บริการผู้ป่วยนอกกรณีที่มีเหตุสมควร ในพื้นที่เขตภาคอีสาน

0 0
Read Time:1 Minute, 2 Second

ประกาศ !! แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขประเภทบริการผู้ป่วยนอกกรณีที่มีเหตุสมควร ในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดการเข้ารับบริการกรณี ที่ผู้มีสิทธิมีความจำเป็นในการเข้ารับบริการยังหน่วยบริการอื่นนอกจากหน่วยบริการประจำ หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ของบุคคลที่ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ ในพื้นที่ สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น สปสช.เขต ๘ อุดรธานี สปสช.เขต ๙ นครราชสีมา และ สปสช.เขต ๑๐ อุบลราชธานี ถือเป็นกรณีที่มีเหตุสมควรนั้น ในการนี้ เพื่อให้การขอรับค่าใช้จ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด (สปสช.) จึงขอส่งแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขประเภทบริการผู้ป่วยนอกกรณีที่มีเหตุสมควร ในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย)

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authentication Code)

0 0
Read Time:8 Second

จากเอกสารประกอบการชี้แจงขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการสาธารณสุขประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ 2564

เอกสารทั้งหมดที่ลิงค์นี้
Happy
3 60 %
Sad
0 0 %
Excited
1 20 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 20 %
Surprise
0 0 %

ประชุม ม.41 วันที่22มิ.ย.64

0 0
Read Time:1 Minute, 51 Second

วันที่ 22 มิ.ย. 2564 เวลา 13.00-16.30 น. นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และหัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (ม.41) ณ ห้องประชุมแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มติการประชุมฯ พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือฯ จำนวน 3 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 580,000 บาท ดังนี้

  • รายที่ 1 ชายไทย อายุ 71 ปี เข้ารับการรักษา รพช. ด้วยอาการปวดบวมแดงร้อน ที่เท้าขวา ร่วมกับมีไข้ ได้รับการรักษาโดยการไปฉีดยาปฏิชีวนะอาการไม่ดีขึ้น ส่งรักษาต่อที่ รพศ. มีภาวะเนื้อตายที่นิ้วเท้าและต้องได้ตัดนิ้วเท้า 3 นิ้ว มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 80,000 บาท ตามข้อบังคับ ข้อ 6(3)
  • รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 52 ปี เข้ารับการรักษาที่ รพท. ด้วยอาการตกจากที่สูง กระดูกซี่โครงหัก นอนรักษาใน รพท. อาการดีขึ้นแพทย์ให้กลับบ้าน และ 2 วันต่อมามีอาการหายใจไม่ออก หมดสติ เข้ารักษาที่รพท.อีกครั้ง และส่งต่อรักษาที่ รพศ.จึงพบว่ามีภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวอุดตันปอดและปอดรั่ว ซึ่งทำให้ต้องรักษาเวลานานขึ้น มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 90,000 บาท ตามข้อบังคับ ข้อ 6(3) แต่เมื่อพิจารณาถึงการรักษาที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเป็นเวลานาน ทำให้ขาดโอกาสในการหารายได้ จึงเพิ่มเติมเงินให้อีก ร้อยละ 10 เป็นเงิน 10,000 บาท รวมมีมติจ่ายทั้งสิ้น 100,000 บาท
  • รายที่ 3 ชายไทย อายุ 84 ปี มีภาวะกลืนอาหารลำบากเข้ารับการรักษาที่ รพช. อาการไม่ดีขึ้น จึงส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยที่ รพศ. แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดสารอาหารรุนแรงจึงให้การรักษาโดยให้อาหารเหลว 100 ซีซี เพื่อรอการตรวจวินิจฉัยในวันรุ่งขึ้น ภายหลังได้รับอาหารเหลว 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยหมดสติ ได้รับการช่วยชีพฟื้นคืนชีพ และต่อมาเสียชีวิต มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 360,000 บาท ตามข้อบังคับ ข้อ 6(1)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

มอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ม.41 ประจำเดือน เม.ย.64

0 0
Read Time:1 Minute, 13 Second

วันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 08.30 น. ณ อาคารใหม่ชั้น2 สสจ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มอบเช็คเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ม.41 แก่ผู้ยื่นคำร้อง ประจำเดือน เม.ย. 2564 จำนวน 6 ราย ดังนี้

  1. กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ เข้ารักษาในโรงพยาบาลศูนย์เสียชีวิตหลังการผ่าตัดกราม จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 360,000 บาท
  2. กรณีมารดาตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ ส่งต่อจากโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง เพื่อผ่าตัดคลอดฉุกเฉินที่โรงพยาบาลศูนย์เสียชีวิตหลังผ่าตัด จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 400,000 บาท
  3. กรณีผป.เบาหวานและความดันโลหิตสูง ป่วยติดเตียง เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง พลัดตกจากเตียง ขณะรอตรวจ กระดูกต้นแขนขวาหัก จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 60,000 บาท
  4. กรณีตั้งครรภ์หลังทำหมัน ที่โรงพยาบาลชุมชนจ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 60,000 บาท
  5. กรณีมารดาตกเลือดหลังคลอด ได้รับการผ่าตัดมดลูก ที่โรงพยาบาลศูนย์และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 360,000 บาท
  6. กรณีผป.เด็ก3ปี รักษาที่โรงพยาบาลชุมชน3วันอาการไม่ดีขึ้นใส่ท่อช่วยหายใจและส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์ต่อมาเสียชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 360,000 บาท

ในโอกาสนี้ท่าน นพ.สสจ.ได้พูดคุย ให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการและญาติทุกคน

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ติดตามกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โพนเพ็ก อ.มัญจาคีรี และอบต.แดงใหญ่ อ.เมืองขอนแก่น

0 0
Read Time:1 Minute, 3 Second

วันที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 8.30-16.30 น. นายสมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้กลุ่มงานประกันสุขภาพ เข้าร่วมการออกกำกับ ติดตาม กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เร่งด่วนที่มีปัญหาการเบิกจ่ายไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการส่งเสริม ป้องกันสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ อบต.โพนเพ็ก(อ.มัญจาคีรี)และอบต.แดงใหญ่ (อ.เมือง)ซึ่งออกปฏิบัติงานร่วมกับสปสช.เขต 7 ขอนแก่น นำทีมโดย อ.ดร.สมพันธ์ (ประธานกองทุนฯ เขต7ขอนแก่น) -นพ. เรืองศิลป์ เถื่อนนาดี (ผอ.สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี)และนายวิชัย มีมาก (สปสช.เขต7 ขอนแก่น) ท่านสสอ./ผช.สสอ.มัญจาคีรี และ นางทัศนีย์ ฉิมทิน (ผู้รับผิดชอบงานกองทุน สสอ.เมือง) ทั้งนี้ มี คณะกรรมการกองทุนฯ ในพื้นที่ ประกอบด้วย นายกรองนายกปลัด รองปลัดหัวหน้าสำนักปลัด_ผอ.กองคลังและผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯในพื้นที่เข้าต้อนรับและนำเสนอผลงานด้านการบริหารจัดการงานกองทุนฯปี 63/64 ได้ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ และนำเสนอ นวัตกรรมที่ภาคภูมิใจจากการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เขต 7 ขอนแก่น จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในทำงานได้อย่างราบรื่นเป็นอย่างดี

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โครงสร้างการบริหาร สปสช.เขต 7 ขอนแก่น ปี 2564

0 0
Read Time:5 Second

โครงสร้างการบริหาร งานที่แต่ละคนรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น ปี 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปฏิทินการออก statement และบัญชีโรคเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยนอกประกันสังคม ปี พ.ศ. 2564 ssop

0 0
Read Time:4 Second

อ้างอิงจาก

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) https://www.chi.or.th/
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปแนวทางปฏิบัติในการให้ประชาชนแสดงพยานหลักฐานประกอบการลงทะเบียน

0 0
Read Time:3 Minute, 1 Second
  • กรณีที่ ๑ ลงทะเบียนตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน ให้แสดงพยานหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    1. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตร หรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีเลขประจำตัวประชาชน
    2. กรณีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ให้แสดงสูติบัตรพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
    3. กรณีไม่เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนและไม่มีเอกสารอื่นใดและอายุเกิน ๑๕ ปีแล้ว เช่นกรณีบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ให้แสดงใบคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎร จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลาง (ท.ร. ๑๔/๑) โดยผู้นั้นขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎรนี้ได้จากสำนักทะเบียนราษฎรทุกแห่งทั่วประเทศด้วยตนเอง ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ (ข้อ ๔๘)
    4. กรณีเคยทำบัตรประจำตัวประชาชน แต่ปัจจุบันบัตรหายและไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด หรือบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้านกลาง และบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ให้แสดงใบคัดทะเบียนประวัติบุคคล (ท.ร. ๑๒) โดยผู้นั้นขอคัดสำเนาทะเบียนประวัติบุคคลนี้ได้จากสำนักทะเบียนราษฎรทุกแห่งทั่วประเทศด้วยตนเอง ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ (ข้อ ๔๘)
    5. กรณีผู้มีสิทธิทราบเพียงหมายเลขประจำตัวประชาชน แต่ไม่มีบัตรประชาชนหรือบัตรเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ และไม่สามารถไปคัดสำเนารายการตาม ข้อ 3 และข้อ 4 ได้ และมีเหตุจำเป็นต้องเข้ารับบริการขอให้หน่วยบริการ ดำเนินการดังนี้
      • ก.ให้บริการในครั้งนั้นโดยถือเป็นเหตุสมควร หรือฉุกเฉิน
      • ข.หากผู้มีสิทธิประสงค์จะลงทะเบียน ณ หน่วยบริการที่รับบริการ ขอให้หน่วยบริการจัดให้ผู้มีสิทธิลงทะเบียนโดย
        • ลงทะเบียนผ่านระบบ E-form ของ สปสช. (เจ้าหน้าที่หน่วยบริการแสดงสิทธิการเป็นเจ้าหน้าที่ (Authen Smart Card) เข้าผ่านระบบ Enrollment : ERM ) (right)ลงทะเบียนด้วยเลข ๑๓ หลัก ของผู้มีสิทธินั้นคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนของพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือนั้นให้คำนึงถึงความเป็นไปได้และความสามารถที่ผู้นั้นจะแสวงหาพยานบุคคลได้
        • ถ่ายรูปผู้มีสิทธิและพยานบุคคลแนบไฟล์ในระบบลงทะเบียน
      • ค.แนะนำผู้มีสิทธิและพยานบุคคลให้ไปดำเนินการตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4 ก่อนเข้ารับบริการครั้งต่อไป
  • กรณีที่ ๒ ลงทะเบียนไม่ตรงกับที่อยู่หน้าบัตรประชาชน หรือบัตรหรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ให้แสดงเอกสารตามกรณีที่ ๑ พร้อมกับแสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงว่าตนมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น เช่น
    • หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
    • หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน
    • หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
    • เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พักสัญญาเช่าที่พัก แผนที่พักอาศัยของบุคคลนั้น เป็นต้น
  • ทั้งนี้ ลักษณะของพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่กรมการปกครอง และสำนักทะเบียนกลางได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้แก่
  • (๑) ต้องเป็นผู้ที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน
  • (๒) มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งในท้องที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
  • (๓) เป็นบุคคลที่ขุมชนให้การยอมรับนับถือหรือให้การยกย่องศรัทธา
  • (๔) มีความประพฤติดีและต้องรู้จักคุ้นเคยกับผู้ร้องหรือครอบครัวของผู้ร้องเป็นอย่างดี ทั้งนี้ พยานบุคคลอาจเป็นพระภิกษุ คหบดี หรือผู้ประกอบอาชีพสุจริต โดยไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่เป็นพยานบุคคลไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น เว้นแต่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดว่าต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

กรอบเวลาขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปี2565

0 0
Read Time:44 Second
  • ตารางระยะเวลาดำเนินงานขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
  • 3 พ.ค. 2564 ประกาศใช้งานโปรแกรมการประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
  • 3 พ.ค. 2564 – 31 ก.ค. 2564 หน่วยบริการเข้าบันทึกคะแนนผ่านโปรแกรมขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
  • 31 ก.ค. 2564 (เที่ยงคืน) ปิดการใช้งานการบันทึกโปรแกรมการประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
  • 1 ส.ค. 2564 – 31 ส.ค. 2564 สปสช.เขต ตรวจสอบ อนุมัติผลการบันทึกคะแนนการประเมินหน่วยบริการ และแก้ไขคะแนนในกรณีที่หน่วยบริการทำเรื่องแจ้งขอแก้ไข
  • 1 ก.ย. – 30 ก.ย. 2564 แก้ไขคะแนนในกรณีที่หน่วยบริการทำเรื่องแจ้งขอแก้ไข
  • 30 ก.ย. 2564 (เที่ยงคืน)ปิดรอบการแก้ไข/การบันทึกคะแนนการประเมินหน่วยบริการรายใหม่
  • 1 ต.ค. – 15 ต.ค. 2564 ดำเนินการประมวลผลข้อมูลผลการบันทึกคะแนนหน่วยบริการเพื่อออกรายงาน
  • 16 ต.ค. – 31 ธ.ค. 2564 แนบแผนกรณีผ่านแบบมีเงื่อนไข กรณีผ่านโดยมีเงื่อนไขและไม่ผ่าน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

0 0
Read Time:12 Minute, 23 Second

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ ปี 2564

เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับบริการระดับปฐมภูมิ เป็นการสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ข้อ ช.(5) “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” และตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยจะทำให้เกิดการเข้าถึงบริการปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้นในหน่วยบริการและในชุมชน ทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร จากหน่วยบริการและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม(Social distancing) และลดความแออัดในหน่วยบริการ

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิที่จำเป็นสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเป็นธรรม
  2. เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing)และลดความแออัดในหน่วยบริการ

วงเงินงบที่ได้รับ

ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 421.6400 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมบริการปฐมภูมิทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงการนำร่องบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ บริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน บริการ Telehealth/Telemedicine บริการด้านการพยาบาล หรือบริการกายภาพบำบัดที่บ้านหรือในชุมชน

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

1.ค่าบริการระดับปฐมภูมิ การบริหารจัดการค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ แบ่งเป็น ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร และค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

  • 1.1 ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร จำนวน 214.0000 ล้านบาท เป็นการจ่ายเพิ่มเติมให้หน่วยบริการประจำ (ภาครัฐหรือภาคเอกชน) ตามจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และมีความพร้อมและมีศักยภาพการจัดบริการระดับปฐมภูมิ ตามเกณฑ์ศักยภาพที่กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ดังนี้
    • 1.1.1 ต้องมีข้อมูลชื่อแพทย์คู่กับประชาชน และประกาศให้ประชาชนรับทราบ
    • 1.1.2 ต้องมีทะเบียนประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อยจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงมีข้อมูลสถานะสุขภาพพื้นฐาน
    • 1.1.3 มีระบบข้อมูลรองรับการบันทึกผลงานและระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงการรับ-ส่งต่อ ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลประจำแม่ข่าย (CUP)
    • 1.1.4 หน่วยบริการประจำแม่ข่ายมีความพร้อมในการสนับสนุนบุคลากร ทรัพยากร และการจัดการของหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ

  • 1.2 ค่าบริการปฐมภูมิสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ่ายให้กับหน่วยบริการ โดยแนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายต้องผ่านความเห็นชอบ จากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ทั้งนี้ อาจปรับการจ่ายเป็นไปตามหลักการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า (Value-based Health Care) และอาจบูรณาการไปกับการจ่ายค่าใช้จ่ายในรายการบริการประเภทต่างๆ ได้

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การดำเนินงานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด โดยกลไกระดับประเทศ เขต/จังหวัด
  2. ข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และความครอบคลุมผลงานบริการที่สะท้อนการเข้าถึงบริการระดับปฐมภูมิ
  3. การกำกับติดตามการดำเนินงานของ PCC ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด โดยกลไกระดับประเทศ เขต/จังหวัด

2. บริการด้านยา และเวชภัณฑ์ (ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา และค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์)

จากนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอคอยรับยาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยให้มารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ตามข้อเสนอดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 9/2562 วันที่ 2 ก.ย. 2562 ครอบคลุมค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาและค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการร่วมกับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านเภสัชกรรม สำหรับหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 126.7700 ล้านบาท

วัตถุประสงค์

  1. ลดความแออัดในหน่วยบริการ โดยเฉพาะการรอรับยาหน้าห้องจ่ายยาของหน่วยบริการ
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านยาที่มีมาตรฐาน ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยในเขตเมือง
  3. ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยขยายบริการด้านเภสัชกรรมมาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1
  4. บูรณาการและพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลไปรับยาที่ร้านยาให้มีประสิทธิภาพลดขั้นตอนการรับส่งต่อผู้ป่วย และลดภาระงานของเภสัชกรโรงพยาบาลในการจัดเตรียมยาให้แก่ร้านยาโดยเชื่อมโยงบริการด้านยาทุกระดับตั้งแต่บ้าน ชุมชน บริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนและท้องถิ่น

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย

  1. ค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สำหรับหน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล)
    1. 1.1 หน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล) ที่เข้าโครงการโดยมีรูปแบบบริหารจัดการเครือข่ายร้านยาแบบ หน่วยบริการแม่ข่ายจัดยาให้ผู้ป่วยรายบุคคล (รูปแบบที่ 1) หรือ หน่วยบริการแม่ข่ายจัดส่งยาให้ร้านยาในเครือข่ายจัดและจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ของหน่วยบริการแม่ข่าย (รูปแบบที่ 2) หน่วยบริการแม่ข่ายจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 30 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของหน่วยบริการ มีดังนี้
      • 1) จัดเตรียมยาให้ผู้ป่วย นำส่งร้านยา และบริหารจัดการคลังยาที่ร้านยาร่วมกับร้านยา
      • 2) ประสาน ติดตาม และมีการเชื่อมต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยร่วมกับเครือข่ายหน่วยบริการ (ร้านยา หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยร่วมให้บริการประเภทอื่น)
    2. 1.2 หน่วยบริการแม่ข่าย (โรงพยาบาล) ที่เข้าโครงการ โดยร้านยารับผิดชอบในการบริหารจัดการ (จัดหายาทั้งหมดจากร้านยาองค์การเภสัชกรรมหรือจากบริษัทผู้จำหน่าย และการดูแลยาดังกล่าวในคลังร้านยา) (รูปแบบที่ 3) หน่วยบริการแม่ข่ายจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 50 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของหน่วยบริการ มีดังนี้
      • 1) การให้ความรู้ความเข้าใจและความมั่นใจแก่ผู้ป่วยในการเข้ารับบริการรับยาที่ร้านยาและคุณภาพยาที่ร้านยา
      • 2) คัดกรองผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การส่งไปรับยาที่ร้านยาและคัดเลือกร้านยาใกล้บ้านให้แก่ผู้ป่วย
      • 3) วิเคราะห์ใบสั่งยา (Prescription analysis) และค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับยา (Drugrelated problems) ตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมก่อนส่งใบสั่งยาให้ร้านยา
      • 4) กำกับติดตาม การดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยจากการให้บริการที่ร้านยา
      • 5) ประสาน ติดตาม และเชื่อมต่อข้อมูล การดูแลผู้ป่วยร่วมกับเครือข่ายหน่วยบริการ (ร้านยาหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือหน่วยร่วมให้บริการประเภทอื่นๆ) โดยอาจจะมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกล
  2. ค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ สำหรับหน่วยร่วมบริการด้านเภสัชกรรม (ร้านยา) ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ 70 บาทต่อครั้งบริการ และหรือที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีขอบเขตหน้าที่จัดและจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด อ้างอิงตามประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 56/2563 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม
    1. 2.1 จัดทำทะเบียนผู้ป่วย (Patient registration) และ แฟ้มประวัติผู้ป่วย (Patient profile)
    2. 2.2 ประเมินความเหมาะสมการใช้ยา ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ สมุนไพร ประเมินอาการอันไม่พึงประสงค์จากยา ให้คำแนะนำการบริหารยา การจัดการเมื่อผู้ป่วยลืมใช้ยา การเก็บรักษายา
    3. 2.3 การทบทวนประวัติการใช้ยา (Review drug profile) เพื่อป้องกันปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนจากหน่วยบริการหลายแห่ง และการจัดการยาเหลือ และยาหมดอายุให้ผู้ป่วย
    4. 2.4 ให้บริการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทางเภสัชกรรม และประสานกับโรงพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย
ทั้งนี้ อัตราการจ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ที่ร้านยาเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาและดูแลเพื่อให้บริการกับผู้ป่วยในโครงการเป็นไปตามที่ สปสช.กำหนด

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. ผลการให้บริการที่ร้านยา แยกตามหน่วยบริการและร้านยาในโครงการ ของแต่ละเครือข่าย
  2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่รับบริการ ณ ร้านยาในเครือข่าย

3. ค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน

เพื่อลดความแออัดในหน่วยบริการ และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกำหนดให้หน่วยบริการ และหน่วยบริการอื่นมีสิทธิได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ โดยจ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยรายเก่าที่บ้าน ตามจำนวนผลงานบริการในอัตราไม่เกิน 50 บาท ต่อครั้งบริการ รายละเอียดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตรา และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด

4. ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) จำนวน 16.4700 ล้านบาท สำหรับหน่วยบริการที่ความพร้อมในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  1. เพิ่มการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและลดความแออัดในการรับบริการ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณสุขโดยการปรับรูปแบบบริการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะ New normal โดยในระยะเริ่มต้นการดำเนินงานจะมีพื้นที่เป้าหมายนำร่องในหน่วยบริการที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัล ในการพิสูจน์ตัวตน การนัดหมาย และการจ่ายเงิน ที่เชื่อมต่อข้อมูลกับ สปสช.ได้

ขอบเขตบริการ

เป็นบริการสาธารณสุขระบบทางไกลจากผู้ประกอบวิชาชีพในหน่วยบริการกับผู้รับบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ป่วยรายเก่าในหน่วยบริการมีอาการคงที่และควบคุมโรคได้ดี โดยการให้บริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพประกาศกำหนด

คุณสมบัติหน่วยบริการที่ให้บริการ

  1. เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความพร้อมของเทคโนโลยีดิจิทัล หรือApplication ในการพิสูจน์ตัวตน การนัดหมาย และการจ่ายเงิน ที่เชื่อมต่อกับข้อมูลของ สปสช.ได้
  2. มีผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความพร้อมในการให้บริการสาธารณสุขทางไกล ตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพ หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. มีมาตรฐานการให้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกลตามประกาศกำหนด

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย

จ่ายให้หน่วยบริการ เป็นค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) โดยจ่ายตามรายการบริการ ตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การบริหารจัดการและกำกับคุณภาพบริการ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลไกอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  2. กำกับมาตรฐานการให้บริการและระบบบริการโดยองค์กรวิชาชีพและกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ศึกษาประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอใจการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการที่นำร่อง องค์กรวิชาชีพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. ค่าบริการสาธารณสุข สำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์หรือด้านกายภาพบำบัด ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด จำนวน 10.0000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้แก่ประชาชน ดังนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพิ่มการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ ด้านการบริการพยาบาลพื้นฐาน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันแก่ประชาชนทั้งเชิงรับและเชิงรุก
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการกายภาพบำบัดในชุมชนที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ในกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่มโรคได้แก่ หลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury)
  3. ปรับรูปแบบบริการปฐมภูมิ/กายภาพบำบัด ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะ New normal

เป้าหมาย

  1. พื้นที่นำร่องคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และคลินิกกายภาพบำบัด เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในพื้นที่เขตเมืองใหญ่ เขตปริมณฑล และเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก
  2. นำร่องดำเนินการในคลินิกกายภาพบำบัดที่เป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในพื้นที่เขตเมืองใหญ่เขตปริมณฑล และเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ขอบเขตบริการ และคุณสมบัติหน่วยบริการ

  1. คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการขอบเขตบริการ เป็นบริการการพยาบาลขั้นพื้นฐาน และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามขอบเขตวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในหน่วยบริการและในชุมชน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด คุณสมบัติของหน่วยบริการร่วมให้บริการ ด้านคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
    • 1) เป็นคลินิกการพยาบาลฯ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
    • 2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
    • 3) มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ อย่างน้อย 1 คน และเปิดให้บริการ วันละ 4-6 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    • 4) มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์
    • 5) มีการเชื่อมโยงบริการกับหน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ
    • 6) มีความพร้อมของระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ สปสช.
  1. คลินิกกายภาพบำบัด ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ ขอบเขตบริการ เป็นบริการกายภาพบำบัดในหน่วยบริการและในชุมชน โดยเน้นบริการกายภาพบำบัด ในชุมชน ในกลุ่มผู้ป่วย 3 กลุ่มโรค ได้แก่ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยสมองได้รับบาดเจ็บ (Traumatic brain injury) ผู้ป่วยไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ (Spinal cord injury)

คุณสมบัติของหน่วยบริการร่วมให้บริการ ด้านกายภาพบำบัด มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

  • 1) เป็นคลินิกกายภาพบำบัด ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
  • 2) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
  • 3) มีนักกายภาพบำบัดปฏิบัติงานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ อย่างน้อย 1 คน
  • 4) มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการ และให้บริการกายภาพบำบัดตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
  • 5) มีการเชื่อมโยงการบริการกับหน่วยบริการประจำ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อ
  • 6) มีความพร้อมของระบบข้อมูลที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ สปสช.

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด โดยจ่ายตามรายการบริการตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  • 1) กำกับการดำเนินงานของคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด โดยหน่วยบริการประจำ
  • 2) พัฒนาศักยภาพพยาบาลและผดุงครรภ์ นักกายภาพบำบัด และกำกับติดตามการดำเนินงานของคลินิก โดยสภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัด
  • 3) การบริหารจัดการและกำกับคุณภาพบริการ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตและกลไกอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  • 4) ศึกษาประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับสภาการพยาบาล สภากายภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Happy
1 33 %
Sad
2 67 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version