %
Excited
3 38 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 13 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation

0 0
Read Time:20 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการเรียกเก็บผู้ป่วยนอก ปี2565

0 0
Read Time:4 Minute, 26 Second

แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๖๕

แนวทางการเรียกเก็บ/ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัดขอนแก่น

กรณีเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จากงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น

(เริ่มเดือน 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป)
(ยกเลิกหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ว 1430 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2563)
  1. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลชุมแพ และโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น ลงบันทึกข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยเป็นรายเดือน (ตัดยอดข้อมูล 1-30 ของเดือน) และต้องเป็นผู้ป่วยที่ไม่เบิกค่าบริการฯ ซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบ นค.1 ขอนแก่น เป็น Electronic File โปรแกรม Exce โดยใช้อัตราค่าบริการของกรมบัญชีกลาง ตามประกาศระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาในสถานพยาบาลของทางราชการ
  2. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป เอกสาร/ข้อมูลประกอบการเรียกเก็บ มีดังนี้
    • 2.1 หนังสือราชการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
      • ระบุการให้บริการประจำเดือน ทีให้บริการ
      • จำนวนครั้ง (Visit) ที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ
      • จำนวนเงินค่าใช้จ่ายจริงทั้งสิ้น
      • จำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ (ตรวจสอบให้สอดคล้องกับข้อมูลด้วย)
      • หมายเลขบัญชี และสาขา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อรับเงินโอน
    • 2.2 แบบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก นค.1 ขอนแก่น ที่มีการลงนามรับรองจากเจ้าหน้าที่การเงิน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
    • 2.3 ข้อมูลตามแบบ นค.1 ขอนแก่น ที่เป็น Electronic File โปรแกรม Excel ส่งไปที่ E-mail address : tanya.maksong@gmail.com ทั้งนี้ สามารถ Download แบบ นค.1 ขอนแก่น ได้ที่ไฟล์แนบด้านล่าง
    • 2.4 กรณีเรียกเก็บค่า MRI&CT เพิ่มเติมของโรงพยาบาลขอนแก่น สิรินธรฯ ชุมแพ น้ำพอง พล และ กระนวน ให้จัดส่งสำเนาเอกสารใบสั่งตรวจ (Recuest For X-Ray) รพ.ขอนแก่น และใบสั่งตรวจพิเศษฯ ของบริษัท และผลตรวจฯ ในรูปแบบเอกสาร และอิเลคทรอนิคส์ไฟล์ ตามแบบ นค. 1 ให้กองทุนจังหวัดตรวจสอบ/พิจารณาจ่ายค่าตรวจฯ เพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยใบสั่งตรวจ (Request For X- Ray) ของ รw.ขอนแก่น ต้องระบุรพ. ที่จะให้ไปตรวจ CT พร้อมทั้งให้กำหนดวันนัดฟังผลตรวจ CT ดังกล่าวไว้ด้วย
    • 2.5 กรณีเรียกเก็บประเภทผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับบริการที่หน่วยบริการระดับปฐมภูมินอกเครือข่ายหน่วยบริการประจำภายในจังหวัดขอนแก่น กรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งต่อ อ้างอิงตามหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ ว 2112 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)
      • หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) รวบรวมข้อมูลตามแบบ นค.1 (สำหรับหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ)สรุปรวมเป็นภาพรวม CUP ที่มีการลงนามรับรองจากผู้รับผิดชอบงาน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
      • ส่งไปยังกลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ภายในวันที่ 20 ของเดือน ไปยัง E-mail.: tanya.maksong@gmail.com โดยจัดทำหนังสือราชการเรียกเก็บแยกส่งจากข้อมูลตามแบบ นค.1 ที่โรงพยาบาลให้บริการผู้ป่วยนอก สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีส่งต่ออุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดรายเดือน
      • กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชุดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) เพื่อพิจารณาจัดสรรค่าบริการทางแพทย์ให้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในลำดับต่อไป
  3. กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสารารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการที่เรียกเก็บๆ เป็นรายเดือน หน่วยบริการสามารถตรวจสอบรายละเอียดการโอนเงินได้ที่ http://www.nhso.go.th/เลือก เมนู -→ หน่วยบริการ > NHSO Budget →> รายงานการจ่ายเงินกองทุน

หมายเหตุ

  1. ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผู้ประกันตนคนพิการ ขอให้หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บไปยังหน่วยบริการที่ผู้ป่วยลงทะเบียนสิทธิตามหน้าเว็ปไซต์ตรวจสอบสิทธิของ สปสช.
  2. ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนสิทธิโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร ขอให้หน่วยบริการ ที่ให้บริการผู้ป่วย ส่งเอกสารไปเรียกเก็บที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร โดยตรงเนื่องจากไม่ได้กันเงินไว้จังหวัด ทั้งนี้ อัตราชดเชยค่าบริการกำหนดจ่ายตามข้อตกลงของกองทุนจังหวัดขอนแก่นหรือตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างกันเอง

เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางส่งต่อจังหวัดขอนแก่น

0 0
Read Time:3 Minute, 47 Second

แนวทางการส่งต่อ
ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
จังหวัดขอนแก่น

ตามหนังสือ ที่ ขก.0032.005/ว2927

แนวทางส่งต่อกรณีผู้ป่วยนอก

การเข้ารับบริการของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจังหวัดขอนแก่น กรณีผู้ป่วยนอกจังหวัดขอนแก่นเป็นกองทุนระดับจังหวัด มีแนวทางในการส่งต่อและจ่ายชดเขยค่าบริการ รายละเอียดดังนี้

  1. กรณีให้บริการรักษาแก่ผู้มีสิทธิฯ กรณีส่งต่อข้ามจังหวัด หน่วยบริการที่รับส่งต่อในสังกัด สป.สธ./ รัฐนอกสังกัด สป. และหน่วยบริการอื่นที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อให้บริการผู้มีสิทธิเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกข้อมูลการให้บริการในระบบโปรแกรม e-Claim โดย สปสช.ทำหน้าที่หักชำระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนจังหวัด ดังนี้
    • 1.1 ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวผู้ป่วยนอก (OP) ตามจ่ายค่ารักษาอื่นๆ และรายการชดเชยค่าบริการสำหรับผู้ป่วยนอกส่งต่อ ตามค่าใช้จ่ายจริงไม่เกิน 1,600.-บาทVisit
    • 1.2 ใช้เงินกองทุน Central reimbursement ตามจ่ายค่ารักษาอื่นๆ และรายการชดเชยค่าบริการสำหรับผู้ป่วยนอกส่งต่อ ในส่วนที่เกิน 1,600.- บาท/Visit
      • สปสช.ได้เพิ่มหลักเกณฑ์เงื่อนไขกรณีรับส่งต่อผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด กำหนดให้การส่งต่อไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในจังหวัดเป็นการส่งต่อข้ามจังหวัด ดังนั้น การส่งต่อไปยัง รพ.ศรีนครินทร์ให้ถือว่าเป็นการส่งต่อข้ามจังหวัด โดยรับส่งต่อจากโรงพยาบาลขอนแก่น/รพ.ทั่วไป เท่านั้น
  2. กรณ์ให้บริการรักษาแก่ผู้มีสิทธิฯ กรณีส่งต่อระหว่างหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น หน่วยบริการที่ให้บริการใช้หลักเกณฑ์และอัตราตามที่คณะกรรมการบริหารและพัฒนาในระบบหลักประกันสุขภาพจังหวัดขอนแก่นกำหนด โดยกองทุนจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ตามข้อตกลงของจังหวัด ตามเอกสารแนบทั้ง 2 กรณี ดังกล่าว หน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น จะต้องมีการส่งต่อผู้ป่ วยสิทธิฯ รายละเอียดตามผังการส่งต่อ ดังนี้

แนวทางส่งต่อกรณีผู้ป่วยใน

การส่งต่อผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจังหวัดขอนแก่น มีการส่งต่อเช่นเดียวกันกับกรณีผู้ป่วยนอกหรือตามมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยการขอรับค่าใช้จ่าย บันทึกข้อมูลการให้บริการในระบบ E-Claim ตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด ซึ่งมีการบริหารกองทุนผู้ป่วยในระดับเขต

รายละเอียดเพิ่มเติม…

  1. การส่งต่อผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ กำหนดให้
    • รพ.สิรินธรฯ รพ.ชุมแพ ส่งต่อไปยัง รพ.ศรีนครินทร์ มข. ได้โดยตรง ตามรายการโรคหรือกลุ่มอาการที่โรงพยาบาลขอนแก่นไม่สามารถรักษา/ตรวจวินิจฉัยได้ โดยต้องการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง หรือผ่านการพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือมีใบนัดจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตามรายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • รพ.สิรินธรฯ รพ.ชุมแพ และรพช.ทุกแห่ง ส่งต่อไปยังศูนย์วิชาการได้โดยตรง ได้แก่ รพ.จิตเวชขอนแก่นฯ รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กฯ ตามข้อตกลงที่คณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อ จังหวัดขอนแก่น/ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกำหนด และตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลเห็นสมควร
  2. การกำหนดอายุใบส่งต่อระหว่างหน่วยบริการภายในจังหวัดขอนแก่น
    • กรณี รพ.สิรินธร/รพ.ชุมแพ และรพช.ทุกแห่ง ส่งไปยัง รพ.ขอนแก่น หรือระหว่างกัน
    • กรณี รพ.ขอนแก่นส่งต่อไปยัง รพ.ศรีนครินทร์ มข.
    • กรณี รพ.ขอนแก่น/รพ.สิรินธร/รพ. ชุมแพ และรพช.ทุกแห่ง ส่งไปยังศูนย์วิชาการต่างๆ เช่นรพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    • กรณี รพ.ศรีนครินทร์ มข. ศูนย์วิชาการต่างๆ หรือรพ.ขอนแก่น (พิจารณาตามความจำเป็นเป็นรายๆไป)ส่งต่อไปยังหน่วยบริการต่างจังหวัด ได้แก่ รพ.รามาธิบดี รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.ศิริราช
    • ทั้ง 4 กรณี ใบส่งต่อ (ใบ Refer) ผู้ป่วยจังหวัดขอนแก่น ใบส่งต่อสามารถใช้ได้จนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาในโรคนั้นๆ การนัดผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อเนื่องจึงไม่ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปพบแพทย์เพื่อขอใบส่งต่อจากหน่วยบริการประจำ ให้ใช้ใบส่งต่อเดิม ได้เลย

การสิ้นสุดการรักษาโรคนั้นๆ ได้แก่

  • ผู้ป่วยหาย
  • ผู้ป่วยเสียชีวิต
  • แพทย์ Refer กลับไปให้หน่วยบริการประจำดูแลรักษาต่อเนื่อง
  • ไม่มีใบนัดรักษาต่อเนื่อง
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อัตราค่าบริการผู้ป่วยนอก ในจังหวัดปี65

0 0
Read Time:2 Minute, 46 Second

อัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ/อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ภายในจังหวัดขอนแก่น ปี 2565

ตามหนังสือ ที่ ขก.0032.005/ว2927

ตามมติที่ประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม แนวทางการบริหารกองทุน ผู้ป่วยนอกสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น) กำหนดแนวทางการเรียกเก็บและอัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน สำหรับหน่วยบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น ปี 2565 ดังนี้

เริ่มใช้ตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

  1. รพศ.ขอนแก่น ค่ายา และอื่นๆ จ่ายตามจริงไม่เกิน 800.-บาท/Visit โดยจ่ายเพิ่มเติม ค่าตรวจ MRI จ่ายตามจริงที่เรียกเก็บ ไม่เกินราคากลางตามรายการของกรมบัญชีกลาง และ
    ค่าตรวจ CT ตามอัตราจ่ายตามข้อตกลง ตามเอกสารแนบท้าย
  2. รพท.สิรินธร จ.ขอนแก่น ค่ายา และอื่นๆ จ่ายตามจริงไม่เกิน 500.-บาท/Visit
  3. รพท.ชุมแพ ค่ายา และอื่นๆ จ่ายตามจริงไม่เกิน 500.-บาท/Visit
  4. รพช. ทุกแห่ง เหมาจ่าย 250.-บาท/Visit
  5. รพ.ค่ายศรีพัชรินทร เหมาจ่าย 250.-บาท/Visit
  6. รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • กรณีส่งต่อ เรียบเก็บจาก สปสช.โดยส่งข้อมูลในระบบโปรแกรม e-Claim OP Refer
    • กรณีอุบัติเหตุ/ ฉุกเฉิน รวมสิทธิผู้พิการ/ทหารผ่านศึก จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 1,400.-บาท/Visit
  7. ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาจ่าย 1,550.-บาท/Visit
  8. คณะทันตแพทยศาสตร์ เหมาจ่าย 250.-บาท/Visit
  9. รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เหมาจ่าย 400.-บาท/Visit
  10. รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น เหมาจ่าย 320.-บาท/Visit
  11. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาจ่าย 500.-บาท/Visit
  12. หากโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสิรินธรฯ และโรงพยาบาลชุมแพ ส่งผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนสิทธิ UC ของตนเอง เพื่อส่งตรวจ MR ให้ส่งเบิกค่าตรวจไปยังกองทุนจังหวัด จ่ายอัตราจ่ายตามข้อตกลง แต่ไม่เกินราคากลางตามรายการของกรมบัญชีกลาง
  13. กำหนดให้ รพ.สิรินธรฯ ชุมแพ น้ำพอง พล และ รพร.กระนวน เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ รพ ขอนแก่น ให้นัดตรวจ CT โดยให้ผู้ป่วยสามารถนำใบสั่งตรวจ (Request For X- Ray) ไปใช้บริการตรวจ CT ได้ทั้ง 5 แห่ง ตามที่ รพ.ขอนแก่นระบุ พร้อมทั้งให้กำหนดวันนัดฟังผลตรวจ CT ดังกล่าวไว้ด้วย อัตราจ่ายค่าตรวจตามข้อตกลง ตามเอกสารแนบท้าย
  14. หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น จ่ายตามจริงไม่เกิน 70 บาท/Visit

หมายเหตุ

  1. อัตราค่าบริการทางการแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร ให้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีระหว่างกันเอง
  2. พื้นที่รอยต่อระหว่างโรงพยาบาลในจังหวัดขอนแก่น ให้เรียกเก็บค่าบริการระหว่างกันเอง ตามข้อตกลงของจังหวัดขอนแก่น ปี 2560

กลุ่มงานประกันสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปมติและข้อสั่งการCFO-9ก.ย.64

0 0
Read Time:8 Minute, 39 Second

สรุปมติ และข้อสั่งการ
ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO)
หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.

(ภาพและวาระการประชุม)

ประเด็น :

สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนสิงหาคม 2564

แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการปรับเกลี่ย….

  • การปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด
  • กันเงินไว้บริหารระดับเขต เพื่อปรับเกลี่ยภายใน ไตรมาส 3/65 จำนวน 42,000,000 บาท
  • จังหวัดขอนแก่น ได้รับจัดสรรรวมทั้งสิ้น 94,024,615.87 บาท

แนวทางการปรับเกลี่ย ระดับจังหวัด ให้กับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น

  • จัดสรรตามสัดส่วน NWC ที่ติดลบ
  • จัดสรรตามสัดส่วนจำนวน รพ. M1, M2, F1
  • จัดสรรตามส่วนต่าง เงิน OP PP IP ปี 2564 และ 2565 ที่ลดลง
  • จัดสรรตามประมาณการรายรับเงิน OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปี 2565
  • กันเงิน CF ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14,000,000 บาท
    1. ไว้จัดสรรเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในไตรมาส 3/2565 จำนวน 9,000,000 บาท
    2. จัดสรรเพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนตามนโยบายด้านสาธารณสุข ปี 2565 จำนวน 5,000,000 บาท

จัดสรรเงินสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ปีงบประมาณ 2565

วงเงิน 52,427,222.19 บาท ตามจัดสรรตามสัดส่วนประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ณ 1 เมษายน 2564 โดยจัดสรรให้หน่วยบริการนอกสังกัด จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.ศรีนครินทร์ มข. และ รพ.ค่ายศรีพัชรินทร รวม 1,573,432.61 บาท คงเหลือจัดสรรให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. จำนวน 50,853,789.58 บาท

การกันเงิน OP Virtual Account เพื่อตามจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แทน CUP กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินในจังหวัด และส่งต่อนอกจังหวัด ปีงบประมาณ 2565

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตามจ่าย OP Refer นอกจังหวัด 20 ล้านบาท และ ตามจ่าย OP Refer/OP AE ในจังหวัด 120 ล้านบาท

จัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย ประเภท รพท./รพศ.ระดับ ก (งบ Hardship) ปีงบประมาณ 2565

โรงพยาบาลชุมแพ ได้รับจัดสรรงบ จำนวน 5,178,140.02 บาท

สรุปแผนการโอนเงินเหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2565

การปรับเกลี่ยเงินกัน UC ที่บริหารระดับประเทศ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

  • จังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,653,879.20 บาท ผลการจัดสรร…
    • ครั้งที่ 1 จำนวน 3,777,400 บาท พิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ทุกแห่ง ตามสัดส่วนประมาณการรายรับงบ OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปีงบประมาณ 2564
    • ครั้งที่ 2 จำนวน 1,876,479.20 บาท พิจารณาจัดสรรให้ รพ.พล เต็มจำนวน เพื่อสนับสนุนชดเชยค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ที่โรงพยาบาลในโซนใต้ค้างชำระ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,969,180 บาท ณ 31 สิงหาคม 2564 สรุปค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
      • ค่าเวชภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 840,215 บาท
      • ค่าสิ่งส่งตรวจ จำนวน 1,128,965 บาท
  • * รพ.ชนบท ได้รับจัดสรรตามเกณฑ์ กรณีช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในไตรมาส 4/2564 จำนวน 1,457,900 บาท (สป.แจ้งโอนตรงให้หน่วยบริการ)

การปรับเกลี่ยงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564 ที่เหลือจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ คงเหลือเงินกันผู้ป่วยนอกในจังหวัด จำนวน 34,057,364.57 บาท

  1. จัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน โรงพยาบาลที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังดีเด่น และพัฒนางานที่เกี่ยวข้องตามนโยบาย จำนวน 9,000,000 บาท เงื่อนไขจัดสรร ดังนี้ เอกสารหมายเลข 4
    • การพัฒนาตามเกณฑ์ TPS V.3 ไตรมาส 3 ปี 2564
    • TPS เกรด A และ B
    • ข้อมูลโรงพยาบาลที่มี NWC ติดลบ ณ สิงหาคม 2564
    • ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
    • จัดสรรตามสัดส่วนประมาณการรายรับหลังหักเงินค่าแรง OP PP IP ปี 2564
  2. จัดสรรเพื่อบริหารจัดการภาระค่าใช้จ่ายค่ายา (ยาที่ รพ.ขอนแก่นผลิต และยาสำเร็จรูปไม่รวมยา Refer) ค่าเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ค่า lab และค่าจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง รพช./ รพท. ในจังหวัดขอนแก่น กับ รพ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นข้อมูลขอรับการสนับสนุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – 2564 (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2564) จำนวน 25,057,364.57 บาท

แนวทางการบริหารจัดการขอรับการสนับสนุนยา/ วชย./ Lab ที่ รพท./รพช.ในจังหวัดขอนแก่น จากโรงพยาบาลขอนแก่น

  • แต่งตั้งคณะทำงานย่อย (พบส.ที่เกี่ยวข้อง) กำหนดหน้าที่และบทบาท
  • ให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบรายการยา/วชย./lab ที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่น
  • กำหนดหลักการ/เงื่อนไข กรอบรายการประเภทวัสดุที่จะขอรับการสนับสนุน และจ่ายคืนอย่างไร ?
  • พบส. ที่เกี่ยวข้องทบทวน&เสนอกรอบรายการที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่นได้/ เงื่อนไขที่จะตามจ่าย ภายในต้นปีงบประมาณ 2565 ได้แก่
    • ระบุรายการที่จะให้เบิก/จ่ายได้
  • เงื่อนไขการสั่งจ่ายของผู้สั่งจ่าย รพ.ขอนแก่น
  • กรอบปริมาณที่จะจ่ายแต่ละคราว

การกำกับติดตามและเฝ้าระวังทางการเงินการคลังของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565

ขอให้หน่วยบริการทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการกำกับติดตามในเรื่องของสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้

  1. สรุปวิเคราะห์เสนอในที่ประชุม กวป. โดยมีการวิเคราะห์เป็นรายหน่วยบริการ
    • หน่วยบริการมีปัญหาประเด็นปัญหาในเรื่องใด โดยเฉพาะตามดัชนีชี้วัด จากผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเกณฑ์ Total Performance Score
  2. ขับเคลื่อนการดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น และคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) ซึ่งจะให้เน้นย้ำประเด็นดังต่อไปนี้
    • แผนเงินบำรุงสำหรับในทุกหน่วยบริการ (รพ./รพ.สต.) ซึ่งต้องวางแผนการทำแผนบำรุงให้สอดคล้องกับการดำเนินจริง สามารถปรับแผนได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หน่วยบริการไม่มีแผนที่ทันสมัย และมีการใช้จ่ายเกินกว่าแผนเงินบำรุงที่ขออนุมัติไว้
    • หน่วยบริการต้องดำเนินการตามระบบควบคุมภายใน ซึ่งงานตรวจสอบภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเป็นผู้ประเมินโดยใช้เครื่องมือการตรวจประเมินภายใน 5 มิติ (EIA) ขอให้หน่วยบริการให้ความสำคัญ และดำเนินการตามเกณฑ์การตรวจประเมินผลที่กำหนด
  3. งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) ของ สปสช. ให้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และกำกับติดตามหน่วยบริการที่ได้รับสนับสนุนงบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จตามกรอบและห้วงเวลาที่กำหนด เนื่องจาก สปสช.จะให้คืนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเงินของหน่วยบริการนั้นๆ

โรงพยาบาลพล เสนอขออนุมัติใช้เงินกองทุน OP Virtual จังหวัดขอนแก่น เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ (CT Scan) กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น

  • ด้วย โรงพยาบาลพล ได้พัฒนาศักยภาพการในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Service Plan Stroke จังหวัดขอนแก่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการด้านโรคหลอดเลือดสมอง ของ Node Stroke Fast Track จังหวัดขอนแก่น คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอพล และอำเภอใกล้เคียง ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ทั้งนี้ โรงพยาบาลพลได้ดำเนินการเปิดศูนย์ CT Scan และเริ่มให้บริการตรวจพิเศษ CT Scan แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา
  • เสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุนผู้ป่วยนอก จังหวัดขอนแก่น (OP Virtual Account) เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจพิเศษ CT Scan กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น สำหรับผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการประจำ สังกัด สป.สธ. ในจังหวัดขอนแก่น ตามที่แพทย์ของโรงพยาบาลขอนแก่นสั่งตรวจวินิจฉัย และมีนัดติดตามผลการรักษา เพื่อลดการรอคอยคิวในการตรวจ CT โดยขอรับชดเชยค่าบริการตรวจในอัตราจ่ายค่าตรวจ CT ตามแนวทางข้อตกลงของจังหวัดที่กำหนด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

แนวทางการสนับสนุนงบ Fixed Cost สำหรับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2565

คณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เสนอขอให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ขอให้แจ้งวงเงินจัดสรรรายปี งบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่จะต้องใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และงบประมาณงบดำเนินงาน (หมวด 300) ที่ สสอ.ได้รับจัดสรร ประจำปี เพื่อโรงพยาบาลจะได้ทราบจำนวนเงินส่วนต่างที่ต้องโอนเงินเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  2. ขอให้ทบทวนวงเงินจัดสรรงบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอใหม่ สืบเนื่องจากมีการกำหนดวงเงินจัดสรรในภาพรวม 7,800,000 บาท นี้ มาเป็นเวลา 3 ปี แล้ว
  3. ขอให้แจ้งแนวทางการการสนับสนุนงบ Fixed Cost ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขแนวทางใดๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความสับสนในการปฏิบัติ
  • มอบกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข แจ้งจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ สสอ. ประจำปีงบประมาณ 2565 และให้ทบทวนปรับปรุงวงเงินสนับสนุน Fixed Cost
  • มอบกลุ่มงานประกันสุขภาพ แจ้งแนวทางการจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ รพ.สต.ให้โรงพยาบาลทราบ และดำเนินการเป็นปีๆ ไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ขั้นตอนขอรับ ATK ตรวจโควิดด้วยตนเองผ่านแอปเป๋าตัง

0 0
Read Time:1 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนะนำการใช้ ATK ตรวจโควิดด้วยตนเอง

0 0
Read Time:1 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การขอรับชุดตรวจ ATK ฟรี

0 0
Read Time:2 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version