กรอบงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี2564

0 0
Read Time:5 Minute, 1 Second

อ้างอิงจาก คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564

1. บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข รายการบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว เป็นงบประมาณสำหรับการบริการตามประเภทและขอบเขตบริการ (สิทธิประโยชน์) ด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว การบริการกรณีเฉพาะ การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ บริการการแพทย์แผนไทย ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนเป็นค่าเสื่อมราคาของหน่วยบริการ) เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตั้งแต่เริ่มการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับคนไทยทั้งประเทศโดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับการจัดสรรเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในอัตราเหมาจ่าย 3,719.23 บาทต่อผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้มีสิทธิ) สำหรับผู้มีสิทธิ จำนวน 47.6440 ล้านคน โดยค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2564 แบ่งเป็น 9 ประเภทบริการ ดังนี้

ประเภทบริการ จำนวนบาท/ผู้มีสิทธิ
1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป 1,279.31
2.บริการผู้ป่วยในทั่วไป 1,440.03
3.บริการกรณีเฉพาะ373.67
4.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 455.39
5.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ 18.40
6.บริการการแพทย์แผนไทย 17.90
7.ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าบริการทางการแพทย์
สำหรับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนเป็นค่าเสื่อมราคา
ของหน่วยบริการ)
128.69
8.เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการและผู้ให้บริการ 3.84
9.บริการจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ 2.00
รวม (บาทต่อผู้มีสิทธิ)3,719.23

หมายเหตุ: ประเภทบริการที่ 4 จำนวนเงินจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนคนไทยทุกคน

2. บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรายการบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ เป็นงบประมาณที่เพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประชาชนกลุ่มเฉพาะตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด โดยครอบคลุมบริการการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และบริการที่เกี่ยวข้อง บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรเป็นประเภทบริการต่างๆ ดังนี้

ทั้งนี้ ให้ สปสช.สามารถเกลี่ยเงินระหว่างประเภทบริการได้ตามศักยภาพของระบบบริการ

3. บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรายการบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นงบประมาณเพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายค่ายาและบริการที่เกี่ยวข้องในการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมการปลูกถ่ายไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และเริ่มบริการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated peritoneal dialysis: APD) หากไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องอัตโนมัติที่จะทำให้ค่าบริการเพิ่มขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรเป็นประเภทบริการต่างๆ ดังนี้

ทั้งนี้ ให้ สปสช.สามารถเกลี่ยเงินระหว่างประเภทบริการได้ตามศักยภาพของระบบบริการ

4. บริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขรายการบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง เป็นงบประมาณที่เพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อการเข้าถึงบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตามมาตรฐาน โดยปีงบประมาณ 2564 ยังคงเน้นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง และ ครอบคลุมบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนที่เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท(Schizophrenia) โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มการเข้าถึงบริการให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน โดยจัดสรรเป็นประเภทบริการต่างๆ ดังนี้

5. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขที่จำเป็นต้องให้บริการประชาชนในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นหน่วยบริการในสังกัดสป.สธ. โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณจำนวน 1,490.2880 ล้านบาท
6. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เป็นงบประมาณที่เพิ่มเติมจากเงินบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสำหรับประชาชนไทยทุกคนและทุกกลุ่มวัย ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถเข้าถึงด้านสาธารณสุขที่เชื่อมโยงบริการทางสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างบ้าน ชุมชน หน่วยบริการ/สถานบริการ/ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างเป็นระบบ
โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณจำนวน 838.0260 ล้านบาท
7. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ เป็นค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ข้อ ช.(5) “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” และตาม พ.ร.บ. ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 โดยจะทำให้เกิดการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้นในหน่วยบริการและในชุมชนทั้งในเขตและ
นอกเขตกรุงเทพมหานคร จากหน่วยบริการ และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และลดความแออัดในหน่วยบริการ ในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณจำนวน 421.6400 ล้านบาท

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวคิดการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี2564

0 0
Read Time:4 Minute, 1 Second

ปีงบประมาณ 2564 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีแนวคิดและหลักการ ดังนี้

  1. การสร้างความเป็นธรรมต่อประชาชนและผู้ป่วยที่จะได้รับบริการสาธารณสุข
  2. การเพิ่มประสิทธิผลและคุณภาพผลงานบริการสาธารณสุข
  3. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและการบริการสาธารณสุข
  4. สนับสนุนการจัดบริการที่สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing)และลดความแออัดในหน่วยบริการ ภายใต้สถานการณ์ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เช่น บริการส่งยาไปที่บ้านผู้ป่วย บริการ Telemedicine บริการรับยาที่ร้านยาสุขภาพชุมชน บริการรักษามะเร็งลำไส้ด้วยยาเคมีบำบัดที่บ้านผู้ป่วย เป็นต้น
  5. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินกองทุน โดย
    • ให้มีการบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานระดับเขตตามเขตความรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต (Global budget ระดับเขต) ภายใต้ความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการพัฒนาบริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่ไม่มีหน่วยบริการเพียงพอหรือมีการกระจายหน่วยบริการอย่างไม่เหมาะสม
    • แนวทางการจ่ายค่าใช้จ่ายเงินกองทุน เป็นการจ่ายสำหรับการบริการสาธารณสุขและการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข ทั้งนี้ การจ่ายเป็นเงินจะจ่ายแบบเหมาจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จ่ายตามปริมาณงานที่เรียกเก็บภายหลังการให้บริการ จ่ายตามโครงการที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะและมีการนำร่องจ่ายตามหลักการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (Value-based Health Care) ซึ่งอาจบูรณาการจ่ายค่าใช้จ่ายร่วมกับรายการบริการประเภทต่างๆ ได้ โดย สปสช.กำหนด การกำกับ การตรวจสอบและประเมินผล
    • กรณีค่าใช้จ่ายสำหรับยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ (ยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ) ให้สามารถดำเนินการจัดหาและสนับสนุนยาและอื่นๆ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษให้หน่วยบริการโดยเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ และหรือจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายยาและอื่นๆ เช่น การตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนรับยา ฯลฯ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษตามการใช้บริการ
    • กำหนดให้มีเครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ ทำหน้าที่จัดหาและสนับสนุน ยาวัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ให้แก่หน่วยบริการอื่นในเครือข่าย ตามแผนและวงเงินการจัดหายา วัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ (แผนและวงเงินการจัดหาฯ) โดยให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน
    • ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมความต้องการของภาครัฐและแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ให้สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายเงินกองทุนสำหรับรายการนวัตกรรมและหรือสิ่งประดิษฐ์และหรือผลงานจากการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย ที่สนับสนุนหรือใช้ในการบริการสาธารณสุขที่ภาครัฐพัฒนาได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด
    • การจ่ายค่าใช้จ่ายเงินกองทุนตามปริมาณงานที่เรียกเก็บภายหลังการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรการเพื่อรักษาวินัยการเรียกเก็บค่าบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และตามข้อมูลที่ส่งมาในปีงบประมาณ 2564
    • การให้บริการสาธารณสุขที่เป็นโครงการเฉพาะหรือโครงการพิเศษอาจให้หน่วยบริการเครือข่ายหน่วยบริการ หน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหาผลกำไร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจการในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามแนวทางที่ สปสช.กำหนด โดยให้ทำสัญญาหรือข้อตกลงหรือโครงการดำเนินงานและผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่จะส่งมอบกับ สปสช.
    • กำหนดมาตรการกำกับและเร่งรัดการใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกระดับรวมทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด โดยปี 2564 เพิ่มมาตรการกรณีกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เขตกรุงเทพมหานครฯ หากมีเงินคงเหลือมากกว่าสองเท่าของรายรับของเงินกองทุนฯ ในปีที่ผ่านมา สปสช.อาจงดการจัดสรรเงินสมทบเข้ากองทุนฯ
    • ให้ สปสช.เสนอของบประมาณเพิ่มเติมตามความเหมาะสม สำหรับรายการบริการที่มีการจ่ายแบบระบบปลายเปิด เช่น รายการบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว เฉพาะประเภทบริการกรณีเฉพาะและบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP)และรายการค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ภายหลังจาก ติดตาม กำกับ และควบคุม/ปรับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และหากมีผลงานบริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณหรือเงินงบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ 2564 ไม่เพียงพอ
    • ในระหว่างปีงบประมาณหากเงินที่กำหนดในรายการและประเภทบริการใดไม่เพียงพอเนื่องจากผลงานบริการมากกว่าเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณหรือกรณีจำเป็นอื่นให้ สปสช. ใช้เงินกองทุนจากรายการและประเภทบริการอื่นจ่ายไปก่อน และในช่วงปลายปีงบประมาณ หากจ่ายหรือประมาณการจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เสร็จสิ้นตามเป้าหมายของปีงบประมาณ 2564 แล้ว ให้ สปสช.จ่ายเงินที่อาจเหลือในภาพรวมทุกรายการและประเภทบริการคืนเข้ารายการและประเภทบริการอื่นที่ยืมจ่ายในระหว่างปีงบประมาณก่อนและหากไม่เพียงพอให้ของบประมาณทดแทนในปีถัดไปหากมีเงินเหลือจึงจ่ายตามผลงานการใช้บริการหรือตามจำนวนประชากรให้หน่วยบริการ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 37 Second

ตามหนังสืออ้างถึง สปสช.2.57/ว.0032 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ในการตรวจสอบข้อมูลการจ่ายชดเชยกรณีบริการแพทย์แผนไทย ด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายเบื้องต้นในไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563) จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ บริการนวด บริการประคบ บริการนวดและประคบ และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด พบข้อมูลที่หน่วยบริการบันทึกเบิกเข้ามาในระบบโปรแกรม OP/PP Individual มีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผลงานการเบิกจ่ายสูงกว่าปกติ หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ http://gg.gg/unrbv นั้น

หมายเหตุ : อ้างอิงการให้บริการผู้มารับบริการเป็นตามกรมแพทย์แผนไทยกำหนด โดย “ผู้ทำหัตถการ 1 คน สามารถรักษาผู้เข้ารับการรักษา ในเวลา 08.00-16.00 น. ไม่เกิน 5 คน/วัน นอกเวลาราชการ 16.00 – 20.00 น. ไม่เกิน 2 คน/วัน”

ในการนี้ หากหน่วยบริการต้องการอุทธรณ์การประมวลผลฯ ขอให้หน่วยบริการแจ้งรายละเอียด ผลงานบริการการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่ายและประสงค์จะขออุทธรณ์ ตามรายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วย 2) และคำสั่งบรรจุ หรือคำสั่งจ้าง บุคลากรด้านแพทย์แผนไทย พร้อมด้วยใบประกอบวิชาชีพ และสำเนาคำสั่งหรือแผนที่เปิดให้บริการนอกเวลาราชการ (รับรองสำเนา) ในปีงบประมาณ 2564 ในหน่วยบริการที่จะอุทธณณ์ ส่งไปยัง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ที่เมล์คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ e-mail : thunnnithi.w@nhso.go.th ภายในไม่เกินวันที่ 4 มิถุนายน 2564 เพื่อทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะได้ดำเนินการประมวลผลและจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่หน่วยบริการต่อไป

การขออุทธรณ์ผลงานบริการแพทย์แผนไทยที่ถูกชะลอการจ่าย ปี 2564 ไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม-ธันวาคม 2563)

  1. กรณีข้อมูลมีความถูกต้อง และประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานการขึ้นทะเบียนด้านศักยภาพแพทย์แผนไทย แนวทางดังนี้
    (เอกสารแนบประกอบ)
    • สำเนาคำสั่งบรรจุ /หรือ สำเนาสั่งจ้าง บุคลากรผู้ให้ทางการแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2564 (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาใบประกอบวิชาชีพผู้ให้บริการแพทย์แผนไทย (ใครรับรองก็ได้)
    • สำเนาคำสั่งเปิดให้บริการ นอกเวลาราชการ (ใครรับรองก็ได้)
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม Check) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล
  2. กรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลและหรือต้องการยกเลิกเพื่อไม่รับจัดสรรงบประมาณ
    • บันทึกข้อมูลที่ให้บริการ ตามวันที่ให้บริการ (ตามแบบฟอร์ม ไม่ต้องการรับงบประมาณ) จนท. ผู้จัดทำ รับรอง และ ผอ.หน่วยงานรับรองข้อมูล ลำดับการส่งเอกสาร
      • จัดทำหนังสือนำส่ง นายแพทย์ สสจ.จังหวัด ของท่าน (สำเนาเรียน ท่าน สสอ. ด้วย)
      • ผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทย สสจ. แต่ละจังหวัด ทำหนังสือนำส่ง สปสช. เขต 7 ขอนแก่น
      • หน่วยที่ถูก Pending ให้ Scan Files to *.PDF และไฟล์ Ms Excel ฟอร์มอุทธรณ์/และหรือแก้ไขยกเลิก ส่งมาที่เมล์ thunnithi.w@nhso.go.th
    • สปสช.จะตรวจสอบเอกสาร ให้ครบถ้วน ขาดอันใดอันหนึ่งจะไม่ขออุทธรณ์ให้

ปล. Download Form ได้ที่เว็ปไซต์ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น https://khonkaen.nhso.go.th >> เมนูบริการข้อมูล>>บริการแพทย์แผนไทย หรือทางกลุ่มไลน์ TTM เขต

ผู้ประสานงาน สปสช.เขต7 ขอนแก่น คุณธัญญ์นิธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ตารางประเภทสิทธิย่อย

0 0
Read Time:4 Minute, 41 Second
รหัสสิทธิย่อยคำอธิบายกลุ่มucวันหมดอายุสิทธิหลัก
60อาสาสมัครมาเลเรีย2ตามวันหมดอายุของบัตรประจำตัวWEL
61บุคคลในครอบครัวของอาสาสมัครมาเลเรีย2ตามวันหมดอายุของเจ้าของบัตรประจำตัวWEL
62ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้าน2ตามวันหมดอายุของบัตรประจำตัวWEL
63บุคคลในครอบครัวของช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้าน2ตามวันหมดอายุของเจ้าของบัตรประจำตัวWEL
64ผู้บริหารโรงเรียนและครูของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลาม2ตามวาระที่รับมอบหมายWEL
65บุคคลในครอบครัวของผู้บริหารโรงเรียนและครูของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลาม2ตามวันหมดอายุของเจ้าของบัตรประจำตัวWEL
66ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน2NoexpWEL
67ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน2NoexpWEL
68สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ซึ่งบริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้ง ขึ้นไป2NoexpWEL
69หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการของกระทรวงกลาโหม2NoexpWEL
70อาสาสมัครคุมประพฤ กระทรวงยุติธรรม2ตามวาระที่ได้รับมอบหมายWEL
71เด็กอายุไม่เกิน 12 ปีบริบูรณ์2ณ วันที่ ครบ 12 ปีบริบูรณ์WEL
72ผู้มีรายได้น้อย23 ปีWEL
73นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น23 ปีWEL
74ผู้พิการ2NoexpWEL
75ทหารผ่านศึกชั้น 1-3 ที่มีบัตรทหารผ่านศึก รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ2NoexpWEL
76พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช และนักพรตในพระพุทธศาสนาซึ่งมีหนังสือสุทธิรับรอง2ตามสถานะภาพที่ปรากฎWEL
77ผู้มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์2NoexpWEL
80บุคคลในครอบครัวทหารผ่านศึกชั้น 1-3 รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญสมรภูมิ2NoexpWEL
81ผู้นำชุมชน (กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบล)2ตามวาระที่ได้รับมอบหมายWEL
82อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร2ตามวันหมดอายุของบัตรประจำตัวWEL
83ผู้นำศาสนาอิสลาม ( อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น)2ตามวันหมดอายุของบัตรประจำตัวWEL
84บุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลามของผู้นำศาสนาอิสลาม ( อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น)2ตามวันหมดอายุของเจ้าของบัตรประจำตัวWEL
85ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป2ตามวันหมดอายุของบัตรประจำตัวWEL
86บุคคลในครอบครัวของผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป2ตามวันหมดอายุของเจ้าของบัตรประจำตัวWEL
87บุคคลในครอบครัวของผู้นำชุมชน (กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบล)2ตามวันหมดอายุของเจ้าของบัตรประจำตัวWEL
88บุคคลในครอบครัวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร2ตามวันหมดอายุของเจ้าของบัตรประจำตัวWEL
89ช่วงอายุ 12-59 ปี1ระหว่างช่วงอายุ 12 – 59 ปีUCS
90ทหารเกณฑ์2ตามวันที่ปลดประจำการWEL
91ผู้ที่พำนักในสถานที่ภายใต้การดูแลของส่วนราชการ(ราชทัณฑ์)2ตามวันที่พ้นโทษWEL
92ผู้ที่พำนักในสถานที่ภายใต้การดูแลของส่วนราชการ (สถานพินิจและสถานสงเคราะห์)2ตามช่วงเวลาที่อยู่ในความดูแลWEL
93นักเรียนทหาร2ตามวันที่จบการศึกษาWEL
94ทหารผ่านศึกชั้น 4 ที่มีบัตรทหารผ่านศึก รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ2NoexpWEL
95บุคคลในครอบครัวทหารผ่านศึกชั้น 4 รวมถึงผู้ได้รับพระราชทานเหรียญสมรภูมิ2NoexpWEL
96ทหารพราน2ตามวันหมดอายุของบัตรประจำตัวWEL
97บุคคลในครอบครัวทหารของกรมสวัสดิการ 3 เหล่าทัพ2NoexpWEL
98บุคคลในครอบครัวทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 12NoexpWEL
B1สิทธิเบิกกรุงเทพมหานคร(ข้าราชการ)  OFC
B2สิทธิเบิกกรุงเทพมหานคร(ลูกจ้างประจำ)  OFC
B3สิทธิเบิกกรุงเทพมหานคร(ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  OFC
B4สิทธิเบิกกรุงเทพมหานคร(บุคคลในครอบครัว)  OFC
B5สิทธิเบิกกรุงเทพมหานคร(บุคคลในครอบครัวผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  OFC
C1สิทธิเบิกหน่วยงานตนเองหรือรัฐวิสาหกิจ(เจ้าหน้าที่)  OFC
C2สิทธิเบิกหน่วยงานตนเองหรือรัฐวิสาหกิจ(พนักงาน)  OFC
C3สิทธิเบิกหน่วยงานตนเองหรือรัฐวิสาหกิจ(ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  OFC
C4สิทธิเบิกจากหน่วยงานตนเองหรือรัฐวิสาหกิจ(บุคคลในครอบครัว)  OFC
C5สิทธิเบิกจากหน่วยงานตนเองหรือรัฐวิสาหกิจ (บุคคลในครอบครัวผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  OFC
C6สิทธิเบิกจากหน่วยงานตนเองหรือรัฐวิสาหกิจ (กรณีได้รับสิทธิเฉพาะหน่วยงาน)  OFC
G1หน่วยงานรัฐอื่นๆ  OFC
L1สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น(ข้าราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างประจำ/ครูผู้ดูแลเด็ก/ครูผู้ช่วย)  LGO
L2สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น(บุคคลในครอบครัว)  LGO
L3สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น(ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  LGO
L4สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น(บุคคลในครอบครัวผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  LGO
L5สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น(ข้าราชการการเมือง)  LGO
L6สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น(บุคคลในครอบครัวข้าราชการการเมือง)  LGO
L9สิทธิสวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น(ยังไม่ระบุตำแหน่ง)  LGO
N1เด็ก อายุ 0-7 ปีบริบูรณ์ 1 ปีNRH
N2แรงงานต่างด้าวทั่วไป อายุเกิน 7 ปี 1 ปีNRH
N3แรงงานต่างด้าวที่รอเข้าระบบประกันสังคม 3 เดือนNRH
N4แรงงานต่างด้าวทั่วไป อายุเกิน 7 ปี(ตรวจสุขภาพที่รพ.อื่น) 1 ปีNRH
N5แรงงานต่างด้าวที่รอเข้าระบบประกันสังคม(ตรวจสุขภาพที่รพ.อื่น) 3 เดือนNRH
O1สิทธิเบิกกรมบัญชีกลาง(ข้าราชการ)  OFC
O2สิทธิเบิกกรมบัญชีกลาง(ลูกจ้างประจำ)  OFC
O3สิทธิเบิกกรมบัญชีกลาง(ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  OFC
O4สิทธิเบิกกรมบัญชีกลาง(บุคคลในครอบครัว)  OFC
O5สิทธิเบิกกรมบัญชีกลาง(บุคคลในครอบครัวผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)  OFC
P1สิทธิครูเอกชน  PVT
P2สิทธิครูเอกชน(เบิกส่วนเกินหนึ่งแสนบาทจากกรมบัญชีกลาง)  PVT
P3สิทธิครูเอกชน(เบิกส่วนเกินหนึ่งแสนบาทจาก อปท.)  PVT
S1สิทธิเบิกกองทุนประกันสังคม(ผู้ประกันตน)  SSS
S2สิทธิเบิกประกันสังคม(เบิกส่วนต่างกรมบัญชีกลางได้เฉพาะกรณี)  SSS
S3สิทธิเบิกประกันสังคม(เบิกส่วนต่างจากอปท. ได้เฉพาะกรณี)  SSS
STสิทธิเบิกงานประกันสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข  STP
ตารางประเภทสิทธิย่อย ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Happy
9 75 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
2 17 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 8 %
Exit mobile version