ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันปี66

0 0
Read Time:1 Minute, 39 Second

ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 9.30-13.00 น.

วาระประชุม

  • ๑.ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย รศ.ดร.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการ สปสช.
  • ๒. สถานกรณ์ การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่าง สปสช.และศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ โดย นางสาวดวงนภา พิเชษฐ์กุล ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. และนางกรรณิการ์ ปัญญาอมรวัฒน์ ประธานคณะทำงานพัฒนาและกำกับติดตามการดำเนินการของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน
  • ๓. คุณูปการ คุณค่า ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการทบทวนบทบาทหน้าที่ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการ ควรดำเนินงานต่ออย่างไร โดย ผู้แทนผู้ดำเนินงาน ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
    • ๑) นางอันธิกา คะระวานิช โรงพยาบาลตราด จ.ตราด
    • ๒) นางสิริวิภา โรจนรัตนางกูร โรงพยาบาลเชียงยืน จ.มหาสารคาม
  • ดำเนินรายการโดย นางสาวเครื่อออน มานิตยกูล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ สปสช.เขต ๑ เชียงใหม่
  • ๔. สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ (ผลสำรวจ google form) /ทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน
  • ๕. แลกเปลี่ยน รับฟังข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ร่วมกับ สปสช. โดย นางชนทิพย์ มารมย์ ผู้อำนวยการกอง ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
  • ๖. สรุปผลการประชุมหารือและแจ้งกำหนดการดำเนินงานร่วมกันในระยะต่อไป โดย นางจารุภา คชบก นักวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงคุ้มครองสิทธิปี66

0 0
Read Time:17 Second

เอกสารประกอบการ ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ปีงบประมาณ 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงการคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

0 0
Read Time:26 Second

เอกสารประกอบการประชุมชี้แจง การคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 12 ตุลาคม 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมม.41 จ.ขอนแก่น ครั้งที่9/2564

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมแพทย์แผนไทยสสจ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลานพ.สสจ.ขอนแก่น ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการ ม.41 จ.ขอนแก่น ครั้งที่9/2564 มีคำร้องเข้าพิจารณา 4 คำร้องมีมติ ดังนี้

  1. กรณีทารกอายุ 1เดือน คลอดที่ รพช.ด้วยเครื่องดูดสูญญากาศ คลอดติดไหล่ 90 วินาที หลังคลอด แขนและไหล่ขวาไม่ขยับ ตรวจพบกระดูกไหปลาร้าขวาหัก มีภาวะตัวเหลืองร่วมกับภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ส่งต่อรพศ.ตรวจพบแขนงประสาทแขนขวาบาดเจ็บไม่สามารถยกไหล่ งอศอก กระดกข้อมือและขยับนิ้วขวาได้ ส่งต่อรพ.ศรีนครินทร์เพื่อการผ่าตัดรักษา
    • มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 216,000บาทและช่วยเศรษฐานะ จำนวน 24,000บาท รวมจำนวน240,000บาทตามข้อบังคับข้อ6(2)
  2. กรณี มารดาอายุ31ปี ตั้งครรภ์หลังทำหมันที่ รพช.
    • มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯจำนวน60,000บาท
  3. กรณีมารดาอายุ33ปี ตั้งครรภ์หลังทำหมัน ที่ รพศ.
    • มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯจำนวน60,000บาท
  4. กรณีมารดาอายุ23ปี ตั้งครรภ์ หลังทำหมันที่ รพท.
    • มีมติไม่จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯเนื่องจากในเวชระเบียนการรักษามีบันทึกการถ่ายภาพการตัดท่อนำไข่ ถือเป็นพยาธิสภาพของโรค
**กรณีที่2)และ3)ถือเป็นเหตุสุดวิสัยฯเนื่องจากไม่มีหลักฐานสนับสนุนการตัดท่อนำไข่
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รวมแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

0 0
Read Time:3 Minute, 24 Second

แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41.

ผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สามารถยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย

แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตาม ม.18(4)

การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการในระบบหลักประกันสขภาพถ้วนหน้าตามมาตรา ม.18(4)

  • ความเสียหายที่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาช่วยเหลือเบื้องต้น ต้องเป็นความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข หรือจากการช่วยเหลือสนับสนุนการให้บริการสาธารณสุข
  • การพิจารณาความเสียหายและอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือ ตามกำหนดในข้อ 29 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
    1. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
    2. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท
    3. กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ระยะเวลาการยื่นคำร้อง ยื่นภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย

แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019(COVID-19))

คำแนะนำ

  1. ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้รับบริการ หรือ ทายาท ผู้อุปการะ(กรณีไม่มีทายาท)ที่ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลหรือดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ
  2. สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ รพ.สต. โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่
  3. ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย
  4. หน่วยงานที่แจ้งผลการพิจารณา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดที่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

แนวทางการดำเนินการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2562)

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงแนวทางการดำเนินการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยปรับลดขั้นตอนให้มีความกระชับมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข พ.ศ. 2561 และจัดทำเป็น แนวทางการดำเนินการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2562)

ทั้งนี้ ได้แจ้งเวียนส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบและแจ้งผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไปตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0208.07/ว 2462 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 รวมทั้งได้เผยแพร่เอกสารไว้บนเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (https://hr.moph.go.th)

Happy
6 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

มอบเช็ค ม.41 เดือน พ.ค.64 จำนวน 2ราย

0 0
Read Time:42 Second

วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.30 น. ณ อาคารใหม่ชั้น2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มอบเช็คเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ม.41 แก่ผู้ยื่นคำร้อง ประจำเดือน พ.ค.64 จำนวน 2ราย ได้แก่

  • 1)กรณีตั้งครรภ์หลังทำหมัน จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 60,000บาท ตามข้อตกลง 6(3)
  • 2)กรณี ผป.ติดเชื้อในกระแสเลือด ได้รับผลกระทบจากการรักษาต้องตัดแขน2ข้างและขา2ข้าง จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 360,000บาท ตามข้อตกลง6(1)

ในโอกาสนี้ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นได้พูดคุยให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการและญาติ รวมทั้งให้กำลังใจแก่บุคลากรผู้ปฎิบัติงานของกลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น

ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงค่ะ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุม ม.41 วันที่22มิ.ย.64

0 0
Read Time:1 Minute, 51 Second

วันที่ 22 มิ.ย. 2564 เวลา 13.00-16.30 น. นายแพทย์สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และหัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (ม.41) ณ ห้องประชุมแพทย์แผนไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มติการประชุมฯ พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือฯ จำนวน 3 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 580,000 บาท ดังนี้

  • รายที่ 1 ชายไทย อายุ 71 ปี เข้ารับการรักษา รพช. ด้วยอาการปวดบวมแดงร้อน ที่เท้าขวา ร่วมกับมีไข้ ได้รับการรักษาโดยการไปฉีดยาปฏิชีวนะอาการไม่ดีขึ้น ส่งรักษาต่อที่ รพศ. มีภาวะเนื้อตายที่นิ้วเท้าและต้องได้ตัดนิ้วเท้า 3 นิ้ว มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 80,000 บาท ตามข้อบังคับ ข้อ 6(3)
  • รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 52 ปี เข้ารับการรักษาที่ รพท. ด้วยอาการตกจากที่สูง กระดูกซี่โครงหัก นอนรักษาใน รพท. อาการดีขึ้นแพทย์ให้กลับบ้าน และ 2 วันต่อมามีอาการหายใจไม่ออก หมดสติ เข้ารักษาที่รพท.อีกครั้ง และส่งต่อรักษาที่ รพศ.จึงพบว่ามีภาวะลิ่มเลือดแข็งตัวอุดตันปอดและปอดรั่ว ซึ่งทำให้ต้องรักษาเวลานานขึ้น มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 90,000 บาท ตามข้อบังคับ ข้อ 6(3) แต่เมื่อพิจารณาถึงการรักษาที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเป็นเวลานาน ทำให้ขาดโอกาสในการหารายได้ จึงเพิ่มเติมเงินให้อีก ร้อยละ 10 เป็นเงิน 10,000 บาท รวมมีมติจ่ายทั้งสิ้น 100,000 บาท
  • รายที่ 3 ชายไทย อายุ 84 ปี มีภาวะกลืนอาหารลำบากเข้ารับการรักษาที่ รพช. อาการไม่ดีขึ้น จึงส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยที่ รพศ. แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดสารอาหารรุนแรงจึงให้การรักษาโดยให้อาหารเหลว 100 ซีซี เพื่อรอการตรวจวินิจฉัยในวันรุ่งขึ้น ภายหลังได้รับอาหารเหลว 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยหมดสติ ได้รับการช่วยชีพฟื้นคืนชีพ และต่อมาเสียชีวิต มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 360,000 บาท ตามข้อบังคับ ข้อ 6(1)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

มอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ม.41 ประจำเดือน เม.ย.64

0 0
Read Time:1 Minute, 13 Second

วันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 08.30 น. ณ อาคารใหม่ชั้น2 สสจ.ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มอบเช็คเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ม.41 แก่ผู้ยื่นคำร้อง ประจำเดือน เม.ย. 2564 จำนวน 6 ราย ดังนี้

  1. กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ เข้ารักษาในโรงพยาบาลศูนย์เสียชีวิตหลังการผ่าตัดกราม จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 360,000 บาท
  2. กรณีมารดาตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ ส่งต่อจากโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง เพื่อผ่าตัดคลอดฉุกเฉินที่โรงพยาบาลศูนย์เสียชีวิตหลังผ่าตัด จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 400,000 บาท
  3. กรณีผป.เบาหวานและความดันโลหิตสูง ป่วยติดเตียง เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง พลัดตกจากเตียง ขณะรอตรวจ กระดูกต้นแขนขวาหัก จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 60,000 บาท
  4. กรณีตั้งครรภ์หลังทำหมัน ที่โรงพยาบาลชุมชนจ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 60,000 บาท
  5. กรณีมารดาตกเลือดหลังคลอด ได้รับการผ่าตัดมดลูก ที่โรงพยาบาลศูนย์และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 360,000 บาท
  6. กรณีผป.เด็ก3ปี รักษาที่โรงพยาบาลชุมชน3วันอาการไม่ดีขึ้นใส่ท่อช่วยหายใจและส่งต่อโรงพยาบาลศูนย์ต่อมาเสียชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 360,000 บาท

ในโอกาสนี้ท่าน นพ.สสจ.ได้พูดคุย ให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการและญาติทุกคน

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว (ม.41และม.18(4))

0 0
Read Time:3 Minute, 26 Second

เงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหาย จากการรักษาพยาบาล และผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการในอันที่จะร่วมกันคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุข

วงเงินงบที่ได้รับ

เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ได้รับจำนวน 3.84 บาทต่อผู้มีสิทธิ สำหรับผู้มีสิทธิ 47.6440 ล้านคน

แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการ

  1. ผู้รับบริการ
    1.1 ผู้รับบริการ หมายถึง ประชาชนที่มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้รับบริการ ตามมาตรา 41 ที่กำหนดว่า “ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล ของหน่วยบริการโดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด”
    1.2 ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ในข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามคู่มือ“แนวทางการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มาตรา 41” ที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขได้จัดทำขึ้น และ ตามคู่มือ ”ดำเนินงานมาตรา 41” สำหรับฝ่ายเลขานุการ ที่สำนักกฎหมายจัดทำขึ้น โดยสามารถ Download ได้ที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมาย สปสช. http://law.nhso.go.th
  2. ผู้ให้บริการ
    เงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการผู้รับบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยหลักเกณฑ์การจ่ายเป็นไปตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงิน และรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 (ประกาศ กระทรวงสาธารณสุขฯ ตามคำสั่ง คสช.) โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. เป็นการติดตามเพื่อให้การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนกรณีผู้ให้บริการ เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ตามคำสั่ง คสช.
  2. สปสช.เขต สรุปข้อมูลผลการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ของคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (คณะอนุกรรมการฯ) ระดับจังหวัด และคณะอนุกรรมการฯระดับเขต ในเขตพื้นที่รับผิดชอบส่งให้สำนักกฎหมายเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข (กรณีผู้รับบริการ) และรายงานต่อคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ผลการวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหาย (กรณีผู้ให้บริการ) ทราบ
  3. สำนักกฎหมายดำเนินการตรวจทานผลการพิจารณาวินิจฉัย หากมีประเด็นที่อาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะประสานแจ้งฝ่ายเลขาของคณะอนุกรรมการฯ เพื่อให้มีการทบทวน
  4. จัดให้มีการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนากระบวนการพิจารณาวินิจฉัยให้มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเดียวกัน
Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

0 0
Read Time:6 Minute, 0 Second

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการที่เป็นประชาชนไทยทุกคนได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑๔) มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบข้อ ๓.๒ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๔ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. ๒๕๖๔”
  • ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
  • ข้อ ๓ ในประกาศนี้
    • “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “หน่วยบริการ” หมายความว่า หน่วยบริการตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้หมายความรวมถึงสถานบริการอื่นที่ให้บริการด้วย
    • “ผู้รับบริการ” หมายความว่า ผู้รับบริการซึ่งเป็นประชาชนคนไทยที่รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
    • “ผู้อุปการะ” หมายความว่า ผู้ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลหรือดูแลผู้รับบริการก่อนเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร
    • “เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด
    • “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ระดับเขตพื้นที่
  • ข้อ ๔ ความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ที่จะเป็นเหตุให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศนี้ จะต้องเป็นการเข้ารับวัคซีนตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมการป้องกันและขจัดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) จากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจากการรับวัคซีนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยสถานบริการของเอกชนซึ่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับบริการข้อ ๕ ประเภทของความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแบ่งเป็น
    • (๑) เสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 400,000 บาท
    • (๒) สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ ในอัตราไม่เกิน 240,000 บาท
    • (๓) บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจากการได้รับวัคซีน โดยมีความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจรักษาประกอบด้วย จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ในอัตราไม่เกิน 100,000 บาท
  • ข้อ ๖ ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) หรือทายาท หรือผู้อุปการะหรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ที่หน่วยบริการหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ทั้งนี้ ต้องยื่นคำร้องภายในสองปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย
  • ข้อ ๗ ให้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ระดับเขตพื้นที่ จำนวนไม่เกินห้าคน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ เป็นประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการอย่างน้อยต้องประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นว่า เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศนี้หรือไม่ และถ้าควรได้รับควรจะได้ตามคำร้องขอหรือไม่เพียงใด ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความรุนแรงของความเสียหาย
  • และเศรษฐานะของผู้เสียหายด้วย คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจอนุมัติจำนวนเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดในข้อ ๕ การพิจารณาวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการให้กระทำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ผลการวินิจฉัยเมื่อได้แจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องแล้ว ให้รายงานผลต่อเลขาธิการเพื่อทราบ
  • ข้อ ๘ ในกรณีผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะของบุคคลดังกล่าว ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ ให้มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการภายในสามสิบวันนับแต่วัน
  • ที่ได้ทราบผลการวินิจฉัย ได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ ให้เลขาธิการพิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครอง ตามความเห็นของตนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคสอง เลขาธิการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองอุทธรณ์ พิจารณาเสนอความเห็นก่อนก็ได้ หากเลขาธิการไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง เพื่อพิจารณาอุทธรณ์อีกชั้นหนึ่ง
  • ข้อ ๙ ให้ผู้รับบริการซึ่งได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับวัคนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายตามประกาศนี้ด้วย
  • ข้อ ๑๐ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการและมีอำนาจวินิจฉัยขี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้


ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version