CPG-Intermediate Careด้านแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 43 Second

คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และชมรมหัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เห็นความสำคัญและโอกาสในการที่จะนำการแพทย์แผนไทย เข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ซึ่งเป็นอาการที่การแพทย์แผนไทย มีศักยภาพสามารถดำเนินการได้อย่างโดดเด่น โดยในระยะเริ่มต้นมีแนวคิดที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มุมปากตก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ฯลฯ จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้แพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงบริการแพทย์แผนไทยกับสหวิชาชีพในการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กในสถานพยาบาลและในชุมชน มีการเชื่อมโยงการให้บริการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงชุมชน สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลาในเครือข่าย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดบริการแพทย์แผนไทยในชุมชนแก่ทีมสุขภาพอื่น ๆ เช่น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุข หมอพื้นบ้าน เป็นต้น
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป้วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ทิศทางการดำเนินงาน palliative care จังหวัดขอนแก่น ปีงบ 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 48 Second

การประชุม ขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง(Palliative Care)จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566

วันที่16พฤศจิกายน 2565 เวลา13.00-16.30น. ณ ห้องประชุมหม่อนไหม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น นายแพทย์วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) เป็นประธานการประชุม ขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง(Palliative Care)จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566 โดยมี พญ.มาลินี พิสุทธิโกศล นายแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.ขอนแก่น (รองประธาน service plan สาขาpalliative care จังหวัดขอนแก่น)นำเสนอนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน palliative care จังหวัดขอนแก่น และนางศิริมา นามประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการนำเสนอการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยประคับประคองระยะท้าย(palliative care) จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ2565 และมีการนำเสนอการจัดระบบบริการการดูแลผู้ป่วยPCในรูปแบบโซนตะวันตก โดย พญ.กฤษณาพร เถื่อนโทสาร นายแพทย์ชำนาญการ รพ.ชุมแพ และยังได้มีการแลกเปลี่ยนในเรื่องของการบันทึกการเบิกจ่ายe-claim palliative care ของ รพ.ขอนแก่น โดย นพ.วัชรพงษ์ รินทระ นายแพทย์ชำนาญการ อีกทั้ง ได้รับการชี้แจงกองทุน palliative care ปี2566 โดย นายธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ สปสช.เขต7 ขอนแก่น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย คณะอนุกรรมการสาขา Palliative care จังหวัดขอนแก่น และผู้รับผิดชอบงาน PC จากโรงพยาบาลขอนแก่น สิรินธร จังหวัดขอนแก่น ชุมแพ และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ตัวแทนจากกลุ่มงานประกันสุภาพ และกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในการประชุม มีเรื่องหารือเพื่อพิจารณาดังนี้

  1. การเพิ่มศักยภาพทีมดูแล PC แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ให้ได้ตามเกณฑ์ของทีมดูแลผู้ป่วย PC
  2. การเยี่ยมเสริมพลังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วย Palliative Care ระดับโซน เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการ
  3. พิจารณา KPI จำนวนโรงพยาบาลที่มีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ตามเกณฑ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และเข็มมุ่ง ของ service plan สาขาpalliative care

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สปสช.เขต7 ประชุมชี้แจงสิทธิประโยชน์ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ โดยใช้งบกองทุนตำบล ปี2566

0 0
Read Time:47 Second

ซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กองทุนดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และสิทธิประโยชน์ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2566

ลิงค์ FB https://fb.watch/fGafxUx0VT/

เอกสารประกอบการประชุม

วิธีการขอรับ ‘ผ้าอ้อมผู้ใหญ่-แผ่นรองซับ’ สำหรับคนไทย ‘ทุกสิทธิการรักษาพยาบาล’ ที่มีภาวะติดเตียงหรือมีปัญหากลั้นขับถ่าย
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ
  • 1.เป็นผู้ป่วยติดเตียง คะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ไม่เกิน 6 คะแนน
  • 2.ผู้มีปัญหากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามการประเมินโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

0 0
Read Time:2 Minute, 3 Second

การบริหารค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ปี 2564

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (คะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน) ที่เป็นประชาชนไทยทุกคนได้รับบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์ ที่บ้านหรือในชุมชนโดยหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เชื่อมโยงบริการทางสังคมและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ

วงเงินงบที่ได้รับ

ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เป็นงบประมาณที่ได้รับแยกจากงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 838.0260 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลสุขภาพผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นประชาชนไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแนวทางการบริหารจัดการ โดย จ่ายแบบเหมาจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมดำเนินการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในอัตรา 6,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องและตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไ

ขที่ สปสช.กำหนด สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. ตัวชี้วัดในการกำกับติดตามดังนี้ อัตราสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care plan)

2.การกำกับ ติดตาม และประเมินผล

  • 2.1 ระดับประเทศ มีดังนี้
    • 1) กลไกคณะกรรมการร่วมระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.
    • 2) กลไกคณะทำงานขับเคลื่อนและติตตามการดำเนินงาน ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสปสช.
    • 3) กลไกคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.
    • 4) กลไกคณะทำงานร่วมระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ สปสช.
    • 5) การตรวจเยี่ยมพื้นที่โดย สปสช.ส่วนกลาง
  • 2.2 ระดับพื้นที่ มีดังนี้
    • 1) กลไกคณะทำงานร่วมฯ ระดับเขต
    • 2) กลไกคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.)
    • 3) คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    • 4) การประเมินผลอาจประสานหน่วยงานวิชาการภายนอกประเมินผลตามความจำเป็น
    • 5) การตรวจเยี่ยมพื้นที่โดย สปสช.เขต
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version