ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยกองทุนย่อย 9 ธ.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 28 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้กับหน่วยบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จึงขอผู้รับผิดชอบงานเข้าร่วมประชุมฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น https://www.facebook.com/nhso7kkn ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ครับ วาระประกอบไปด้วย

  • ชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ สำหรับรายการใหม่หรือรายการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
    • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    • บริการการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
    • บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
    • บริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสําหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลประกอบการประชุมชี้แจงกองทุนUCปี65 ที่จำเป็นต้องทราบมีดังนี้นะครับ
  • ประกาศกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-65/
  • แนวทางการปรับเกลี่ยรายรับเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-2565-adjust/
  • เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65 http://www.uckkpho.com/uc/1600/
  • รายการเบิกจ่ายที่ต้องขอ Authen code http://www.uckkpho.com/uc/1608/
  • คู่มือการขอAuthen Codeใหม่ http://www.uckkpho.com/download/1594/
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการสรุปโรคและหัตถการ ปี 2565

0 0
Read Time:19 Second

การอบรมแนวทางการสรุปโรคและหัตถการเพื่อการเบิกจ่ายชดเชยผู้ป่วยในตามระบบ DRGs ปี 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การอบรมแนวทางการสรุปโรคและหัตถการเพื่อการเบิกจ่ายชดเชยผู้ป่วยในตามระบบ DRGs ปี 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยนายณัฐพงศ์ อนุวัตรยรรยง ฝ่ายตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 100 %

การเปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน

0 0
Read Time:40 Second

ขั้นตอนและวิธีการเปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.
ดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน สปสช. ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ทั้งระบบ Android และ iOS

เงื่อนไขการลงทะเบียน เปลี่ยนหน่วยบริการ สิทธิบัตรทอง ผ่านมือถือ บนแอปพลิเคชัน สปสช.

  1. ผู้ใช้งานต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิว่าง
  2. อายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
  3. ลงทะเบียนด้วยตนเองเท่านั้น ยังไม่สามารถลงทะเบียนแทนบุคคลในครอบครัวได้ (ณ ปัจจุบัน)

สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชม.

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ขั้นตอนการเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง

0 0
Read Time:30 Second

เปลี่ยนย้ายหน่วยบริการประจำเมื่อใด สิทธิเกิดทันที… ไม่ต้องรอ 15 วัน หนึ่งในนโยบาย… “ยกระดับสิทธิบัตรทอง” ทุกคนสามารถทำย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลได้ง่าย ๆ ผ่านทาง ไลน์ สปสช. (Line Official Account สปสช.) เพียงแค่แอดไลน์ สปสช. พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso หรือคลิกลิงก์เพื่อเพิ่มเพื่อนได้ทันที https://lin.ee/zzn3pU6 สามารถใช้งานง่าย ๆ เพียงเลือกฟังก์ชั่น “เปลี่ยนหน่วยบริการ” ในไลน์ สปสช. เพียงเท่านี้ก็สามารถย้ายสิทธิรักษาพยาบาลได้แล้วจ้า

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การขอรับค่าบริการฯปี65

0 0
Read Time:30 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการขอรับค่าบริการฯปี65

ประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชา ติและเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (สำหรับหน่วยบริการ และ สสจ.)

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารชี้แจงกองทุนปี65

0 0
Read Time:38 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้กับหน่วยบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อรับทราบนโยบาย ประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลง และหลักเกณฑ์การดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์ Facebook live เอกสารประกอบการประชุมดังนี้

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางชดเชยการใช้สารสกัดกัญชา65

0 0
Read Time:1 Minute, 8 Second

การประชุมชี้แจงแนวทางการจ่ายชดเชยการใช้น้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชา ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕
วันศุกร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา 0๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.

กำหนดการดังนี้
  • ประธานกล่าวเปิดการประชุม และแจ้งวัตถุประสงค์การประชุม โดย นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการที่มีใบอนุญาตให้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ประเภท ๕ (กัญชา) โดย ผู้แทน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • แนวทางและเงื่อนไขในการใช้น้ำมันกัญชา และสารสกัดกัญชา ตามโครงการยา จ.๓ โดย ผู้แทน สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ผู้แทน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ผู้แทน รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศ
  • แนวทาง และการบันทึกข้อมูล เพื่อเบิกจ่ายเงินชดเชย การใช้น้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชา ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โดย ผู้แทน สายงานบริหารกองทุน สปสช.
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายการเบิกจ่ายที่ต้องขอ Authen code

0 0
Read Time:1 Minute, 48 Second

การพิสูจน์การเข้ารับบริการและการตรวจสอบก่อนจ่าย
สำหรับรายการขอรับค่าใช้จ่ายฯ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ปีงบประมาณ 2565

รายการ Fee scheduleAuthenticationPre-audit
1.การบริหารกองทุนผู้ป่วยนอก เขต 13 กรุงเทพมหานคร
->การให้บริการผู้ป่วยนอกทุกกรณี
2.บริการกรณีเฉพาะ
->กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด (OPAE)
->กรณีผู้ป่วยนอกรับส่งต่อข้ามจังหวัด (OP-refer ข้ามจังหวัด)
->การเข้ารับบริการในหน่วยบริการอื่น กรณีเหตุสมควร
->การให้เคมีบำบัดหรือฮอร์โมนหรือรังสีรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งกรณีผู้ป่วยนอก และบริการผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกรณีที่มีเหตุสมควร
->รายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัตโรค (Instrument) ผู้ป่วยนอก
->บริการผ่าตัดข้อเข่าเทียมPre-authorized
->บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม (Cochlear Implant)Pre-authorized
->การสวนหัวใจ (CAG) และการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวน (PCI)
3.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์
->อุปกรณ์เครื่องช่วยสำหรับคนพิการ
->บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์
4.บริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
->บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า ในผู้ป่วย IMC
->การใช้น้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชา
5. บริการผู้ป่วยไตวายเรื่อรัง : การอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD)
6.บริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth /Telemedicine)
7.บริการคลินิกพยาบาล
8.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จ่ายแบบ Fee schedule
1) บริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
->บริการฝากครรภ์ (ANC)
->การตรวจอัลตร้าซาวด์ ในหญิงตั้งครรภ์
->การตรวจสุขภาพช่องปากและทำความสะอาดฟันในหญิงตั้งครรภ์
->การตรวจยืนยันธาลัสชีเมียในหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส
->การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ชินโดรม
2) บริการคุมกำเนิดและยติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
->บริการคุมกำเนิด (กึ่งถาวร)
->การยุติการตั้งครรภ์
3) บริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
->การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear
->การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี VIA
->การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี HPV DNA Test
->การตรวจยืนยันด้วยวิธี Liquid Base Cytology (LBC)
->การตรวจยืนยันด้วยวิธี Colposcopeและ/หรือ ตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy )
4) บริการแว่นตาสำหรับเด็กที่มีสายตาผิดปกติ
หมายเหตุ : สำนักงานฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65

0 0
Read Time:9 Minute, 35 Second

หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2565 (บริการเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลง และบริการใหม่)

หมวด 2 บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว

  1. บริการผู้ป่วยนอก
    • 1.1 การบริหารกองทุนผู้ป่วยนอก เขต 13 กรุงเทพมหานคร
      • 1) ปรับระบบการส่งข้อมูลจาก โปรแกรม OP BKK Claim ให้ส่งผ่านโปรแกรม e-Claim ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
      • 2) การบริหารจัดการงบบริการผู้ป่วยนอก (Global budget) กรณี model 5 เป็นกองทุนภาพรวมทุกเครือข่าย
  2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป
    • 2.1 บริการผู้ป่วยใน การรับบริการผู้ป่วยในทั้งในเขตและข้ามเขต โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
    • 2.2 เด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เพิ่มอัตราจ่าย กรณีเด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม หรือเด็กแรกเกิดที่ป่วยตามเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด หากได้รับหัตถการเพื่อการรักษาที่จำเป็นและราคาแพงตามเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนดเพิ่มเติม จ่ายในอัตรา 12,000 บาทต่อ adjRW
    • 2.3 บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS) เพิ่มรายการบริการ กรณีการใช้บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule: ORS)เพื่อสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาตรฐานการจัดกลุ่มวินิจโรคร่วมของระบบ DRGs version 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด โดยรายละเอียดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ จะปรากฎในคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ ปีงบประมาณ 2565
    • 2.5 บริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน (One Day Surgery)/ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ เพิ่มรายการบริการใหม่ จำนวน 19 รายการ ดังนี้
      • 1) การส่องกล้องใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG)
      • 2) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) pancreas
      • 3) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) liver
      • 4) การฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียงการฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียง (Injection laryngoplasty)
      • 5) การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาพยาธิสภาพที่กล่องเสียง (Endoscopic laryngeal surgery)
      • 6) การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (Tympanoplasty)
      • 7) การวางสาย Tenckhoff catheter
      • 8) การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ในผู้ป่วย Fit test positive
      • 9) การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
      • 10) การผ่าตัดโรคจอตาและวุ้นตา (Vitreoretinal surgery)
      • 11) การผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำจากช่องหน้าลูกตาไปใต้เยื่อบุตา (Trabeculectomy)
      • 12) การผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำจากช่องหน้าม่านตาไปใต้เยื่อบุตา (Tube shunt surgery)
      • 13) การผ่าตัดเบ้าตา (Orbital surgery)
      • 14) การผ่าตัดเปลือกตา (Eyelid surgery)
      • 15) การผ่าตัดระบบน้ำตา (Lacrimal surgery)
      • 16) การผ่าตัดแก้ไขหนังตาหย่อน (Rhytidectomy/Blepharoplasty)
      • 17) การผ่าตัดโดยวิธีการฉายแสงเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระจกตา (Corneal Collagen Cross Linking)
      • 18) การยิงเลเซอร์ทำลายซิลิอารีบอดี (Cyclophotocoagulation)
      • 19) ผ่าตัดทำลายเยื่อบุตาและผ่าตัดตัดแต่งเยื่อบุตา
    • ปรับการจ่ายรายการบริการผ่าตัดผ่านกล้อง ที่สามารถให้บริการแบบวันเดียวกลับได้ ได้แก่ การบริการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เฉพาะกลุ่ม DRGs 07100 Laparoscopic cholecystectomy, no CC โดยจ่ายในลักษณะบริการ MIS ที่ให้บริการเป็น ODS (จ่าย RW+K ของ MIS)
    • 2.6 บริการผ่าตัดผ่านกล้องแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS)เพิ่มรายการบริการ จำนวน 6 รายการ ดังนี้
      • 1) Laparoscopic Nephrectomy
      • 2) การระบายน้ำดี (biliary drainage) ผ่านการส่องกล้องทางเดินน้ำดี (endoscopic retrograde cholangiopancreatography, ERCP)
      • 3) การผ่าตัดผ่านกล้องการวินิจฉัยและตัดชิ้นเนื้อในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งทางนรีเวช
      • 4) Endoscopic sinus surgery using microdebrider
      • 5) Laparoscopic adrenalectomy
      • 6) Laparoscopic appendectomy
    • มีระบบการขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีการผ่าตัดภาวะอ้วนที่เป็นโรค/โรคอ้วนทุพพลภาพ (Morbid obesity)
  3. บริการกรณีเฉพาะ
    • 3.1 กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด (OPAE) ปรับรูปแบบการจ่าย เป็นการจ่ายตามรายการบริการ (Fee schedule) และรายการที่ยังไม่กำหนดจะจ่ายตามอัตราที่เรียกเก็บโดยเริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565 (Service Date)
    • 3.2 การเข้ารับบริการในหน่วยบริการอื่น กรณีเหตุสมควร กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร นอกจากการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง จ่ายให้หน่วยบริการด้วยระบบ Point system ของราคาตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด
    • 3.3 การลงทะเบียนตามมติบอร์ด เป็นการจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว โดยคำนวณ point ประชากรรายวัน
    • 3.4 รายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรค (Instrument)
      • 1) ประกาศรายการอุปกรณ์ อวัยวะเทียม ในการบำบัดรักษาโรค และข้อบ่งชี้ พ.ศ.2564 โดยรวมประกาศรายการอุปกรณ์ฯ พ.ศ.2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2-4) พ.ศ.2564
      • 2) เพิ่มรายการอุปกรณ์ฯ จำนวน 2 รหัส ได้แก่
        • รหัส 4810 ชุดอุปกรณ์สลายลิ่มเลือดหลอดเลือดในสมอง (Thrombectomy Device)
        • รหัส 4817 ขดลวดพร้อมอุปกรณ์สำหรับปล่อย ชนิดปลดได้ (Detachable coil delivery system)
    • 3.5 การสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลมาตรฐานประกอบการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีให้บริการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) ตามแบบฟอร์มที่กำหนด (one page) ในโปรแกรม e-Claim
    • 3.6 บริการผ่าตัดข้อเข่าเทียม การขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Arthroplasty, TKA) ในผู้ป่วยอายุไม่เกิน 55 ปี ที่วินิจฉัยเป็นข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ หรือข้อเข่าเสื่อมไม่ทราบสาเหตุ (Primary or Unspecified Knee OA) ดำเนินการโดย สปสช.ส่วนกลาง
    • 3.7 ยาจำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาบัญชี จ (2) เพิ่มสิทธิประโยชน์ยาบัญชี จ (2) โดยขยายข้อบ่งใช้ยา จำนวน 2 รายการ และเพิ่มรายการยา จำนวน 2 รายการ ได้แก่
      • 1) ขยายข้อบ่งใช้ยา Imatinib และยา Dasatinib ในกรณีรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ ALL ที่มี Ph+ (รายการยาในระบบเดิม)
      • 2) เพิ่มยา Tocilizumab เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ ชนิด Systemic (Systemic Juvenile Idiopathic Arthritis: SJIA) ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
      • 3) เพิ่มยา Ceftazidime/avibactam เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae ที่ไวต่อยา Ceftazidime/avibactam ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ Colistin
  4. บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    • .4.1 บริการแพทย์แผนไทย ปรับการจ่ายจากจ่ายตามรายการบริการ (Fee Schedule) เป็นจ่ายแบบเหมาจ่าย ตามจำนวนผลงานบริการการแพทย์แผนไทย โดยใช้ผลงานบริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – พฤษภาคม 2565
    • 4.2 การใช้น้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชา
      • 1) เพิ่มรายการบริการกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่ น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน และสารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย
      • 2) เบิกจ่ายผ่านระบบโปรแกรมการเบิกชดเชยยา หัวข้อ ยากัญชา
      • 3) อัตราจ่าย ดังนี้
        • 3.1) น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน (ตารางที่1)
        • 3.2) สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย (ตารางที่2)
  5. การปรับเกลี่ยรายรับเงิน Basic payment หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.
    1. 1) ผ่านความเห็นชอบจาก 5×5 (ยกเว้น PPnon UC ผ่านความเห็นชอบจาก อปสข)
    2. 2) การปรับเกลี่ย
      • 2.1) เขตสุขภาพนำร่อง ได้แก่ เขต 1,4,9,12 ปรับเกลี่ย Step/K ยอดประกันรายรับขั้นต่ำให้สามารถประกันรายรับได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 87 ของรายรับภาพรวมขั้นต่ำ ปีงบประมาณ 2564
      • 2.2) เขตอื่นๆ ปรับเกลี่ยค่า K
ตารางที่1 อัตราจ่าย น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน
ตารางที่2 อัตราจ่าย สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย

หมวด 3 บริการผู้ติดเชื้อเอช ไอวี และผู้ป่วยเอดส์

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

  1. บริการเชิงรุก RRTTR
    • จ่ายตามรายการ Fee schedule ตามผลงานบริการรายเดือน ผ่านโปรแกรม NAP สำหรับหน่วยบริการ สสจ. และ CBO ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ
    • จ่ายแบบโครงการ สำหรับ CBO ที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ โดยทำนิติกรรมสัญญาผ่าน สปสช. เขต
    • บริการทางคลินิก (STI) จ่ายตามผลงานบริการรายเดือนให้กับหน่วยบริการ ผ่านโปรแกรม NAP
  2. ยกเลิกการจ่ายกรณีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ (QI)

หมวด 4 บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

การบริการล้างไต การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปรับประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ.2564 เพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนหน่วยบริการ ให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็น

หมวด 5 บริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง

  1. ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
    1) การจ่ายภาพรวมระดับประเทศ จ่ายในลักษณะเหมาจ่าย สำหรับการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และหญิงตั้งครรภ์
    ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน (GDM)
    2) การจ่ายอุปกรณ์ SMBG (Strip test) ผ่านระบบ VMI เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
  2. บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน จ่ายตามจำนวนผู้ป่วยที่ลงทะเบียนบันทึกข้อมูลในระบบ Care transition

หมวด 8 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ร้านยาคุณภาพ เพิ่มการจ่ายอุปกรณ์ Urostomy bag , Colostomy bag , ถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิด โดยให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยา

หมวด 10 ค่ายาวัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ

การตรวจรักษาและอัตราการชดเชยค่าบริการ โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง จ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการ จากเดิมเบิกจ่ายจากโปรแกรมระบบบัญชียา จ(2) เป็น เบิกจ่ายจากโปรแกรม e-Claim

หมวด 13 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ (P&P National priority program and central procurement) เพิ่มรายการจ่ายจากเดิม 6 รายการ เป็น 7 รายการ โดยรายการเพิ่มเติมได้แก่ ถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ซึ่งจะจัดหาเป็นอุปกรณ์ผ่านระบบ VMI และกำหนดให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยาในโครงการ
  2. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน (P&P basic services)
    • 1) การจ่ายแบบเหมาจ่าย รวมบริการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียน (เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 4-12 ปี และเคลือบหลุมร่องฟันถาวรในเด็กอายุ 6-12 ปี)
    • 2) กรณีการจ่ายแบบ Fee schedule มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
      • 2.1) ปรับการจ่ายรายการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียนโดยจ่ายแบบเหมาจ่าย และรายการที่เหลือยังคงจ่ายแบบ Fee schedule เช่นเดิม
      • 2.2) เพิ่มรายการแว่นตาเด็ก สำหรับเด็กไทย อายุ 6-12 ปี หรือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
      • 2.3) บริการตรวจคัดกรองภาวะพร่อง TSH และ PKU ในเด็กแรกเกิด เพิ่มค่าตรวจและการติดตามเพื่อตรวจยืนยันในรายที่ผิดปกติ ในอัตรา 350 บาท/ราย โดยบันทึกผ่านโปรแกรม NPRP
      • 2.4) ปรับอัตราจ่ายค่าบริการตรวจยืนยันโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์และสามี กรณีค่าตรวจ Alpha thalassemia อัตรา 800 บาท/ครั้ง และ Beta thalassemia อัตรา 3,000 บาท/ครั้ง
      • 2.5) ปรับการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีการฝากครรภ์และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) โดยจะเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลจากระบบ 43 แฟ้ม เป็นการบันทึกในโปรแกรม e-Claim เริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565

หมายเหตุ รายละเอียดการเบิกจ่ายฯ ตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565

Happy
8 62 %
Sad
2 15 %
Excited
2 15 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 8 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการขอAuthen Codeใหม่

0 0
Read Time:1 Minute, 35 Second

การใช้งานระบบพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authentication Code) ของหน่วยบริการ ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 4 ระบบ

  1. ระบบตรวจสอบสิทธิและลงทะเบียนออนไลน์ (ERM)
    • 1.1.ภาพรวมการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานระบบพิสูจน์ตัวตน เพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authen Code/Claim Code) ของหน่วยบริการ
    • 1.2.วิธีขอสิทธิการเข้าใช้งานระบบตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพโดยการ Authentication ด้วยบัตร Smart Card
    • 1.3.แบบฟอร์มขอสิทธิการเข้าใช้งานระบบตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพโดยการ Authentication ด้วยบัตร Smart Card
    • 1.4.วิธีติดต่อขอรับ PIN CODE ของเจ้าหน้าที่หน่วยบริการ
    • 1.5.คุณสมบัติเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชน Smart Card
    • 1.6.ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมการใช้งาน
    • 1.7.การเข้าใช้งานโปรแกรมพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authentication Code)
    • 1.8.การเปิดใช้งานโปรแกรม E-FORM Agent
    • 1.9.การเปิดใช้งานโปรแกรม UC Authentication 4.x
  2. ระบบตรวจสอบและยืนยันการเข้ารับบริการ (New Authen Code)
    • 2.1.การเข้าสู่ระบบ
    • 2.2.ตรวจสอบและยืนยันการเข้ารับบริการ
      • 2.2.1.รูปแบบที่ 1 ยืนยันตัวตนด้วยบัตร Smart Card
      • 2.2.2.รูปแบบที่ 2 ยืนยันตัวตนด้วยเลขประจำตัวประชาชน และรูปภาพ
    • 2.3.ค้นหา/แก้ไข ข้อมูลการรับบริการ
      • 2.3.1.การค้นหา ข้อมูลการรับบริการ
      • 2.3.2.การแก้ไข ข้อมูลการรับบริการ
      • 2.3.3.การยกเลิก/ลบ ข้อมูลการรับบริการ
    • 2.4.ประวัติ Authentication Code รายบุคคล
      • 2.4.1.การค้นหาประวัติ Authentication Code รายบุคคล
    • 2.5.รายงาน
      • 2.5.1.ส่งออก eclaim
  3. การเข้าใช้งานระบบ CPP เพื่อสร้าง QR CODE เพื่อนำไปใช้กับการ Authen ตัวตน ของหน่วยบริการ
  4. ระบบขอรหัสเข้ารับบริการ ผ่าน Line OA @nhso สำหรับประชาชน
Happy
4 50 %
Sad
0 0 %
Excited
3 38 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 13 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version