ปรับอัตราจ่าย ปกส.กรณีAdjRW มากกว่า2

0 0
Read Time:6 Minute, 12 Second

แนวปฏิบัติในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลหรือผู้ประกันตนประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)

ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยนมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนหรือผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลที่ทำการรักษาซึ่งได้ทำความตกลงกับสำนักงาน โดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน(Adjusted Relative weight : AdRW มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ในอัตราไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight : AdjRW) ทั้งนี้ ภายใต้กรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปีในอัตราเจ็ดร้อยสี่สิบหกบาทต่อผู้ประกันตนหนึ่งคนภายในระยะเวลาหนึ่งปี

  1. อัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคมกำหนดอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2) ดังนี้
    • 1.1 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ที่รักษาเองหรือส่งไปยังสถานพยาบาลอื่น ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือหรือไม่เพียงพอให้เฉลี่ยจ่ายให้กับสถานพยาบาลแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 1.2 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่นที่ไมใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ในอัตรา 12,000 บาท/AdjRW ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงิน กรณีที่มีส่วนเกินผู้ประกันตนรับผิดชอบเอง
  2. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ
    • 2.1 สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ รายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในผ่านรูปแบบโครงสร้าง Al In-patient Claim Data File Specification : AIPN แทนการใช้โปรแกรมSIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยจะต้องส่งข้อมูลฯ ภายใน 2 เดือนถัดจากเดือนที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาล (เช่น จำหน่ายเดือนเมษายน ต้องส่ งข้อมูลภายในเดือนมิถุนายน)
      กรณีสถนพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ส่งไปยังสถานพยาบาลอื่นต้องส่งข้อมูลฯ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาลให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และจัดทำสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเก็บไว้ ณ สถานพยาบาลเพื่อการตรวจสอบ
    • 2.2 สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพจะต้องตรวจสอบข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ตามแนวปฏิบัติในการรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ให้ถูกต้องก่อนส่งให้สำนักงานประกันสังคมโดยจัดทำข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนมากกว่าหรือเท่ากับ 2 (AdjRW มากกว่า2) ซึ่งต้องตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่สำคัญคือ การเป็นผู้ประกันตนและการวิเคราะห์การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรค พร้อมทั้งรูปแบบข้อมูลตามที่กำหนด ถ้าหากข้อมูลไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด จะประสานสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เพื่อตรวจสอบอีกครั้งถ้าข้อมูลไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะไม่นำส่งข้อมูลให้กับสำนักงานประกันสังคม
    • 2.3 สำนักงานประกันสังคมรับข้อมูลจากสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพและตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.1
    • 2.4 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมตรวจสอบพบว่ามีการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ซ้ำซ้อน สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการเรียกเงินคืนจากสถานพยาบาลโดยการหักกลบหรือปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์
    • 2.5 การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง (AdjRW มากกว่า2)จะประมวลผลข้อมูลเป็นงวดตาม Statement ที่สถานพยาบาลส่งให้กับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพโดยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะข้อมูลที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา
    • 2.6 กรณีงบประมาณคงเหลือไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในอัตราที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการนำเงินงบประมาณคงเหลือมาหารด้วยจำนวนค่า AdjRW มากกว่า2 ที่ค้างจ่าย เพื่อคำนวณอัตราจ่ายให้สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ ทั้งนี้ อาจมีผลให้การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ล่าช้ากว่าปกติ
    • 2.7 กรณีที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงครบทุกรายการแล้ว หากสิ้นปีมีเงินงบประมาณคงเหลือจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยนำน้ำหนักสัมพัทธ์ที่สถานพยาบาลให้บริการตลอดทั้งปีหารด้วยกรอบวงเงินที่กำหนดแต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRW
    • 2.8 เมื่อสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืนจากการตรวจสอบข้อมูลจะเฉลี่ยคืนให้กับสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ เฉพาะรายการที่บันทึกถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไข และส่งข้อมูลทันตามกำหนดระยะเวลา โดยคำนวณภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่มีอยู่แต่รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท/AdjRw
    • 2.9 กรณีสถานพยาบาลขอแก้ไขข้อมูลผ่านโปรแกรม SSePAC จะเป็นการแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง ทางสำนักงานประกันสังคมจะไม่ได้นำมาพิจารณาจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ เนื่องจากถูกจำกัดด้วยวงเงินงบประมาณของแต่ละปี โดยสำนักงานประกันสังคมจะต้องดำเนินการตามข้อ 2.5 – 2.8
  3. วิธีการดำเนินการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน กรณีผู้ประกันตนประสงค์เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลอื่น
    • 3.1 ผู้ประกันตนยื่นเอกสารขอรับประโยชน์ทดแทน ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น เวชระเบียน ใบเสร็จค่ารักษาต้นฉบับ ฯลฯ
    • 3.2 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ดำเนินการตรวจสอบสิทธิการเป็นผู้ประกันตน พิจารณาข้อเท็จจริงหากพบว่าผู้ประกันตนประสงค์เข้ารักษาสถานพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิฯ และไม่ใช่กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ 72 ชั่วโมง ให้ส่งเรื่องหารือสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์
    • 3.3 สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ส่งเรื่องให้แพทย์ในโครงการของสำนักงานประกันสังคม ดำเนินการตรวจเวชระเบียนและพิจารณาคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW)ซึ่งหากมีค่า AdjRW มากกว่า2 จะนำมาคำนวณเพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1.2 แต่หากคิดค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอนแล้ว มีค่า AdjRw<2 ปฏิเสธการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
    • 3.4 หากพบว่ารายการใดที่ต้องเบิกจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์เพื่อพิจารณาดำเนินการจ่ายค่าอวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ ตามประกาศกำหนด
    • 3.5 เมื่อสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ดำเนินการขออนุมัติจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว จะส่งเรื่องให้สำนักสิทธิประโยชน์ทำการบันทึกข้อมูลในระบบ Sapiens เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา สามารถเข้าไปตรวจสอบในหน้าประวัติการขอรับประโยชน์ทดแทนโดยดูจากเลขที่รับแจ้งล่าสุดของสำนักสิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ หากผู้ประกันตนรายใดมีการจ่ายอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ตามข้อ 3.4 สำนักสิทธิประโยชน์จะทำการบันทึกและสามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน

กลุ่มงานพิจารณาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม

ณ วันที่ 23 มกราคม 2566
โทร 0 2956 2516 – 7
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจง AIPN วันที่3ก.พ.66

0 0
Read Time:21 Second

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ All In-patient Claim Data File Specification: AIPN

AIPN เป็นโครงสร้างที่กำหนดให้สถานพยาบาลรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน แทนการใช้โปรแกรม SIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่ 1 ม.ค.66 เป็นต้นไป ซึ่งโครงสร้างรูปแบบใหม่ พัฒนามาจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการ (CIPN)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือกองทุนเงินทดแทน

0 0
Read Time:4 Minute, 42 Second

ภารกิจของสำนักงานประกันสังคมที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือการบริหารกองทุนเงินทดแทนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่งคงให้กับลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนเป็นไปตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมโดยสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสถานพยาบาล ในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานพยาบาลเข้าเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนเพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์ของกองทุนเงินทดแทน ทั้งแนวปฏิบัติการเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน ดังนั้นสำนักงานกองทุนเงินทดแทน จึงได้จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการเป็นข้อตกลงการเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนและแนวปฏิบัติการจ่าย ค่ารักษาพยาบาลสำหรับสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนเพื่อให้เป็นคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน และเจ้าหน้าที่วินิจฉัยสำนักงานประกันสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้และถือปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างในการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วนถูกต้องต่อไป

  • แนวปฏิบัติการเป็นสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน
  • แนวปฏิบัติการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สถานพยาบาลในความตกลงกองทุนเงินทดแทน
  • แนวปฏิบัติในการพิจารณาการจ่ายค่ารักษาพยาบาลกองทุนเงินทดแทน
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ ครั้งที่ 10/2557 ลงวันที่ 17 กันยายน 2557 มติคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 3/2558 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 แนวทางการวินิจฉัยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างเนื่องจากการทำงาน
  • มติคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 6/2564 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2564 คำอธิบายแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 5/2563 วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 การพิจารณาวินิจฉัย การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากการทำงาน
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน (ชุดที่ 14) ครั้งที่ 6/2563 วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563 การกำหนดนิยามคำว่า “การผ่าตัด”
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 หลักเกณฑ์การจ่ายค่ากายภาพบำบัด
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 หลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีกล้ามเนื้อหลังอักเสบ
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 กรณีการรักษาการบาดเจ็บกระดูกหักผ่านเข้าข้อ
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 9/2563 วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563 แนวปฏิบัติกรณีบุคลากรทางการแพทย์ของสถานพยาบาลสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอดส์
  • มาตรฐานการรักษากรณีลูกจ้างสถานพยาบาลสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเอดส์ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อเอดส์หรือได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • มติคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 การพิจารณาคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ พ.ศ. 2563
  • แนวปฏิบัติการจ่ายค่าธรรมเนียมแพทย์ตามคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ พ.ศ. 2563 เพิ่มเติม คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน (ชุดที่ 14) ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564 แนวทางการพิจารณาจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีแพทย์ทางเลือก
  • มติคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 7 เมษายน 2564 การกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการทำทันตกรรม
  • กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน

ภาคผนวก

  • แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายและคำร้องขอรับเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 สำหรับนายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ยื่นคำร้องกรอก (กท.16)
  • หนังสือรับรองของแพทย์ผู้รักษา (แบบกท.16/1)
  • หนังสือส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (แบบกท.44)
  • แบบคำขอทบทวนคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเสนอคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน (แบบ กท.54)
  • แบบใบแจ้งค่ารักษาพยาบาลสำหรับเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลของสำนักงานประกันสังคม
  • คำอธิบายรายการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
  • ใบสรุปปรึกษาค่ารักษาพยาบาล กรณีลูกจ้างเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน (กท.55)
  • กฎกระทรวง เรื่องค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563
  • ประกาศกระทรวงแรงงานเรื่อง ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่คณะกรรมการการแพทย์จะพิจารณาให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
  • ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง
  • ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดมาตรฐานสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน
  • เอกสารกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับคลีนิกแนบท้าย
  • เอกสารกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับต้นแนบท้ายประกาศ
  • เอกสารกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับสูงแนบท้ายประกาศ
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) พ.ศ. 2561
  • บัญชีแนบท้าย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) พ.ศ. 2561
  • ประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๖๒
  • ใบคำขออนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
  • หนังสืออนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
  • ใบคำขอรับใบแทนหนังสืออนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกรรมการการแพทย์กรณี Covid-19

0 0
Read Time:20 Second

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม
เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการจัดทำ Drug Catalog สกส.

0 0
Read Time:3 Minute, 6 Second

แนวทางในการจัดทำบัญชีรายการยาอ้างอิง drug catalog และช่องทางการส่งรายการที่มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้แก่ สกส. เพื่อใช้กับระบบเบิกจ่ายตรงของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

กรมบัญชีกลางได้กำหนดให้สถานพยาบาล 34 แห่งในปี 2554 และอีก 134 แห่งในปี 2555 ส่งข้อมูลการเบิกระบบจ่ายตรงผู้ป่วยนอกสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดของยาแต่ละตัว บัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาล (drug catalog) เป็นรายการยาทั้งหลายที่สถานพยาบาลมีใช้และสั่งจ่ายให้แก่ผู้ป่วย สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ขอให้สถานพยาบาลจัดส่ง drug catalog นี้ให้แก่ สกส. ซึ่งใช้บัญชีรายการยานี้เป็นชุดข้อมูลอ้างอิงสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบิกของแต่ละสถานพยาบาล และเนื่องจากรายการยาและราคายามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ จึงมีความสำคัญยิ่งที่สถานพยาบาลจะต้องปรับปรุงบัญชีนี้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และจัดส่งรายการที่มีการปรับปรุงไปยัง สกส. อย่างสม่าเสมอ เนื่องจากการตรวจสอบข้อมูลเบิกจะใช้รายละเอียดของยาแต่ละรายการในบัญชี ทั้งตัวยา, ราคาและวันที่กำหนดใช้ราคา, และเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวกับการเบิกจาก drug catalog ของแต่ละสถานพยาบาลเป็นเกณฑ์
ในปี 2556 กรมบัญชีกลางประกาศใช้รหัสยาและข้อมูลยาจาก TMT เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ใช้กับระบบเบิกค่ารักษาพยาบาลของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในปี 2557 กรมบัญชีกลางมีแผนปรับปรุงข้อมูลยาที่ส่งเบิกให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน สามารถใช้ติดตาม, วิเคราะห์และกำกับมาตรการที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสมที่มีแผนดำเนินการในปีนี้ และมาตรการอื่นที่จะมีตามมาตามความพร้อมของระบบงานของสถานพยาบาล โดย ศมสท ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด สวรส. ได้พัฒนา TMT

  • ให้ครอบคลุมรายการยาที่ใช้ในระบบเบิกจ่ายตรงให้ได้มากที่สุด และออกแบบให้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานรองรับการใช้อ้างอิงกับกรณีการจัดจ่ายยากรณีต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลได้
  • มีความครอบคลุมเกินกว่าร้อยละ 95 ของยาที่มีใช้อยู่ในสถานพยาบาลทั่วประเทศ และได้จัดระบบให้สถานพยาบาลแจ้งขอเพิ่มรายการยาได้อย่างสะดวกในกรณีสถานพยาบาลมียาที่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ใน TMT
  • รองรับการเพิ่มเติมและปรับปรุงรายการที่มีกาหนดระยะเวลาที่แน่นอน ปัจจุบันมีการ release update ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่สามของทุกเดือน

สถานพยาบาลอื่นที่ไม่อยู่ในกลุ่ม 168 แห่ง

สำหรับสถานพยาบาลของทางราชการอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อสถานพยาบาล 168 แห่งข้างต้น กรมบัญชีกลางมีแผนที่จะให้สถานพยาบาลต้องส่งข้อมูลยาที่เบิกในระบบจ่ายตรงในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดเช่นเดียวกัน โดยในระยะแรกของต้นปี 2557 จึงเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลโดยกำหนดให้สถานพยาบาลของทางราชการนอกกลุ่ม 168 แห่งจัดทา drug catalog ในรูปแบบที่กาหนดในเอกสารนี้และจัดส่ง drug catalog ให้แก่ สกส. ด้วย ในระยะต่อไป drug catalog ที่จัดทำคู่กับการศึกษาฐานข้อมูล TMT ของสถานพยาบาลกลุ่มนี้ จะถูกใช้ประโยชน์ในระบบเบิกยาด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยสถานพยาบาลไม่ต้องมีการทางานส่วนนี้อีก

เอกสารบัญชีรายการยาอ้างอิงของสถานพยาบาลฉบับนี้เป็นการปรับปรุงครั้งแรกหลังประกาศใช้เมื่อ เม.ย. 2556 เป็นการปรับปรุงให้รองรับการใช้งานกับ Thai Medical Terminology (TMT) ที่เป็นฐานข้อมูลยามาตรฐานที่ ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.) พัฒนาและบำรุงรักษาอยู่ และเพิ่มรายละเอียดให้พร้อมใช้กับแนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกี่ยวกับยา ตามประกาศ ว. 472 ของกรมบัญชีกลาง

สำหรับสถานพยาบาลรัฐ

สำหรับสถานพยาบาลเอกชน

เพิ่มเติม

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกกรณีผู้ป่วยโควิดสิทธิประกันสังคม

0 0
Read Time:16 Second

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID
ตามประกาศฯ สำนักงานประกันสังคม ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม 2565
โดย สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) วันที่ 22 สิงหาคม 2565

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่ (AIPN)

0 0
Read Time:1 Minute, 30 Second

การส่งข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในรูปแบบใหม่
All In-patient Claim Data File Specification : AIPN

AIPN เป็นโครงสร้างที่กำหนดให้สถานพยาบาลรายงานข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ ประเภทผู้ป่วยใน แทนการใช้โปรแกรม SIP09 กับผู้ป่วยที่จำหน่ายตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 เป็นต้นไป ซึ่งโครงสร้างรูปแบบใหม่ พัฒนามาจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการ (CIPN) ระยะแรกใช้กับสิทธิประกันสังคม ระยะต่อไปจะใช้กับสิทธิอื่นๆ ด้วยข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน รูปแบบใหม่ (AIPN)

ข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ใช้คำนวณค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาล ดังนี้

  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีค่าน้ำหนักสัมพันธ์ปรับตามวันนอน (AdjRW) มากกว่าหรือเท่ากับ 2
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS)
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลรัฐ
  • ค่าบริการทางการแพทย์ กรณีที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS)

เพื่อให้สถานพยาบาลดึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศของสถานพยาบาลที่ทำงานและบันทึกข้อมูลการให้บริการที่มีอยู่ในระบบแล้ว (HIS) จัดเตรียมเป็นข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดส่งเบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับ สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) และช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนจำเป็นต้องให้ผู้ทำงานด้านไอที ทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารงานเบิกจ่ายของสถานพยาบาล ทำความเข้าใจในเนื้อหา และความหมายของข้อมูลที่ถูกต้อง อนาคตสถานพยาบาลสามารถส่งข้อมูลเบิกประเภทผู้ป่วยในทุกสิทธิเป็น AIPN โครงสร้างเดียว

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP)สำหรับสถานพยาบาลรัฐ

0 0
Read Time:1 Minute, 0 Second

การบันทึกข้อมูลเบิกผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคม (SSIP) สำหรับสถานพยาบาลรัฐ ประกอบการประชุมชี้แจงโดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) เนื้อหาประกอบไปด้วย

สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)
  1. หลักเกณฑ์/แนวทางการบันทึกข้อมูล
  2. โปรแกรมที่ใช้ในระบบ
  3. การปรับปรุงฐานข้อมูลอ้างอิง
  4. การขอรหัส รพ.สนาม/Hospitel
  5. Flow การทางาน และขั้นตอนการบันทึกข้อมูล
  6. การบันทึกข้อมูล COVID-19
Happy
1 50 %
Sad
1 50 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปการบันทึกเบิกค่ารักษาตามประกาศ สปส. (อัพเดตหลัง4ก.ค.65)

0 0
Read Time:3 Minute, 32 Second

สรุปการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลตามประกาศสำนักงานประกันสังคม ว2537 11 มีนาคม 2565
(หลักเกณฑ์การเบิก ในสถานการณ์ COVID-19) โดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ 31 มีนาคม 2565

ตามประกาศฯ ของสำนักงานประกันสังคม ว2537 ลงวันที่ 11 มี.ค. 65 ได้ประกาศหลักเกณฑ์และอัตราการเบิกค่ารักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 และแนวปฏิบัติการส่งข้อมูลเบิกของ สกส. เลขที่ CHI65-A05 – CHI65-A09 ได้แจ้งวิธีปฏิบัติในการเบิกค่ารักษาฯ ในกรณีต่างๆ สกส.จึงสรุปการเบิกค่ารักษาฯ ดังนี้

รายการ

  • ก. กรณีการตรวจคัดกรอง เบิกผ่านระบบ สปสช.
  • ข. กรณีผู้ป่วยนอกตามแนวทาง เจอ แจก จบ (Self – Isolation)
    1. สถานพยาบาลในโครงการ เบิกผ่านสกส. ระบบ SSOP ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A05
    2. สถานพยาบาลนอกโครงการ
      • สถานพยาบาลของรัฐ เบิกผ่านสกส. ระบบ SSOP ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A06
      • สถานพยาบาลของเอกชน (ต้องขออนุญาติ สปส. ก่อน) เบิกผ่านสกส. ระบบ SSOP ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A06
  • ค. กรณี Home Isolation และ Community Isolation
    • 1.สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนในโครงการ เบิกผ่านสกส. โปรแกรม SIP09 ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A07
    • 2.สถานพยาบาลเอกชนนอกโครงการ (ต้องขออนุญาติ สปส. ก่อน) เบิกผ่านสกส. โปรแกรม SIP09 ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A07
  • ง. กรณีรักษาผู้ป่วยใน ใน Hospitel
    • สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนในโครงการ เบิกผ่านสกส. โปรแกรม SIP09 ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A08
    • สถานพยาบาลเอกชนนอกโครงการ (ต้องขออนุญาติ สปส. ก่อน) เบิกผ่านสกส. โปรแกรม SIP09 ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A08 *หากเบิกผ่านโปรแกรม SIP09 ไม่ได้ ให้รอแนวปฏิบัติต่อไป
  • จ. กรณีรักษาผู้ป่วยใน ในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน
    • กรณีผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว
      • สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนในโครงการ เบิกผ่านสกส. โปรแกรม SIP09 ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A09
      • สถานพยาบาลเอกชนนอกโครงการ (ต้องขออนุญาติ สปส. ก่อน) เบิกผ่านสกส. โปรแกรม SIP09 ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A09
    • กรณีผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง/แดง
      • สถานพยาบาลของรัฐ เบิกผ่านสกส. โปรแกรม SIP09 ตามแนวปฏิบัติเลขที่ CHI65-A09
      • สถานพยาบาลเอกชน เบิกผ่านระบบ UCEP Plus
  • แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 กรณี โรงพยาบาลสนาม Hotel Isolation และปรับปรุงกรณี Hospitel ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม ว2537 ลงวันที่ 11 มี.ค. 65

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID กรณี ดูแลรักษาผู้ป่วยใน Hospitel สำหรับสถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ สำนักงานประกันสังคม ลงวันที่ 29 เม.ย. 65

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID การปรับอัตราค่ารักษา ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว540 ลงวันที่ 8 มิ.ย. 2565

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID การปรับอัตราค่ารักษา ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ว 805 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2565

แนวทางการบันทึกข้อมูลเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย COVID ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม ว7007 ลงวันที่ 12 ก.ค. 65

รวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผป.โควิด 19 และแนวทางการจ่ายชดเชย ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

  1. รวมแนวทางการจ่าย โควิด 19  link
  2. รหัส C และแนวทางแก้ไข link
  3. รหัส V และแนวทางแก้ไข link
  4. การเตรียมเอกสารเพื่อขอทบทวน link
  5. การจัดบริการ Home Isolation กรมการแพทย์ link
  6. รหัสเบิก COVID19 link
  7. CPG COVID19 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 link
  8. กรมการแพทย์ CPG COVID19 วันที่ 3 มีนาคม 2565 link
  9. ชี้แจงแนวทางการตรวจสอบ OP self isolation HI CI link
  10. การพิสูจน์ตัวตนในการขอ Authentication Code link
  11. อ.กฤติยา_ชี้แจงหน่วยบริการ การจ่ายชดเชยโควิด 19 _3มีค6 link
  12. Final_แบบบันทึกเวชระเบียนOP_Self isolation_25650302 link
  13. คู่มือสำหรับหน่วยบริการแนบไฟล์ PPFS_VA_CO link
  14. การบันทึกข้อมูลกรณีโรคโควิด 19 ในระบบ e-Claim link
  15. OP self ร้านยา link
  16. โปรแกรม e-Claim สำหรับ OP self ร้านยา link
  17. AMED SI link
  18. แนวทางตรวจสอบ OP Self link
  19. การขึ้นทะเบียนและการทำสัญญา link
Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การยืนยันโรคเรื้อรัง สิทธิประกันสังคม

0 0
Read Time:21 Second
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีโรคเรื้อรัง

แจ้งการเปลี่ยนแปลงวิธีการ ผู้ป่วยยืนยันโรคเรื้อรัง 26 โรค ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นตอนการจัดทำบัญชีโรคเรื้อรัง
  • การค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • การแจ้ง cases ที่เข้าข่ายโรคเรื้อรัง
  • การยืนยันบัญชีโรคเรื้อรัง
  • การทักท้วงบัญชีโรคเรื้อรัง
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version