Read Time:12 Second
คู่มือการบันทึกข้อมูล IMC IP
Read Time:12 Second
ประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim ร่วมกับการใช้โปรแกรมรายงานข้อมูลติดตามสุขภาพประจำวัน (โปรแกรม AMED) กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ 2566
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศเพิ่มเติมรายการยา รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee Schedule) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประชุมชี้แจงรายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ผ่าน Facebook Live หน้าเพจ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
การปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการจัดทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยสาระสำคัญที่ประชาชนจะได้รับ คือ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ การเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ ติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เตียงรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงมีนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based Medical Services) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient)
การดำเนินการให้บริการในรูปแบบผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ การดูแลเสมือนโรงพยาบาลที่บ้าน (Hospital care at home) เป็นการให้บริการการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่ใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลเทียบเคียงผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษา
กรมการแพทย์ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำ “แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)” โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและหน่วยบริการทุกระดับสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษา มีสภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสมดั่งปณิธานของกรมการแพทย์ “ทำดีที่สุด เพื่อทุกชีวิต”
ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และชมรมหัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เห็นความสำคัญและโอกาสในการที่จะนำการแพทย์แผนไทย เข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ซึ่งเป็นอาการที่การแพทย์แผนไทย มีศักยภาพสามารถดำเนินการได้อย่างโดดเด่น โดยในระยะเริ่มต้นมีแนวคิดที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มุมปากตก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ฯลฯ จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้แพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงบริการแพทย์แผนไทยกับสหวิชาชีพในการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กในสถานพยาบาลและในชุมชน มีการเชื่อมโยงการให้บริการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงชุมชน สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลาในเครือข่าย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดบริการแพทย์แผนไทยในชุมชนแก่ทีมสุขภาพอื่น ๆ เช่น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุข หมอพื้นบ้าน เป็นต้น
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป้วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อไป
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้แจ้งให้หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในบริการที่จ่ายตามรายการ (PP Free Schedule) ต้องมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสาธารณสุขก่อนการจ่ายชดเชยค่าบริการ ตามแนวทางการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ดังนี้
Statement (STM) ที่Verify สำหรับการตรวจสอบ | หน่วยบริการแนบเอกสาร * | สปสช.ตรวจสอบโดยทีมผู้ตรวจสอบ | สปสช.แจ้งผลการตรวจสอบและหน่วยบริการขอทักท้วง (ถ้ามี) ** | สปสช.พิจารณาผลการทักท้วงของหน่วยบริการ |
---|---|---|---|---|
6512_01 / 6512_02 | 8 ม.ค. – 22 ม.ค. 66 | 23 – 27 ม.ค. 66 | 3 ก.พ. – 12 ก.พ. 66 | 13 – 17 ก.พ. 66 |
6601_01 / 6601_02 | 8 ก.พ. – 22 ก.พ. 66 | 23 – 27 ก.พ. 66 | 3 มี.ค. – 12 มี.ค. 66 | 13 – 17 มี.ค. 66 |
6602_01 / 6602_02 | 8 มี.ค. – 22 มี.ค. 66 | 23 – 27 มี.ค. 66 | 3 เม.ย. – 12 เม.ย. 66 | 13 – 17 เม.ย. 66 |
6603_01 / 6603_02 | 8 เม.ย. -22 เม.ย. 66 | 23 – 27 เม.ย. 66 | 3 พ.ย. – 12 พ.ค. 66 | 13 – 17 พ.ค. 66 |
6604_01 / 6604_02 | 8 พ.ค. – 22 พ.ค. 66 | 23 – 27 พ.ค. 66 | 3 มิ.ย. – 12 มิ.ย. 66 | 13 – 17 มิ.ย. 66 |
6605_01 /6605_02 | 8 มิ.ย. – 22 มิ.ย. 66 | 23 – 27 มิ.ย. 66 | 3 ก.ค. – 12 ก.ค. 66 | 13 – 17 ก.ค. 66 |
6606_01 / 6606_02 | 8 ก.ค. – 22 ก.ค. 66 | 23 – 27 ก.ค. 66 | 3 ส.ค. – 12 ส.ค. 66 | 13 – 17 ส.ค. 66 |
6607_01/6607_02 | 8 ส.ค. – 22 ส.ค. 66 | 23 – 27 ส.ค. 66 | 3 ก.ย. – 12 ก.ย. 66 | 13 – 17 ก.ย. 66 |
6608_01 / 6608_02 | 8 ก.ย. – 22 ก.ย. 66 | 23 – 27 ก.ย. 66 | 3 ต.ค. – 12 ต.ค. 66 | 13 – 17 ต.ค. 66 |
6609_01 / 6609_02 | 8 ต.ค. – 22 ต.ค. 66 | 23 – 27 ต.ค. 66 | 3 พ.ย. – 12 พ.ย. 66 | 13 – 17 พ.ย. 66 |
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ และฉบับเพิ่มเติม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล/อบต.) ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และกองทุนสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care; LTC) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขในด้านสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาปฐมภูมิเชิงรุกให้แก่ประชาชนในพื้นที่
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น จึงขอซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และกองทุนสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care; LTC) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รายละเอียดตามเอกสาร
วันที่16พฤศจิกายน 2565 เวลา13.00-16.30น. ณ ห้องประชุมหม่อนไหม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น นายแพทย์วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) เป็นประธานการประชุม ขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง(Palliative Care)จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566 โดยมี พญ.มาลินี พิสุทธิโกศล นายแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.ขอนแก่น (รองประธาน service plan สาขาpalliative care จังหวัดขอนแก่น)นำเสนอนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน palliative care จังหวัดขอนแก่น และนางศิริมา นามประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการนำเสนอการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยประคับประคองระยะท้าย(palliative care) จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ2565 และมีการนำเสนอการจัดระบบบริการการดูแลผู้ป่วยPCในรูปแบบโซนตะวันตก โดย พญ.กฤษณาพร เถื่อนโทสาร นายแพทย์ชำนาญการ รพ.ชุมแพ และยังได้มีการแลกเปลี่ยนในเรื่องของการบันทึกการเบิกจ่ายe-claim palliative care ของ รพ.ขอนแก่น โดย นพ.วัชรพงษ์ รินทระ นายแพทย์ชำนาญการ อีกทั้ง ได้รับการชี้แจงกองทุน palliative care ปี2566 โดย นายธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ สปสช.เขต7 ขอนแก่น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย คณะอนุกรรมการสาขา Palliative care จังหวัดขอนแก่น และผู้รับผิดชอบงาน PC จากโรงพยาบาลขอนแก่น สิรินธร จังหวัดขอนแก่น ชุมแพ และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ตัวแทนจากกลุ่มงานประกันสุภาพ และกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในการประชุม มีเรื่องหารือเพื่อพิจารณาดังนี้