หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติอุปกรณ์ใช้เก็บของเสีย

0 0
Read Time:30 Second

การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติในการเลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ใช้เก็บของเสียในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม(Colostomy bag) ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วันจันทร์ที่ 11 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 12.00 น.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงกรณี เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ สิทธิUC

0 0
Read Time:46 Second

ชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฉุกเฉินภาครัฐ ในวันที่ 24 เมษายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.

  • แนวทางการดำเนินการ กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่” ในหน่วยบริการภาครัฐ นายแพทย์เติมชัย เต็มยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช.
  • หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณี UCEP ภาครัฐ
  • การบันทึกข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในโปรแกรม e-Claim ฝ่ายบริหารหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล
  • แนวทางการตรวจสอบเวชระเบียน
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางเบิกจ่ายสำหรับรพ.สต.ถ่ายโอน

0 0
Read Time:2 Minute, 42 Second

การประชุมชี้แจงการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการ รพ.สต./ สอน.ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ในเขตพื้นที่ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 25666 เวลา 08.30 – 16.30 น.ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และทิศทางนโยบายการบริหารจัดการกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นายแพทย์ดุสิต ขำชัยภูมิ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น
ภาพรวมการจัดการกองทุน สปสช. การเชื่อมโยง ระบบบริการปฐมภูมิ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ รพ.สต. การจัดทำ MOU โดย นายวีระศักดิ์ ชนะมาร ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม

ชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ตามผลงานการบริการบริการแพทย์แผนไทย, บริการ PP Fee schedule โดย คุณภาคภูมิ คนรู้ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

งบค่าบริการทางแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว OP PP, บริการผู้ป่วยนอกเหตุสมควร (OP Anywhere) , บริการผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉินข้ามจังหวัด , สิทธิการรักษา อปท. โดย คุณนาฏญา สังขวัฒน์ ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ และคุณนุจรินทร์ เนื่องสมศรี นักบริหารกองทุน

การยืนยันตัวตนในการเข้ารับบริการ ระบบ Authen โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การขอเข้าใช้โปรแกรม Username password โดย คุณณัฐพล ชัยศิริถาวรกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม Moph Claim โดย คุณภาวิกา ภัทรธิชาสกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การส่งข้อมูลเบิกชดเชยค่าบริการ eClaim ออนไลน์ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดทำข้อมูลยามาตรฐาน Drug catalogue โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม KTB โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบการตรวจสอบ audit โปรแกรม Audit PP โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การตรวจสอบการได้รับงบประมาณ รายงานการโอนงบประมาณ Smart Money Transfer , รายงาน Statement ,การส่งใบเสร็จ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบ Monitor ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แนะนำองค์กรและการประสานงาน โดย คุณอภิศักดิ์ เข็มพิลา ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปิดยอดประกันรายรับปี 65 และหลักการbasic payment ปี 66

0 0
Read Time:8 Second

ปิดยอดประกันรายรับปี 65 และหลักการbasic payment ปี 66

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

บัตรทองไปที่ไหนก็ได้ ปี2565

0 0
Read Time:4 Minute, 58 Second

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควรฯ

ตามหนังสือที่ สปสช. ๖.๗๐ / ว.๘๓๘๓ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ (ไฟล์ด้านล่าง)

แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร พ.ศ. ๒๕๖๔

เพื่อให้การจ่ายค่าใช้จ่ายในการให้บริการสาธารณสุข กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายในกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

นิยาม

  • “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • “ผู้มีสิทธิ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • “การรับบริการกรณีที่มีเหตุสมควร” หมายความว่า การเข้ารับบริการที่เป็นความจำเป็นของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการอื่นนอกจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่ รวมถึงการใช้สิทธิของบุคคลซึ่งลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำนอกเขตพื้นที่ซึ่งมีรอยต่อกับเขตพื้นที่ดังกล่าว

หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณี ที่มีเหตุสมควร ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • (๑) เป็นการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • (๒) เป็นการเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก โดยไม่มีหนังสือส่งตัว ไม่ใช่กรณีนัดหมายและไม่ใช่กรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน ในกรณีดังต่อไปนี้
    • (๒.๑) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัด เป็นการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิ ที่มีหน่วยบริการประจำในจังหวัด โดยเข้ารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเทียบเท่า ตามรายชื่อที่กำหนด ที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดเดียวกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ
    • (๒.๒) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามจังหวัด ภายในเขต เป็นการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการทุกระดับที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ แต่อยู่ภายในเขตเดียวกัน
    • (๒.๓) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามเขตกรณีเขตพื้นที่รอยต่อ เป็นการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการทุกระดับ
  • (๓) สำหรับการรับบริการตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป

อัตราการจ่าย

สปสช.จ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดบริการสาธารณสุข ตามรายการ และอัตรา ดังนี้

  • (๑) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัด
    • การเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาล ที่มีศักยภาพเทียบเท่า ตามรายชื่อที่กำหนด ที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดเดียวกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ สปสช.จะจ่ายค่าใช้จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด ตามเอกสารแนบท้าย กรณีที่ยังไม่ได้กำหนดรายการ และอัตราจะจ่ายตามราคาเรียกเก็บ ด้วยระบบ Point system with Global budget
    • เว้นแต่ การเข้ารับบริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่าย และการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดเดียวกับหน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ การรับค่าใช้จ่ายและอัตราการจ่ายเป็นไปตามข้อตกลงในจังหวัด
  • (๒) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามจังหวัด ภายในเขต สปสช.จะจ่ายค่าใช้จ่าย ดังนี้
    • ก. การรับบริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่ไม่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ หรือมีแพทย์ปฏิบัติงานประจำไม่ครบจำนวน ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน ๗๐ บาทต่อครั้ง สำหรับบริการทันตกรรม จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด
    • ข. การรับบริการในหน่วยบริการอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด ตามเอกสารแนบท้าย กรณีที่ยังไม่ได้กำหนดรายการและอัตรา จะจ่ายตามราคาเรียกเก็บ ด้วยระบบ Point system with Global budget
  • (๓) การเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ข้ามเขตกรณีเขตพื้นที่รอยต่อ สปสช.จะจ่ายค่าใช้จ่าย ดังนี้
    • ก. การรับบริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่ไม่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ หรือมีแพทย์ปฏิบัติงานประจำไม่ครบจำนวน ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามจริงไม่เกิน ๗๐ บาทต่อครั้ง สำหรับบริการทันตกรรม จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด
    • ข. การรับบริการในหน่วยบริการอื่นนอกเครือข่าย กรณีหน่วยบริการที่มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ ๕ วันต่อสัปดาห์ จ่ายตามรายการและอัตราที่กำหนด ตามเอกสารแนบท้าย กรณีที่ยังไม่ได้กำหนดรายการและอัตรา จะจ่ายตามราคาเรียกเก็บ ด้วยระบบ Point system with Global budget

วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

บันทึกและส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ผ่านระบบโปรแกรม e-Claim

เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

  • (๑) มีการพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการ หรือตามที่ สปสช.กำหนด
  • (๒) สปสช.จะมีการตรวจสอบก่อนการจ่ายค่าใช้จ่าย (Pre-audit) ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากตรวจสอบ ข้อมูลรายการนั้นจะชะลอการจ่ายค่าใช้จ่าย เพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการจากหน่วยบริการต่อไป

การติดต่อประสานงาน

กรณีพบปัญหาข้อสงสัย หน่วยบริการสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๕๕๔-๐๕๐๕ ในวันและเวลาราชการ หรือ e-mail : providercenter@nhso.go.th

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการเรียกเก็บผู้ป่วยนอก ปี2565

0 0
Read Time:4 Minute, 26 Second

แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๖๕

แนวทางการเรียกเก็บ/ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัดขอนแก่น

กรณีเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จากงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น

(เริ่มเดือน 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป)
(ยกเลิกหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ว 1430 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2563)
  1. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลชุมแพ และโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น ลงบันทึกข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยเป็นรายเดือน (ตัดยอดข้อมูล 1-30 ของเดือน) และต้องเป็นผู้ป่วยที่ไม่เบิกค่าบริการฯ ซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบ นค.1 ขอนแก่น เป็น Electronic File โปรแกรม Exce โดยใช้อัตราค่าบริการของกรมบัญชีกลาง ตามประกาศระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาในสถานพยาบาลของทางราชการ
  2. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป เอกสาร/ข้อมูลประกอบการเรียกเก็บ มีดังนี้
    • 2.1 หนังสือราชการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
      • ระบุการให้บริการประจำเดือน ทีให้บริการ
      • จำนวนครั้ง (Visit) ที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ
      • จำนวนเงินค่าใช้จ่ายจริงทั้งสิ้น
      • จำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ (ตรวจสอบให้สอดคล้องกับข้อมูลด้วย)
      • หมายเลขบัญชี และสาขา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อรับเงินโอน
    • 2.2 แบบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก นค.1 ขอนแก่น ที่มีการลงนามรับรองจากเจ้าหน้าที่การเงิน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
    • 2.3 ข้อมูลตามแบบ นค.1 ขอนแก่น ที่เป็น Electronic File โปรแกรม Excel ส่งไปที่ E-mail address : tanya.maksong@gmail.com ทั้งนี้ สามารถ Download แบบ นค.1 ขอนแก่น ได้ที่ไฟล์แนบด้านล่าง
    • 2.4 กรณีเรียกเก็บค่า MRI&CT เพิ่มเติมของโรงพยาบาลขอนแก่น สิรินธรฯ ชุมแพ น้ำพอง พล และ กระนวน ให้จัดส่งสำเนาเอกสารใบสั่งตรวจ (Recuest For X-Ray) รพ.ขอนแก่น และใบสั่งตรวจพิเศษฯ ของบริษัท และผลตรวจฯ ในรูปแบบเอกสาร และอิเลคทรอนิคส์ไฟล์ ตามแบบ นค. 1 ให้กองทุนจังหวัดตรวจสอบ/พิจารณาจ่ายค่าตรวจฯ เพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยใบสั่งตรวจ (Request For X- Ray) ของ รw.ขอนแก่น ต้องระบุรพ. ที่จะให้ไปตรวจ CT พร้อมทั้งให้กำหนดวันนัดฟังผลตรวจ CT ดังกล่าวไว้ด้วย
    • 2.5 กรณีเรียกเก็บประเภทผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับบริการที่หน่วยบริการระดับปฐมภูมินอกเครือข่ายหน่วยบริการประจำภายในจังหวัดขอนแก่น กรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งต่อ อ้างอิงตามหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ ว 2112 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)
      • หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) รวบรวมข้อมูลตามแบบ นค.1 (สำหรับหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ)สรุปรวมเป็นภาพรวม CUP ที่มีการลงนามรับรองจากผู้รับผิดชอบงาน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
      • ส่งไปยังกลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ภายในวันที่ 20 ของเดือน ไปยัง E-mail.: tanya.maksong@gmail.com โดยจัดทำหนังสือราชการเรียกเก็บแยกส่งจากข้อมูลตามแบบ นค.1 ที่โรงพยาบาลให้บริการผู้ป่วยนอก สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีส่งต่ออุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดรายเดือน
      • กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชุดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) เพื่อพิจารณาจัดสรรค่าบริการทางแพทย์ให้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในลำดับต่อไป
  3. กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสารารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการที่เรียกเก็บๆ เป็นรายเดือน หน่วยบริการสามารถตรวจสอบรายละเอียดการโอนเงินได้ที่ http://www.nhso.go.th/เลือก เมนู -→ หน่วยบริการ > NHSO Budget →> รายงานการจ่ายเงินกองทุน

หมายเหตุ

  1. ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผู้ประกันตนคนพิการ ขอให้หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บไปยังหน่วยบริการที่ผู้ป่วยลงทะเบียนสิทธิตามหน้าเว็ปไซต์ตรวจสอบสิทธิของ สปสช.
  2. ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนสิทธิโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร ขอให้หน่วยบริการ ที่ให้บริการผู้ป่วย ส่งเอกสารไปเรียกเก็บที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร โดยตรงเนื่องจากไม่ได้กันเงินไว้จังหวัด ทั้งนี้ อัตราชดเชยค่าบริการกำหนดจ่ายตามข้อตกลงของกองทุนจังหวัดขอนแก่นหรือตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างกันเอง

เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

อัตราค่าบริการผู้ป่วยนอก ในจังหวัดปี65

0 0
Read Time:2 Minute, 46 Second

อัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ/อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ภายในจังหวัดขอนแก่น ปี 2565

ตามหนังสือ ที่ ขก.0032.005/ว2927

ตามมติที่ประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม แนวทางการบริหารกองทุน ผู้ป่วยนอกสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น) กำหนดแนวทางการเรียกเก็บและอัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน สำหรับหน่วยบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น ปี 2565 ดังนี้

เริ่มใช้ตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

  1. รพศ.ขอนแก่น ค่ายา และอื่นๆ จ่ายตามจริงไม่เกิน 800.-บาท/Visit โดยจ่ายเพิ่มเติม ค่าตรวจ MRI จ่ายตามจริงที่เรียกเก็บ ไม่เกินราคากลางตามรายการของกรมบัญชีกลาง และ
    ค่าตรวจ CT ตามอัตราจ่ายตามข้อตกลง ตามเอกสารแนบท้าย
  2. รพท.สิรินธร จ.ขอนแก่น ค่ายา และอื่นๆ จ่ายตามจริงไม่เกิน 500.-บาท/Visit
  3. รพท.ชุมแพ ค่ายา และอื่นๆ จ่ายตามจริงไม่เกิน 500.-บาท/Visit
  4. รพช. ทุกแห่ง เหมาจ่าย 250.-บาท/Visit
  5. รพ.ค่ายศรีพัชรินทร เหมาจ่าย 250.-บาท/Visit
  6. รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • กรณีส่งต่อ เรียบเก็บจาก สปสช.โดยส่งข้อมูลในระบบโปรแกรม e-Claim OP Refer
    • กรณีอุบัติเหตุ/ ฉุกเฉิน รวมสิทธิผู้พิการ/ทหารผ่านศึก จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 1,400.-บาท/Visit
  7. ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาจ่าย 1,550.-บาท/Visit
  8. คณะทันตแพทยศาสตร์ เหมาจ่าย 250.-บาท/Visit
  9. รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เหมาจ่าย 400.-บาท/Visit
  10. รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น เหมาจ่าย 320.-บาท/Visit
  11. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาจ่าย 500.-บาท/Visit
  12. หากโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสิรินธรฯ และโรงพยาบาลชุมแพ ส่งผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนสิทธิ UC ของตนเอง เพื่อส่งตรวจ MR ให้ส่งเบิกค่าตรวจไปยังกองทุนจังหวัด จ่ายอัตราจ่ายตามข้อตกลง แต่ไม่เกินราคากลางตามรายการของกรมบัญชีกลาง
  13. กำหนดให้ รพ.สิรินธรฯ ชุมแพ น้ำพอง พล และ รพร.กระนวน เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ รพ ขอนแก่น ให้นัดตรวจ CT โดยให้ผู้ป่วยสามารถนำใบสั่งตรวจ (Request For X- Ray) ไปใช้บริการตรวจ CT ได้ทั้ง 5 แห่ง ตามที่ รพ.ขอนแก่นระบุ พร้อมทั้งให้กำหนดวันนัดฟังผลตรวจ CT ดังกล่าวไว้ด้วย อัตราจ่ายค่าตรวจตามข้อตกลง ตามเอกสารแนบท้าย
  14. หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น จ่ายตามจริงไม่เกิน 70 บาท/Visit

หมายเหตุ

  1. อัตราค่าบริการทางการแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร ให้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีระหว่างกันเอง
  2. พื้นที่รอยต่อระหว่างโรงพยาบาลในจังหวัดขอนแก่น ให้เรียกเก็บค่าบริการระหว่างกันเอง ตามข้อตกลงของจังหวัดขอนแก่น ปี 2560

กลุ่มงานประกันสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงฯ วันที่9ก.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 42 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น วันที่ 9 ก.ค. 2564 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ วาระประกอบด้วย

  • แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (เพิ่มเติม)
  • แนวทางการบันทึกข้อมูล ผ่านโปรแกรม e-claim

ข้อมูลการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ข้อมูลการจ่าย 9 เมษายน 2563 ถึง 27 มิถุนายน 2564)

หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง

การบันทึกเบิกจ่ายในโปรแกรม e-Claim กรณี COVID-19

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)

0 0
Read Time:3 Minute, 57 Second

ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โดยยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพในการรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่มีความพร้อมและการย้ายหน่วยบริการได้ ๔ ครั้งต่อปีได้สิทธิทันที (ไม่ต้องรอ ๑๕ วัน) ทั้งนี้ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขสู่การปฏิบัติ เขตสุขภาพที่ ๗ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ในการขับเคลื่อนนโยบายยกระดับ ทั้ง ๔ เรื่อง โดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป นั้น

สำหรับนโยบายข้อที่ ๑ ด้านประชาชนที่เจ็บบ่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัวในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ได้มีการขยายพื้นที่ดำเนินการในพื้นที่เขตภาคอีสาน (เขต ๗ ๘ ๙ และ เขต ๑๐) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งประกาศ เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกาศ ณ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๔ ผู้เข้ารับบริการสามารถใช้สิทธิบริการสาธารณสุขเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของผู้มีสิทธิในหน่วยบริการอื่นนอกจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เขตภาคอีสาน ให้ถือเป็นกรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งตัว ตามเงื่อนไขที่กำหนด และได้แจ้งแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ สำหรับพื้นที่รอยต่อยังให้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงเดิมของแต่ละพื้นที่ โดยให้หน่วยบริการถีอปฏิบัติตั้งแต่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในการใช้บริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิอื่นนอกเครือข่ายในพื้นที่เขตภาคอีสาน โดยจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการตามจริงไม่เกิน 70- บาท/Visit ทั้งนี้ สำหรับกรณีการใช้บริการนอกเครีอข่ายหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิ ประเภทผู้ป่วยนอก ในจังหวัด กำหนดให้เป็นไปตามข้อตกลงของจังหวัด ดังนั้น กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงได้เสนอผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (กวป.) ประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ กำหนดอัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก เพิ่มเติมกรณีที่มีเหตุสมควร ระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น อัตราจ่ายตามจริงไม่เกิน 70 บาท/Visit อัตราจ่ายเช่นเดียวกันกับในเขตพื้นที่ภาคอีสาน โดยตามจ่ายด้วยเงินกองทุน OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงขอส่งแนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เข้ารับบริการระดับปฐมภูมิ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรภายในจังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งอัตราค่าบริการทางการแพทย์ (เพิ่มเติม) โดยถือปฏิบัติตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบงาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ รวบรวมข้อมูลบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ(รพ.สต.) ทุกแห่ง ตามแบบ นค.๑ (สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ให้บริการตั้งแต่ 1 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2564 ส่งให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 และให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) ส่งไปยังกลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 หากไม่ส่งข้อมูลตามกำหนด จะถือว่าไม่ประสงค์จะะเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ในห้วงเวลาที่กำหนด ดังกล่าว และครั้งต่อไปให้ส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ และ ๔
  2. หน่วยบริการที่ให้บริการโรงพยาบาลทั่วไป/ โรงพยายาลศูนย์ และหน่วยบริการอื่นที่เข้าร่วมโครงการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกกรณีที่มีเหตุสมควรโดยไม่มีใบส่งตัว ให้ส่งข้อมูลบริการเรียกเก็บไปยัง สปสซ.ผ่านระบบ E-Claim กำหนดจ่ายตามรายการ Fee schedule และ Fee for sevice with point system รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒
  3. โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินภายในจังหวัดขอนแก่น เช่นเดิม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารแนวทางเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิษัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)

0 0
Read Time:1 Minute, 22 Second

ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ 0032.005/ว2112 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เรื่องแนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิษัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม) และสิ่งที่ส่งมาด้วยซึ่งประกอบไปด้วย

  • สำเนาประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งซาติ เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิ์ได้รับ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
  • สำเนาหนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว ๓๐๕๘ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสานฯ
  • แนวทางการเรียกเก็บ/ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติประเภทผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับบริการที่หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
  • อัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยนอก ในจังหวัดขอนแก่น
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version